ฐิติราช หนองหารพิทักษ์
ฐิติราช หนองหารพิทักษ์ | |
---|---|
ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง | |
ดำรงตำแหน่ง 7 เมษายน 2558 – 28 กันยายน 2561 | |
ก่อนหน้า | พลตำรวจโท พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ |
ถัดไป | พลตำรวจโท สุทิน ทรัพย์พ่วง |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 3 กันยายน พ.ศ. 2501 |
คู่สมรส | รศ. ทพญ. ดร. ภฑิตา ภูริเดช หนองหารพิทักษ์ |
ศิษย์เก่า | โรงเรียนโยธินบูรณะ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ รุ่น 34 (นรต. 34) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
ยศ | ![]() ![]() ![]() |
พลเอก[1] ฐิติราช หนองหารพิทักษ์ (เกิด 3 กันยายน 2501) นายทหารราชองครักษ์, รองผู้บัญชาการทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ (๓) หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ (อัตราพลเอก) กรรมการใน คณะกรรมการโครงการราชทัณฑ์ปันสุข ทำความ ดี ด้วยหัวใจ[2][3] กรรมการในคณะกรรมการอำนวยการโครงการจิตอาสาพระราชทาน ๙๐๔ วปร.[4] กรรมการในคณะกรรมการอำนวยการจัดงานอุ่นไอรัก คลายความหนาว[5] , อดีตหัวหน้าสำนักงานรองผู้บัญชาการทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ (๓) หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ อดีตนายทหารปฏิบัติการประจำ สำนักงานผู้บัญชาการทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ อดีตผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง และอดีตนายตำรวจราชสำนัก[6]
ประวัติ[แก้]
พลตำรวจโทฐิติราชเกิดเมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2501 มีชื่อเล่นว่า หมู ทำให้บรรดานักข่าวมักเรียกว่า บิ๊กหมู
พลตำรวจโทฐิติราชจบการศึกษาระดับมัธยมจาก โรงเรียนโยธินบูรณะ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ รุ่น 34 และปริญญาโท รัฐศาสตร์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ด้านชีวิตครอบครัวสมรสกับ รศ. ทพญ. ดร.(รองศาสตราจารย์ ทันตแพทย์หญิง ดอกเตอร์) ภฑิตา ภูริเดช หนองหารพิทักษ์ น้องสาวของ พลเอก จักรภพ ภูริเดช รองผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ และผู้บัญชาการทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์[7]
การทำงาน[แก้]
พลตำรวจโทฐิติราชเริ่มต้นรับราชการในตำแหน่งรองสารวัตรสืบสวนสอบสวน สถานีตำรวจนครบาลลุมพินีจากนั้นจึงได้ก้าวหน้าในหน้าที่ขึ้นมาตามลำดับ
กระทั่งวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2558 พลตำรวจโทฐิติราชขณะมียศเป็น พลตำรวจตรี และมีตำแหน่งเป็นรองผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลางได้รับแต่งตั้งให้เป็นรักษาราชการแทนผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลางแทน พลตำรวจโท พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์ ที่ถูกปลดออกจากตำแหน่งและให้พ้นจากราชการเนื่องจากกระทำผิดวินัยร้ายแรงและได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลางเมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2558 [8]พร้อมกับรับพระราชทานยศ พลตำรวจโท ในวันเดียวกัน [9]
ต่อมาในวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2559 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งพลตำรวจโทฐิติราชให้ดำรงตำแหน่งนายตำรวจราชสำนักโดยให้มีผลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายนปีเดียวกัน [10]
จากนั้นในวันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2561 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ได้มีพระราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้โอนย้ายพลตำรวจโทฐิติราชมาเป็นข้าราชการในพระองค์ฝ่ายนายทหารสัญญาบัตรตำแหน่ง นายทหารปฏิบัติการประจำ สำนักงานผู้บัญชาการทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ พร้อมกับรับพระราชทานยศ พลโท โดยให้มีผลตั้งแต่วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2561 [11]
นอกจากนี้ในวันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2561 ได้มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้พลโทฐิติราชรับราชการสนองพระเดชพระคุณในตำแหน่งนายทหารราชองครักษ์ โดยให้มีผลตั้งแต่วันศุกร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2561 [12]
นอกจากนี้ในวันจันทร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2562 ได้มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้พลโทฐิติราชรับราชการสนองพระเดชพระคุณในตำแหน่งหัวหน้าสำนักงานรองผู้บัญชาการทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ (๓) หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ (อัตรา พลโท) โดยให้มีผลตั้งแต่วันอังคารที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป [13]
นอกจากนี้ในวันศุกร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้พลโทฐิติราชดำรงตำแหน่งรองผู้บัญชาการทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์ (๓) หน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ (อัตราพลเอก) และพระราชทานยศพลเอก ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2562 เป็นต้นไป[14]
ตำแหน่งหน้าที่พิเศษ[แก้]
- นายตำรวจราชสำนัก
- นายทหารราชองครักษ์
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2564 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[15]
- พ.ศ. 2557 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[16]
- พ.ศ. 2560 –
เหรียญจักรมาลา (ร.จ.ม.)[17]
- พ.ศ. 2564 –
เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 10 ชั้นที่ ๔ (ว.ป.ร.๔)[18]
รายการอ้างอิง[แก้]
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ พระราชทานยศทหารชั้นนายพล และแต่งตั้งข้าราชบริพารในพระองค์ฝ่ายทหารให้ดำรงตำแหน่ง
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/217/T_0001.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/276/T_0001.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/255/1.PDF
- ↑ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/E/254/T_0012.PDF
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ พระราชทานยศทหารชั้นนายพล และแต่งตั้งข้าราชบริพารในพระองค์ฝ่ายทหารให้ดำรงตำแหน่ง
- ↑ จักรภพ - จิรภพ ภูริเดช สองพี่น้องผู้รับใช้ชาติและราชบัลลังก์
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งข้าราชการตำรวจ
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานยศตำรวจชั้นนายพล
- ↑ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งนายตำรวจราชสำนัก
- ↑ พระราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งข้าราชการในพระองค์
- ↑ พระราชโองการ ประกาศ ให้นายทหารสัญญาบัตรแต่งตั้งเป็นนายทหารราชองครักษ์
- ↑ พระราชโองการ ประกาศให้ข้าราชการในพระองค์ฝ่ายทหารรับราชการ
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ พระราชทานยศทหารชั้นนายพล และแต่งตั้งข้าราชบริพารในพระองค์ฝ่ายทหารให้ดำรงตำแหน่ง
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๓๘ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๑, ๑๗ มีนาคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๗ เก็บถาวร 2015-07-02 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๑ ตอนที่ ๒๗ ข หน้า ๒๐, ๓ ธันวาคม ๒๕๕๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา ประจำปี ๒๕๖๐, เล่ม ๑๓๔ ตอนที่ ๕๒ ข หน้า ๒, ๒๘ กันยายน ๒๕๖๐
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศ เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ และเหรียญราชรุจิ, เล่ม ๑๓๘ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๕๐, ๑๗ มีนาคม ๒๕๖๔