รายชื่อความเอนเอียงทางประชาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ความเอนเอียงทางประชาน (อังกฤษ: cognitive bias) เป็นความโน้มเอียงที่จะคิดในรูปแบบที่มีผลเป็นความคลาดเคลื่อนอย่างเป็นระบบ จากความมีเหตุผลโดยทั่วไป หรือจากการประเมินการตัดสินใจที่ดี บ่อยครั้งเป็นประเด็นการศึกษาในสาขาจิตวิทยาและเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม

แม้ว่าความเอนเอียงเหล่านี้จะมีอยู่จริง ๆ โดยหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ทำซ้ำได้ แต่ก็มักจะมีข้อโต้เถียงว่า ควรจะจัดประเภทหรืออธิบายความเอนเอียงเหล่านี้ได้อย่างไร[1] ความเอนเอียงบางอย่างเป็นกฎการประมวลข้อมูล หรือเป็นทางลัดการประมวลผลที่เรียกว่า ฮิวริสติก ที่สมองใช้เพื่อการประเมินและการตัดสินใจ ปรากฏการณ์เหล่านี้เรียกว่า ความเอนเอียงทางประชาน[2][3] ความเอนเอียงในการประเมินหรือการตัดสินใจ อาจจะเกิดจากแรงจูงใจ เช่นเมื่อความเชื่อเกิดบิดเบือนเพราะเหตุแห่งการคิดตามความปรารถนา (wishful thinking) ความเอนเอียงบางอย่างอาจจะอธิบายได้โดยหลักทางประชาน (cognitive หรือที่เรียกว่า cold) หรือโดยหลักทางแรงจูงใจ (motivational หรือเรียกว่า hot) แต่เหตุทั้งสองสามารถเกิดร่วมกัน[4][5]

ยังมีข้อถกเถียงกันอีกด้วยว่า ความเอนเอียงเหล่านี้จัดเป็นความไม่สมเหตุผลโดยส่วนเดียว หรือว่า จริง ๆ มีผลเป็นทัศนคติและพฤติกรรมที่เหมาะสมได้ ยกตัวอย่างเช่น เมื่อทำความรู้จักกับคนใหม่ ๆ เรามักจะถามคำถามที่ชี้คำตอบที่ต้องการ ที่ดูเหมือนจะเอนเอียงไปเพื่อยืนยันสันนิษฐานของเราเกี่ยวกับบุคคลนั้น ๆ แต่ว่า ปรากฏการณ์ที่บางครั้งเรียกว่า ความเอนเอียงเพื่อยืนยัน (confirmation bias) เช่นนี้ สามารถมองได้ว่าเป็นทักษะทางสังคมที่ช่วยสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้[6]

งานวิจัยในเรื่องความเอนเอียงเหล่านี้ มักจะทำในมนุษย์ แต่ผลที่พบในมนุษย์ บางครั้งก็พบในสัตว์อื่นเหมือนกัน ยกตัวอย่างเช่น hyperbolic discounting (การลดค่าแบบไฮเพอร์โบลา) ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่เราให้ค่าของที่ได้ในปัจจุบันสูงกว่าที่จะได้ในอนาคต ก็พบด้วยในหนู นกพิราบ และลิง[7]

ความเอนเอียงในการตัดสินใจ ทางความเชื่อ และทางพฤติกรรม[แก้]

ความเอนเอียงหลายอย่างเหล่านี้มีผลต่อการเกิดความเชื่อ ต่อการตัดสินใจทางธุรกิจและทางเศรษฐกิจ และต่อพฤติกรรมมนุษย์โดยทั่ว ๆ ไป ความเอนเอียงจะเกิดขึ้นในสถานการณ์โดยเฉพาะ ๆ คือ เมื่อเผชิญกับเหตุการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ความแปรเปลี่ยนไปจากพฤติกรรมปกติสามารถจำแนกได้โดย

