ปลาทะเลลึก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปลาไหลกัลเปอร์หนึ่งในปลาน้ำลึกรูปร่างประหลาด

ปลาทะเลลึก (อังกฤษ: deep sea fish) คือปลาที่อาศัยอยู่ในทะเลลึกที่มืดมิดและแสงแดดส่องไม่ถึง (ลึกกว่าเขตมีแสง) ปลาทะเลลึกที่พบมากที่สุดคือปลาตะเกียง นอกจากนี้ยังมีปลาทะเลลึกชนิดอื่นมากมาย เช่น ปลาฉลามคุกกี้คัตเตอร์ ปลาตกเบ็ด ปลาไวเปอร์

จากการสำรวจมีเพียง 2% จากสายพันธุ์สิ่งมีชีวิตในทะเลทั้งหมดเท่านั้นที่เรารู้จัก หมายความว่าพวกมันอาศัยอยู่ในห้วงน้ำ ต่างจากสิ่งมีชีวิตเขตอยู่ก้นทะเลที่อาศัยอยู่ในหรือบนก้นทะเล[1] โดยทั่วไปจะพบสิ่งมีชีวิตทะเลลึกในเขตท้องทะเลลึก (ระดับความลึก 1,000–4,000 เมตร) และเขตความลึกก้นสมุทร (ระดับความลึก 4,000–6,000 เมตร) อย่างไรก็ตามปลาทะเลลึกอย่าง ปลาที่เรืองแสงได้สามารถพบได้ในท้องทะเลลึกปานกลางด้วย (ระดับความลึก 200–1,000 เมตร)

  • ท้องทะเลลึกปานกลางเป็นห้วงน้ำที่มีความอับแสง แต่ยังสามารถวัดปริมาณแสงได้เล็กน้อย ระดับความลึกที่มีออกซิเจนน้อยมากจะอยู่ที่ระดับ 700–1,000 เมตร แต่ก็ขึ้นอยู่กับสถานที่นั้นด้วยว่ามีแหล่งผลิตออกซิเจนหรือไม่[2] ท้องทะเลลึกปานกลางยังเป็นพื้นที่ ๆ อาหารยังอุดมสมบูรณ์

ท้องทะเลตื้น (ระดับความลึก 0–200 เมตร) เป็นห้วงน้ำที่มีแสงมากทำให้เกิดการสังเคราะห์แสง จึงเรียกได้ว่าเป็นเขตมีแสง แสงสามารถทะลุผ่านความลึกของมหาสมุทรได้เพียงไม่กี่ร้อยเมตร ทำให้ปริมาตรน้ำกว่า 90% ของมหาสมุทรเป็นพื้นที่ ๆ มืดมิด ทะเลลึกเป็นพื้นที่ ๆ มีสภาพที่สุดขั้วมาก เพราะน้ำมีความเย็น 3 °ซ. ถึง -1.8 °ซ. (ยกเว้นบริเวณปล่องแบบน้ำร้อน ที่น้ำอาจมีอุณหภูมิสูงถึง 350 °ซ.) ออกซิเจนต่ำ อีกทั้งยังมีแรงกดดันของน้ำจำนวนมหาศาลขนาดความดันระหว่าง 20 ถึง 1,000 บรรยากาศ (ระหว่าง 2 ถึง 100 เมกะปาสคาล)[3]

ลักษณะทั่วไป[แก้]

ปลาทะเลลึกนั้นมีรูปร่างเหมือนสัตว์ประหลาดพบเห็นได้ยากแต่ก็มีความน่าสนใจเพราะมีนิทานหลายเรื่องที่กล่าวถึงสิ่งมีชีวิตที่ผิดปกติมากมายและยังไม่ได้รับการศึกษาในสมัยนั้นเนื่องจากพวกมันอยู่ในทะเลลึกที่มืดมิดซึ่งอาจจะพบได้แค่ตอนเกยตื้นหรือซากศพของพวกมัน ปลาทะเลลึกโดยทั่วไปนั้นจะพึ่งพาความรู้สึกมากกว่าการมองเห็นเนื่องจากแสงสว่างใต้ทะเลลึกนั้นมีไม่มากพอจึงไม่สามารถพึ่งพาการมองเห็นในการล่าเหยื่อหรือหลีกหนีการไล่ล่าได้ มันจะพึ่งพาการเปลี่ยนแปลงความดันและกลิ่นแทน แต่ถึงอย่างนั้นปลาบางชนิดมีตาที่ไวต่อแสงกว่ามนุษย์ถึง 100 เท่า นอกจากนี้มันยังมีสีที่เข้มเพื่อหลีกหนีการล่าของวาฬและนักล่าอื่น ๆ อีกด้วย[4]

