ข้ามไปเนื้อหา

นิสสัน เซฟิโร่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นิสสัน เซฟิโร่
นิสสัน เซฟิโร่ รุ่นที่ 3
ภาพรวม
บริษัทผู้ผลิตนิสสัน
เริ่มผลิตเมื่อพ.ศ. 2531 - 2546
ตัวถังและช่วงล่าง
ประเภทรถยนต์นั่งขนาดกลาง (Mid-Size Car)
รูปแบบตัวถังซีดาน 4 ประตู
สเตชันวากอน 5 ประตู
รุ่นที่คล้ายกันโตโยต้า คัมรี่
โตโยต้า โคโรน่า
ฮอนด้า แอคคอร์ด
มิตซูบิชิ กาแลนต์
มาสด้า 6
ฮุนได โซนาต้า
โฟล์กสวาเกน พาสสาต
ซูบารุ เลกาซี
ฟอร์ด ทอรัส
คาดิแลค ซีทีเอส
เมอร์คิวรี มิลาน
ระยะเหตุการณ์
รุ่นก่อนหน้านิสสัน ลอเริล
นิสสัน ไวโอเลต
นิสสัน บลูเบิร์ด
รุ่นต่อไปนิสสัน เทียน่า
นิสสัน อัลติมา(สหรัฐอเมริกา และ ตะวันออกกลาง)

นิสสัน เซฟิโร่ (Nissan Cefiro) เป็นรถยนต์นั่งขนาดกลางที่ถูกผลิตโดยนิสสัน มีคุณลักษณะและจุดประสงค์คล้ายคลึง โตโยต้า คัมรี่, ฮอนด้า แอคคอร์ด, มิตซูบิชิ กาแลนต์ และมาสด้า คาเพลลา มีการผลิตระหว่าง พ.ศ. 2531-2546 เป็นเวลา 15 ปี เดิมทีนั้น เซฟิโร่ถูกออกแบบมาให้เป็นรถยนต์นั่งสำหรับกลุ่มคนทำงานในประเทศญี่ปุ่นเท่านั้น และไม่เน้นการส่งออก แต่กลับได้รับความนิยมจากต่างประเทศมากกว่าในประเทศญี่ปุ่น เซฟิโร่มีวิวัฒนาการตามช่วงเวลาได้ 3 Generation (3 โฉม) ก่อนที่นิสสันจะเปลี่ยนชื่อตระกูลเป็น เทียน่า (Teana) ซึ่งยังมีขายอยู่จนถึงในปัจจุบัน

Generation ที่ 1 (พ.ศ. 2531-2539)

[แก้]
นิสสัน เซฟิโร่ โฉมที่ 1

เซฟิโร่โฉมที่ 1 หรือ A31 ซีรีส์ นั้น ขายในญี่ปุ่นในช่วง พ.ศ. 2531-2537 โดยการออกแบบช่วงล่างจนถึงห้องโดยสาร ได้ยืมจากรุ่นนิสสัน สกายไลน์ (skyline) ที่เน้นห้องเครื่องมากกว่าห้องโดยสารถึงแม้จะเป็นรถซีดานขนาดใหญ่ แต่ห้องโดยสารนั้นไม่ได้ใหญ่อย่างที่คิด เพราะออกแบบมาในแนวรถสปอร์ต ในประเทศไทย เซฟิโร่โฉมนี้ขายระหว่าง พ.ศ. 2533-2539 โดยการขายล่าช้ากว่าที่ประเทศญี่ปุ่น เป็นรถยนต์ Nissan ที่สร้างตำนานให้วงการยานยนต์ไทยก่อนจะนำมาขึ้นสายการประกอบ เพราะ A31 เดิมเป็นรถสำหรับชาวญี่ปุ่นเท่านั้น แต่เมื่อทีมงานของ สยามกลการ(นิสสันในตอนนั้น) ได้เห็นรูปโฉมโนมพรรณแล้วจึงคิดที่จะนำมันมาประกอบขายในไทยให้ได้ จึงต้องไปต่อสู้กับบริษัทแม่ในการนำเทคโนโลยีของรถรุ่นนี้ที่ญี่ปุ่นมาขายในเมืองไทยให้ได้ ในครั้งแรกที่เปิดตัวมีราคากว่า 1,000,000 บาท แพงกว่าคู่แข่งญี่ปุ่นด้วยกันทั้งโตโยต้า โคโรน่า ฮอนด้า แอคคอร์ด มิตซูบิชิ กาแลนต์ และมาสด้า 626 จนกระทั่งต่อมาในช่วงปรับโครงสร้างภาษีรถยนต์ใหม่เหลือเพียง 700,000 บาทกว่าๆ มีจุดเด่นตรงที่การนำเทคโนโลยีใหม่ๆ (ในสมัยนั้น)มาลงในรถ เช่น ระบบการเปิดไฟหน้า และควบคุมแสงหน้าปัดอัตโนมัติ โดยมีตัวรับแสงคอยจับปริมาณแสง และส่งข้อมูลไปที่ระบบอัตโนมัติ ซึ่งเมื่อมืดลง ไฟจะสว่างขึ้นโดยอัตโนมัติ ระบบจับสภาพพื้นถนน เป็นต้น

นอกจากนี้เซฟิโร่โฉมนี้ยังเป็นรถญี่ปุ่นรุ่นแรกที่มีการใช้เกียร์ระบบอัตโนมัติ 5 สปีด (ในปัจจุบัน รถญี่ปุ่นบางรุ่น ยังใช้เกียร์อัตโนมัติแบบ 4 สปีดอยู่ ไม่ใช่ 5 สปีด) และนอกจากนี้ยังได้ออกแบบผสมผสานความเป็นรถสปอร์ตเข้าไปด้วย ห้องโดยสารจึงมีขนาดเล็ก