ชื่อ คุณลักษณะ
Additive bias (ความเอนเอียงในการบวก) ความโน้มเอียงในการแก้ปัญหาด้วยการบวก แม้การลบอาจเป็นวิธีที่ดีกว่า[8][9]
Agent detection (การสืบหาผู้กระทำ) ความโน้มเอียงในการเชื่อว่าเป็นการกระทำของสัตว์/บุคคล
Ambiguity effect (ปรากฏการณ์ความคลุมเครือ) เป็นความโน้มเอียงที่จะหลีกเลี่ยงทางเลือกที่ไม่มีข้อมูลว่า ผลที่ได้จะเป็นผลบวกหรือไม่ และเลือกทางเลือกที่มีข้อมูล[10]
Anchoring หรือ focalism เป็นความโน้มเอียงที่จะตั้งหลัก (หรือ anchor) ที่ข้อมูลซึ่งมี เมื่อจะตัดสินใจ โดยปกติเป็นข้อมูลชิ้นแรกที่ได้เกี่ยวกับเรื่องนั้น[11][12]
Anthropocentric thinking ความโน้มเอียงในการอุปมากับมนุษย์เพื่อให้เหตุผลกับปรากฏการณ์ทางชีววิทยาอื่น ๆ ที่ไม่คุ้นเคย[13]
มานุษยรูปนิยม หรือ
การทำให้เป็นบุคคล (personification)
ความโน้มเอียงในการอธิบายสัตว์ วัตถุ และแนวคิดทางนามธรรมว่ามีลักษณะ อารมณ์ และความจงใจที่คล้ายมนุษย์[14] ส่วนความเอนเอียงตรงกันข้ามที่ไม่กำหนดว่าคนอื่นมีความรู้สึกหรือความคิด เรียกว่า dehumanised perception[15] เป็นการปฏิบัติกับคนอื่นเหมือนกับเป็นสิ่งของ (objectification)
Attentional bias (ความเอนเอียงโดยการใส่ใจ) เป็นความโน้มเอียงที่ความคิดซ้ำ ๆ จะมีอิทธิพลต่อการรับรู้ของเรา[16]
Availability heuristic (ฮิวริสติกโดยความเข้าถึงได้ง่าย) เป็นความโน้มเอียงที่จะประเมินเหตุการณ์ที่สามารถนึกถึงได้ง่ายว่ามีโอกาสเกิดสูงเกินไป โดยอาจมีอิทธิพลจากความเก่าใหม่ของความจำ หรือว่าเป็นความจำที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์รุนแรงแค่ไหน[17]
Illusory truth effect (ปรากฏการณ์ความจริงเทียม) หรือ Availability cascade เป็นกระบวนการที่เสริมกำลังในตัว ที่ความเชื่อในสังคมดูเหมือนจะเป็นไปได้มากขึ้นเมื่อเกิดการพูดการกล่าวถึงซ้ำ ๆ กัน (เหมือนกับความเชื่ออย่างหนึ่งของเด็กว่า "พูดอะไรซ้ำ ๆ กัน นาน ๆ เข้าก็จะกลายเป็นจริง")[18]
Backfire effect (ปรากฏการณ์เกิดผลตรงกันข้าม) เมื่อเรามีปฏิกิริยาต่อหลักฐานที่คัดค้านความคิดของเรา ด้วยความเชื่อที่มีกำลังเพิ่มขึ้น[19]
Bandwagon effect (ปรากฏการณ์ขบวนแห่) เป็นความโน้มเอียงที่จะทำ (หรือเชื่อ) สิ่งต่าง ๆ เพราะคนอื่น ๆ ทำหรือเชื่อเรื่องเดียวกัน[20]
Base rate fallacy (เหตุผลวิบัติโดยอัตราพื้นฐาน) หรือ base rate neglect (การละเลยอัตราพื้นฐาน) เป็นความโน้มเอียงที่จะไม่ใส่ใจข้อมูลอัตราพื้นฐาน (คือข้อมูลทางสถิติทั่วไป) แล้วพุ่งจุดสนใจไปที่ข้อมูลเฉพาะ (เช่นข้อมูลที่เฉพาะเจาะจงกับกรณีใดกรณีหนึ่ง)[21]
Belief bias (ความเอนเอียงโดยความเชื่อ) เป็นการประเมินเหตุที่เอนเอียง โดยความเชื่อว่าผลที่ได้เป็นไปได้มากแค่ไหน แทนที่จะประเมินว่า เหตุที่ประเมินนั้นสนับสนุนผลที่ได้หรือไม่[22]
Bias blind spot (จุดบอดต่อความเอนเอียง) เป็นความโน้มเอียงที่จะเห็นว่าตนเองมีความเอนเอียง (มีอคติ) น้อยกว่าคนอื่น หรือที่กำหนดความเอนเอียงทางประชานของผู้อื่นได้มากกว่าของตน[23]
Cheerleader effect (ปรากฏการณ์ผู้นำเชียร์) เป็นความโน้มเอียงที่ผู้หญิงจะดูสวยในกลุ่มมากกว่าตามลำพัง[24]
Choice-supportive bias (ความเอนเอียงสนับสนุนสิ่งที่เลือก) เป็นความโน้มเอียงที่จะนึกถึงสิ่งที่เลือกแล้วในอดีตว่าดี เกินความเป็นจริง[25]
Clustering illusion (มายาการจับกลุ่ม) เป็นความโน้มเอียงที่จะให้ความสำคัญมากเกินไปแก่รูปแบบการเกิดขึ้นของเหตุการณ์ในช่วงระยะสั้น ๆ (หรือแก่การจับกลุ่มของเหตุกาณ์) ที่จริง ๆ เป็นเหตุการณ์สุ่มในระยะยาว ซึ่งก็คือ การเห็นรูปแบบที่ไม่มีอยู่จริง ๆ (เพราะเป็นเหตุการณ์สุ่ม)[12]
Confirmation bias (ความเอนเอียงเพื่อยืนยัน) เป็นความโน้มเอียงที่จะหา ตีความ พุ่งความสมใจ และทรงจำข้อมูลในรูปแบบที่จะยืนยันความเชื่อความคิดที่มีอยู่แล้วของตน[26]
Congruence bias (ความเอนเอียงในการทำให้สอดคล้องกัน) เป็นความโน้มเอียงที่จะทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบโดยตรง และไม่ทดสอบสมมติฐานที่อาจเป็นไปได้อื่น ๆ[12]
Conjunction fallacy (เหตุผลวิบัติโดยประพจน์เชื่อม) เป็นความโน้มเอียงในการสันนิษฐานว่า เหตุการณ์ที่เฉพาะเจาะจงมีความเป็นไปได้สูงกว่าเหตุการณ์ทั่วไป ซึ่งเป็นความน่าจะเป็นที่เป็นไปไม่ได้[27]
Conservatism หรือ regressive bias สภาวะทางใจอย่างหนึ่งที่ทำให้ค่าสูงหรือโอกาสความเป็นไปได้สูงมีการประเมินสูงเกินไป และค่าต่ำหรือโอกาสเป็นไปได้ต่ำมีการประเมินน้อยเกินไป[28][29][30][[[|แหล่งอ้างอิงที่ไม่น่าเชื่อถือ?]]]
Conservatism bias (ความเอนเอียงเชิงอนุรักษนิยม) เป็นความโน้มเอียงที่จะแก้ความเชื่อของตนให้เบนไปตามความเป็นจริงอย่างไม่เพียงพอเมื่อได้หลักฐานใหม่[28][31][32]
Contrast effect (ปรากฏการณ์การเปรียบต่าง) เป็นการรับรู้สิ่งเร้าที่ดีขึ้น หรือลดลง เมื่อเทียบกับสิ่งเร้าที่เพิ่งสังเกตรู้ใหม่เป็นตัวเปรียบต่าง[33]
Curse of knowledge (คำสาปเพราะความรู้) เมื่อคนที่มีข้อมูลดีกว่าไม่สามารถหรือยากที่จะคิดถึง ปัญหาจากมุมมองของคนที่มีข้อมูลน้อยกว่า[34]
Decoy effect (ปรากฏการณ์ตัวล่อ) ปรากฏการณ์ที่ทางเลือกที่สาม ค ซึ่งทางเลือก ก ดีกว่าทุกอย่าง และทางเลือก ข ดีกว่าบ้าง แย่กว่าบ้าง สามารถเปลี่ยนความชอบใจของผู้บริโภคให้เลือกทางเลือก ก ได้
Denomination effect (ปรากฏการณ์หน่วยเงินตรา) เป็นความโน้มเอียงที่จะใช้จ่ายมากกว่าถ้าเงินเป็นหน่วยเล็ก ๆ แทนที่จะเป็นหน่วยใหญ่ ๆ[35]
Distinction bias (ความเอนเอียงให้แตกต่าง) เป็นความโน้มเอียงที่จะเห็นทางเลือกสองทางว่าไม่เหมือนกันเมื่อประเมินทางเลือกสองอย่างนั้นพร้อมกัน มากกว่าเมื่อประเมินแยกกันต่างหาก[36]
Duration neglect (การละเลยระยะเวลา) การละเลยระยะเวลาเหตุการณ์หนึ่ง ๆ เมื่อพยายามจะกำหนดค่าว่าเป็นประสบการณ์ที่ดีหรือไม่
Empathy gap (ช่องว่างการเห็นใจ) เป็นความโน้มเอียงที่จะประเมินอิทธิพลหรือกำลังความรู้สึกของตนเองหรือของคนอื่นต่ำเกินไป
Endowment effect (ปรากฏการณ์การสละ) เป็นความโน้มเอียงที่จะเรียกร้องมูลค่าเพื่อจะสละวัตถุหนึ่ง ๆ สูงกว่าที่ตนยินดีจะให้เพื่อที่จะแลกเอาวัตถุนั้น[37]
Essentialism (การเอาแต่หลัก) เป็นการจัดบุคคลและสิ่งของตามธรรมชาติหลักของสิ่งนั้น แม้ว่าบุคคลหรือสิ่งเช่นนั้นจะมีความต่าง ๆ กัน[ไม่แน่ใจ ][38]
Exaggerated expectation (ความคาดหวังเกินส่วน) หลักฐานที่ได้ตามจริงในโลก ไม่รุนแรงหรือมีค่าน้อยกว่าตามที่เราหวัง[[[|แหล่งอ้างอิงที่ไม่น่าเชื่อถือ?]]][28][39]
Experimenter's bias (ความเอนเอียงของผู้ทดลอง) หรือ Experimenter's expectation bias (ความเอนเอียงเพราะการคาดหวังของผู้ทดลอง) เป็นความเอนเอียงของผู้ทำการทดลองที่จะเชื่อ ยืนยัน แล้วตีพิมพ์ข้อมูลที่สอดคล้องกับความคาดหวังที่ตนมีเกี่ยวกับผลของการทดลอง และที่จะไม่เชื่อ ทิ้ง หรือดูถูกข้อมูลที่ไม่ตรงกับความคาดคิดที่มีน้ำหนักพอ ๆ กัน[40]
Focusing effect (ปรากฏการณ์พุ่งจุดสนใจ) เป็นความโน้มเอียงที่จะให้ความสำคัญกับจุดใดจุดหนึ่งของเหตุการณ์มากเกินไป[41]
Forer effect (ปรากฏการณ์ฟอเรอร์) หรือ Barnum effect (ปรากฏการณ์บาร์นัม) เป็นความโน้มเอียงที่บุคคลจะให้คะแนนคำพรรณนาบุคลิกของตนที่ตนเชื่อว่าทำเฉพาะให้แก่ตน ว่ามีความแม่นยำสูง แต่ว่าความจริงเป็นคำที่คลุมเครือและทั่วไปพอที่จะกล่าวได้ถึงคนอื่นเช่นเดียวกัน ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่สามารถใช้เป็นคำอธิบายส่วนหนึ่งเกี่ยวกับความนิยมชมชอบความเชื่อหรือความคิดบางอย่างเช่น โหราศาสตร์ การบอกโชคชะตา การดูลายมือ และการทดสอบบุคลิกบางอย่าง
Framing effect (ปรากฏการณ์การวางกรอบ) การสรุปข้อมูลเดียวกันต่างกัน ขึ้นอยู่กับว่าข้อมูลนั้นแสดงให้ดูอย่างไร หรือใครเป็นคนแสดงให้ดู
Frequency illusion (มายาความชุกชุม) การแปลสิ่งเร้าผิด ที่คำ ชื่อ หรืออะไรอย่างอื่น ที่บุคคลให้ความสนใจเมื่อเร็ว ๆ นี้ ปรากฏว่าเหมือนกับมีอย่างชุกชุมอย่างเป็นไปไม่ได้หลังจากนั้นไม่นาน (สามารถสับสนได้กับ recency illusion หรือ selection bias)[42] เป็นมายาที่รู้จักกันอีกอย่างหนึ่งว่า Baader-Meinhof Phenomenon[43]
Functional fixedness (การยึดติดหน้าที่) จำกัดบุคคลให้ใช้วัตถุตามวิธีที่ใช้สืบต่อกันมาเพียงเท่านั้น
Gambler's fallacy (เหตุผลวิบัติของนักการพนัน) ความโน้มเอียงที่จะคิดว่า เหตุการณ์อดีตมีอิทธิพลต่อความน่าจะเป็นในอนาคต แต่จริง ๆ แล้วไม่มี เป็นผลจากแนวคิดที่ผิดพลาดของกฎเกี่ยวกับตัวเลขเป็นจำนวนมาก ตัวอย่างเช่น "ฉันได้โยนเหรียญนี้ได้หัว 5 ครั้งติดต่อกัน ดังนั้น โอกาสที่จะได้ก้อยในครั้งที่ 6 จะสูงกว่าได้หัว"
Hard-easy effect (ปรากฏการณ์ยากง่าย) ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นเมื่อความแม่นยำของการตัดสินใจว่างานหนึ่งยากน้อยขนาดไหน ขึ้นอยู่กับระดับความยากง่ายของงานนั้น คือเป็นความโน้มเอียงที่จะประเมินโอกาสสำเร็จสำหรับงานที่ยากมากเกินไป และสำหรับงานที่ง่ายน้อยเกินไป[28][44][45][46]
Hindsight bias (ความเอนเอียงการเข้าใจปัญหาย้อนหลัง) บางครั้งเรียกว่าปรากฏการณ์ "I-knew-it-all-along" (ฉันรู้อยู่ก่อนแล้ว) เป็นความโน้มเอียงที่จะเห็นเหตุการณ์ในอดีตว่า เป็นเรื่องพยากรณ์ได้[47] แม้ว่าจะไม่มีข้อมูลจริง ๆ หรือมีน้อยไม่พอที่จะพยากรณ์ได้จริง ๆ
Hostile media effect (ปรากฏการณ์สื่ออคติ) ความโน้มเอียงที่จะเห็นสื่อมวลชนว่ามีอคติ เนื่องจากความเห็นเป็นพรรคเป็นฝ่ายที่มีกำลังของตน
Hot-hand fallacy (เหตุผลวิบัติมือขึ้น) เป็นความเชื่อที่ผิด ๆ ว่า บุคคลที่กำลังประสบความสำเร็จมีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จสำหรับการกระทำต่อ ๆ ไป (เช่นในการยิงโกลในการกีฬา) ดีกว่า
Hyperbolic discounting (การลดค่าแบบไฮเพอร์โบลา) การลดค่า (Discounting) เป็นความโน้มเอียงที่บุคคลจะชอบใจได้รับสิ่ง ๆ หนึ่งทันที แทนที่จะรอทีหลัง การลดค่าแบบไฮเพอร์โบลา เป็นเหตุให้บุคคลเลือกอย่างไม่สม่ำเสมอแล้วแต่เวลา บุคคลอาจจะเลือกอะไรในวันนี้ ที่ในอนาคตจะไม่ชอบใจเลือก แม้ว่าจะใช้เหตุผลเดียวกัน[48] รู้จักกันในชื่ออื่นว่า current moment bias และ present bias
