ปรากฏการณ์เชื่อมั่นมากเกินไป
ปรากฏการณ์เชื่อมั่นมากเกินไป (อังกฤษ: overconfidence effect) เป็นความเอนเอียงทางประชานอันมีหลักฐานชัดเจน ที่ความเชื่อมั่นอันเป็นอัตวิสัยคือเป็นความรู้สึกส่วนตัว จะเกินกว่าความเป็นจริงที่เป็นปรวิสัยอย่างคงเส้นคงวา โดยเฉพาะเมื่อความรู้สึกเชื่อมั่นค่อนข้างสูง[1] นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งของการปรับเทียบความเป็นไปได้ของเหตุการณ์ต่าง ๆ ตามความรู้สึกที่เป็นอัตวิสัย ให้ตรงกับความจริงได้ไม่ดี ในวรรณกรรมวิชาการต่าง ๆ ความเชื่อมั่นเกินจะมีนิยาม 3 อย่าง คือ[2]
- การประเมินเกินสิ่งที่ตนทำ (overestimation)
- การเทียบฐานะ/สิ่งที่ตนทำเกินเมื่อเทียบกับผู้อื่น (overplacement)
- ความเที่ยงเกินจริง เป็นการแสดงความแน่ใจที่ไม่สมเหตุผลว่าความเชื่อของตนเป็นจริง (overprecision)
วิธีการศึกษาที่ใช้อย่างสามัญก็คือ ถามผู้เข้าร่วมว่า รู้สึกเชื่อมั่นแค่ไหนในความเชื่อที่มีหรือในคำตอบที่ตนให้ ข้อมูลแสดงว่า ความรู้สึกเชื่อมั่นจะเกินความจริงอย่างเป็นระบบ ซึ่งแสดงนัยว่า คนเราเชื่อมั่นว่าตัวเองถูกเกินกว่าเหตุผล ถ้าความเชื่อมั่นของมนุษย์ปรับเทียบกับความจริงอย่างสมบูรณ์ การตัดสินใจที่เชื่อมั่น 100% ก็ควรจะถูกต้อง 100% เชื่อมั่น 90% ก็ควรถูก 90% เป็นต้น เทียบกับผลการศึกษาสำคัญที่พบว่า ความเชื่อมั่นจะเกินจริงเมื่อตอบคำถามที่ยากและไม่คุ้นเคย
ยกตัวอย่างเช่น ในการสะกดคำ ผู้ร่วมการทดลองจะถูก 80% เทียบกับที่ตนอ้างว่าเชื่อมั่นว่าสะกดถูก 100%[3] กล่าวอีกอย่างก็คือ อัตราความผิดพลาดจริง ๆ อยู่ที่ 20% โดยผู้ร่วมการทดลองคาดว่า อยู่ที่ 0% ในงานศึกษาที่ผู้ร่วมการทดลองตอบว่าถูกหรือผิดสำหรับประโยคเกี่ยวกับความรู้ทั่วไป พวกเขาเชื่อมั่นเกินในทุก ๆ ระดับ เช่น ถ้าเชื่อมั่น 100% ในคำตอบของตน ก็จะผิด 20% เป็นต้น[4]
แบบต่าง ๆ
[แก้]การประเมินเกิน (overestimation)
[แก้]อาการปรากฏของความเชื่อมั่นเกินอย่างหนึ่งก็คือ ความโน้มเอียงในการประเมินฐานะของตนเกินในเรื่องการตัดสินใจหรือการกระทำ เป็นความแน่ใจที่ตนรู้สึกเรื่องความสามารถ การกระทำ ระดับการควบคุม และโอกาสความสำเร็จของตน ๆ ซึ่งมีโอกาสเกิดมากที่สุดในงานที่ยาก ในสิ่งที่ยาก เมื่อความล้มเหลวมีโอกาสมากกว่า หรือเมื่อบุคคลต้องประเมินในสิ่งที่ตนไม่ชำนาญ การประเมินเกินยังเกิดในเรื่องต่าง ๆ นอกเหนือจากการกระทำของตน ซึ่งรวมปรากฏการณ์การแปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมได้และเหตุผลวิบัติในการวางแผน[2]
การแปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมได้
[แก้]การแปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมได้หมายถึงความโน้มเอียงที่บุคคลจะประพฤติเหมือนกับสามารถควบคุมอะไรได้ เมื่อความจริงไม่สามารถเลย[5] อย่างไรก็ดี หลักฐานไม่สนับสนุนแนวคิดว่า มนุษย์ประเมินเกินการควบคุมที่ตนมีอย่างเป็นระบบ คือเมื่อตนสามารถควบคุมได้สูง ก็กลับประเมินน้อยเกินจริงถึงการควบคุมได้ที่ตนมี[6]
เหตุผลวิบัติในการวางแผน
[แก้]เหตุผลวิบัติในการวางแผนหมายถึงความโน้มเอียงที่มนุษย์จะประเมินว่างานจะเสร็จเมื่อไรเร็วเกินจริง คือประเมินเวลาเพื่อทำงานให้เสร็จน้อยเกินไป[7] ซึ่งมีกำลังที่สุดสำหรับงานที่นานและซับซ้อน โดยจะไม่มีเลยหรือประเมินกลับกันสำหรับงานที่ง่าย ๆ และทำเสร็จได้เร็ว
หลักฐานคัดค้าน
[แก้]ปรากฏการณ์ความปรารถนาหรือความเชื่อที่อยู่เหนือเหตุผล ที่มนุษย์ประเมินความเป็นไปได้ของเหตุการณ์ตามผลที่ต้องการ ค่อนข้างจะเกิดน้อย[8] บางส่วนอาจเป็นเพราะมนุษย์บางคนจะมองโลกในแง่ร้ายเพื่อป้องกันตัวก่อนหน้าเหตุการณ์สำคัญ ๆ[9] เพื่อลดความผิดหวังที่จะติดตามมาถ้าพยากรณ์สิ่งที่จะได้ดีกว่าความเป็นจริง[10]
ความเที่ยงเกินจริง (overprecision)
[แก้]ความเที่ยงเกินจริง (overprecision) เป็นความเชื่อมั่นเกินจริงว่า ตนรู้ความจริง[11][12] หลักฐานของปรากฏการณ์นี้โดยมากมาจากงานศึกษาที่ถามผู้ร่วมการทดลองว่า เชื่อมั่นว่ารายการหนึ่ง ๆ ถูกต้องเท่าไร แม้จะมีประโยชน์บ้าง แต่วิธีนี้ไม่สามารถแยกแยะการประเมินเกิน (overestimation) จากความเที่ยงเกินจริง (overprecision) เพราะการตัดสินความเชื่อมั่นในรายการเช่นนี้ แสดงปรากฏการณ์ทั้งสอง
หลังจากให้ตัดสินความถูกต้องของรายการชุดหนึ่ง ถ้าให้ประเมินจำนวนที่ตนตัดสินได้ถูกต้อง ผู้ร่วมการทดลองมักจะไม่รายงานคะแนนของตนเองเกิน แต่ค่าเฉลี่ยของความเชื่อมั่นในการตัดสินถูกผิดต่อรายการ ก็เกินจำนวนรายการที่ตนอ้างว่าตัดสินถูก[13] คำอธิบายอย่างหนึ่งก็คือ ความเชื่อมั่นในการตัดสินถูกผิดต่อรายการเกินจริงก็เพราะปรากฏการณ์ความเที่ยงเกินจริง แต่การตัดสินใจทั่วไปไม่แสดงการประเมินเกินอย่างเป็นระบบ
ช่วงความเชื่อมั่น
[แก้]หลักฐานที่ดีสุดของความเที่ยงเกินจริง มาจากงานศึกษาที่ให้ผู้ร่วมการทดลองชี้บ่งความแน่นอนของความรู้ของตน โดยกำหนดช่วงความเชื่อมั่น 90% สำหรับการประเมินค่าหนึ่ง ๆ โดยเฉพาะ ถ้ามนุษย์ปรับเทียบกับความจริงอย่างสมบูรณ์ ช่วงความเชื่อมั่น 90% ก็จะรวมค่าที่เป็นจริง 90% ทั้งหมด[14] แต่จริง ๆ แล้ว อัตราที่ถูกต้องบ่อยครั้งต่ำแค่ 50% ซึ่งแสดงว่า มนุษย์แสดงช่วงความเชื่อมั่นแคบเกินไป ซึ่งก็แสดงว่า มนุษย์คิดว่า ความรู้ของตน ๆ แม่นยำเกินความเป็นจริง
