สัจนิยมเหตุซึมเศร้า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ทฤษฎี สัจนิยมเหตุซึมเศร้า (อังกฤษ: Depressive realism) เป็นสมมติฐาน[1] ว่าบุคคลที่รู้สึกซึมเศร้าทำการอนุมานที่ตรงกับความจริงมากกว่าบุคคลที่ไม่รู้สึกซึมเศร้า แม้จะเชื่อกันโดยทั่วไปว่า บุคคลที่มีภาวะซึมเศร้าจะมีความเอนเอียงทางประชานแบบลบ (negative cognitive bias) ที่มีผลเป็นความคิดเชิงลบอัตโนมัติที่ปรากฏบ่อย ๆ พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม และความเชื่อผิดปกติเกี่ยวกับโลก[2][3][4] แต่สมมติฐานนี้เสนอว่า ความคิดเชิงลบเหล่านี้ อาจจะสะท้อนการประเมินความจริงเกี่ยวกับโลกที่ถูกต้องแม่นยำกว่า และว่าบุคคลที่ไม่มีภาวะซึมเศร้ามีการประเมินความจริงที่เอนเอียงไปทางบวก[5] ทฤษฎีนี้ยังเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันในระดับสูง เพราะว่า ถ้าเป็นจริงแล้ว กลไกทางประสาทที่การบําบัดทางความคิดและพฤติกรรม (cognitive behavioral therapy) สำหรับโรคซึมเศร้า ทำการเปลี่ยนแปลง ก็กลายเป็นเรื่องที่ไม่ชัดเจน[6] แม้ว่าจะมีหลักฐานที่สนับสนุนความถูกต้องของทฤษฎีนี้ ปรากฏการณ์นี้อาจจะจำกัดอยู่ในเหตุการณ์เพียงไม่กี่อย่างเท่านั้น[7]

หลักฐานสนับสนุน[แก้]

มีหลักฐานสนับสนุนทฤษฎีนี้โดยประการต่าง ๆ รวมทั้ง

  • ในการทดลองเกี่ยวกับการแปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมได้ ผู้ร่วมการทดลองจะทำการกดปุ่มไฟ โดยมีไฟเปิดปิดที่ไม่ได้ขึ้นอยู่กับปุ่มกด เมื่อมีการให้ผู้ร่วมการทดลองกดปุ่ม และให้คะแนนว่าตนเองสามารถควบคุมการเปิดปิดของไฟได้เท่าไร ผู้มีภาวะซึมเศร้าให้คะแนนที่ถูกต้องมากกว่ากลุ่มควบคุมที่ไม่มีภาวะซึมเศร้า[8]
  • ส่วนอีกงานทดลองหนึ่ง ที่ให้ผู้ร่วมการทดลองทำงานอย่างหนึ่ง แล้วให้คะแนนผลงานของตนโดยไม่ได้รับความคิดเห็นอะไรจากผู้ทำการทดลอง ผู้มีภาวะซึมเศร้าให้คะแนนแก่ตนเองเหมาะสมกับผลงานดีกว่าผู้ไม่มี[9][10][11][12]
  • ส่วนในอีกการทดลองหนึ่งที่ผู้ร่วมการทดลองทำงานหลายอย่างเป็นชุด โดยที่ผู้ทำการทดลองมีการให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับผลงานเมื่อเสร็จงานแต่ละอย่าง และผู้ร่วมการทดลองจะให้คะแนนตนเองโดยองค์รวมเมื่องานทั้งหมดเสร็จแล้ว ผู้มีภาวะซึมเศร้าก็ยังให้คะแนนตนเองได้แม่นยำถูกต้องกว่าผู้ไม่มีภาวะซึมเศร้า[13][14][15][16][17][18]
  • เมื่อมีการให้คะแนนตนเองทันทีหลังจากทำงานอย่างหนึ่งเสร็จ หรือว่า รอสักพักหนึ่งแล้วค่อยให้คะแนน ผู้มีภาวะซึมเศร้าก็ยังให้คะแนนตนเองถูกต้องแม่นยำในทั้งสองกรณีมากกว่าผู้ไม่มี[19]

โดยที่สุดแม้ในการทดลองที่เช็คการทำงานของสมองโดย fMRI คนไข้ภาวะซึมเศร้าก็แจ้งความที่ตนเป็นเหตุก่อให้เกิดเหตุการณ์ทางสังคมทั้งที่เป็นเชิงลบและเชิงบวก ได้แม่นยำกว่าคนปกติที่ไม่มีภาวะซึมเศร้าผู้มักจะมีความเอนเอียงเชิงบวก[20] ความแตกต่างของการทำงานในสมองนั้นเห็นที่