Identifiable victim effect (ปรากฏการณ์ผู้รับเคราะห์ที่ระบุได้) เป็นความโน้มเอียงที่จะตอบสนองต่อบุคคลที่กำลังมีอันตรายคนเดียวที่ระบุได้ มากกว่าต่อบุคคลกลุ่มใหญ่ที่กำลังมีอันตราย[49]
IKEA effect (ปรากฏการณ์ไอเคีย) เป็นความโน้มเอียงที่จะให้ค่ากับสิ่งที่บุคคลประกอบด้วยมือของตนเกินสัดส่วน เช่นเครื่องเรือนจากร้านอิเกีย ไม่ว่าสิ่งที่ได้นั้นจะดีหรือไม่
Illusion of control (การแปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมได้) เป็นความโน้มเอียงที่จะประเมินว่า ตนสามารถควบคุมเหตุการณ์ภายนอกได้ มากเกินไป[50]
Illusion of validity (การแปลสิ่งเร้าผิดว่าสมเหตุสมผล) เป็นความเชื่อว่าข้อมูลที่ได้เพิ่มขึ้น จะเป็นข้อมูลที่ช่วยในการพยากรณ์ให้สมเหตุสมผล แม้ว่า จริง ๆ แล้วจะไม่[51]
Illusory correlation (สหสัมพันธ์เทียม) การเห็นอย่างผิดพลาดว่า เหตุการณ์หลายอย่างที่ไม่สัมพันธ์กันมีความสัมพันธ์กัน[52][53]
Impact bias (ความเอนเอียงเรื่องผลกระทบ) เป็นความโน้มเอียงที่จะประเมินระยะเวลาหรือความรุนแรง เกี่ยวกับอารมณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต มากเกินไป[54]
Information bias (ความเอนเอียงเพื่อจะมีข้อมูล) เป็นความโน้มเอียงที่จะหาข้อมูลแม้ว่าจะไม่มีผลต่อการกระทำ[55]
Insensitivity to sample size (ความไม่ไวต่อขนาดตัวอย่าง) เป็นความโน้มเอียงที่จะประเมินความต่าง ๆ กันในขนาดตัวอย่างที่มีน้อย (small sample) น้อยเกินไป
Irrational escalation (การเพิ่มการกระทำโดยไม่สมเหตุผล) ปรากฏการณ์ที่บุคคลเพิ่มทุนการกระทำในเรื่องที่ตกลงใจ โดยให้เหตุผลเกี่ยวกับทุนการกระทำที่ได้ทำไว้ก่อนหน้านั้นแล้ว แม้ว่าจะมีหลักฐานแสดงว่า ข้อตกลงใจนั้นไม่ดี รู้จักอีกอย่างหนึ่งว่า sunk cost fallacy (เหตุผลวิบัติโดยต้นทุนจม)
Less-is-better effect (ปรากฏการณ์น้อยกว่าย่อมดีกว่า) เป็นความโน้มเอียงที่จะชอบใจสิ่งของชุดที่เล็กกว่า มากกว่าชุดที่มากกว่า ถ้าประเมินต่างหากจากกัน แต่ไม่ใช่ถ้าประเมินร่วมกัน
Endowment effect (ปรากฏการณ์การสละ) หรือ Loss aversion (การหลีกเลี่ยงการเสีย) ประโยชน์ที่เสียในการสละวัตถุ มากกว่าประโยชน์ที่ได้ในการได้วัตถุ[56] (ดูเหตุผลวิบัติโดยต้นทุนจม และปรากฏการณ์การสละ).
Mere exposure effect (ปรากฏการณ์เพียงแต่ประสบ) เป็นแนวโน้มที่จะแสดงความชอบใจต่อสิ่งต่าง ๆ เพียงเพราะว่าคุ้นเคยกันมัน[57]
Money illusion (มายาเงิน) เป็นแนวโน้มที่จะพุ่งความสนใจไปที่ค่าของเงินที่ตราไว้ แทนที่จะสนใจกำลังซื้อของค่าเงินนั้น[58]
Moral credential effect (ปรากฏการณ์การรับรองทางจริยธรรม) เป็นแนวโน้มของคนที่มีประวัติว่าเป็นคนไม่มีความเดียดฉันท์ ที่จะเพิ่มความเดียดฉันท์
Negativity effect (ปรากฏการณ์มองในแง่ลบ) เป็นแนวโน้มที่บุคคล เมื่อประเมินเหตุของพฤติกรรมของบุคคลที่ตนไม่ชอบ ที่จะบอกว่าพฤติกรรมบวกเป็นผลจากสิ่งแวดล้อม และพฤติกรรมลบเป็นผลจากธรรมชาติภายในของบุคคลนั้น
Negativity bias (ความเอนเอียงในการจำในแง่ลบ) เป็นปรากฏการณ์ทางจิต ที่มนุษย์สามารถระลึกถึงความทรงจำที่ไม่น่าชอบใจได้ดีกว่าความทรงจำที่น่าชอบใจ[59]
Neglect of probability (การละเลยความน่าจะเป็น) เป็นความโน้มเอียงที่จะไม่สนใจเรื่องความน่าจะเป็นเลย เมื่อต้องตัดสินใจในสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน[60]
Normalcy bias (ความเอนเอียงว่าปกติ) เป็นการปฏิเสธที่จะวางแผน หรือแม้จะตอบสนองต่อ ความหายนะความล่มจมที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
Not invented here (ไม่ได้ประดิษฐ์ที่นี่) เป็นความรังเกียจที่จะเข้าไปยุ่งกับผลิตภัณฑ์ มาตรฐาน หรือความรู้ที่ไม่ได้พัฒนาขึ้นภายในกลุ่ม เป็นปรากฏการณ์ที่สัมพันธ์กับปรากฏการณ์ไอเคีย
Omission bias (ความเอนเอียงในเรื่องการละเว้น) เป็นความโน้มเอียงในการตัดสินว่าการกระทำเชิงลบ เลวมากกว่าการไม่กระทำที่ทำให้เกิดผลลบ[61]
Optimism bias (ความเอนเอียงโดยการมองในแง่ดี) เป็นความโน้มเอียงที่จะมองในแง่ดีมากเกินไป คือประเมินผลบวกหรือผลที่ชอบใจว่ามีโอกาสเกิดมากเกินไป (ดูเรื่องที่สัมพันธ์กันในการคิดตามความปรารถนา)[62][63]
Ostrich effect (ปรากฏการณ์นกกระจอกเทศ) การไม่ใส่ใจในสถานการณ์ที่ไม่ดีแต่ชัดเจน
Outcome bias (ความเอนเอียงเรื่องผล) เป็นความโน้มเอียงในการประเมินการตัดสินใจโดยผลที่ได้ แทนที่จะประเมินคุณภาพการตัดสินใจในเวลาที่ตัดสิน
Overconfidence effect (ปรากฏการณ์มั่นใจมากเกินไป) เป็นการมั่นใจมากเกินไปเรื่องคำตอบของตน เช่น ในบางกรณี คำถามที่บุคคลตอบว่า มั่นใจ 99% จะผิดจากความจริง 40%[28][64][65][66]
แพริโดเลีย สิ่งเร้าที่ไม่ชัดเจนหรือเกิดขึ้นแบบบังเอิญ (บ่อยครั้งเป็นภาพหรือเป็นเสียง) ทำให้รู้สึกรับรู้ว่าเป็นอะไรบางอย่าง เช่น เห็นรูปสัตว์หรือใบหน้าในเมฆ เห็นคนบนดวงจันทร์ และได้ยินข้อความซ่อนที่ไม่มีในตลับเทปที่เล่นกลับหลัง
Pessimism bias (ความเอนเอียงในการมองในแง่ลบ) เป็นความโน้มเอียงของคนบางคน โดยเฉพาะผู้ที่กำลังมีภาวะซึมเศร้า ที่จะประเมินโอกาสที่สิ่งร้าย ๆ จะเกิดขึ้นกับตนเกินความจริง
Planning fallacy (เหตุผลวิบัติในการวางแผน) เป็นความโน้มเอียงที่จะกะเวลาที่จะทำงานเสร็จน้อยเกินไป[54]
Post-purchase rationalization (การสร้างเหตุผลหลังการซื้อ) เป็นความเอนเอียงที่จะกล่อมตัวเองด้วยเหตุผลว่า สิ่งที่ซื้อมีคุณค่าดี
Pro-innovation bias (ความเอนเอียงว่านวกรรมดี) เป็นความโน้มเอียงที่จะมองโลกในแง่ดีมากเกินไปเกี่ยวกับประโยชน์ของสิ่งประดิษฐ์หรือนวกรรมต่อสังคมทั่วไป ในขณะที่ละเลยหรือไม่สามารถกำหนดข้อจำกัดหรือข้อเสีย
Pseudocertainty effect (ปรากฏการณ์ความแน่นอนเทียม) เป็นความโน้มเอียงที่จะรู้สึกว่า ผลที่จะเกิดขึ้นเป็นเรื่องแน่นอนแม้ว่าจริง ๆ แล้วจะไม่ใช่ เป็นปรากฏการณ์ที่พบในการตัดสินใจหลายขั้นตอน[67]
Reactance (การทำตรงกันข้าม) เป็นความรู้สึกที่จะทำตรงข้ามกับสิ่งที่คนอื่นต้องการให้ตนทำ เป็นความต้องการที่จะต่อต้านความพยายามที่จะจำกัดอิสรภาพในการเลือกของตน
Reactive devaluation (การลดค่าโดยเป็นปฏิกิริยา) ข้อเสนออย่างหนึ่งดูมีค่าน้อยลงเพราะว่ามาจากศัตรู
Recency illusion (มายาว่าเร็ว ๆ นี้) การแปลสิ่งเร้าผิดว่าคำหรือการใช้ภาษาอย่างหนึ่ง เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเร็ว ๆ นี้แต่ความจริงเกิดมานานแล้ว
Restraint bias (ความเอนเอียงเรื่องบังคับตนเอง) เป็นความโน้มเอียงที่จะประเมินการบังคับตนเองได้ในสถานการณ์ที่ล่อแหลมล่อใจ เกินกว่าความจริง
Rhyme as reason effect (ปรากฏการณ์เสียงสัมผัสโดยเป็นเหตุผล) คำที่มีเสียงสัมผัสฟังดูเหมือนเป็นจริงมากกว่า ยกตัวอย่างเช่น สุภาษิตต่าง ๆ หรือตัวอย่างในภาษาอังกฤษที่ใช้ในคดีฆาตกรรมดังอเมริกันที่ยกฟ้องจำเลยคือ "If the gloves don't fit, then you must acquit (ถ้าถุงมือมันไม่ฟิต คุณจะต้องตัดสินปล่อยตัวจำเลย)"
Risk compensation (การชดเชยความเสี่ยง) หรือ Peltzman effect (ปรากฏการณ์เพ็ล์ตซแมน์) เป็นความโน้มเอียงที่จะทำอะไรเสี่ยงกว่า ถ้ารู้สึกว่าความปลอดภัยสูงขึ้น
Selective perception (การรับรู้โดยเลือก) เป็นความโน้มเอียงที่ความคาดหวังจะมีผลต่อการรับรู้
Semmelweis reflex (รีเฟล็กซ์เซ็มเมิลไวซ์) เป็นความโน้มเอียงที่จะปฏิเสธหลักฐานใหม่ ๆ ที่คัดค้านแบบแผนที่มีอยู่แล้ว[32]
Social comparison bias (ความเอนเอียงโดยการเปรียบเทียบทางสังคม) เป็นความโน้มเอียงที่จะตัดสินจ้างบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เพราะว่าบุคคลนั้นจะไม่แข่งขันกับตนในด้านที่ตนมีจุดแข็ง[68]
Social desirability bias (ความเอนเอียงเรื่องความน่าพอใจทางสังคม) เป็นความโน้มเอียงที่จะรายงานบุคลิกหรือพฤติกรรมที่เป็นเรื่องน่าพอใจทางสังคมของตนมากเกินไป และรายงานของคนอื่นน้อยเกินไป[69]
Status quo bias (ความเอนเอียงเพื่อคงสถานะเดิม) เป็นความโน้มเอียงที่จะชอบใจให้สิ่งต่าง ๆ เป็นเหมือน ๆ เดิม (สัมพันธ์กับการหลีกเลี่ยงการเสีย, Endowment effect, และ system justification)[70][71]
Stereotyping (การใช้แม่แบบ) การคาดหวังว่าสมาชิกของกลุ่มมีคุณสมบัติอะไรบางอย่าง โดยที่ไม่มีข้อมูลจริง ๆ สำหรับบุคคลนั้น ๆ
Subadditivity effect (ปรากฏการณ์การรวมต่ำไป) เป็นความโน้มเอียงที่จะประเมินความน่าจะเป็นของทั้งหมด น้อยกว่าความน่าจะเป็นของแต่ละส่วน ๆ รวมกัน[72]
Subjective validation (การกำหนดความถูกต้องโดยอัตวิสัย) เป็นความเอนเอียงทางประชานที่บุคคลจะพิจารณาบทความหรือข้อมูลว่าถูกต้องถ้ามีความหมายหรือความสำคัญต่อตนเอง[73]
Survivorship bias (ความเอนเอียงจากการอยู่รอด) การพุ่งความสนใจไปที่บุคคลหรืออะไรบางอย่าง ที่อยู่รอดผ่านกระบวนการอย่างหนึ่ง แล้วละเลยอย่างไม่ได้ตั้งใจบุคคลหรือสิ่งที่อยู่ไม่รอดเพราะมองไม่เห็น
Time-saving bias (ความเอนเอียงเรื่องประหยัดเวลา) การประเมินเวลาที่จะประหยัดหรือเสียไปน้อยเกินไป เมื่อเพิ่มหรือลดความเร็ว เมื่อความเร็วนั้นค่อนข้างต่ำอยู่แล้ว หรือว่าการประเมินเวลาที่จะประหยัดหรือเสียไปมากเกินไป เมื่อเพิ่มหรือลดความเร็ว เมื่อความเร็วนั้นค่อนข้างสูงอยู่แล้ว
Unit bias (ความเอนเอียงที่จะทำเป็นหน่วย) เป็นความโน้มเอียงที่จะทำการงานเป็นหน่วย ๆ เห็นได้ชัดในเรื่องการบริโภคอาหาร[74]
Well travelled road effect (ปรากฏการณ์ไปตามทางที่ใช้บ่อย) เป็นการประเมินเวลาการไปตามทางที่ไปบ่อย ๆ น้อยเกินไป และตามทางที่ไปไม่บ่อย มากเกินไป
Zero-risk bias (ความเอนเอียงเพื่อความเสี่ยงศูนย์) ความชอบใจที่จะลดความเสี่ยงที่มีน้อยให้เหลือศูนย์ มากกว่าจะลดความเสี่ยงที่มีมากในระดับที่สูงกว่า
Zero-sum heuristic (ฮิวริสติกแพ้ชนะรวมกันเป็นศูนย์) รู้โดยไม่ต้องคิดว่า สถานการณ์หนึ่งเป็นเรื่องแพ้-ชนะ (คือการได้การเสียสัมพันธ์กัน หรือการได้การเสียบวกกันได้ศูนย์)[75][76] การเกิดความเอนเอียงเช่นนี้ถี่ ๆ อาจสัมพันธ์กับบุคลิกภาพในด้านความเป็นใหญ่ในสังคม