ปลาทะเลลึกหลายชนิดเป็นสารเรืองแสงที่มีดวงตาที่ใหญ่มากเหมาะกับความมืด ปลาที่เรืองแสงมีความสามารถในการผลิตแสงทางชีวภาพผ่านการกระเจิงของโมเลกุลของลูซิเพอลีน (luciferin) ซึ่งทำให้เกิดแสง โดยกระบวนการนี้ต้องใช้ออกซิเจนด้วย ปลาเรืองแสงมากกว่า 50% ส่วนมากอยู่ตรงบริเวณไหล่ทวีปที่ระดับความลึกประมาณ 200 เมตรและ 80% ของกุ้งและปลาหมึกก็มีความสามารถในการเรืองแสงด้วยเช่นกัน อวัยวะเรืองแสง (photophores) ซึ่งผลิดมาจากเซลล์ที่มีแบคทีเรีย อวัยวะเรืองแสงเหล่านี้มีเซลล์ที่คล้ายกับเลนส์ที่เหมือนกับที่อยู่ในดวงตาของมนุษย์เพื่อใช้ในการทำให้แสงกระจายตัวอีกด้วย การเรืองแสงเหล่านี้ใช้พลังงานเพียง 1% ของพลังงานทั้งหมดแต่มีจุดประสงค์มากมายเช่นใช้ค้นหาอาหาร, สื่อสาร, หาคู่ผสมพันธุ์และดึงดูดเหยื่อเช่นปลาตกเบ็ดนอกจากนี้พวกมันยังลวงตานักล่าด้วยการปรับแสงให้ตรงกับความเข้มข้มของแสงจากด้านบนได้อีกด้วย[5]

วงจรชีวิตของปลาทะเลน้ำลึกส่วนใหญ่จะเป็นไข่และตัวอ่อนตรงน้ำตื้นและลงน้ำลึกเมื่อโตเต็มวัย โดยไข่อาจจะลอยเป็นแพลงค์ตอนหรือวางไว้ในหลุมก็ได้แล้วแต่ชนิดของปลา[6]เมื่อพวกมันโตเต็มที่พวกมันจะมีการดัดแปลงร่างกายเนื่องจากความหนาแน่นของน้ำทำให้ตัวพวกมันนั้นลอยน้ำได้จึงต้องเพิ่มความหนาแน่นของตัวมันให้มากกว่าน้ำรอบ ๆ ด้วยการทำให้เนื้อเยื่อส่วนมีลักษณะเป็นเนื้อเหลว ๆ เหมือวุ้นเพื่อสร้างสมดุล[7]สิ่งมีชีวิตส่วนมากใต้ทะเลพัฒนาถุงลมของพวกมัน แต่เนื่องจากความดันที่สูงมากของสภาพแวดล้อมนี้ปลาทะเลลึกจึงมักจะไม่ได้มีอวัยวะนี้ แต่ถึงอย่างนั้นปลาทะเลลึกที่อยู่ลึกมาก ๆ นั้นจะมีกล้ามเนื้อที่เหมือนวุ้นและมีโครงสร้างกระดูกน้อยเพราะพวกมันลดความหนาแน่นของเนื้อเยื่อโดยเพิ่มไขมันให้สูงขึ้นและลดน้ำหนักโครงกระดูกลงเพื่อลดขนาดความหนาและปริมาณแร่และการสะสมน้ำ[8]จึงทำให้พวกมันช้าและคล่องตัวน้อยกว่าปลาบนผิวน้ำ