การเทียบฐานะเกิน (overplacement)
[แก้]การเทียบฐานะเกินอาจเป็นอาการปรากฏเด่นที่สุดของปรากฏการณ์มั่นใจมากเกินไป เป็นการเปรียบการกระทำ/ฐานะของตนเองเทียบกับผู้อื่น ซึ่งเกิดเมื่อมนุษย์เชื่อว่าตนดีกว่าคนอื่น หรือ "ดีกว่าคนอื่นโดยเฉลี่ย"[2] มันเป็นการจัดหรือให้คะแนนว่าตนดีกว่า/เก่งกว่าคนอื่น เป็นสิ่งที่เกิดบ่อยกว่าในงานง่าย ๆ ที่เราเชื่อว่าทำสำเร็จได้ง่าย คำอธิบายสำหรับปรากฏการณ์นี้ก็คือมันช่วยให้รู้สึกดีกับตัวเองและช่วยรักษาความภูมิใจในตน
ปรากฏการณ์เหนือกว่าโดยเฉลี่ย
[แก้]ปรากฏการณ์เหนือกว่าโดยเฉลี่ยที่ดังสุดอาจเป็นงานปี 1981 ที่พบว่า ผู้ขับรถชาวอเมริกัน 93% ให้คะแนนตัวเองว่า ขับรถดีกว่าค่ามัธยฐาน[15] ปรากฏการณ์ที่โรงเรียนในเขตต่าง ๆ อ้างว่า นักเรียนของตนเรียนดีกว่านักเรียนโดยเฉลี่ยของประเทศได้เรียกว่า ปรากฏการณ์ทะเลสาบโวบีกอน (Lake Wobegon effect) ตามเมืองในนิยายที่ "หญิงทั้งหมดแข็งแรง ชายทุกคนรูปหล่อ และเด็กทั้งปวงเหนือกว่าเด็กธรรมดา"[16] การเทียบฐานะเกินก็พบในสถานการณ์อื่น ๆ มากมากหลายอย่างเช่นกัน[17]
แต่งานปี 1999 ก็ได้แสดงว่า ปรากฏการณ์นี้จำกัดอยู่ในสิ่งที่ทำง่าย ๆ ที่การทำสำเร็จเป็นเรื่องปกติและผู้ทำรู้สึกว่า ตนสามารถ สำหรับงานที่ยาก ปรากฏการณ์จะกลับกันคือผู้ทำจะรู้สึกว่าทำได้แย่กว่าผู้อื่น[18]
การมองในแง่ดีโดยเปรียบเทียบ
[แก้]นักวิจัยบางท่านอ้างว่า มนุษย์คิดว่าสิ่งดี ๆ มีโอกาสเกิดแก่ตนเองมากกว่าคนอื่น เทียบกับสิ่งร้าย ๆ ที่มีโอกาสเกิดแก่ตนเองน้อยกว่าผู้อื่น[19] แต่นักวิจัยอื่น ๆ ก็ได้ชี้ว่า งานวิจัยที่ผ่าน ๆ มามักจะตรวจสอบผลดีที่เกิดทั่ว ๆ ไป (เช่น การมีบ้านเป็นของตนเอง) และผลร้ายที่มีน้อย (เช่น ถูกฟ้าผ่า)[20][21][22] คือ ความเกิดบ่อยของเหตุการณ์เป็นตัวอธิบายสิ่งที่ค้นพบในงานก่อน ๆ เกี่ยวกับการมองในแง่ดีโดยเปรียบเทียบ มนุษย์คิดว่าเหตุการณ์ที่สามัญ (เช่น จะมีอายุเกิน 70 ปี) มีโอกาสเกิดแก่ตนมากกว่าคนอื่น ๆ และเหตุการณ์ที่มีน้อย (เช่น จะมีอายุเกิน 100 ปี) มีโอกาสเกิดขึ้นแก่ตนเองน้อยกว่าคนอื่น
การแปลสิ่งเร้าผิดเชิงบวก
[แก้]งานปี 1988 อ้างว่า มนุษย์ยึดติดกับความเชื่อในตนเองที่ดีเกินจริง แปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมได้ และเชื่อความดี/ความเก่งกว่าที่ไม่เป็นจริง เพราะมันช่วยให้รับมือเหตุการณ์และก้าวหน้าในชีวิตได้[23] แม้จะมีหลักฐานว่าความเชื่อที่มองโลกในแง่ดีจะมีสหสัมพันธ์กับชีวิตที่ดีกว่า งานวิจัยโดยมากที่แสดงความสัมพันธ์เช่นนี้ ก็สามารถอธิบายได้ในแง่อื่น ๆ ด้วย