ความเอนเอียงทางสังคม[แก้]

ความเอนเอียงเหล่านี้โดยมากจัดเป็น attributional bias (ควาเอนเอียงในการอ้างเหตุ)

ชื่อ คุณลักษณะ
Actor-observer bias (ความเอนเอียงผู้กระทำ-ผู้สังเกตการณ์) เป็นความโน้มเอียงที่จะอธิบายพฤติกรรมของผู้อื่นโดยเน้นอิทธิพลทางบุคลิกภาพมากเกินไป และเน้นอิทธิพลของสถานการณ์น้อยเกินไป (ดู Fundamental attribution error ด้วย) และที่จะอธิบายพฤติกรรมของตนโดยนัยตรงกันข้าม คือเน้นอิทธิพลของสถานการณ์มากเกินไป และเน้นอิทธิพลของบุคลิกภาพน้อยเกินไป
Defensive attribution hypothesis (สมมติฐานการอ้างเหตุแบบป้องกันตัว) ยกโทษให้กับคนทำผิดมากขึ้น เมื่อผลที่ได้เสียหายมากขึ้น หรือว่าเมื่อผู้ตัดสินมีความคล้ายคลึงทางส่วนตัวหรือทางสถานการณ์กับผู้รับเคราะห์มากขึ้น
Dunning-Kruger effect (ปรากฏการณ์ดันนิ่ง-ครูเกอร์) ปรากฏการณ์ที่คนไร้ความสามารถไม่รู้ว่าตนไร้ความสามารถ เพราะไม่มีทักษะที่จะแยกแยะระหว่างความสามารถกับความไร้ความสามารถ แต่ว่า ความสามารถจริง ๆ อาจทำให้มั่นใจในตนเองน้อยลง เพราะว่าคนมีความสามารถอาจจะนึกอย่างผิด ๆ ว่า คนอื่นมีความเข้าใจเท่าเทียมกัน[77]
Egocentric bias (ความเอนเอียงเห็นแก่ตัว) เกิดขึ้นเมื่อบุคคลเรียกร้องความดีความชอบให้ตนเองทั้ง ๆ ที่เป็นผลงานร่วมกับคนอื่น ในระดับที่มากกว่าคนสังเกตการณ์จะเห็นด้วย
Extrinsic incentives bias (ความเอนเอียงเห็นผู้อื่นมีสิ่งจูงใจภายนอก) จุดนี้เป็นข้อยกเว้นของ fundamental attribution error เมื่อบุคคลเห็นผู้อื่นว่ามีแรงจูงใจภายนอก (คือสถานการณ์เช่น การเงิน) แต่เห็นตัวเองว่ามีแรงจูงใจภายใน (เช่น เพื่อเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ)
False consensus effect (ปรากฏการณ์ความเห็นพ้องเทียม) เป็นความโน้มเอียงที่บุคคลประเมินระดับการเห็นพ้องต้องกันกับตนเองของคนอื่นสูงเกินไป[78]
Forer effect (ปรากฏการณ์ฟอเรอร์) หรือ Barnum effect (ปรากฏการณ์บาร์นัม) สังเกตการณ์ที่เห็นได้ว่า บุคคลจะให้คะแนนว่ามีความแม่นยำสูง สำหรับคำพรรณนาบุคลิกของตนที่เชื่อว่าทำเฉพาะให้แก่ตน แต่ว่าความจริงเป็นคำที่คลุมเครือและทั่วไปพอที่จะกล่าวได้ถึงคนอื่นเช่นเดียวกัน ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่สามารถใช้เป็นคำอธิบายส่วนหนึ่งเกี่ยวกับความนิยมชมชอบความเชื่อหรือความคิดบางอย่างเช่น โหราศาสตร์ การบอกโชคชะตา การดูลายมือ และการทดสอบบุคลิกบางอย่าง
Fundamental attribution error (ความผิดพลาดในการอ้างเหตุพื้นฐาน) เป็นความโน้มเอียงที่บุคคลจะอธิบายพฤติกรรมของผู้อื่นโดยอ้างเหตุบุคลิกภาพมากเกินไป ในขณะที่อ้างเหตุเกี่ยวกับบทบาทและอิทธิพลของสถานการณ์น้อยเกินไป (สัมพันธ์กับ actor-observer bias, group attribution error, positivity effect, และ negativity effect)[79]
Group attribution error (ความผิดพลาดโดยการอ้างเหตุรวมกลุ่ม) เป็นความเชื่อที่เอนเอียงว่า ลักษณะของบุคคลหนึ่งในกลุ่ม เป็นลักษณะของบุคคลทั้งกลุ่ม หรือความโน้มเอียงที่จะอ้างเหตุว่า การตัดสินใจของกลุ่มบ่งถึงความชอบใจของสมาชิกในกลุ่ม แม้ว่าจะมีข้อมูลที่ส่องถึงนัยตรงกันข้าม
Halo effect (ปรากฏการณ์วงรัศมี) เป็นความเอนเอียงทางประชานที่ความรู้สึกทั่วไปเกี่ยวกับบุคคล บริษัท ยี่ห้อ หรือผลิตภัณฑ์ มีอิทธิพลต่อความรู้สึกและความคิดเกี่ยวกับสิ่งนั้นในด้านอื่น ๆ[80][81]
Illusion of asymmetric insight (มายาว่าความเข้าใจไม่เท่ากัน) เป็นการแปลสิ่งเร้าผิดว่า ความรู้ของตนเกี่ยวกับคนรอบตัว มากกว่าความรู้ของคนรอบตัวเกี่ยวกับตน[82]
Illusion of external agency (มายาว่ามีผู้กระทำภายนอก) เมื่อบุคคลเห็นความชอบใจที่เกิดขึ้นภายในตนว่า มีเหตุจากผู้กระทำอื่นที่ฉลาด มีประสิทธิภาพ และเห็นประโยชน์แก่ตน
Illusion of transparency (มายาว่าโปร่งใส) บุคคลประเมินว่า คนอื่นรู้จักตนดีเกินจริง และประเมินความสามารถของตนในการรู้จักผู้อื่นเกินจริง
Illusory superiority (ความเหนือกว่าเทียม) เป็นการประเมินคุณสมบัติที่น่าชอบใจของตนเกินจริง และประเมินคุณสมบัติที่ไม่น่าชอบใจต่ำกว่าความเป็นจริง เมื่อเปรียบเทียบกับผู้อื่น[83]
Ingroup bias (ความเอนเอียงในพวกตน) เป็นความโน้มเอียงที่จะปฏิบัติต่อผู้อื่นที่มองว่าเป็นสมาชิกในกลุ่มของตนดีกว่าคนอื่น
Just-world hypothesis (สมมติฐานโลกยุติธรรม) เป็นความโน้มเอียงที่จะเชื่อว่า โลกนี้โดยหลักแล้วยุติธรรม เป็นเหตุให้พยาายามหาเหตุผลผิด ๆ ในเรื่องที่ไม่ยุติธรรมว่า ผู้รับเคราะห์หรือเหยื่อสมควรที่จะได้รับเคราะห์เช่นนั้น
Moral luck (โชคตามจริยธรรม) เป็นความโน้มเอียงที่จะตัดสินบุคคลว่าดีหรือไม่ดี ขึ้นอยู่กับผลของเหตุการณ์
Naïve cynicism (ความไม่เชื่อใจผู้อื่นสามัญ) เป็นความคาดหวังอย่างผิด ๆ ว่า คนอื่นมีความเอนเอียงเห็นแก่ตัวมากกว่าตน
Naïve realism (สัจนิยมสามัญ) ความเชื่อว่าเราเห็นโลกตามความเป็นจริง โดยไม่เอนเอียง ว่าความจริงนั้นปรากฏให้เห็นชัดเจนกับทุกคน ว่าคนมีเหตุผลอื่นจะเห็นด้วยกับเรา และว่าคนที่ไม่เห็นด้วยเป็นคนที่ไม่มีข้อมูล ขี้เกียจ ไร้เหตุผล หรือว่ามีความเอนเอียง
Outgroup homogeneity bias (ความเอนเอียงเห็นคนกลุ่มอื่นเหมือน ๆ กัน) บุคคลมองเห็นสมาชิกในกลุ่มของตนว่าต่าง ๆ กันมากกว่าสมาชิกของชนกลุ่มอื่น[84]
Projection bias (ความเอนเอียงโดยยิงให้ผู้อื่น) ความโน้มเอียงที่จะถือเอาว่า คนอื่น (หรือว่าตนเองในอนาคต) จะมีความรู้สึก ความคิด และค่านิยม เหมือนกับตนในปัจจุบัน[85]
Self-serving bias (ความเอนเอียงรับใช้ตนเอง) เป็นความโน้มเอียงที่จะอ้างความรับผิดชอบต่อเรื่องสำเร็จมากกว่าเรื่องที่ล้มเหลว อาจจะปรากฏเป็นความโน้มเอียงในการประเมินข้อมูลที่ไม่ชัดเจนโดยให้ประโยชน์กับตน (สัมพันธ์กับ group-serving bias)[86]
Shared information bias (ความเอนเอียงต่อข้อมูลแชร์) เป็นความโน้มเอียงที่สมาชิกในกลุ่มจะให้เวลาและความสนใจสนทนาเรื่องที่สมาชิกทุกคนคุ้นเคย (คือข้อมูลแชร์) มากกว่าที่ให้กับเรื่องที่สมาชิกบางคนเท่านั้นรู้[87]
System justification (การให้เหตุผลกับระบบ) เป็นความโน้มเอียงที่จะป้องกันและสนับสนุนสภาพที่เป็นอยู่ปัจจุบัน คือชอบใจระบบทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ที่มีอยู่ และใส่ความระบบทางเลือกอื่น แม้กระทั่งบางครั้งเป็นการเสียประโยชน์ของตนหรือของส่วนรวม (สัมพันธ์กับ status quo bias)
Trait ascription bias (ความเอนเอียงในการถือเอาคุณลักษณะ) เป็นความโน้มเอียงที่จะเห็นตนเองว่ามีความต่าง ๆ กันในด้านบุคลิกภาพ พฤติกรรม และพื้นอารมณ์ ในขณะที่มองผู้อื่นว่า รู้จักได้ง่ายกว่า
Ultimate attribution error (ความผิดพลาดในการอ้างเหตุขั้นสุด) คล้ายกับ fundamental attribution error แต่เป็นความผิดพลาดที่บุคคลจะโทษบุคลิกนิสัยของคนทั้งกลุ่ม ไม่ใช่เป็นเพียงแค่สมาชิกในกลุ่มแต่ละคนเท่านั้น
Worse-than-average effect (ปรากฏการณ์แย่กว่าโดยเฉลี่ย) เป็นความโน้มเอียงที่จะเชื่อว่าตนแย่กว่าคนอื่นโดยเฉลี่ยในงานที่ยาก[88]

