ข้ามไปเนื้อหา

ฮุนได โซนาต้า

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฮุนได โซนาต้า
ภาพรวม
บริษัทผู้ผลิตฮุนได
เริ่มผลิตเมื่อพ.ศ. 2528 - ปัจจุบัน
ตัวถังและช่วงล่าง
ประเภทรถยนต์นั่งขนาดกลาง (Mid-Size Car)
รูปแบบตัวถังซีดาน 4 ประตู
รุ่นที่คล้ายกันโตโยต้า โคโรน่า/คัมรี่
ฮอนด้า แอคคอร์ด
นิสสัน เซฟิโร่/เทียน่า
มาสด้า 626/6
มิตซูบิชิ กาแลนต์
ซูบารุ เลกาซี
ซูซูกิ คิซาชิ
อีซูซุ อาสก้า
ฟอร์ด มอนดิโอ/ทอรัส
เชฟโรเลต มาลีบู
เกีย ออพติมา
แดวู เอสเปอโร/เลกันซา/แม็กนัส/ทอสก้า
เปอโยต์ 405/406/407/508
ซีตรอง BX/ซองเทีย/C5/DS5
โฟล์กสวาเกน พัสสาท
สโกด้า ซูเพิร์บ
โฮลเดน คอมมอเดอร์
วอลโว่ S60
ระยะเหตุการณ์
รุ่นก่อนหน้าฮุนได สเทลลา
รุ่นต่อไปฮุนได ไอ40 (ยุโรป)

ฮุนได โซนาต้า (อังกฤษ: Hyundai Sonata) เป็นรถยนต์นั่งขนาดกลาง (Mid-Size Car) ผลิตโดยฮุนได เริ่มผลิตในปี พ.ศ. 2528 เพื่อทดแทนรุ่นเก่า ฮุนได สเทลลา (อังกฤษ: Hyundai Stella) โดยปัจจุบัน ฮุนได โซนาต้า มีวิวัฒนาการตามช่วงเวลาได้ 8 Generation (รุ่น) ดังนี้

รุ่นที่ 1 (พ.ศ. 2528-2530)

[แก้]
ฮุนได โซนาต้า รุ่นที่ 1

ฮุนได โซนาต้า รุ่นที่ 1 เริ่มผลิตเมื่อเดือนพฤศจิกายนปี พ.ศ. 2528 รหัสของโซนาต้ารุ่นนี้คือ Y โดยในขณะนั้น โซนาต้ายังเป็นเพียงแค่ฮุนได สเทลลาที่ตกแต่งประทินโฉมด้วยโครเมียมแวววาวรอบคัน ยังไม่ใช่โซนาต้าที่เป็นของแท้ ในขณะนั้น โซนาต้าถือเป็นรถอีกรุ่นหนึ่งที่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากมาย ไม่ว่าจะเป็นสวิตช์ไฟฟ้าสำหรับปรับเบาะขึ้นหน้า หรือถอยหลังได้ และ Cruise Control

ระบบเกียร์เป็นเกียร์ธรรมดา 5 สปีด และเกียร์อัตโนมัติ 3 และ 4 สปีด มีฐานการประกอบที่ประเทศเกาหลีใต้ และส่งออกไปต่างประเทศด้วย แต่ยังไม่มีจำหน่ายในประเทศไทย

รุ่นที่ 2 (พ.ศ. 2531-2536)

[แก้]
ฮุนได โซนาต้า รุ่นที่ 2

ฮุนได โซนาต้า รุ่นที่ 2 เริ่มผลิตเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2531 ก่อนจะทะยอยเปิดตัวในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย ฯลฯ รวมถึงประเทศไทยด้วย รหัสของโซนาต้ารุ่นนี้คือ Y2 รุ่นนี้ถูกเปลี่ยนโฉมใหม่ให้มีเส้นสายที่ดูร่วมสมัยมากขึ้น เครื่องยนต์ที่ใช้ จะเป็นเครื่องยนต์จาก Mitsubishi Motors ตระกูล Sirius โดยเครื่องยนต์ที่จำหน่ายในเกาหลีใต้ จะเป็นเครื่องยนต์ 1.8 และ 2.0 ลิตร แต่เครื่องยนต์ที่จำหน่ายในตลาดโลก จะเป็นเครื่องยนต์ 2.0 ,2.4 และ 3.0 ลิตร ระบบเกียร์จะเป็นเกียร์ธรรมดา 5 สปีดและเกียร์อัตโนมัติ 4 สปีด

ในประเทศไทย ฮุนได โซนาต้ารุ่นนี้เปิดตัวเมื่อปี พ.ศ. 2535 พร้อมกับการเปิดตัวแบรนด์ Hyundai ในประเทศไทยครั้งแรก โดยบริษัท ยูไนเต็ด โอโตเซลส์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือพระนครยนตรการ เปิดตัวพร้อมๆ กับรถยนต์รุ่น Excel และ Elantra ในงานมหกรรมยานยนต์ปี 2535 โดยเครื่องยนต์ของเวอร์ชันไทยจะเป็นเครื่องยนต์ 4G63 ของ Mitsubishi Motors อะไหล่สามารถแลกเปลี่ยนกับมิตซูบิชิใช้งานได้ และขายในระยะเวลาเพียง 1 ปี จึงทำการเปลี่ยนโฉมตามตลาดโลกในปี พ.ศ. 2536

