ปีแยร์ กูว์รี
ปีแยร์ กูว์รี | |
---|---|
กูว์รี ป. ค.ศ. 1906 | |
เกิด | 15 พฤษภาคม ค.ศ. 1859 ปารีส ประเทศฝรั่งเศส |
เสียชีวิต | 19 เมษายน ค.ศ. 1906 ปารีส ประเทศฝรั่งเศส | (46 ปี)
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยปารีส |
มีชื่อเสียงจาก |
|
คู่สมรส | มารี กูว์รี (สมรส 1895) |
บุตร | |
รางวัล |
|
อาชีพทางวิทยาศาสตร์ | |
สาขา | ฟิสิกส์, เคมี |
สถาบันที่ทำงาน | มหาวิทยาลัยปารีส |
วิทยานิพนธ์ | Propriétés magnétiques des corps à diverses températures (Magnetic properties of bodies at various temperatures) (1895) |
อาจารย์ที่ปรึกษาในระดับปริญญาเอก | กาเบรียล ลิพพ์มานน์ |
ลูกศิษย์ในระดับปริญญาเอก | |
ลายมือชื่อ | |
ปีแยร์ กูว์รี (ฝรั่งเศส: Pierre Curie; 15 พฤษภาคม ค.ศ. 1859 – 19 เมษายน ค.ศ. 1906) เป็นนักฟิสิกส์ชาวฝรั่งเศส สามีของมารี กูว์รี นักเคมีชาวโปแลนด์ ที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ใน ค.ศ. 1903
ประวัติ
[แก้]ปีแยร์ กูว์รี เกิดเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 1859 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส โดยบิดาของเขาเป็นนายแพทย์ หลังจากจบการศึกษาขั้นต้นแล้ว ปีแยร์ได้เข้าศึกษาต่อวิชาเคมี ที่มหาวิทยาลัยซอร์บอนหลังจากที่เขาจบการศึกษาแล้วได้เข้าฝึกงานกับคณะผู้เชี่ยวชาญทางวิทยาศาสตร์ของทางมหาวิทยาลัย ซึ่งเขาก็สามารถสร้างผลงานเป็นที่น่าพอใจ และในปี ค.ศ. 1878 ปีแยร์ก็ได้รับรางวัลไซเอนซิเอต (Scienciate Award) ทางฟิสิกส์ และได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้อำนวยการห้องทดลองประจำมหาวิทยาลัยซอร์บอน และในระหว่างนี้เขาได้รับเชิญเป็นที่ปรึกษาในโรงเรียน โรงงานอุตสาหกรรม และงานทางวิทยาศาสตร์ต่างๆ
ต่อมาในปี ค.ศ. 1880 ปีแยร์ได้ทำการทดลองเกี่ยวกับความต่างศักย์ของไฟฟ้าระหว่างผลึกหินควอทซ์กับเกลือโรเชลลีภายใต้ความกดดันสูง จากผลการทดลองเขาพบว่า ความกดดันมีผลกระทบต่อความต่างศักย์ ซึ่งปีแยร์เรียกสั้น ๆ ว่า "ปีแยร์โซอิเล็กทริซิตี" (Pierre so Electricity) และเขาได้พบเพิ่มเติมอีกว่า ถ้าเพิ่มค่าความต่างศักย์ของไฟฟ้าให้มากขึ้น จะทำให้พื้นผิวของผลึกเกิดการสั่นสะเทือน ทำให้เกิดคลื่นเสียงที่มีความถี่สูงเกินกว่าที่คนปกติจะได้ยิน แต่ก็มีประโยชน์ เพราะต่อมานักวิทยาศาสตร์รุ่นหลังได้นำหลักการเดียวกันนี้มาประดิษฐ์อุปกรณ์เกี่ยวกับเสียงหลายชนิด เช่น ไมโครโฟน เครื่องบันทึกเสียง เป็นต้น
ในปี ค.ศ. 1895 ปีแยร์ได้ทดลองเกี่ยวกับความร้อนที่เกิดขึ้นกับแม่เหล็ก จากผลการทดลองปีแยร์พบว่าที่อุณหภูมิระดับหนึ่ง แม่เหล็กไม่สามารถแสดงสมบัติออกมาได้ โดยปีแยร์เรียกอุณหภูมิระดับนี้ว่า "เคียวรีพอยต์" (Cury Point) และจากการทดลองครั้งนี้ เขาได้สร้างเครื่องมือขึ้นมาชิ้นหนึ่งชื่อว่า อิเล็กทรอมิเตอร์ (Electrometer หรือ ThermoMeter) สำหรับใช้ในการทดลองครั้งนี้ด้วย จากผลงานชิ้นนี้เขาได้รับมอบปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยซอร์บอน และได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการประจำห้องทดลองเคมีและฟิสิกส์ประจำมหาวิทยาลัยซอร์บอน ซึ่งทำให้เขามีโอกาสได้พบกับมาเรีย สกวอดอฟสกา (Maria Sklodowska) และแต่งงานกันในปี ค.ศ. 1895