ความผิดพลาดและความเอนเอียงทางความจำ[แก้]

ในสาขาจิตวิทยาและประชานศาสตร์ ความเอนเอียงทางความจำ (memory bias) เป็นความเอนเอียงทางประชานที่ช่วยหรือขัดการระลึกถึงความทรงจำหนึ่ง ๆ (เช่นช่วยให้ระลึกถึงความจำนั้นได้ หรือช่วยลดเวลาการระลึก หรือว่าทั้งสองอย่าง) หรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลสิ่งที่จำได้ มีประเภทต่าง ๆ รวมทั้ง

ชื่อ คุณลักษณะ
Bizarreness effect (ปรากฏการณ์ความแปลกประหลาก) เรื่องแปลกประหลาดจำได้ง่ายกว่าเรื่องธรรมดา
Choice-supportive bias (ความเอนเอียงสนับสนุนสิ่งที่เลือก) เป็นความโน้มเอียงที่จะนึกถึงสิ่งที่เลือกว่าดี เกินความเป็นจริง[89]
Change bias (ความเอนเอียงเรื่องสิ่งที่เปลี่ยน) เมื่อต้องลงทุนลงแรงเพื่อเปลี่ยนอะไรอย่างหนึ่ง จะจำการกระทำนั้นว่า ทำได้ยากเกินความเป็นจริง[90][[[|แหล่งอ้างอิงที่ไม่น่าเชื่อถือ?]]]
Childhood amnesia (ภาวะเสียความจำในวัยเด็ก) จำเหตุการณ์ที่เกิดก่อนวัย 4 ขวบได้น้อย
Conservatism หรือ Regressive bias เป็นความโน้มเอียงที่จะระลึกถึงค่าสูง เช่นค่าความถี่ ค่าความน่าจะเป็น ว่าต่ำจากความเป็นจริง และระลึกถึงค่าต่ำว่าสูงจากความเป็นจริง[29][30]
Consistency bias (ความเอนเอียงเพื่อให้คงเส้นคงวา) ระลึกผิด ๆ ถึงทัศนคติและพฤติกรรมในอดีตของตน ว่าเหมือนทัศนคติและพฤติกรรมในปัจจุบัน[91]
cue-dependent forgetting (การหลงลืมขึ้นอยู่กับตัวช่วย) ระบบประชานและความจำขึ้นอยู่กับตัวบริบท (คือตัวช่วยให้นึกถึงสิ่งนั้น) ดังนั้น ความทรงจำที่ไม่เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน จะระลึกถึงได้ยากกว่าความทรงจำที่เข้า (ตัวอย่างเช่น ระยะเวลาและความแม่นยำในการระลึกถึงความจำเกี่ยวกับที่ทำงาน จะแย่กว่าเมื่อนึกถึงที่บ้าน และนัยตรงกันข้ามก็จะเหมือนกัน)
Cross-race effect (ปรากฏการณ์ข้ามผิวพันธุ์) เป็นความโน้มเอียงที่คนผิวพันธุ์หนึ่งประสบความลำบากในการจำบุคคลที่เป็นอีกผิวพันธุ์หนึ่ง
Cryptomnesia เป็นความผิดพลาดในการถือเอาความทรงจำว่าเป็นจินตนาการ เพราะว่า ไม่เกิดความรู้สึกทางอัตวิสัยว่ามันเป็นความทรงจำ[90]
Egocentric bias (ความเอนเอียงเห็นแก่ตัว) การระลึกถึงอดีตเข้าข้างตนเอง เช่น ระลึกถึงคะแนนสอบว่าดีกว่า หรือว่า จับปลาได้ตัวใหญ่กว่าความจริง
Fading affect bias (ความเอนเอียงโดยความรู้สึกจาง) เป็นความเอนเอียงที่อารมณ์ความรู้สึกเกี่ยวกับความทรงจำที่ไม่ดี จางหายไปเร็วกว่าอารมณ์ความรู้สึกเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่ดี ๆ[92]
Generation effect (ปรากฏการณ์คิดเอง) ข้อมูลที่คิดเองจำได้ดีที่สุด เช่น บุคคลสามารถระลึกถึงคำพูดของตน ได้ดีกว่าคำพูดคล้าย ๆ กันของคนอื่น
Google effect (ปรากฏการณ์กูเกิล) เป็นความโน้มเอียงที่จะลืมข้อมูลที่สามารถหาได้ง่ายออนไลน์โดยใช้เสิร์ชเอนจินทางอินเทอร์เน็ตเช่นกูเกิล
Hindsight bias (ความเอนเอียงการเข้าใจปัญหาย้อนหลัง) บางครั้งเรียกว่าปรากฏการณ์ "I-knew-it-all-along" (ฉันรู้อยู่ก่อนแล้ว) เป็นความเอนเอียงที่เห็นเหตุการณ์ในอดีตว่า พยากรณ์ได้[47] แม้ว่าจะไม่มีข้อมูลจริง ๆ หรือมีน้อยพอที่จะพยากรณ์ได้จริง ๆ
Humor effect (ปรากฏการณ์เรื่องตลก) เรื่องตลกจำได้ง่ายกว่าเรื่องไม่ตลก ซึ่งอาจเป็นเพราะเป็นเรื่องตลกที่ไม่เหมือนใคร หรือว่าเพราะต้องประมวลข้อมูลทางประชานมากกว่าเพื่อที่จะเข้าใจ หรือว่าเพราะทำให้เกิดสภาวะตื่นตัวทางอารมณ์[ต้องการอ้างอิง]
Illusory truth effect (ปรากฏการณ์ความจริงเทียม) หรือ Availability cascade เป็นกระบวนการที่เสริมกำลังในตัว ที่ความเชื่อในสังคมดูเหมือนจะเป็นไปได้มากขึ้นเมื่อเกิดการพูดการกล่าวถึงซ้ำ ๆ กัน (เหมือนกับความเชื่ออย่างหนึ่งของเด็กว่า "พูดอะไรซ้ำ ๆ กัน นาน ๆ เข้าก็จะกลายเป็นจริง")[18]
Illusory correlation (สหสัมพันธ์เทียม) การเห็นอย่างผิดพลาดว่า เหตุการณ์หลายอย่างที่ไม่สัมพันธ์กันมีความสัมพันธ์กัน[52][53]
Leveling and Sharpening (การทำให้เรียบและการทำให้คม) ความจำที่บิดเบือนเกิดขึ้นจากการสูญเสียรายละเอียดเมื่อระลึกถึงเมื่อภายหลังนาน ๆ (เป็นการทำให้เรียบ) บ่อยครั้งเกิดขึ้นพร้อมกับ ๆ การระลึกถึงรายละเอียดอะไรบางอย่างได้ดีขึ้น (การทำให้คม) ซึ่งกลายเป็นเรื่องสำคัญเมื่อเทียบกับรายละเอียดหรือลักษณะที่สูญเสียไป ความเอนเอียงสองอย่างนี้อาจจะมีกำลังขึ้นเรื่อย ๆ ตามเวลา โดยการระลึกถึงหรือกล่าวถึงความจำนั้นบ่อย ๆ[93]
Levels-of-processing effect (ปรากฏการณ์ประมวลหลายระดับ) ระดับการประมวลสิ่งเร้าทางใจต่าง ๆ ทำให้สามารถระลึกถึงสิ่งเร้านั้นได้ต่าง ๆ กัน การประมวลที่ลึกซึ้ง ทำให้ระลึกได้ดีกว่า[94]
List-length effect (ปรากฏการณ์จำนวนรายการ) เมื่อมีรายการที่ยาวขึ้นเรื่อย ๆ จะจำรายการได้ถูกต้องในอัตราที่น้อยกว่า และจำผิดในอัตราที่มากกว่า แม้ว่าจะมีงานวิจัยที่คัดค้านว่าปรากฏการณ์นี้ไม่มีจริงเมื่อควบคุมตัวแปรกวน[95]
Misinformation effect (ปรากฏการณ์ข้อมูลผิด) ความจำจะแม่นยำน้อยลงถ้ามี post-event information คือข้อมูลเกี่ยวกับความจำหลังเหตุการณ์นั้น ที่ผิดพลาด ซึ่งจะเป็นตัวกวนความจำนั้น[96]
Next-in-line effect (ปรากฏการณ์คนต่อไปในแถว) เป็นแนวโน้มที่บุคคลที่จะพูดต่อไปในกลุ่ม สามารถระลึกถึงคำของคนที่พูดก่อน ๆ ได้น้อยลง เมื่อต้องพูดต่อ ๆ กัน[97]
Peak-end rule (กฎยอดและสุด) เป็นแนวโน้มที่จะประเมินความรู้สึกถึงเหตุการณ์หนึ่งโดยไม่รวมคุณค่าของประสบการณ์ทั้งหมด แต่ประเมินโดยค่าความรู้สึกที่จุดยอด (ไม่ว่าจะเป็นสุขหรือทุกข์) และค่าความรู้สึกในที่สุดของเหตุการณ์
Picture superiority effect (ปรากฏการณ์ความเหนือกว่าของภาพ) เป็นความโน้มเอียงที่แนวคิดที่ศึกษาโดยใช้รูปภาพจะสามารถระลึกถึงได้ง่ายกว่าและบ่อยกว่า แนวคิดที่ศึกษาโดยอ่านแค่บทความ[98][99][100][101][102][103]
Positivity effect (ปรากฏการณ์ข้อมูลบวก) เป็นแนวโน้มที่ผู้สูงวัยจะชื่นชอบข้อมูลเชิงบวกมากกว่าข้อมูลเชิงลบในความทรงจำ
Primacy effect, Recency effect และ Serial position effect เป็นแนวโน้มที่จะระลึกถึงรายการที่อยู่ท้าย ๆ ได้ดีที่สุด ตามมาด้วยรายการที่อยู่ต้น ๆ ส่วนรายการที่อยู่กลาง ๆ จะจำได้น้อยที่สุด[104]
Processing difficulty effect (ปรากฏการณ์ความยากในการประมวล) ข้อมูลที่ใช้เวลามากกว่าในการอ่านและคิดถึงนานกว่า (คือประมวลอย่างยากเย็นกว่า) จะระลึกถึงได้ง่ายกว่า[105] (ดู Levels-of-processing effect)
Reminiscence bump (การประทุของความจำเหตุการณ์ในอดีต) เป็นแนวโน้มของผู้ใหญ่ที่จะระลึกถึงความจำในช่วงวัยรุ่นและเริ่มต้นวัยผู้ใหญ่ได้ดีกว่าช่วงชีวิตอื่น ๆ[106]
Rosy retrospection (การระลึกถึงความหลังเป็นสีชมพู) เป็นแนวโน้มในการระลึกถึงอดีตว่าดีเกินกว่าที่เป็นจริง
Self-relevance effect (ปรากฏการณ์ความสัมพันธ์กับตน) ความจำเกี่ยวกับตนเองระลึกได้ง่ายกว่าความจำเรื่องเดียวกันของคนอื่น
Spacing effect (ปรากฏการณ์เว้นว่าง) เป็นแนวโน้มที่จะระลึกถึงข้อมูล ถ้าได้ข้อมูลนั้นซ้ำ ๆ กันแต่ห่างกัน ได้ดีกว่าถ้าซ้ำโดยไม่ห่าง
Spotlight effect (ปรากฏการณ์สปอร์ตไลท์) เป็นแนวโน้มที่จะประเมินว่าคนอื่นเห็นรูปร่างลักษณะท่าทางพฤติกรรมของตนเกินความจริง
Suffix effect (ปรากฏการณ์เสริมท้าย) recency effect คือการจำข้อสุดท้าย ๆ ของรายการได้ดีที่สุด มีระดับลดลงถ้ามีรายการเสริมท้ายที่ไม่ต้องจำเพื่อระลึกภายหลัง[107][108]
Suggestibility (การถูกชักชวนได้ง่าย) เป็นการอ้างแหล่งข้อมูลผิดอย่างหนึ่งที่ความคิดที่เสนอโดยผู้ถาม กลายเป็นความทรงจำของผู้ตอบ
Telescoping effect (ปรากฏการณ์กล้องโทรทรรศน์) เป็นความโน้มเอียงที่จะจำเหตุการณ์เร็ว ๆ นี้ว่าอยู่ในอดีตไกลเกินจริง และเหตุการณ์ที่ไกลออกไปว่าอยู่ในอดีตใกล้เกินจริง ดังนั้น เหตุการณ์เร็ว ๆ นี้จึงปรากฏเหมือนอยู่ไกล และเหตุการณ์ที่อยู่ในอดีตไกลดูเหมือนจะใกล้
Testing effect (ปรากฏการณ์ทดสอบ) เป็นแนวโน้มที่จะจำข้อมูลที่พึ่งอ่านได้ดีกว่าถ้าเขียนซ้ำ แทนที่จะอ่านใหม่[109]
Tip of the tongue phenomenon (ปรากฏการณ์อยู่ปลายลิ้น) เมื่อบุคคลสามารถที่จะระลึกถึงบางส่วนของข้อมูลหรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องกันได้ แต่ไม่สามารถระลึกถึงข้อมูลทั้งหมดได้อย่างน่ากลุ้มใจ นี่เชื่อกันว่าเป็นตัวอย่างของความขัดข้องที่เกิดขึ้นเมื่อระลึกถึงความทรงจำที่คล้าย ๆ กันได้หลายชิ้น ซึ่งเป็นตัวกวนกันและกัน[90]
Verbatim effect (ปรากฏการณ์คำต่อคำ) ความโน้มเอียงที่จะระลึกถึง แก่นสารสำคัญ (gist) ของสิ่งที่คนพูด ได้ดีกว่าระลึกถึงข้อความคำต่อคำ[110] นี่เป็นเพราะความทรงจำเป็นตัวแทน (representation) เหตุการณ์ ไม่ใช่เป็นก๊อปปี้ของเหตุการณ์
Von Restorff effect (ปรากฏการณ์วอนเรสตอล์ฟ) เป็นความโน้มเอียงที่จะระลึกถึงรายการที่เด่นได้ดีกว่ารายการอื่น ๆ[111]
Zeigarnik effect (ปรากฏการณ์เซการ์นิก) เป็นความโน้มเอียงที่จะระลึกถึงงานที่ยังไม่เสร็จหรือพักไปในระหว่าง ได้ดีกว่างานที่ทำเสร็จแล้ว