รุ่นที่ 3 (พ.ศ. 2536-2541)

[แก้]
ฮุนได โซนาต้า รุ่นที่ 3
ฮุนได โซนาต้า รุ่นที่ 3 (Minorchange)

ฮุนได โซนาต้า รุ่นที่ 3 เริ่มผลิตเมื่อเดือนพฤษภาคมปี พ.ศ. 2536 รหัสคือ Y3 และในเกาหลีใต้ จะเรียกรุ่นนี้ว่า Sonata-II (อ่านเป็นภาษาไทยว่า โซนาต้า-ทู) เริ่มมีรูปทรงที่ดูโค้งมนขึ้น เครื่องยนต์ยังคงใช้ร่วมกับ Mitsubishi Motors เช่นเดิม มีเครื่องยนต์ 1.8 และ 2.0 ลิตร ทั้งแบบ SOHC และ DOHC และมีเครื่องยนต์ 3.0 ลิตร V6 ด้วย ระบบเกียร์เป็นเกียร์ธรรมดา 5 สปีดและเกียร์อัตโนมัติ 4 สปีด เริ่มได้รับความนิยมมากยิ่งขึ้น จึงมีการปรับโฉม Big Minorchange เมื่อปี พ.ศ. 2539 ในชื่อ Sonata-III (อ่านเป็นภาษาไทยว่า โซนาต้า-ทรี) มีเส้นสายที่โค้งมนตลอดคัน รวมถึงไฟหน้าและกระจังหน้าด้วย ทำตลาดจนถึงปี พ.ศ. 2541

ในประเทศไทย ฮุนได โซนาต้ารุ่นนี้เปิดตัวเมื่อปี พ.ศ. 2536 ในงานมหกรรมยานยนต์ และเป็นรุ่นที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก เพราะงานวิศวกรรมคล้ายรุ่นเดิม แต่เปลี่ยนรูปทรงตัวถังให้ดูโค้งมน มีระดับหรูหรามากขึ้น จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2539 ก็ได้มีการเปิดตัวรุ่น Big Minorchange ก็ยังคงได้รับความนิยมเช่นเดิม เพราะมีรูปทรงที่โค้งมน ทันสมัยมากขึ้นกว่าเดิม ก่อนจะค่อยๆ หายไปจากตลาดในช่วงปี พ.ศ. 2541 ในช่วงที่วิกฤติเศรษฐกิจของไทยและเอเชียยังไม่ฟื้นตัว

รุ่นที่ 4 (พ.ศ. 2541-2548)

[แก้]
ฮุนได โซนาต้า รุ่นที่ 4
ฮุนได โซนาต้า รุ่นที่ 4 (Minorchange)

ฮุนได โซนาต้า รุ่นที่ 4 เริ่มผลิตเมื่อเดือนมีนาคมปี พ.ศ. 2541 รหัสของรถรุ่นนี้คือ EF ในเกาหลีใต้จะเรียกว่า Sonata EF โดยออกสู่ตลาดในช่วงที่เอเชียกำลังเผชิญกับปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำพอดี แต่ยังคงสร้างรายได้และยอดขายให้กับฮุนไดเช่นเดิม มีเครื่องยนต์ 2.0 ,2.4 และ 2.5 ลิตร ในรุ่นนี้เป็นรุ่นที่ฮุนไดพัฒนาเครื่องยนต์เองแล้ว ระบบเกียร์เป็นเกียร์ธรรมดา 5 สปีดและเกียร์อัตโนมัติ 4 สปีด ทำตลาดจนถึงปี พ.ศ. 2544 จึงมีการปรับโฉม Big Minorchange เป็นรุ่นไฟหน้าไข่แฝด ย้ายป้ายทะเบียนมาไว้บนฝากระโปรงหลัง ในประเทศไทย แม้พระนครยนตรการจะไม่เคยนำเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย แต่มีการสั่งนำเข้ามาในไทยเพียงไม่กี่คัน เพื่อเป็นรถประจำสถานทูตเกาหลีใต้ประจำประเทศไทย

รุ่นที่ 5 (พ.ศ. 2547-2553)

[แก้]
ฮุนได โซนาต้า รุ่นที่ 5

ฮุนได โซนาต้า รุ่นที่ 5 เริ่มผลิตเมื่อปี พ.ศ. 2547 ใช้รหัสรุ่น NF ถือเป็นรุ่นที่มีการเปลี่ยนโฉมใหม่ตลอดคัน มีเครื่องยนต์ 2.4 และ 3.3 ลิตร V6 ที่ฮุนไดพัฒนาขึ้นเองเช่นเดิม ระบบเกียร์เป็นเกียร์ธรรมดา 5 และ 6 สปีด และเกียร์อัตโนมัติ 4 และ 5 สปีด เป็นโซนาต้ารุ่นแรกที่มีความเป็น World Car อย่างเต็มตัว ในยุโรป ฮุนไดเคยสร้างกระแสฮือฮา ด้วยการนำโซนาต้ารุ่นนี้ไปจอด แล้วปิดโลโก้ไว้ ให้ผู้คนที่เดินผ่านไปมาทายว่าเป็นรถอะไร ปรากฏว่า แทบไม่มีใครเชื่อสายตาว่า รถคันนี้ คือ Hyundai จนในปี พ.ศ. 2551 ได้มีการเปิดตัวรุ่น Big Minorchange ขึ้น โดยใช้ชื่อ Sonata Transform เพราะมีการเปลี่ยนโฉมครั้งใหญ่ให้ดูทันสมัยมากขึ้น จนเลิกทำตลาดในปี พ.ศ. 2553