ชีวิตส่วนตัว
[แก้]หลังจากที่ปีแยร์ได้มีโอกาสพบกับมาเรีย สกวอดอฟสกา ภายหลังทั้งคู้จึงได้แต่งงานกันในปี ค.ศ. 1895 โดยมีบุตรสาวสองคน ได้แก่
- อีแรน ฌอลีโย-กูว์รี (Irène Joliot-Curie) โดยอีแรนเป็นบุตรีคนแรก และได้แต่งงานกับเฟรเดริก ฌอลีโย ผู้ค้นคว้าเรื่องการแผ่รังสีเทียม จนได้รับรางวัลโนเบลในปี ค.ศ. 1935[1]
- แอฟว์ กูว์รี (Ève Denise Curie Labouisse) บุตรีคนที่สอง ได้เขียนชีวประวัติของมารดาของเธอคือมารี กูว์รี ใน ค.ศ. 1937
เสียชีวิต
[แก้]ปีแยร์ กูว์รีเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนถนนที่ปารีสเมื่อวันที่ 19 เมษายน ค.ศ. 1906 ขณะที่เขากำลังข้าม Rue Dauphine ที่มีคนชุกชมตอนฝนตกที่ Quai de Conti เขาลื่นล้มและตกลงใต้เกวียนลากม้าหนัก ล้อวงหนึ่งของเกวียนเคลื่อนไปเหนือหัว ทำให้กะโหลกแตก และทำให้เขาเสียชีวิตทันที[2] จากคำให้การของพ่อของเขากับผู้ช่วยห้องปฏิบัติการกล่าวโดยนัยว่า ลักษณะนิสัยเหม่อลอยของกูว์รีที่หมกมุ่นอยู่กับความคิดของเขามีส่วนทำให้เขาเสียชีวิต[3]
ทั้งมารีและปีแยร์ กูว์รีมีประสบการณ์ถูกเรเดียมเผาไหม้ทั้งโดยบังเอิญและสมัครใจ[4] และได้รับรังสีปริมาณมากขณะทำการวิจัย ทั้งคู่เป็นโรคจากรังสีและมารี กูว์รีเสียชีวิตจากภาวะไขกระดูกฝ่อที่เกิดจากรังสีใน ค.ศ. 1934 แม้แต่ตอนนี้ เอกสารทั้งหมดของทั้งคู่ที่เขียนในคริสต์ทศวรรษ 1890 (แม้แต่ตำราอาหารของเธอ) อันตรายเกินกว่าที่จะแตะโดยไม่ได้รับการป้องกัน หนังสือในห้องปฏิบัติการของทั้งคู่ถูกเก็บไว้ในกล่องตะกั่วพิเศษ และผู้ที่ต้องการจะดูมันจะต้องสวมอุปกรณ์ป้องกัน[5] ของส่วนใหญ่สามารถพบได้ใน Bibliothèque nationale de France[6] ถ้าปีแยร์ กูว์รีไม่ได้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุ เขาก็คงมีแนวโน้มเสียชีวิตจากผลของสารกัมมันตรังสี เหมือนกับภรรยา อีแรน ลูกสาวของทั้งคู่ และFrédéric Joliot สามีของลูกสาว[7][8]
ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1995 มีการเคลื่อนย้ายสุสานของปีแยร์กับมารี กูว์รีจากสุสานของครอบครัวไปยังห้องฝังศพใต้ดินที่ป็องเตองในปารีส
รางวัล
[แก้]- รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ร่วมกับมารี กูว์รีกับอ็องรี แบ็กแรล (1903)[9]
- เหรียญเดวี ร่วมกับมารี กูว์รี (1903)[10]: 185
- Matteucci Medal, ร่วมกับมารี กูว์รี (1904)[11]
- Elliott Cresson Medal (1909) ได้รับหลังเสียชีวิตในพิธีรับรางวัลของมารี กูว์รี
- Citation for Chemical Breakthrough Award from the Division of History of Chemistry of the American Chemical Society (2015)[12][13]
หมายเหตุ
[แก้]- ↑ ร่วมกับมารี กูว์รี ภรรยาของเขา
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "ที่สุดแห่ง "โนเบล" ตระกูล "กูรี" เหมาทั้งพ่อแม่ลูก แถมด้วย ใครอ่อนสุด-เมินไม่รับ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-13. สืบค้นเมื่อ 2009-10-17.