เหตุสามัญโดยทฤษฎี ของความเอนเอียงทางประชาน[แก้]

  • Bounded rationality (การมีเหตุผลที่จำกัด)
    • Prospect theory (ทฤษฎีความคาดหวัง)
    • Mental accounting (การทำบัญชีทางใจ)
    • Adaptive bias (ความเอนเอียงแบบปรับได้) - การตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลที่มีอยู่ แล้วปรับด้วยความเอนเอียงตามค่าเสียหายที่เกิดขึ้นเพราะอาจมีข้อผิดพลาด
  • Attribute substitution (การทดแทนคุณลักษณะ) - การทดแทนข้อมูลที่ยากและซับซ้อนด้วยคุณลักษณะที่ง่าย เพื่อช่วยในการตัดสินใจ[112]
  • Attribution theory (ทฤษฎีการอ้างเหต)
    • Salience (สิ่งที่เด่นในการรับรู้)
    • Naïve realism (สัจนิยมสามัญ)
  • Cognitive dissonance (ความไม่ลงรอยทางประชาน) และเหตุที่เกี่ยวข้องกันอื่น ๆ
    • Impression management (การบริหารความประทับใจ)
    • Self-perception theory (ทฤษฎีการมองตนเอง)
  • Heuristics in judgment and decision-making (ฮิวริสติกในการประเมินและการตัดสินใจ) รวมทั้ง
    • Availability heuristic (ฮิวริสติกโดยความเข้าถึงได้ง่าย) - ประเมินว่าอะไรมีโอกาสสูงกว่าโดยการนึกถึงได้ง่าย เป็นความเอนเอียงต่อตัวอย่างทางความจำที่ชัดเจน แปลก ๆ หรือประกอบด้วยอารมณ์[52]
    • Representativeness heuristic (ฮิวริสติกโดยความเป็นตัวแทน) - ตัดสินว่าอะไรมีโอกาสสูงกว่าโดยความคล้ายคลึงกับตัวแทนของประเภท[52]
    • Affect heuristic (ฮิวริสติกโดยอารมณ์) - ตัดสินใจโดยใช้อารมณ์แทนที่จะประเมินความเสี่ยงและประโยชน์[113]
  • ทฤษฎีเกี่ยวกับอารมณ์บางอย่าง เช่น
    • Two-factor theory of emotion (ทฤษฎีอารมณ์มีองค์ประกอบสอง)
    • Somatic markers hypothesis (สมมติฐานตัวบ่งชี้พฤติกรรมทางกาย)
  • Introspection illusion (การแปลการพินิจภายในผิด)
  • misuse of statistics (การตีความสถิติผิดหรือการใช้ผิด) หรือ innumeracy (การใช้เหตุผลโดยตัวเลขไม่เป็น)

บทความในวารสาร Psychological Bulletin ปี ค.ศ. 2012 เสนอว่า มีความเอนเอียงที่ดูเหมือนจะไม่สัมพันธ์กัน 8 อย่างที่สามารถเกิดขึ้นได้โดยใช้กลไกทางทฤษฎีสารสนเทศ (information-theoretic generative mechanism) ที่มีการประมวลข้อมูลประกอบด้วยตัวกวน (noisy) ทั้งในช่วงการเก็บและการระลึกถึงข้อมูลในความทรงจำของมนุษย์[28]

ดูเพิ่ม[แก้]

เชิงอรรถและอ้างอิง[แก้]