  • เครือข่ายสมองกลีบหน้า-กลีบขมับ มีระดับการทำงานที่สูงกว่าในสองกรณี คือ
    • ในผู้ที่ไม่มีภาวะซึมเศร้า เมื่อบอกเหตุ (ที่ก่อเหตุการณ์) โดยที่ไม่ได้เข้าข้างตนเอง
    • ในผู้มีภาวะซึมเศร้า เมื่อบอกเหตุ แม้ที่เข้าข้างตนเอง
  • การทำงานเชื่อมต่อกันระหว่าง dorsomedial prefrontal cortex seed region และระบบลิมบิก ที่ลดลง เมื่อคนไข้ภาวะซึมเศร้าบอกเหตุเข้าข้างตนเอง

หลักฐานคัดค้าน[แก้]

มีหลักฐานต่าง ๆ ที่คัดค้านแนวคิดบางอย่างในทฤษฎีนี้รวมทั้ง

  • เมื่อมีการให้คะแนนกับผลงานทั้งของตนและของผู้อื่น ผู้ไม่มีภาวะซึมเศร้ามีความเอนเอียงเชิงบวกเกี่ยวกับตน แต่ไม่มีความเอนเอียงเมื่อให้คะแนนผู้อื่น ในนัยตรงกันข้ามกัน ผู้มีภาวะซึมเศร้าไม่มีความเอนเอียงเมื่อให้คะแนนตนเอง แต่มีความเอนเอียงเชิงบวกเมื่อให้คะแนนผู้อื่น[21][22][23]
  • เมื่อมีการประเมินความคิดของตนโดยเป็นสาธารณะหรือโดยเป็นส่วนตัว ผู้ไม่มีภาวะซึมเศร้ามีการมองในแง่ดีในความคิดที่เป็นสาธารณะมากกว่าที่เป็นส่วนตัว ส่วนผู้มีภาวะซึมเศร้ามีนัยตรงกันข้าม[24][25][26][27]
  • เมื่อมีการให้คะแนนกับผลงานของตนทันทีหรือรอเวลาสักพักหนึ่ง ผู้มีภาวะซึมเศร้าแม่นเมื่อให้คะแนนทันที แต่ว่าโน้มไปทางเชิงลบเมื่อรอเวลาสักพักหนึ่ง ส่วนผู้ไม่มีภาวะซึมเศร้าเข้าข้างตนเองทั้งทันทีและรอเวลาสักพักหนึ่ง[28][29]
  • แม้ว่าผู้มีภาวะซึมเศร้าจะมีการตัดสินใจที่แม่นยำกว่าว่า ตนเองไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ เมื่อตนไม่สามารถควบคุมได้จริง ๆ แต่ว่า ความรู้สึกว่าควบคุมไม่ได้ก็ยังเกิดขึ้นในสถานการณ์ที่ตนเองจริง ๆ แล้วสามารถควบคุมได้ ซึ่งแสดงว่า ทัศนวิสัยของผู้มีภาวะซึมเศร้าไม่ได้แม่นยำกว่าโดยรวม ๆ[30]
  • เมื่อทำการศึกษาในสถานการณ์จริง ๆ นอกห้องแล็บ ผู้มีภาวะซึมเศร้ามีความแม่นยำในการประเมินน้อยกว่า และมั่นใจมากเกินไปในคำพยากรณ์ของตนเกี่ยวกับอนาคต มากกว่าผู้ไม่มีภาวะซึมเศร้า[31]
  • การหาเหตุก่อเหตุการณ์ที่แม่นยำของผู้ร่วมการทดลอง อาจจะสัมพันธ์กับสไตล์ในการหาเหตุ (attributional style) โดยทั่ว ๆ ไป ไม่ใช่กับอาการซึมเศร้าที่ตนมีหรือไม่มี[32]

คำวิจารณ์ต่อหลักฐาน[แก้]

มีนักวิชาการบางท่านที่เสนอว่า ไม่มีหลักฐานที่สามารถสรุปได้จริง ๆ เพราะว่า ไม่มีมาตรฐานในเรื่อง "ความจริง" ของโลก ดังนั้น ข้อวินิจฉัยเกี่ยวกับการประเมินความจริงไม่น่าเชื่อถือ และผลที่แสดงอาจจะไม่สัมพันธ์กับเหตุการณ์จริง ๆ ในโลก[33] เพราะว่า งานวิจัยเป็นจำนวนมากมักจะให้ผู้ร่วมการทดลองแจ้งอาการซึมเศร้าด้วยตนเอง (self-report) ดังนั้น คำวินิจฉัยว่ามีภาวะซึมเศร้าหรือไม่อาจจะไม่เป็นจริงเพราะว่า การรายงานถึงตนเองมักจะมีความเอนเอียง ที่จริง ๆ แล้ว ควรจะใช้วิธีที่เป็นกลาง ๆ (เป็นปรวิสัย) อย่างอื่นในการวัดความซึมเศร้า เนื่องจากว่า การออกแบบงานศึกษาเหล่านี้ไม่ได้เลียนแบบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ๆ ในโลก ความเป็นจริงในโลกของสมมติฐานนี้ก็ยังไม่ชัดเจน[โปรดขยายความ] และยังมีความข้องใจอีกด้วยว่า ปรากฏการณ์นี้อาจเป็นผลข้างเคียงของผู้มีภาวะซึมเศร้า ที่อยู่ในสถานการณ์ที่เผอิญมีความเป็นไปตรงกับความเอนเอียงเชิงลบของตน[34][35][36]

