ปลาคิเมียรา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปลาคิเมียรา
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ตั้งแต่ยุคดีโวเนียน-ปัจจุบัน[1] [1]
Hydrolagus colliei
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
Families

Callorhinchidae
Chimaeridae
Rhinochimaeridae

ปลาคิเมียรา [1] (อังกฤษ: Chimaera) หรือมีอีกชื่อที่เป็นที่รู้จักคือ ฉลามผี เป็นปลากระดูกอ่อนในลำดับ Chimaeriformes ปลาคิเมียรานั้นเป็นญาติห่าง ๆ ของปลาฉลามเนื่องจากการวิวัฒนการของพวกมันนั้นแยกตัวออกมาจากฉลามตั้งแต่ 400 ล้านปีที่แล้ว[2]ในปัจจุบันนี้สามารถพบได้ตามทะเลลึก[3]

ลักษณะและอุปนิสัย[แก้]

ถุงหุ้มไข่ของปลาคิเมียรา
ปลาคิเมียราที่อยู่บริเวณน้ำลึกถูกจับภาพได้โดยNOAAS Okeanos Explorerซึ่งจากภาพสามารถถ่ายเซลล์บริเวณจมูกซึ่งเป็นเซลล์รับประสาทสัมผัสทางไฟฟ้า

ปลาคิเมียราอาศัยอยู่ในทะเลลึกโดยอยู่ที่ระดับความลึกประมาณ 2,600 เมตร ยกเว้นสกุล Callorhinchus ที่จะอาศัยอยู่บริเวณน้ำลึก 200 เมตร จึงทำให้พวกมันสามารถถูกจับมาแสดงโชว์ที่พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ[4]

พวกมันมีลำตัวยาวและมีหัวขนาดใหญ่และมีช่องปิดเหงือกช่องเดียวเมื่อโดเต็มวัยอาจมีความยาวถึง 150 ซ.ม.[5]พวกมันเป็นปลากระดูกอ่อนมีผิวหนังที่เรียบเนียนมีสีน้ำตาลถึงเทาและมีครีบหลังเป็นกระดูกอ่อน

พวกมันมีลักษณะบางประการคล้ายปลาฉลามเช่นการปฏิสนธิภายในของเพศเมีย, การวางไข่แบบมีถุงหุ้มไข่และยังมีการใช้ประสาทสัมผัสทางไฟฟ้าในการหาเหยื่อเหมือนกัน[6]

ถึงจะมีลักษณะคล้ายปลาฉลามแต่มันมีสิ่งทีแตกต่างและแปลงออกไปคือปลาคิเมียราเพศผู้นั้นจะมีอวัยวะสืบพันธุ์ที่สามารถยืดหดได้อยู่บนหน้าผาก[7] และมีครีบเอว[5]

และยังมีสิ่งที่แตกต่างจากฉลามอีกเช่นขากรรไกรรวมกับกระโหลกศีรษะ, มีการแยกกันระหว่างทวารหนักและอวัยวะเพศ, ไม่มีฟันที่แหลมคมและมีแผ่นปิดเหงือกเหมือนปลากระดูกแข็ง[5]

การจัดหมวดหมู่[แก้]

ในการจัดหมวดหมู่ของปลาคิเมียรานั้นถือว่าเป็นปลากระดูกอ่อนแต่พวกมันก็มีลักษณะบางประการเหมือนปลากระดูกแข็งอยู่ในกลุ่ม Holocephali

จากการสำรวจทะเลลึกนั้นทำให้มีการวิเคราะห์และจัดอนุกรมวิธานใหม่ ๆ ขึ้นเนื่องจากมีการค้นพบสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ๆ[2] พวกมันมี 50 สายพันธุ์ใน 6 สกุล 3 อันดับ (รวมสกุล Ischyodus ที่สูญพันธุ์ไปแล้วและอีกสองอันดับที่เป็นแค่ฟอสซิล)

Callorhinchus callorynchus
Chimaera monstrosa
Hydrolagus affinis
Harriotta raleighana

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 Froese, Rainer, and Daniel Pauly, eds. (2014). "Chimaeriformes" in FishBase. November 2014 version.
  2. 2.0 2.1 "Ancient And Bizarre Fish Discovered: New Species Of Ghostshark From California And Baja California". ScienceDaily. September 23, 2009. สืบค้นเมื่อ 2009-09-23.
  3. Peterson, Roger Tory; Eschmeyer, William N.; Herald, Earl S. (1 September 1999). A Field Guide to Pacific Coast Fishes: North America. Houghton Mifflin Harcourt. p. 13. ISBN 0-618-00212-X. สืบค้นเมื่อ 9 August 2015.
  4. Tozer, H. & Dagit, D.D. (2004) : Husbandry of Spotted Ratfish, Hydrolagus colliei.[ลิงก์เสีย], Chapter 33 in: Smith, M., D. Warmolts, D. Thoney, & R. Hueter (editors). Elasmobranch Husbandry Manual: Captive Care of Sharks, Rays, and their Relatives. Ohio Biological Survey, Inc.
  5. 5.0 5.1 5.2 Stevens, J.; Last, P.R. (1998). Paxton, J.R.; Eschmeyer, W.N. (บ.ก.). Encyclopedia of Fishes. San Diego: Academic Press. p. 69. ISBN 0-12-547665-5.
  6. T.H. Bullock; R.H. Hartline; A.J. Kalmijn; P. Laurent; R.W. Murray; H. Scheich; E. Schwartz; T. Szabo (6 December 2012). Electroreceptors and Other Specialized Receptors in Lower Vertebrates. Springer Science & Business Media. p. 125. ISBN 978-3-642-65926-3.
  7. Freaky New Ghostshark ID’d Off California Coast, a September 22, 2009 blog post from Wired Science