หลังจากที่ยกเลิกการผลิตไปแล้วนั้น A31 ยังคงได้รับความนิยมมากมาย รวมทั้งในประเทศไทยด้วย เนื่องมาจากเป็นรถขับหลังที่มีรูปทรงสปอร์ต ทันสมัยที่สุดรุ่นหนึ่ง และที่สำคัญคือ มีราคาที่ถูกลงมากเมื่อเทียบกับรถในระดับเดียวกัน ซึ่งรถรุ่นนี้สามารถเทียบกับรถยุโรปหลายๆ รุ่นได้สบายๆ

นอกจากนี้กลุ่มวัยรุ่นและค่ายรถแข่งต่างๆ ที่นิยมรถรุ่นนี้เพราะว่ามันเป็นรถขับเคลื่อนล้อหลัง ซึ่งสามารถนำมาใช้สำหรับการแข่งขันยอดนิยมอย่าง Drift ได้ เนื่องจากรถขับเคลื่อนล้อหลังรุ่นอื่นๆ จะเป็นรถที่มีราคาแพงหลายเท่าตัว Cefiro A31 จึงเป็นตัวเลือกแรกๆ สำหรับกีฬาชนิดนี้

นอกจากการแข่งดริฟท์แล้ว ยังนิยมใช้ในการแข่งขัน Drag ด้วย เนื่องจาก A31 มีห้องเครื่องขนาดใหญ่ สามารถวางเครื่อง 6 สูบแถวเรียงหรือเครื่องแบบ V8 ได้อย่างสบายๆ และรถรุ่นนี้มีบุคคลในวงการบันเทิงของไทยที่มีชื่อเสียงเคยเป็นเจ้าของมากมาย เช่น ปัญญา นิรันดร์กุล พิธีกรและประธานกรรมการของเวิร์คพอยท์ เอ็นเทอร์เทนเมนท์,จินตหรา สุขพัฒน์ และวรุฒ วรธรรม ซึ่งเคยมีข่าวว่าขับรถไปหยุดกลางสี่แยก แล้วหลับคารถจนเจ้าหน้าที่ต้องทุบกระจกช่วยปลุก และยังอยู่ในใจของนักโจรกรรมรถยนต์ เนื่องจากรูปทรงสวยบาดตา และบางคนชอบพูดติดตลกว่ามักจะถอดเอาโซนาร์ไปติดเรือประมง ทั้งที่จริงๆ แล้วเป็นระบบอ่านสภาพพื้นถนนและปรับช่วงล่างให้นุ่ม-แข็งตามสภาพถนนต่างหาก

Generation ที่ 2 (พ.ศ. 2538-2541)

[แก้]
นิสสัน เซฟิโร่ โฉมที่ 2

โฉมที่ 2 หรือ A32 ซีรีส์ นิสสันออกแบบมาเพื่อการขายในประเทศเท่านั้นเช่นเดิม และก็ได้รับความนิยมจากต่างประเทศเหมือนเดิมอีกครั้ง โฉมนี้ มีความเป็นรถสปอร์ตน้อยลง แต่เน้นความเป็นรถหรูสำหรับครอบครัวมากขึ้น และนอกจากนี้ เซฟิโร่โฉมที่ 2 นี้ ยังเปลี่ยนมาใช้ระบบขับเคลื่อนล้อหน้าแล้ว แต่เซฟิโร่ A32 ไม่ได้รับความนิยมในญี่ปุ่นมากนัก เนื่องจากออกมาในช่วงที่ญี่ปุ่นประสบปัญหาด้านเศรษฐกิจพอดี และนิสสันเองก็เริ่มขาดทุนสะสมต่อเนื่องมาเรื่อยๆ ก่อนที่ Carlos Ghosn จะเข้ามาบริหารบริษัทในปี พ.ศ. 2542 จนกระทั่งต้องมีการทำตัวถังสเตชันวากอน 5 ประตูออกมาขายได้ระดับหนึ่งเท่านั้น แล้วก็เลิกไปในที่สุด

เซฟิโร่โฉมนี้ ถึงจะขายในญี่ปุ่นในช่วง พ.ศ. 2538-2541 แต่ในไทยนั้นขายในช่วง พ.ศ. 2539-2544 เป็นรุ่นที่มีการปรับโฉมบ่อยมาก

Generation ที่ 3 (พ.ศ. 2542-2546)

[แก้]
นิสสัน เซฟิโร่ โฉมที่ 3

โฉมที่ 3 หรือ A33 ซีรีส์ มีตัวถังรถใหญ่ขึ้นจากโฉมก่อน เริ่มมีการนำความเป็นรถสปอร์ตบางส่วนกลับมา แต่ก็ไม่มากเท่าโฉมแรก ในเมืองไทย โฉมนี้ขายระหว่าง พ.ศ. 2544-2547 ซึ่งล่าช้ากว่าประเทศญี่ปุ่นเช่นเคย เนื่องจากความขัดแย้งระหว่างนิสสันและสยามกลการ จึงมีอายุการตลาดสั้นเพียง 3 ปีเท่านั้น ก่อนที่นิสสันจะเปลี่ยนชื่อตระกูลเป็น เทียน่า(Teana)

อ้างอิง

[แก้]

http://www.xo-autosport.com/site/legendary-cefiro-a31/ เก็บถาวร 2020-02-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

https://www.auto-thailand.com/UsedCar/Nissan-Cefiro-A31.html

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]