ดูเพิ่ม[แก้]

เชิงอรรถและอ้างอิง[แก้]

  1. Alloy,L.B., Abramson,L.Y. (1988). Depressive realism: four theoretical perspectives.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  2. Beck,A.T. (1967). Depression: Clinical, experimental, and theoretical aspects. Vol. 32. Philadelphia: University of Pennsylvania Press.
  3. Beck,A.T. (บ.ก.). Cognitive therapy of depression. Guilford Press.
  4. Beck, A.T., Brown, G., Steer, R.A., Eidelson, J.I., Riskind, J.H. (1987). "Differentiating anxiety and depression: a test of the cognitive content-specificity hypothesis". Journal of abnormal psychology. 96 (3): 179. doi:10.1037/0021-843x.96.3.179.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  5. Alloy,L.B., Abramson,L.Y. (1988). Depressive realism: four theoretical perspectives.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  6. Michael Thomas Moore, David Fresco (2012). "Depressive Realism: A Meta-Analytic Review". Clinical Psychology Review. 32 (1): 496–509. doi:10.1016/j.cpr.2012.05.004.
  7. Michael Thomas Moore, David Fresco (2012). "Depressive Realism: A Meta-Analytic Review". Clinical Psychology Review. 32 (1): 496–509. doi:10.1016/j.cpr.2012.05.004.
  8. Alloy, L.B., Abramson, L.Y. (1979). "Judgment of contingency in depressed and nondepressed students: Sadder but wiser?". Journal of Experimental Psychology: General. 108: 441–485. doi:10.1037/0096-3445.108.4.441.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  9. Alloy, L.B., Abramson, L.Y., Kossman, D.A. (1985), "The judgment of predictability in depressed and nondepressed college students", ใน Brush,F.R., Overmeir,J.B. (บ.ก.), Affect, conditioning, and cognition: Essays on the determinants of behavior, Hillsdale,NJ: Erlbaum, pp. 229–246{{citation}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  10. Alloy, L.B., Abramson, L.Y., Viscusi, D. (1981). "Induced mood and the illusion of control". Journal of Personality and Social Psychology. 41 (6): 1129–1140. doi:10.1037/0022-3514.41.6.1129.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  11. Musson,R.F.,Alloy, L.B. (1989). "Depression, self-consciousness, and judgments of control: A test of the self-focused attention hypothesis". unpublished.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  12. Vasquez, C.V. (1987). "Judgment of contingency: Cognitive biases in depressed and nondepressed subjects". Journal of Personality and Social Psychology. 52: 419–431.
  13. DeMonbreun, B.G., Craighead, W.E. (1977). "Distortion of perception and recall of positive and neutral feedback in depression". Cognitive Therapy and Research. 1: 311–329. doi:10.1007/bf01663996.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  14. Dennard, D.O., Hokanson, J.E. (1986). "Performance on two cognitive tasks by dysphoric and nondysphoric students". Cognitive Therapy and Research. 10: 377–386. doi:10.1007/bf01173473.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  15. Gotlib, I.H. (1983). "Perception and recall of interpersonal feedback: Negative bias in depression". Cognitive Therapy and Research. 7: 399–412. doi:10.1007/bf01187168.
  16. Lobitz, W.C., Post, R.D. (1979). "Parameters of self-reinforcement and depression". Journal of Abnormal Psychology. 88: 33–41. doi:10.1037/0021-843x.88.1.33.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  17. Nelson, R.E., Craighead, W.E. (1977). "Selective recall of positive and negative feedback, self-control behaviors and depression". Journal of Abnormal Psychology. 86: 379–388. doi:10.1037/0021-843x.86.4.379.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  18. Rozensky, R.H., Rehm, L.P., Pry, G., Roth,D. (1977). "Depression and self-reinforcement behavior in hospitalized patients". Journal of Behavior Therapy and Experimental Psychiatry. 8: 35–38. doi:10.1016/0005-7916(77)90102-1.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  19. Wenzlaff, R.M., Berman, J. S. (August 1985), "Judgmental accuracy in depression", The Meeting of the American Psychological Association, Los Angeles {{citation}}: |title= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  20. Seidel, E.M.; Satterthwaite, T.D.; Eickhoff, S.B.; Schneider, F.; Gur, R.C.; Wolf, D.H.; ... & Derntl, B. (2012). "Neural correlates of depressive realism—An fMRI study on causal attribution in depression". Journal of affective disorders. 138: 268–376. doi:10.1016/j.jad.2012.01.041.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  21. Gotlib, I.H., Meltzer, S.J. (1987). "Depression and the perception of social skill in dyadic interaction". Cognitive Therapy and Research. 11: 41–54. doi:10.1007/bf01183131.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  22. Javna, C.D. (1981), "Depressed and nondepressed college students' interpretations of and memory for feedback about self and others", Unpublished doctoral dissertation, The Ohio State University, Columbus, OH