- ↑ "Prof. Curie killed in a Paris street", The New York Times, 20 April 1906, เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 July 2018, สืบค้นเมื่อ 25 July 2018
- ↑ "Marie Curie – Tragedy and Adjustment (1906–1910)", Marie Curie and the Science of Radioactivity, 2000, เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 February 2021, สืบค้นเมื่อ 17 January 2017
- ↑ Mould, R.F. (2007). "Pierre Curie, 1859–1906". Current Oncology. 14 (2): 74–82. doi:10.3747/co.2007.110. PMC 1891197. PMID 17576470.
- ↑ Tasch, Barbara (31 August 2015). "These personal effects of 'the mother of modern physics' will be radioactive for another 1500 years". Business Insider. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 February 2021. สืบค้นเมื่อ 9 July 2016.
- ↑ Concasty, Marie-Louise (1914–1977) Auteur du texte; texte, Bibliothèque nationale (France) Auteur du (1967). Pierre et Marie Curie : [exposition], Paris, Bibliothèque nationale, [octobre-décembre] 1967 / [catalogue réd. par Marie-Louise Concasty] ; [préf. par Étienne Dennery] (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 February 2021. สืบค้นเมื่อ 6 November 2020.
- ↑ Redniss, Lauren (2010). Radioactive : Marie And Pierre Curie : a tale of love and fallout (1st ed.). New York: HarperEntertainment. ISBN 978-0-06-135132-7.
- ↑ Bartusiak, Marcia (11 November 2011). ""Radioactive: Marie & Pierre Curie – A Tale of Love and Fallout" by Lauren Redniss". The Washington Post. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 February 2021. สืบค้นเมื่อ 9 July 2016.
- ↑ "The Nobel Prize in Physics 1903". Nobel Prize. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 August 2020. สืบค้นเมื่อ 8 July 2016.
- ↑ Quinn, Susan (1996). Marie Curie : a life. Reading, Mass.: Addison-Wesley. ISBN 978-0-201-88794-5.[ลิงก์เสีย]
- ↑ ""Matteucci" Medal". Accademia Nazionale delle Scienza. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 March 2016. สืบค้นเมื่อ 9 July 2016.
- ↑ "2015 Awardees". American Chemical Society, Division of the History of Chemistry. University of Illinois at Urbana-Champaign School of Chemical Sciences. 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 June 2016. สืบค้นเมื่อ 1 July 2016.
- ↑ "Citation for Chemical Breakthrough Award" (PDF). American Chemical Society, Division of the History of Chemistry. University of Illinois at Urbana-Champaign School of Chemical Sciences. 2015. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 19 September 2016. สืบค้นเมื่อ 1 July 2016.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- NOBELPRIZE.ORG: History of Pierre and Marie
- Pierre Curie's Nobel prize
- ปีแยร์ กูว์รี ที่ Nobelprize.org including the Nobel Lecture, 6 June 1905 Radioactive Substances, Especially Radium
- Biography American Institute of Physics เก็บถาวร 16 กุมภาพันธ์ 2015 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Annotated bibliography for Pierre Curie from the Alsos Digital Library for Nuclear Issues Alsos Digital Library closure
- Curie's publication in French Academy of Sciences papers