  1. Dougherty, M. R. P.; Gettys, C. F.; Ogden, E. E. (1999). "MINERVA-DM: A memory processes model for judgments of likelihood" (PDF). Psychological Review. 106 (1): 180–209. doi:10.1037/0033-295x.106.1.180.
  2. Kahneman, D.; Tversky, A. (1972). "Subjective probability: A judgment of representativeness". Cognitive Psychology. 3: 430–454. doi:10.1016/0010-0285(72)90016-3.
  3. Baron, J. (2007). Thinking and deciding (4th ed.). New York City: Cambridge University Press. ISBN 9781139466028.
  4. Maccoun, Robert J. (1998). "Biases in the interpretation and use of research results" (PDF). Annual Review of Psychology. 49 (1): 259–87. doi:10.1146/annurev.psych.49.1.259. PMID 15012470.
  5. Nickerson, Raymond S. (1998). "Confirmation Bias: A Ubiquitous Phenomenon in Many Guises" (PDF). Review of General Psychology. Educational Publishing Foundation. 2 (2): 175-220 198. doi:10.1037/1089-2680.2.2.175. ISSN 1089-2680.
  6. Dardenne, Benoit; Leyens, Jacques-Philippe (1995). "Confirmation Bias as a Social Skill". Personality and Social Psychology Bulletin. Society for Personality and Social Psychology. 21 (11): 1229–1239. doi:10.1177/01461672952111011. ISSN 1552-7433.
  7. Alexander, William H.; Brown, Joshua W. (June 1, 2010). "Hyperbolically Discounted Temporal Difference Learning". Neural Computation. 22 (6): 1511–1527. doi:10.1162/neco.2010.08-09-1080. PMC 3005720. PMID 20100071.
  8. "People add by default even when subtraction makes more sense". Science News. April 7, 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-05-10.
  9. Adams, Gabrielle S.; Converse, Benjamin A.; Hales, Andrew H.; Klotz, Leidy E. (April 2021). "People systematically overlook subtractive changes". Nature (ภาษาอังกฤษ). 592 (7853): 258–261. Bibcode:2021Natur.592..258A. doi:10.1038/s41586-021-03380-y. ISSN 1476-4687. PMID 33828317. S2CID 233185662. สืบค้นเมื่อ 2021-05-10.
  10. Baron 1994, p. 372
  11. Zhang, Yu; Lewis, Mark; Pellon, Michael; Coleman, Phillip (2007). "A Preliminary Research on Modeling Cognitive Agents for Social Environments in Multi-Agent Systems" (PDF): 116–123. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ September 1, 2019. สืบค้นเมื่อ 2016-01-22. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  12. 12.0 12.1 12.2 Iverson, Grant; Brooks, Brian; Holdnack, James (2008). "Misdiagnosis of Cognitive Impairment in Forensic Neuropsychology". ใน Heilbronner, Robert L. (บ.ก.). Neuropsychology in the Courtroom: Expert Analysis of Reports and Testimony. New York: Guilford Press. p. 248. ISBN 9781593856342.
  13. Coley, JD; Tanner, KD (2012). "Common origins of diverse misconceptions: cognitive principles and the development of biology thinking". CBE Life Sciences Education. 11 (3): 209–15. doi:10.1187/cbe.12-06-0074. PMC 3433289. PMID 22949417.
  14. "The Real Reason We Dress Pets Like People". LiveScience.com. March 3, 2010. สืบค้นเมื่อ 2015-11-16.
  15. Harris, LT; Fiske, ST (January 2011). "Dehumanized Perception: A Psychological Means to Facilitate Atrocities, Torture, and Genocide?". Zeitschrift für Psychologie. 219 (3): 175–181. doi:10.1027/2151-2604/a000065. PMC 3915417. PMID 24511459.
  16. Bar-Haim, Y.; Lamy, D.; Pergamin, L.; Bakermans-Kranenburg, M.J.; van IJzendoorn, M.H. (2007). "Threat-related attentional bias in anxious and non-anxious individuals: A meta-analytic study". Psychological Bulletin. 133 (1): 1–24. PMID 17201568.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) Full Article PDF (534 KB)
  17. Schwarz, N.; Bless, Herbert; Strack, Fritz; Klumpp, G.; Rittenauer-Schatka, Helga; Simons, Annette (1991). "Ease of Retrieval as Information: Another Look at the Availability Heuristic" (PDF). Journal of Personality and Social Psychology. 61 (2): 195–202. doi:10.1037/0022-3514.61.2.195. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ February 9, 2014. สืบค้นเมื่อ 2014-10-19.
  18. 18.0 18.1 Kuran, Timur; Cass R Sunstein (1998). "Availability Cascades and Risk Regulation". Stanford Law Review. 51: 683. doi:10.2307/1229439.
  19. Sanna, Lawrence J.; Schwarz, Norbert; Stocker, Shevaun L. (2002). "When debiasing backfires: Accessible content and accessibility experiences in debiasing hindsight" (PDF). Journal of Experimental Psychology: Learning, Memory, and Cognition. 28 (3): 497–502. doi:10.1037//0278-7393.28.3.497. ISSN 0278-7393. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ September 1, 2019. สืบค้นเมื่อ 2016-01-22.
  20. Colman, Andrew (2003). Oxford Dictionary of Psychology. New York: Oxford University Press. p. 77. ISBN 0-19-280632-7.
  21. Baron 1994, pp. 224–228
  22. Klauer, K. C.; Musch, J; Naumer, B (2000). "On belief bias in syllogistic reasoning". Psychological Review. 107 (4): 852–884. doi:10.1037/0033-295X.107.4.852. PMID 11089409.
  23. Pronin, Emily; Matthew B. Kugler (July 2007). "Valuing thoughts, ignoring behavior: The introspection illusion as a source of the bias blind spot". Journal of Experimental Social Psychology. Elsevier. 43 (4): 565–578. doi:10.1016/j.jesp.2006.05.011. ISSN 0022-1031.
  24. Walker, Drew; Vul, Edward (October 25, 2013). "Hierarchical Encoding Makes Individuals in a Group Seem More Attractive". Psychological Science. 20 (11). doi:10.1177/0956797613497969. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 29, 2016. สืบค้นเมื่อ 2016-01-22.
  25. Mather, M.; Shafir, E.; Johnson, M.K. (2000). "Misrememberance of options past: Source monitoring and choice" (PDF). Psychological Science. 11 (2): 132–138. doi:10.1111/1467-9280.00228. PMID 11273420. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-01-17. สืบค้นเมื่อ 2016-01-22.
  26. Oswald, Margit E.; Grosjean, Stefan (2004). "Confirmation Bias". ใน Pohl, Rüdiger F. (บ.ก.). Cognitive Illusions: A Handbook on Fallacies and Biases in Thinking, Judgement and Memory. Hove, UK: Psychology Press. pp. 79–96. ISBN 978-1-84169-351-4. OCLC 55124398.
  27. Fisk, John E. (2004). "Conjunction fallacy". ใน Pohl, Rüdiger F. (บ.ก.). Cognitive Illusions: A Handbook on Fallacies and Biases in Thinking, Judgement and Memory. Hove, UK: Psychology Press. pp. 23–42. ISBN 978-1-84169-351-4. OCLC 55124398.
  28. 28.0 28.1 28.2 28.3 28.4 28.5 Hilbert, Martin (2012). "Toward a synthesis of cognitive biases: How noisy information processing can bias human decision making". Psychological Bulletin. 138 (2): 211–237. Full ArticlePDF
  29. 29.0 29.1 Attneave, F. (1953). "Psychological probability as a function of experienced frequency". Journal of Experimental Psychology. 46 (2): 81–86. doi:10.1037/h0057955. PMID 13084849.
  30. 30.0 30.1 Fischhoff, B.; Slovic, P.; Lichtenstein, S. (1977). "Knowing with certainty: The appropriateness of extreme confidence". Journal of Experimental Psychology: Human Perception and Performance. 3 (4): 552–564. doi:10.1037/0096-1523.3.4.552.
  31. DuCharme, W. M. (1970). "Response bias explanation of conservative human inference". Journal of Experimental Psychology. 85 (1): 66–74. doi:10.1037/h0029546.
  32. 32.0 32.1 Edwards, W. (1968). "Conservatism in human information processing". ใน Kleinmuntz, B. (บ.ก.). Formal representation of human judgment. New York: Wiley. pp. 17–52.
  33. Plous 1993, pp. 38–41
  34. Ackerman, Mark S., บ.ก. (2003). Sharing expertise beyond knowledge management (online ed.). Cambridge, Massachusetts: MIT Press. p. 7. ISBN 9780262011952.
  35. "Why We Spend Coins Faster Than Bills". All Things Considered. สืบค้นเมื่อ 2009-05-12.
  36. Hsee, Christopher K.; Zhang, Jiao (2004). "Distinction bias: Misprediction and mischoice due to joint evaluation". Journal of Personality and Social Psychology. 86 (5): 680–695. doi:10.1037/0022-3514.86.5.680. PMID 15161394.
  37. (Kahneman, Knetsch & Thaler 1991, p. 193) Richard Thaler coined the term "endowment effect."
  38. "Book Review - The Essential Child: Origins of Essentialism in Everyday Thought By Susan A. Gelman Oxford University Press, Oxford, 2003". Human Nature Review. 2004-01-01.
  39. Wagenaar, W. A.; Keren, G. B. (1985). "Calibration of probability assessments by professional blackjack dealers, statistical experts, and lay people". Organizational Behavior and Human Decision Processes. 36 (3): 406–416. doi:10.1016/0749-5978(85)90008-1.
  40. Jeng, M. (2006). "A selected history of expectation bias in physics". American Journal of Physics. 74 (7): 578–583. doi:10.1119/1.2186333.
  41. Kahneman, Daniel; Alan B. Krueger; David Schkade; Norbert Schwarz; Arthur A. Stone (June 30, 2006). "Would you be happier if you were richer? A focusing illusion" (PDF). Science. 312 (5782): 1908–10. doi:10.1126/science.1129688. PMID 16809528.
  42. Zwicky, Arnold (August 7, 2005). "Just Between Dr. Language and I". Language Log.
  43. "There's a Name for That: The Baader-Meinhof Phenomenon".
  44. doi:10.1016/0030-5073(77)90001-0
    This citation will be automatically completed in the next few minutes. You can jump the queue or expand by hand
  45. Merkle, E. C. (2009). "The disutility of the hard-easy effect in choice confidence". Psychonomic Bulletin & Review. 16 (1): 204–213. doi:10.3758/PBR.16.1.204.
  46. Juslin, P; Winman, A.; Olsson, H. (2000). "Naive empiricism and dogmatism in confidence research: a critical examination of the hard-easy effect". Psychological Review. 107 (2): 384–396. doi:10.1037/0033-295x.107.2.384.
  47. 47.0 47.1 Pohl, Rüdiger F. (2004). "Hindsight Bias". ใน Pohl, Rüdiger F. (บ.ก.). Cognitive Illusions: A Handbook on Fallacies and Biases in Thinking, Judgement and Memory. Hove, UK: Psychology Press. pp. 363–378. ISBN 978-1-84169-351-4. OCLC 55124398.
  48. Laibson, David (1997). "Golden Eggs and Hyperbolic Discounting". Quarterly Journal of Economics. 112 (2): 443–477. doi:10.1162/003355397555253.
  49. Kogut, Tehila; Ritov, Ilana (2005). "The 'Identified Victim' Effect: An Identified Group, or Just a Single Individual?" (PDF). Journal of Behavioral Decision Making. Wiley InterScience. 18: 157–167. doi:10.1002/bdm.492. สืบค้นเมื่อ 2013-08-15.
  50. Thompson, Suzanne C. (1999). "Illusions of Control: How We Overestimate Our Personal Influence". Current Directions in Psychological Science. Association for Psychological Science. 8 (6): 187–190. doi:10.1111/1467-8721.00044. ISSN 0963-7214. JSTOR 20182602.
  51. Dierkes, Meinolf; Antal, Ariane Berthoin; Child, John; Ikujiro Nonaka (2003). Handbook of Organizational Learning and Knowledge. Oxford University Press. p. 22. ISBN 978-0-19-829582-2. สืบค้นเมื่อ 2013-09-09.
