ผณินทรา ภัคเกษม
ผณินทรา ภัคเกษม | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 17 มิถุนายน พ.ศ. 2483 อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ประเทศไทย |
ศาสนา | พุทธ |
คู่สมรส | ส่งสุข ภัคเกษม |
ผณินทรา ภัคเกษม (เกิด 17 มิถุนายน พ.ศ. 2483) เป็นนักการเมืองหญิงชาวไทย เคยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ 3 สมัย ประธานมูลนิธิส่งสุข และประธานกรรมการบริหารกลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาไทย-ญี่ปุ่น ได้รับเลือกตั้งครั้งแรกในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2519 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และเป็นภรรยาของส่งสุข ภัคเกษม อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเชียงใหม่[1]
ประวัติ
[แก้]ผณินทราเกิดเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2483 ที่ตำบลสันพระเนตร อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่[2] เป็นบุตรของนายหยวกปอ กับนางสมนา แซ่อึ้ง ด้านชีวิตครอบครัวได้สมรสกับนายส่งสุข ภัคเกษม มีบุตรี 1 คน ได้แก่ภควดี ภัคเกษม
ผณินทราเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนศรีวิทยา จังหวัดเชียงใหม่ จากนั้นได้เข้าศึกษาต่อชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนเรยีนาเชลีวิทยาลัย
การทำงาน
[แก้]ผณินทราได้เข้าสู่งานการเมืองครั้งแรกโดยลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากการชักชวนของนายไกรสร ตันติพงศ์[3] อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดเชียงใหม่ ให้ลงสมัครคู่กับสามี ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2519 และนับเป็นสตรีคนแรกที่ได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่
จากนั้นมาก็ได้เว้นวรรคทางการเมืองเรื่อยมา จนกระทั่งได้รับการชักชวนจากพรรคไทยรักไทยให้ลงสมัครรับเลือกตั้งอีกครั้ง ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544[4] และได้รับการเลือกตั้งอีก 2 สมัย โดยสามารถเอาชนะอดีต ส.ส.ในพื้นที่หลายสมัยอย่าง นายอำนวย ยศสุขได้ขาดลอย[5] ต่อมาภายหลังการยุบพรรคพลังประชาชน นางผณินทรา ก็ไม่ได้เข้าร่วมงานกับพรรคเพื่อไทย จึงเป็นการวางเมืองทางการเมืองไปโดยปริยาย
ผณินทราเป็นผู้หนึ่งที่ยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ามาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติชื่อบุคคล พ.ศ. 2505 ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญวินัยฉัยว่าขัดจริง จึงเป็นผลให้ตั้งแต่วันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2546 ผู้หญิงไทย สามารถเลือกใช้นามสกุลของตนเองได้ แม้จะทำการสมรสตามกฎหมายแล้วก็ตาม[6][7]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2547 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์ช้างเผือก (ป.ช.)[8]
- พ.ศ. 2545 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[9]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ จับรหัส"ทักษิณ"ขึ้นเหนือช่วยเขตอ่อน-เชียงใหม่ไม่ชัวร์[ลิงก์เสีย]
- ↑ "ประวัติผู้สมัคร ส.ส." คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-30. สืบค้นเมื่อ 2012-07-08.
- ↑ นักการเมืองท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่. กรุงเทพฯ : สถาบันพระปกเกล้า. 2551[ลิงก์เสีย]
- ↑ ดราม่าแม่เกิบ'ศรีเรศ' ส.ส.อมก๋อย
- ↑ http://www.kpi.ac.th/media_kpiacth/pdf/M8_34.pdf
- ↑ "ศาล รธน. ปลดแอกหญิงเลือกใช้นามสกุล". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-04. สืบค้นเมื่อ 2012-07-08.
- ↑ คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-06-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๑ ตอนที่ ๒๓ ข หน้า ๖๖, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๔๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๑๐๑, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2483
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- บุคคลจากอำเภอสันทราย
- ชาวไทยเชื้อสายจีน
- นักการเมืองสตรีชาวไทย
- คู่สมรสของนักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่
- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
- นักการเมืองพรรคประชาธิปัตย์
- นักการเมืองพรรคไทยรักไทย
- พรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541)
- บุคคลจากโรงเรียนเรยีนาเชลีวิทยาลัย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.
- นักการเมืองจากจังหวัดเชียงใหม่