ผลต่อชีวิต
[แก้]ความมั่นใจมากเกินเรียกว่าเป็นความเอนเอียงทางประชานที่มีอยู่อย่างกลาดเกลื่อนที่สุด และมีโอกาสสร้างความหายนะมากที่สุด ในบรรดาความเอนเอียงในมนุษย์[25] จึงได้โทษว่าเป็นเหตุของคดีความ การนัดหยุดงาน สงคราม ฟองสบู่ตลาดหลักทรัพย์ และการล้มของตลาดหุ้น
คดีความ การนัดหยุดงาน และสงครามอาจเกิดจากการเทียบฐานะเกินจริง ถ้าโจทก์หรือจำเลยมีแนวโน้มเชื่อว่า ตนควรจะได้มากกว่า ตนยุติธรรมกว่า หรือชอบธรรมกว่าฝ่ายตรงข้าม นี่ก็จะอธิบายความยืดเยื้อของคดีความที่ไม่สมเหตุผล[26] ถ้าบริษัทหรือสหภาพแรงงานมีแนวโน้มเชื่อว่า ตนมีกำลังมากกว่าและอยู่ในฐานที่เที่ยงธรรมมากกว่าฝ่ายตรงข้าม นี่อาจจะเป็นส่วนให้การนัดหยุดงานยืดเยื้อ[27] ถ้าประเทศหนึ่ง ๆ เชื่อว่า กำลังทหารของตนเข้มแข็งกว่าประเทศอื่น ๆ ก็อาจอธิบายความพร้อมเพื่อทำสงคราม[28]
ความเที่ยงเกินจริงอาจมีผลสำคัญต่อพฤติกรรมการลงทุนและการซื้อขายหุ้น ทฤษฎีการเงินแบบคลาสสิกไม่สามารถอธิบายว่า ถ้าผู้ค้าขายหุ้นทั้งหมด เป็นผู้ทำการอย่างมีเหตุผลตามทฤษฎีความน่าจะเป็นแบบเบย์ ทำไมจึงมีการค้าขายในตลาดหุ้นมากมายขนาดนี้[29] ดังนั้น ความเที่ยงเกินจริงอาจเป็นคำตอบอย่างหนึ่ง[30] คือถ้าผู้ทำการมั่นใจในการประเมินมูลค่าของสินทรัพย์หนึ่ง ๆ ของตนว่าถูกต้อง พวกเขาก็จะเต็มใจค้าขายกับคนอื่นผู้มีข้อมูลต่างกัน
งานปี 1965 ตรวจสอบนักจิตวิทยาทางคลินิกและนักศึกษาจิตวิทยา โดยให้ตอบคำถามแบบหลายตัวเลือกที่พวกเขาต้องสรุปข้อมูลจากกรณีศึกษา[31] สำหรับคำตอบแต่ละข้อ ผู้ร่วมการทดลองจะกำหนดความมั่นใจเป็นเปอร์เซ็นต์ว่าคำตอบที่ให้มีโอกาสถูกแค่ไหน ซึ่งทำให้สามารถเปรียบได้กับความเป็นจริง เมื่อได้ข้อมูลเพิ่มขึ้นจากกรณีศึกษา ความมั่นใจของพวกเขาได้เพิ่มขึ้นจาก 33% เป็น 53% แต่การตอบตรงกับความเป็นจริงไม่ได้เพิ่มขึ้น คือถูกน้อยกว่า 30% เป็นการแสดงความมั่นใจเกิน ซึ่งเพิ่มขึ้นเมื่อผู้ร่วมการทดลองมีข้อมูลมากขึ้นเพื่อตัดสินใจ[31]
ถึงแม้มนุษย์จะไม่โน้มเอียงอย่างทั่วไปในการมีความมั่นใจมากเกินไป สถานการณ์ทางสังคมและการคัดเลือกที่ขัดประโยชน์ (adverse selection) อาจโปรโหมตให้มี ยกตัวอย่างเช่น ผู้ที่มีโอกาสกล้าหาญพอเพื่อเริ่มธุรกิจของตนเอง ก็คือบุคคลที่เทียบความสามารถของตนเองเกินกว่าผู้อื่นที่อาจเป็นคู่แข่ง และถ้าผู้ลงคะแนนเสียงเห็นว่าผู้นำที่มั่นใจน่าเชื่อถือมากกว่า ผู้ที่แข่งขันเพื่อตำแหน่งผู้นำก็อาจเรียนรู้ว่า ควรจะแสดงความมั่นใจมากกว่าคู่แข่งเพื่อให้ชนะการเลือกตั้ง[32]