  52. 52.0 52.1 52.2 52.3 Tversky, Amos; Daniel Kahneman (September 27, 1974). "Judgment under Uncertainty: Heuristics and Biases". Science. American Association for the Advancement of Science. 185 (4157): 1124–1131. doi:10.1126/science.185.4157.1124. PMID 17835457.
  53. 53.0 53.1 Fiedler, K. (1991). "The tricky nature of skewed frequency tables: An information loss account of distinctiveness-based illusory correlations". Journal of Personality and Social Psychology. 60 (1): 24–36. doi:10.1037/0022-3514.60.1.24.
  54. 54.0 54.1 Sanna, Lawrence J.; Schwarz, Norbert (2004). "Integrating Temporal Biases: The Interplay of Focal Thoughts and Accessibility Experiences". Psychological Science. American Psychological Society. 15 (7): 474–481. doi:10.1111/j.0956-7976.2004.00704.x. PMID 15200632.
  55. Baron 1994, pp. 258–259
  56. (Kahneman, Knetsch & Thaler 1991, p. 193)
  57. Bornstein, Robert F.; Crave-Lemley, Catherine (2004). "Mere exposure effect". ใน Pohl, Rüdiger F. (บ.ก.). Cognitive Illusions: A Handbook on Fallacies and Biases in Thinking, Judgement and Memory. Hove, UK: Psychology Press. pp. 215–234. ISBN 978-1-84169-351-4. OCLC 55124398.
  58. Shafir, Eldar; Diamond, Peter; Tversky, Amos (2000). "Money Illusion". ใน Kahneman, Daniel; Tversky, Amos (บ.ก.). Choices, values, and frames. Cambridge University Press. pp. 335–355. ISBN 978-0-521-62749-8.
  59. Haizlip, Julie. "Perspective: The Negativity Bias, Medical Education, and the Culture of Academic Medicine: Why Culture Change Is Hard". สืบค้นเมื่อ 2012-10-03.
  60. Baron 1994, p. 353
  61. Baron 1994, p. 386
  62. Baron 1994, p. 44
  63. Hardman 2009, p. 104
  64. Adams, P. A.; Adams, J. K. (1960). "Confidence in the recognition and reproduction of words difficult to spell". The American Journal of Psychology. 73 (4): 544–552.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  65. Hoffrage, Ulrich (2004). "Overconfidence". ใน Rüdiger Pohl (บ.ก.). Cognitive Illusions: a handbook on fallacies and biases in thinking, judgement and memory. Psychology Press. ISBN 978-1-84169-351-4.
  66. Sutherland 2007, pp. 172–178
  67. Plous 1993, Pseudocertainty
  68. Garcia, Stephen M.; Song, Hyunjin; Tesser, Abraham (November 2010). "Tainted recommendations: The social comparison bias". Organizational Behavior and Human Decision Processes. 113 (2): 97–101. doi:10.1016/j.obhdp.2010.06.002. ISSN 0749-5978.
  69. Dalton, D. & Ortegren, M. (2011). "Gender differences in ethics research: The importance of controlling for the social desirability response bias". Journal of Business Ethics. 103 (1): 73–93. doi:10.1007/s10551-011-0843-8.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  70. Kahneman, Knetsch & Thaler 1991, p. 193
  71. Baron 1994, p. 382
  72. Baron, J (in preparation). Thinking and Deciding (4 ed.). New York: Cambridge University Press. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |year= (help)
  73. Forer, B.R. (1949). "The Fallacy of Personal Validation: A classroom Demonstration of Gullibility". Journal of Abnormal Psychology. 44: 118–121.
  74. "Penn Psychologists Believe 'Unit Bias' Determines The Acceptable Amount To Eat". ScienceDaily. November 21, 2005.
  75. Meegan, Daniel V. (2010). "Zero-Sum Bias: Perceived Competition Despite Unlimited Resources". Frontiers in Psychology. 1. doi:10.3389/fpsyg.2010.00191. ISSN 1664-1078.
  76. Chernev, Alexander (2007). "Jack of All Trades or Master of One? Product Differentiation and Compensatory Reasoning in Consumer Choice". Journal of Consumer Research. 33 (4): 430–444. doi:10.1086/510217. ISSN 0093-5301.
  77. Morris, Errol (June 20, 2010). "The Anosognosic's Dilemma: Something's Wrong but You'll Never Know What It Is (Part 1)". Opinionator: Exclusive Online Commentary from the New York Times. New York Times. สืบค้นเมื่อ 2011-03-07.
  78. Marks, Gary; Miller, Norman (1987). "Ten years of research on the false-consensus effect: An empirical and theoretical review". Psychological Bulletin. American Psychological Association. 102 (1): 72–90. doi:10.1037/0033-2909.102.1.72.
  79. Sutherland 2007, pp. 138–139
  80. Long-Crowell, Erin. "The Halo Effect: Definition, Advantages & Disadvantages". Psychology 104: Social Psychology. study.com. สืบค้นเมื่อ 2015-09-30.
  81. "Halo Effect". Investopedia. สืบค้นเมื่อ 2015-09-30.
  82. Pronin, E.; Kruger, J.; Savitsky, K.; Ross, L. (2001). "You don't know me, but I know you: the illusion of asymmetric insight". Journal of Personality and Social Psychology. 81 (4): 639–656. doi:10.1037/0022-3514.81.4.639. PMID 11642351.
  83. Hoorens, Vera (1993). "Self-enhancement and Superiority Biases in Social Comparison". European Review of Social Psychology. Psychology Press. 4 (1): 113–139. doi:10.1080/14792779343000040.
  84. Plous 2006, p. 206
  85. Hsee, Christopher K.; Hastie, Reid (2006). "Decision and experience: why don't we choose what makes us happy?". Trends in Cognitive Sciences. 10 (1): 31–37. doi:10.1016/j.tics.2005.11.007. PMID 16318925.
  86. Plous 2006, p. 185
  87. Forsyth, D. R. (2009). Group Dynamics (5 ed.). Pacific Grove, CA: Brooks/Cole.
  88. Kruger, J. (1999). "Lake Wobegon be gone! The "below-average effect" and the egocentric nature of comparative ability judgments". Journal of Personality and Social Psychology. 77 (2): 221–32. doi:10.1037/0022-3514.77.2.221. PMID 10474208.
  89. Mather, M.; Shafir, E.; Johnson, M.K. (2000). "Misrememberance of options past: Source monitoring and choice" (PDF). Psychological Science. 11 (2): 132–138. doi:10.1111/1467-9280.00228. PMID 11273420. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-01-17. สืบค้นเมื่อ 2016-01-22.
  90. 90.0 90.1 90.2 Schacter, Daniel L. (1999). "The Seven Sins of Memory: Insights From Psychology and Cognitive Neuroscience". American Psychologist. 54 (3): 182–203. doi:10.1037/0003-066X.54.3.182. PMID 10199218.
  91. Cacioppo, John (2002). Foundations in social neuroscience. Cambridge, Mass: MIT Press. pp. 130–132. ISBN 026253195X.
  92. Walker, W. Richard; John J. Skowronski; Charles P. Thompson (2003). "Life Is Pleasant—and Memory Helps to Keep It That Way!" (PDF). Review of General Psychology. Educational Publishing Foundation. 7 (2): 203–210. doi:10.1037/1089-2680.7.2.203. สืบค้นเมื่อ 2009-08-27.
  93. Koriat, A.; M. Goldsmith; A. Pansky (2000). "Toward a Psychology of Memory Accuracy". Annual Review of Psychology. 51 (1): 481–537. doi:10.1146/annurev.psych.51.1.481. PMID 10751979.
  94. doi:10.1016/S0022-5371(72)80001-X
    This citation will be automatically completed in the next few minutes. You can jump the queue or expand by hand
  95. Kinnell, Angela; Dennis, S. (2011). "The list length effect in recognition memory: an analysis of potential confounds". Memory & Cognition. 39 (2): 348–63. doi:10.3758/s13421-010-0007-6.
  96. Wayne Weiten (2010). Psychology: Themes and Variations: Themes and Variations. Cengage Learning. p. 338. ISBN 978-0-495-60197-5.
  97. Wayne Weiten (2007). Psychology: Themes and Variations: Themes And Variations. Cengage Learning. p. 260. ISBN 978-0-495-09303-9.
  98. Shepard, R.N. (1967). "Recognition memory for words, sentences, and pictures". Journal of Learning and Verbal Behavior. 6: 156–163. doi:10.1016/s0022-5371(67)80067-7.
  99. McBride, D. M.; Dosher, B.A. (2002). "A comparison of conscious and automatic memory processes for picture and word stimuli: a process dissociation analysis". Consciousness and Cognition. 11: 423–460. doi:10.1016/s1053-8100(02)00007-7.
  100. Defetyer, M. A.; Russo, R.; McPartlin, P. L. (2009). "The picture superiority effect in recognition memory: a developmental study using the response signal procedure". Cognitive Development. 24: 265–273. doi:10.1016/j.cogdev.2009.05.002.
  101. Whitehouse, A. J.; Maybery, M.T.; Durkin, K. (2006). "The development of the picture-superiority effect". British Journal of Developmental Psychology. 24: 767–773. doi:10.1348/026151005X74153.
  102. Ally, B. A.; Gold, C. A.; Budson, A. E. (2009). "The picture superiority effect in patients with Alzheimer's disease and mild cognitive impairment". Neuropsychologia. 47: 595–598. doi:10.1016/j.neuropsychologia.2008.10.010.
  103. Curran, T.; Doyle, J. (2011). "Picture superiority doubly dissociates the ERP correlates of recollection and familiarity". Journal of Cognitive Neuroscience. 23 (5): 1247–1262. doi:10.1162/jocn.2010.21464.
  104. Martin, G. Neil; Neil R. Carlson; William Buskist (2007). Psychology (3rd ed.). Pearson Education. pp. 309–310. ISBN 978-0-273-71086-8.
  105. doi:10.1037/0278-7393.11.1.12
    This citation will be automatically completed in the next few minutes. You can jump the queue or expand by hand
  106. doi:10.1037/0882-7974.11.1.85
    This citation will be automatically completed in the next few minutes. You can jump the queue or expand by hand
  107. Morton, Crowder & Prussin, 1971
  108. Ian Pitt; Alistair D. N. Edwards (2003). Design of Speech-Based Devices: A Practical Guide. Springer. p. 26. ISBN 978-1-85233-436-9.
  109. Goldstein, E. Bruce. Cognitive Psychology: Connecting Mind, Research and Everyday Experience. Cengage Learning. p. 231. ISBN 978-1-133-00912-2.
  110. Poppenk, Walia, Joanisse, Danckert, & Köhler, 2006
  111. Von Restorff, H (1933). "Über die Wirkung von Bereichsbildungen im Spurenfeld (The effects of field formation in the trace field)"". Psychological Research. 18 (1): 299–342. doi:10.1007/bf02409636.
  112. Kahneman, Daniel; Shane Frederick (2002). "Representativeness Revisited: Attribute Substitution in Intuitive Judgment". ใน Thomas Gilovich, Dale Griffin, Daniel Kahneman (บ.ก.). Heuristics and Biases: The Psychology of Intuitive Judgment. Cambridge: Cambridge University Press. pp. 49–81. ISBN 978-0-521-79679-8. OCLC 47364085.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: editors list (ลิงก์)
  113. Slovic, Paul; Melissa Finucane; Ellen Peters; Donald G. MacGregor (2002). "The Affect Heuristic". ใน Thomas Gilovich, Dale Griffin, Daniel Kahneman (บ.ก.). Heuristics and Biases: The Psychology of Intuitive Judgment. Cambridge University Press. pp. 397–420. ISBN 0-521-79679-2.{{cite book}}: CS1 maint: multiple names: editors list (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]