เนื่องจากความลึกนี้ทำให้การสังเคราะห์แสงน้อยทำให้ทะเลลึกปลาส่วนใหญ่ต้องพึ่งพาการจมของซากศพและสารอินทรีย์จากทะเลด้านบน แต่บางที่พวกมันก็มีแหล่งอาหารอยู่เช่นบริเวณปล่องแบบน้ำร้อนแต่ถึงอย่างนั้นทะเลลึกนี้ก็เป็นสถานที่ ๆ หาอาหารได้ยาก ดังนั้นพวกมันจึงมีการปรับตัวเพื่อให้ดำรงชีวิตได้ง่ายขึ้นเช่นยืดหดขากรรไกรได้เช่นปลาฉลามก็อบลิน มี่ติ่งเนื้อเรืองแสงที่คล้ายเบ็ดตกปลาเช่นปลาตกเบ็ด มีปากที่ใหญ่เช่นปลาไหลกัลเปอร์และมีกระเพาะขนาดใหญ่เช่นปลาแบล็คสวอลโล[4]

ปลาที่อยู่ในทะเลน้ำลึกมีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดทางโครงสร้างทางกายภาพและพฤติกรรมซึ่งเกิดจากโซนที่อยู่อาศัยการอพยพการล่าและอื่น ๆ นั้นเอง[9]ครีบก้นและครีบหางเป็นของที่หาได้ยากในหมู่ปลาทะเลน้ำลึกซึ่งแสดงให้เห็นว่าปลาทะเลน้ำลึกมีความเก่าแก่และสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมของมันได้ดีทำให้การรุกรานของปลาชนิดอื่น ๆ นั้นไม่ประสบความสำเร็จ[10]ครีบส่วนใหญ่จะเป็นแบบปลาโบราณ ปลาทะเลลึกคงรูปร่างเดิมตั้งแต่อดีตจึงเป็นแบบอย่างของวิวัฒนาการที่ยาวนานในอดีตเมื่อหลายร้อนล้านปีที่ผ่านมาได้เป็นอย่างดี ซึ่งต่างจากปลาผิวบนและปลาน้ำจืดที่มีการวิวัฒนาการเรื่อยมา[11]

สถานะปัจจุบัน[แก้]

มนุษย์ไม่ค่อยพบปลาฉลามครุยที่ยังมีชีวิตอยู่พบแต่ซากที่เกยตื้น[12]

ปัจจุบันเรารู้จักปลาทะเลลึกเพียง 2% จากสายพันธุ์ปลาทะเลทั้งหมดเนื่องจากพวกมันสามารถพบเห็นและจับมาศึกษาได้ยากทำให้ได้ศึกษาเพียงซากศพที่ถูกกระแสน้ำพัดพามาเกยตื้น ส่วนที่นักวิทยาศาสตร์สามารถจับได้ก็อาศัยอยู่ได้เพียงไม่กี่ชั่วโมงก็จะตายลงเนื่องจากปลาทะเลลึกส่วนใหญ่ที่มีการพัฒนาในสภาพแวดล้อมที่มีแรงดันมหาศาลและนี้ทำให้พวกมันไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ในสภาพห้องปฏิบัติการและด้วยความพยายามที่จะเก็บพวกมันไว้ในกรงขังนั้นจะทำให้พวกมันตายเพราะสิ่งมีชีวิตในทะเลลึกมีช่องว่างที่เต็มไปด้วยแก๊ส vacuoles[13] ซึ่งก๊าซนั้นจะถูกบีบอัดภายใต้แรงดันสูงและจะขยายตัวภายใต้แรงดันต่ำ ด้วยเหตุนี้เองทำให้สิ่งมีชีวิตเหล่านี้ถูกระเบิดหากพวกมันขึ้นมาสู่ผิวน้ำ[14]

แหล่งที่อยู่อาศัย[แก้]

สรีรวิทยา[แก้]

การที่ทะเลลึกไม่มีแสงแดด, แรงกดดันมหาศาล, อุณหภูมิต่ำ, ออกซิเจนมีไม่มาก และความหนาแน่นต่ำ อินทรียวัตถุทั้งหมดนี่มีผลกับลักษณะทางสิ่งแวดล้อมของปลาทะเลลึกจึงได้มีการปรับตัวหลายอย่างดังนี้

กล้ามเนื้อและกระดูก[แก้]