ความมั่นใจเกินอาจมีผลดีต่อความภูมิใจแห่งตน และทำให้บุคคลมุ่งมั่นเพื่อให้สำเร็จถึงเป้าหมาย คือ ความเชื่อในตนเองอาจทำให้มุ่งมั่นและพยายามมากกว่าบุคคลผู้ไม่เชื่อ[33]
ความแตกต่างระหว่างบุคคล
[แก้]การประเมินตัวเองที่ได้ค่าสูง ซึ่งแสดงลักษณะบุคลิกภาพอันเสถียรและมีองค์คือ locus of control, neuroticism, self-efficacy, และความภูมิใจแห่งตน[34] อาจทำให้เกิดปรากฏการณ์มั่นใจมากเกิน เพราะผู้ได้ค่าสูงจะคิดถึงเองในเชิงบวกและมั่นใจในความสามารถของตน[34] แม้ค่าที่สูงมากก็จะทำให้บุคคลมั่นใจเกินความเป็นจริง
ดูเพิ่ม
[แก้]- ความเอนเอียงรับใช้ตนเอง
- ความหลงตนเอง
- ปรากฏการณ์ดันนิง–ครูเกอร์
- ภาวะหลงผิดคิดตนเขื่อง
- ฮิวริสติกในการประเมินและการตัดสินใจ
- รายชื่อความเอนเอียงทางประชาน
- ความเอนเอียงโดยการมองในแง่ดี
- สัจนิยมเหตุซึมเศร้า
เชิงอรรถและอ้างอิง
[แก้]- ↑ Pallier, Gerry; Wilkinson, Rebecca; Danthiir, Vanessa; Kleitman, Sabina; Knezevic, Goran; Stankov, Lazar; Roberts, Richard D. (2002). "The Role of Individual Differences in the Accuracy of Confidence Judgments". The Journal of General Psychology. 129 (3): 257–299. doi:10.1080/00221300209602099. PMID 12224810.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 Moore, Don A.; Healy, Paul J. (2008). "The trouble with overconfidence". Psychological Review. 115 (2): 502–517. doi:10.1037/0033-295X.115.2.502. PMID 18426301. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-06. สืบค้นเมื่อ 2018-05-27.
- ↑ Adams, P. A.; Adams, J. K. (1960). "Confidence in the recognition and reproduction of words difficult to spell". The American journal of psychology. 73 (4): 544–552. doi:10.2307/1419942. PMID 13681411.
- ↑ Lichtenstein, Sarah; Fischhoff, Baruch; Phillips, Lawrence D. (1982). "Calibration of probabilities: The state of the art to 1980". ใน Kahneman, Daniel; Slovic, Paul; Tversky, Amos (บ.ก.). Judgment Under Uncertainty: Heuristics and Biases. Cambridge University Press. pp. 306–334. ISBN 978-0-521-28414-1.
- ↑ Langer, Ellen J. (1975). "The illusion of control". Journal of Personality and Social Psychology. 32 (2): 311–328. doi:10.1037/0022-3514.32.2.311.