  23. Pyszczynski, T., Holt, K., Greenberg, J. (1987). "Depression, self-focused attention, and expectancies for positive and negative future life events for self and others". Journal of Personality and Social Psychology. 52: 994–1001. doi:10.1037/0022-3514.52.5.994.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  24. Benassi, V.A., & Mahler, H.I.M. (1985). "Contingency judgments by depressed college students: Sadder but not always wiser". Journal of Personality and Social Psychology. 49: 1323–1329. doi:10.1037/0022-3514.49.5.1323.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  25. Sacco, W.P., Hokanson, J.E. (1978). "Expectations of success and anagram performance of depressives in a public and private setting". Journal of Abnormal Psychology. 87: 122–130. doi:10.1037/0021-843x.87.1.122.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  26. Sacco, W. P., & Hokanson, J. E. (1982). "Depression and self-reinforcement in a public and private setting". Journal of Personality and Social Psychology. 42: 377–385. doi:10.1037/0022-3514.42.2.377.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  27. Strack, S., Coyne, J.C. (1983). "Social confirmation of dysphoria: Shared and private reactions". Journal of Personality and Social Psychology. 44: 798–806. doi:10.1037/0022-3514.44.4.798.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  28. DeMonbreun, B.G., Craighead, W.E. (1977). "Distortion of perception and recall of positive and neutral feedback in depression". Cognitive Therapy and Research. 1: 311–329. doi:10.1007/bf01663996.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  29. Nelson, R.E., Craighead, W.E. (1977). "Selective recall of positive and negative feedback, self-control behaviors and depression". Journal of Abnormal Psychology. 86: 379–388. doi:10.1037/0021-843x.86.4.379.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  30. Dykman, B.M., Abramson, L.Y., Alloy, L.B., Hartlage, S. (1989). "Processing of ambiguous and unambiguous feedback by depressed and nondepressed college students: Schematic biases and their implications for depressive realism". Journal of Personality and Social Psychology. 56 (3): 431–445. doi:10.1037/0022-3514.56.3.431. PMID 2926638.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  31. Dunning D, Story AL. (1991). "Depression, realism, and the overconfidence effect: are the sadder wiser when predicting future actions and events?" (PDF). Journal of personality and social psychology. 61 (4): 521–532. doi:10.1037/0022-3514.61.4.521. PMID 1960645. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-11-19. สืบค้นเมื่อ 2015-02-20.
  32. Michael Thomas Moore, David Fresco (2007). "Depressive realism and attributional style: implications for individuals at risk for depression" (PDF). Behavior Therapy. 38 (2): 144–154. doi:10.1016/j.beth.2006.06.003. PMID 17499081.
  33. Moore, Michael Thomas; Fresco, David (2012). "Depressive Realism: A Meta-Analytic Review". Clinical Psychology Review. 32 (1): 496–509. doi:10.1016/j.cpr.2012.05.004.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  34. Alloy, L.B., Abramson, L.Y. (1979). "Judgment of contingency in depressed and nondepressed students: Sadder but wiser?". Journal of Experimental Psychology: General. 108: 441–485. doi:10.1037/0096-3445.108.4.441.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  35. Langer, E.J. (1975). "The illusion of control". Journal of Personality and Social Psychology. 32: 311–328. doi:10.1037/0022-3514.32.2.311.
  36. Msetfi RM, Murphy RA, Simpson J, Kornbrot DE (2005). "Depressive realism and outcome density bias in contingency judgments: the effect of the context and intertrial interval" (PDF). Journal of Experimental Psychology. General. 134 (1): 10–22. doi:10.1037/0096-3445.134.1.10. PMID 15702960. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-06-29. สืบค้นเมื่อ 2015-02-20.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]