ก้นทะเล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ก้นสมุทร (สีน้ำเงินเข้ม)

ก้นทะเล (อังกฤษ: seabed) อาจเรียกว่า พื้นท้องมหาสมุทร หรือ ก้นสมุทร คือช่วงตอนกลางของมหาสมุทรและเป็นบริเวณที่ต่อเนื่องจากลาดตีนทวีปเป็นต้นไป เป็นอาณาเขตส่วนใหญ่ของพื้นที่ใต้ทะเลจึงมีขนาดกว้างขว้างมาก มีลักษณะภูมิประเทศหลากหลาย มีพื้นที่ราบเรียบเป็นส่วนใหญ่แต่มีส่วนสูงส่วนต่ำด้วยเช่นกัน ได้แก่ หุบผาชันใต้ทะเล เทือกเขากลางสมุทร ที่ราบสูง แอ่งมหาสมุทร ภูเขา เช่น เทือกเขามิดแอตแลนติก ซึ่งทอดจากไอซ์แลนด์ลงมาเกือบถึงทวีปแอนตาร์กติกา บางตอนสูงขึ้นมาเหนือน้ำเป็นเกาะ เช่น หมู่เกาะอะโซร์ส เกาะเล็ก ๆ อื่น ๆ สันเขานี้ยาวประมาณ 720 กิโลเมตร ส่วนแอ่งลึกบนพื้นท้องมหาสมุทรขนาดใหญ่นั้นก็คือบริเวณอ่าวเม็กซิโก ทะเลแคริบเบียน ทะเลแดง ระดับความลึกของน้ำบริเวณนี้จะลึกประมาณ 4,000-6,000 เมตร[1]

ภูมิประเทศใต้ทะเล

ลักษณะ[แก้]

คืออาณาเขตหรือพื้นที่ส่วนใหญ่ของมหาสมุทรมีโครงสร้างจากปรากฏการณ์ทางกายภาพทั่วไปที่ส่วนใหญ่เกิดจากการเคลื่อนไหวของเปลือกโลกและตะกอนจากแหล่งต่าง ๆ ที่กระแสน้ำพัดพามา โครงสร้างของพื้นท้องมหาสมุทรเริ่มต้นจากขอบทวีปโดยจะมีไหล่ทวีป ลาดทวีป ลาดตีนทวีป ลดลงมาตามความลาดชันเป็นชั้นลงไปในทะเลจนมาถึงที่ราบก้นสมุทร ซึ่งเป็นภูมิประเทศของก้นทะเลและพื้นที่หลักของทะเลนั้นเอง

อ้างอิง[แก้]

  1. "พื้นท้องสมุทร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-12-15. สืบค้นเมื่อ 2016-10-02.