- ↑ Buehler, Roger; Griffin, Dale; Ross, Michael (1994). "Exploring the "planning fallacy": Why people underestimate their task completion times". Journal of Personality and Social Psychology. 67 (3): 366–381. doi:10.1037/0022-3514.67.3.366.
- ↑ Krizan, Zlatan; Windschitl, Paul D. (2007). "The influence of outcome desirability on optimism" (PDF). Psychological Bulletin. 133 (1): 95–121. doi:10.1037/0033-2909.133.1.95. PMID 17201572. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-12-17. สืบค้นเมื่อ 2018-05-27.
- ↑ Norem, Julie K.; Cantor, Nancy (1986). "Defensive pessimism: Harnessing anxiety as motivation". Journal of Personality and Social Psychology. 51 (6): 1208–1217. doi:10.1037/0022-3514.51.6.1208. PMID 3806357.
- ↑ McGraw, A. Peter; Mellers, Barbara A.; Ritov, Ilana (2004). "The affective costs of overconfidence" (PDF). Journal of Behavioral Decision Making. 17 (4): 281–295. doi:10.1002/bdm.472. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2018-05-27.
{{cite journal}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ Harvey, Nigel (1997). "Confidence in judgment". Trends in Cognitive Sciences. 1 (2): 78–82. doi:10.1016/S1364-6613(97)01014-0. PMID 21223868.
- ↑ Hoffrage, Ulrich (2004). "Overconfidence". ใน Pohl, Rüdiger (บ.ก.). Cognitive Illusions: a handbook on fallacies and biases in thinking, judgement and memory. Psychology Press. ISBN 978-1-84169-351-4.
- ↑ Gigerenzer, Gerd (1993). "The bounded rationality of probabilistic mental models". ใน Manktelow, K. I.; Over, D. E. (บ.ก.). Rationality: Psychological and philosophical perspectives. London: Routledge. pp. 127–171. ISBN 9780415069557.
- ↑ Alpert, Marc; Raiffa, Howard (1982). "A progress report on the training of probability assessors". ใน Kahneman, Daniel; Slovic, Paul; Tversky, Amos (บ.ก.). Judgment Under Uncertainty: Heuristics and Biases. Cambridge University Press. pp. 294–305. ISBN 978-0-521-28414-1.
- ↑ Svenson, Ola (1981). "Are we all less risky and more skillful than our fellow drivers?". Acta Psychologica. 47 (2): 143–148. doi:10.1016/0001-6918(81)90005-6.
- ↑ Cannell, John Jacob (1989). "How public educators cheat on standardized achievement tests: The "Lake Wobegon" report". Friends for Education. Albuquerque, NM.
- ↑ Dunning, David (2005). Self-Insight: Roadblocks and Detours on the Path to Knowing Thyself. Psychology Press. ISBN 978-1841690742.
- ↑ Kruger, Justin (1999). "Lake Wobegon be gone! The "below-average effect" and the egocentric nature of comparative ability judgments". Journal of Personality and Social Psychology. 77 (2): 221–232. doi:10.1037/0022-3514.77.2.221. PMID 10474208.
- ↑ Weinstein, Neil D. (1980). "Unrealistic optimism about future life events". Journal of Personality and Social Psychology. 39 (5): 806–820. doi:10.1037/0022-3514.39.5.806.
- ↑ Chambers, John R.; Windschitl, Paul D. (2004). "Biases in Social Comparative Judgments: The Role of Nonmotivated Factors in Above-Average and Comparative-Optimism Effects". Psychological Bulletin. 130 (5): 813–838. doi:10.1037/0033-2909.130.5.813. PMID 15367082.
- ↑ Chambers, John R.; Windschitl, Paul D.; Suls, Jerry (2003). "Egocentrism, Event Frequency, and Comparative Optimism: When what Happens Frequently is "More Likely to Happen to Me"". Personality and Social Psychology Bulletin. 29 (11): 1343–1356. doi:10.1177/0146167203256870. PMID 15189574.