น้ำหนักของโครงกระดูกและโปรตีนที่มีอยู่ในร่างกายของปลามักจะเป็นสิ่งที่สำคัญมากในน้ำเค็ม แต่เนื่องจากใต้ทะเลนั้นขาดแคลนอาหารจึงต้องทำให้ประหยัดพลังงานมากที่สุด ดังนั้นจึงทำให้ความหนาแน่นของกล้ามเนื้อและกระดูกของปลาทะเลลึกนั้นที่มีขนาดเล็กลงแต่ก็มีการทดแทนโดยที่ร่างกายของปลาทะเลลึกนั้นมีน้ำและไขมันจำนวนมากจึงทำให้พวกมันพยุงตัวได้ดี เงี่ยงและครีบของปลาทะเลลึกมีน้ำหนักเบา แต่การที่กล้ามเนื้อมีน้ำและไขมันเยอะจึงทำให้กล้ามเนื้อของปลามีลักษณะคล้ายวุ้นซึ่งจะทำให้การเคลื่อนที่ของมันช้าลงไปด้วย

ระบบทางเดินอาหาร[แก้]

ส่วนมากปลาทะเลลึกจะมีปากขนาดใหญ่และกระเพาะขนาดใหญ่เนื่องจากทะเลลึกนั้นเป็นสถานที่ที่ขาดแคลนอาหาร ยิ่งลึกก็ยิ่งหาเหยื่อยากจึงทำให้ปลาทะเลลึกนั้นจับทุกอย่างที่พวกมันพบถึงแม้ว่าเหยื่อจะมีขนาดใหญ่เพื่อจะไม่ต้องใช้พลังงานมากเกินไปในการแสวงหาเหยื่อรายต่อไปเช่นปลาไหลกัลเปอร์ที่มีปากขนาดใหญ่และปลาแบล็คสวอลโลที่มีกระเพาะขนาดใหญ่

การปรับเปลี่ยนลักษณะทางกายภาพ[แก้]

ปลาทะเลลึกนั้นจะมีการเปลี่ยนแปลลักษณะทางกายภาพของตัวมันเองเพื่อให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่มันอาศัยอยู่เช่นการมีดวงตาที่ใหญ่โต่ขึ้นเนื่องจากใช้เพื่อประสิทธิภาพในการรับแสงในใต้ทะเลอันมืดมิด

การมองเห็น[แก้]

ทะเลลึกนั้นไม่มีแสงสว่างส่องผ่านลงไปถึงจึงทำให้ปลาทะเลลึกบางชนิดนั้นมีการปรับตัว 2 รูปแบบคือทำให้ดวงตาใหญ่กว่าปกติเพื่อเพิ่มการรับแสง กับอีกบางชนิดนั้นเป็นปลาที่ตาบอด

การเรืองแสง[แก้]

ปลาที่อาศัยอยู่ในความมืดของทะเลลึกนั้นมีสปีชีส์ 65% จากการสุ่มตรวจนั้นสามารถที่จะเรืองแสงได้โดนจะมีอวัยวะเรืองแสงซึ่งสร้างขึ้นโดยปฏิกิริยาทางเคมีของแสงหรือมีการใช้แบคทีเรีย โดยอวัยวะเรืองแสงเหล่านี้จะมีหน้าที่ต่างกันออกไปตามชนิดของปลาและสภาพแวดล้อม เช่นใช้หาคู่หรือเอาไว้ใช้ล่อเหยื่อ

การให้กำเนิด[แก้]

เนื่องจากความหนาแน่นของประชากรที่ต่ำจึงทำให้ความน่าจะเป็นของการที่เพศชายและหญิงมาเจอกันเป็นไปได้ยากจึงทำให้เพศชายมีการเปลี่ยนแปลงร่างกายของตัวเองให้เล็กลงและทำตัวเองให้ติดไปกับเพศเมียเมื่อเจอกันจากนั้นจะค่อย ๆ รวมกันแล้วรับสารอาหารจากกระแสเลือดของเพศเมียเหมือเป็นปรสิตและรวมกันจนเหลือแต่อวัยวะสืบพันธุ์เพื่อใช้ในการสืบพันธุ์

การประมงทะเลลึก[แก้]

การทำประมงทะเลลึกของไทยยังไม่ได้มีการพัฒนามากเท่าที่ควรเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ มีเพียงการร่วมมือกับต่างประเทศในการจับปลาทูน่าเท่านั้น

