ข้ามไปเนื้อหา

ปลาขวาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปลาขวาน
Half-naked Hatchetfish, Argyropelecus hemigymnus with a crustacean
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
โดเมน: Eukaryota
อาณาจักร: Animalia
อาณาจักรย่อย: Eumetazoa
ไฟลัมใหญ่: Deuterostomia
ไฟลัม: Chordata
ไฟลัมย่อย: Vertebrata
ไฟลัมฐาน: Gnathostomata
ชั้นใหญ่: Osteichthyes
ชั้น: Actinopterygii
ชั้นย่อย: Neopterygii
ชั้นฐาน: Teleostei
อันดับใหญ่: Stenopterygii (disputed)
อันดับ: Stomiiformes
วงศ์: Sternoptychidae
วงศ์ย่อย: Sternoptychinae
ความหลากหลาย
3 genera, some 40 species

ปลาขวานทะเลลึก (อังกฤษ: Deep Sea Hatchetfish) หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า ปลาขวานนั้น ชื่อก็บอกอย่างตรงตัวแปลว่า ขวานด้ามเล็ก ๆ ซึ่งถูกตั้งมาจากลักษณะของตัวมันที่มองแล้วคล้ายกับขวานอย่างชัดเจน ส่วนลักษณะลำตัวของมันจะบางคล้ายกับใบมีดของขวานด้วย

ลักษณะ

[แก้]

ปลาขวานเป็นปลาในตระกูล Sternoptychidae จำพวกปลาทะเลน้ำลึก โดยมีทั้งหมดด้วยกันทั้งหมดกว่า 45 สายพันธุ์ แต่ละสายพันธุ์ก็จะมีขนาดของตัวที่แตกต่างกันไป แต่ตัวที่ใหญ่ที่สุดจะมีขนาดความยาวประมาณ 12 เซนติเมตรเท่านั้น ส่วนปลาขวานสายพันธุ์ขนาดเล็กจิ๋วส่วนใหญ่จะมีเกล็ดสีเงินละเอียด นอกจากนั้นยังมีบางสายพันธุ์ที่มีลำตัวสีน้ำตาลและสีเขียวเข้มอีกด้วย ปลาขวานจะมีดวงตาที่โตใหญ่แหงนมองขึ้นด้านบนซึ่งมีประสิทธิภาพอย่างมากในการล่าเหยื่อที่ร่วงตกลงมาจากข้างบน และด้วยความที่ใต้ท้องทะเลลึกจะมีแสงสว่างที่น้อยมาก ดังนั้นดวงตาของมันจึงมีความไวต่อแสงมากและสามารถแยกแยะระหว่างเงาและแสงจากด้านบนได้เป็นอย่างดี[1][2][3]

วงจรชีวิตและการเรืองแสง

[แก้]

นอกจากนี้ปลาขวานยังเป็นสัตว์ที่มีลักษณะพิเศษในการสร้างแสงของตัวเองได้ด้วย โดยผ่านกระบวนการที่เรียกว่า ไบโอลูมิเนสเซนส์ (Bioluminescence) หรือการเรืองแสงของสิ่งมีชีวิต โดยปลาขวานจะมีอวัยวะพิเศษที่เรียกว่า photophore หรือ เซลล์เรืองแสง มันจะทำปฏิกิริยาเคมีและสามารถผลิตสารเรืองแสงได้เช่นเดียวกับหิ่งห้อย ปลาขวานจึงสามารถปรับแสงในตัวเองได้ ทั้งนี้ด้านนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่ากลไกดังกล่าวนี้น่าจะมีส่วนสำคัญที่ใช้ในการหาคู่ ถึงแม้ว่าจะทราบพฤติกรรมการผสมพันธุ์ของมันเพียงน้อยนิดก็ตาม ปัจจุบันยังไม่ทราบรายละเอียดเกี่ยวกับวงจรชีวิตของปลาขวานมากนัก ทางนักวิทยาศาสตร์ให้ความเห็นว่ามันมีวงจรชีวิตที่สั้นไม่ถึง 1 ปี โดยอาศัยช่วงเวลาตอนกลางคืนอพยพไปยังบริเวณน้ำตื้นเพื่อหาแพลงก์ตอนและปลาขนาดเล็กกินเป็นอาหาร ส่วนในช่วงกลางวันมันก็จะว่ายกลับลงน้ำลึก ถือว่าเป็นพฤติกรรมที่แปลกมากทีเดียว โดยส่วนใหญ่แล้วจะพบปลาขวานได้ในแถบน้ำเย็นที่ความลึกลงไปใต้ท้องทะเลประมาณ 180 ถึง 1,370 เมตร[4][5]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Woodhouse, S.C. (1910): English-Greek Dictionary - A Vocabulary of the Attic Language. George Routledge & Sons Ltd., Broadway House, Ludgate Hill, E.C. Searchable JPEG fulltext
  2. Glare, P.G.W. (ed.) (1968-1982): Oxford Latin Dictionary (1st ed.). Oxford University Press, Oxford. ISBN 0-19-864224-5
  3. FishBase (2006): Family Sternoptychidae. Version of 2006-OCT-10. Retrieved 2009-OCT-02.
  4. Nelson, Joseph S. (2006): Fishes of the World (4th ed.). John Wiley & Sons, Inc. p.209 ISBN 0-471-25031-7
  5. Fink, William L. (1998): Sternoptychidae. In: Paxton, J.R. & Eschmeyer, W.N. (eds.): Encyclopedia of Fishes: 121. Academic Press, San Diego. ISBN 0-12-547665-5[ต้องการตรวจสอบความถูกต้อง]