- ↑ Kruger, Justin; Burrus, Jeremy (2004). "Egocentrism and focalism in unrealistic optimism (and pessimism)". Journal of Experimental Social Psychology. 40 (3): 332–340. doi:10.1016/j.jesp.2003.06.002.
- ↑ Taylor, Shelley E.; Brown, Jonathon D. (1988). "Illusion and well-being: A social psychological perspective on mental health". Psychological Bulletin. 103 (2): 193–210. doi:10.1037/0033-2909.103.2.193. PMID 3283814.
- ↑ Kahneman, Daniel (2011-10-19). "Don't Blink! The Hazards of Confidence". New York Times. Adapted from: Kahneman, Daniel (2011). Thinking, Fast and Slow. Farrar, Straus and Giroux. ISBN 978-1-4299-6935-2.
- ↑ Plous, Scott (1993). The Psychology of Judgment and Decision Making. McGraw-Hill Education. ISBN 978-0-07-050477-6.
- ↑ Thompson, Leigh; Loewenstein, George (1992). "Egocentric interpretations of fairness and interpersonal conflict" (PDF). Organizational Behavior and Human Decision Processes. 51 (2): 176–197. doi:10.1016/0749-5978(92)90010-5.
- ↑ Babcock, Linda C.; Olson, Craig A. (1992). "The Causes of Impasses in Labor Disputes". Industrial Relations. 31 (2): 348–360. doi:10.1111/j.1468-232X.1992.tb00313.x.
- ↑ Johnson, Dominic D. P. (2004). Overconfidence and War: The Havoc and Glory of Positive Illusions. Harvard University Press. ISBN 978-0-674-01576-0.
- ↑ Aumann, Robert J. (1976). "Agreeing to Disagree". The Annals of Statistics. 4 (6): 1236–1239. doi:10.1214/aos/1176343654.
- ↑ Daniel, Kent; Hirshleifer, David; Subrahmanyam, Avanidhar (1998). "Investor Psychology and Security Market Under- and Overreactions". The Journal of Finance. 53 (6): 1839–1885. doi:10.1111/0022-1082.00077.
- ↑ 31.0 31.1 Oskamp, Stuart (1965). "Overconfidence in case-study judgments" (PDF). Journal of Consulting Psychology. 29 (3): 261–265. doi:10.1037/h0022125. Reprinted in Kahneman, Daniel; Slovic, Paul; Tversky, Amos, บ.ก. (1982). Judgment Under Uncertainty: Heuristics and Biases. Cambridge University Press. pp. 287–293. ISBN 978-0-521-28414-1.
- ↑ Radzevick, J. R.; Moore, D. A. (2009). "Competing To Be Certain (But Wrong) : Social Pressure and Overprecision in Judgment" (PDF). Academy of Management Proceedings. 2009 (1): 1–6. doi:10.5465/AMBPP.2009.44246308. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-07-17. สืบค้นเมื่อ 2018-05-27.
- ↑ Fowler, James H.; Johnson, Dominic D. P. (2011-01-07). "On Overconfidence". Seed Magazine. ISSN 1499-0679. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-12. สืบค้นเมื่อ 2018-05-27.
{{cite journal}}
: ระบุ|accessdate=
และ|access-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ 34.0 34.1 Judge, Timothy A.; Locke, Edwin A.; Durham, Cathy C. (1997). "The dispositional causes of job satisfaction: A core evaluations approach". Research in Organizational Behavior. Vol. 19. pp. 151–188. ISBN 978-0762301799.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Larrick, Richard P.; Burson, Katherine A.; Soll, Jack B. (2007). "Social comparison and confidence: When thinking you're better than average predicts overconfidence (and when it does not)". Organizational Behavior and Human Decision Processes. 102 (1): 76–94. doi:10.1016/j.obhdp.2006.10.002.
- Baron, Johnathan (1994). Thinking and Deciding. Cambridge University Press. pp. 219–224. ISBN 0-521-43732-6.
- Gilovich, Thomas; Griffin, Dale; Kahneman, Daniel (2002). Heuristics and Biases: The Psychology of Intuitive Judgment. Cambridge University Press. ISBN 978-0-521-79679-8.
- Sutherland, Stuart (2007). Irrationality. Pinter & Martin. pp. 172–178. ISBN 978-1-905177-07-3.