รายชื่อปลาทะเลลึก[แก้]

ปลาใกล้สูญพันธุ์[แก้]

จากการศึกษาใน พ.ศ. 2549 ของนักวิทยาศาสตร์ชาวแคนาดานั้นได้พบปลาทะเลลึกได้แก่ ปลา blue hake และปลา spiny eel ที่จะสูญพันธุ์เนื่องจากการตกปลาในเชิงพาณิชย์ตั้งแต่บริเวณไหล่ทวีป-ก้นสมุทรที่ระดับความลึกประมาณ 1,600 เมตร เนื่องการสืบพันธุ์ของปลาเหล่านี้ช้าและมีวัยเจริญพันธุ์ในอายุที่เท่า ๆ กันกับมนุษย์จึงทำให้นี่เป็นหนึ่งในเหตุผลหลักที่พวกมันไม่สามารถฟื้นตัวได้จากการประมงที่มากเกินไปของมนุษย์

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Trujillo, Alan P.; Harold V. Thurman (2011). Essentials of Oceanography 10th ed. Boston: Prentice Hall. p. 354. ISBN 978-0321668127.
  2. 2.0 2.1 Trujillo, Alan P.; Harold V. Thurman (2011). Essentials of Oceanography 10th ed. Boston: Prentice Hall. p. 365. ISBN 978-0321668127.
  3. Trujillo, Alan P.; Harold V. Thurman (2011). Essentials of Oceanography 10th ed. Boston: Prentice Hall. pp. 457, 460. ISBN 978-0321668127.
  4. 4.0 4.1 Trujillo, Alan P.; Harold V. Thurman (2011). Essentials of Oceanography 10th ed. Boston: Prentice Hall. p. 415. ISBN 978-0321668127.
  5. Trujillo, Alan P.; Harold V. Thurman (2011). Essentials of Oceanography 10th ed. Boston: Prentice Hall. pp. 414–415. ISBN 978-0321668127.
  6. Randall, David J.; Anthony Peter Farrell (1997). Deep-sea Fishes. San Diego: Academic. p. 217. ISBN 978-0123504401.
  7. Randall, David J.; Anthony Peter Farrell (1997). Deep-sea Fishes. San Diego: Academic. p. 195. ISBN 978-0123504401.
  8. Randall, David J.; Anthony Peter Farrell (1997). Deep-sea Fishes. San Diego: Academic. pp. 196, 225. ISBN 978-0123504401.
  9. Moyle and Cech, 2004, p. 591
  10. Haedrich RL (1996) "Deep-water fishes: evolution and adaptation in the earth's largest living spaces" เก็บถาวร 2012-10-17 ที่ archive.today Journal of Fish Biology 49(sA):40-53.
  11. Moyle and Cech, 2004, page 586
  12. Compagno, L.J.V. (1984). Sharks of the World: An Annotated and Illustrated Catalogue of Shark Species Known to Date. Food and Agricultural Organization of the United Nations. pp. 14–15. ISBN 92-5-101384-5.
  13. Wharton, David A. (2007-07-23). (vacuoles) &source=bl&ots=sC3ScXZ-Bf&sig=X7oTxFYOAAZEDP9UgygFO6LUmwQ&hl=en&sa=X&ved=0ahUKEwjK-f2Q7-zRAhXDKWMKHSzXBY4Q6AEIIjAC#v=onepage&q=Deep-sea%20organisms%20contain%20gas-filled%20spaces%20 (vacuoles) &f=false Life at the Limits: Organisms in Extreme Environments (ภาษาอังกฤษ). Cambridge University Press. ISBN 9781139431941. {{cite book}}: ตรวจสอบค่า |url= (help)
  14. Wharton, David. (2002). Life at the Limits: Organisms in Extreme Environments. Cambridge, UK: Cambridge UP. p. 199. ISBN 978-0521782128.
  15. Ryan P "Deep-sea creatures: The bathypelagic zone" Te Ara - the Encyclopedia of New Zealand. Updated 21 September 2007.
  16. Froese, Rainer and Pauly, Daniel, eds. (2010). "Chauliodus sloani" in FishBase. April 2010 version.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]