ในประเทศไทย ฮุนได โซนาต้ารุ่นนี้เปิดตัวเมื่อปี พ.ศ. 2550 โดย Sojitsu ไปได้ดีลกับ Hyundai Motor เพื่อนำแบรนด์ฮุนไดกลับมาเปิดตลาดอีกครั้ง โดยเป็นรถประกอบในไทย ที่โรงงานธนบุรีประกอบรถยนต์ จ.สมุทรปราการ (เป็นโรงงานเดียวกับโรงงานที่ประกอบ Mercedes-Benz และ Tata) แต่ก็มียอดขายไม่หวือหวานัก เนื่องจากรูปทรงที่ดูธรรมดาเกินไป จนกระทั่งต้องนำมาติดตั้ง CNG จึงสามารถระบายสต็อกออกไปได้รวดเร็ว

รุ่นที่ 6 (พ.ศ. 2552-พ.ศ. 2557)

[แก้]
ฮุนได โซนาต้า รุ่นที่ 6

ฮุนได โซนาต้า รุ่นที่ 6 เริ่มผลิตเมื่อปี พ.ศ. 2552 เป็นรุ่นแรกที่ใช้แนวทางการออกแบบ Fluidic Sculpture Design ซึ่งเป็นแนวทางการออกแบบของฮุนไดในปัจจุบัน เครื่องยนต์จะเป็นเครื่องยนต์เบนซิน 2.0 และ 2.4 ลิตร โดยมีเครื่องยนต์เทอร์โบและเครื่องยนต์แบบ CVVL ในรุ่น 2.0 ลิตร และมีเครื่องยนต์เบนซินแบบ Direct Injection ในรุ่น 2.4 ลิตร ระบบเกียร์เป็นเกียร์ธรรมดา 6 สปีด และเกียร์อัตโนมัติ 6 สปีด รุ่นนี้เป็นรุ่นแรกที่มีเครื่องยนต์ Hybrid มาให้เลือก

ในประเทศไทย ฮุนได โซนาต้ารุ่นนี้เปิดตัวเมื่อปี พ.ศ. 2554 โดยใช้ชื่อว่า ฮุนได โซนาต้า สปอร์ต (อังกฤษ: Hyundai Sonata Sport) มีเฉพาะเครื่องยนต์ 2.0 ลิตรเท่านั้น และกลับมานำเข้าจากเกาหลีใต้เหมือนเดิม ยังไม่มีแผนประกอบในประเทศแต่อย่างใด

รุ่นที่ 7 (LF; พ.ศ. 2557–2562)

[แก้]
รุ่นที่ 7 (LF)
ภาพรวม
เริ่มผลิตเมื่อพ.ศ. 2557–2562
รุ่นปีพ.ศ. 2558–2562
แหล่งผลิตเกาหลีใต้: อซาน
สหรัฐอเมริกา: Montgomery, Alabama
จีน: Beijing
ผู้ออกแบบTae-Hoon Kim (2011)[1]
ระบบส่งกำลัง
เครื่องยนต์1.6 L G4FJ I4 (turbocharged gasoline)
2.0 L Nu I4 (gasoline)
2.0 L Theta I4 (turbocharged gasoline)
2.4 L Theta I4 (gasoline)
2.4 L Theta GDi 'I4 (gasoline)
1.7 L U2 I4 (turbocharged diesel)
ระบบเกียร์6-speed automatic
8-speed automatic
7-speed dual-clutch automatic
6-speed manual
มิติ
ระยะฐานล้อ2,805 mm (110.4 in)
ความยาว4,855 mm (191.1 in)
ความกว้าง1,865 mm (73.4 in)
ความสูง1,475 mm (58.1 in)
น้ำหนัก1,475–1,640 kg (3,252–3,616 lb)

ฮุนได โซนาต้า รุ่นที่ 7 เริ่มผลิตเมื่อปี พ.ศ. 2557 เผลอเพียงนิดเดียว ฮุนไดก็ผ่านการเฉลิมฉลอง 30 ปีให้ซีดานขนาดกลางซึ่งเป็นรถธงของฮุนไดอย่าง Sonata ไปแล้ว 2 ปี แม้ว่าบ้านเราจะยังไม่ได้เห็นตัวจริงของ Sonata ใหม่ เจนเนอเรชั่นที่ 7 แต่ในตลาดโลก รถซีดานขายดีรุ่นนี้ได้เดินทางมาถึงกรอบเวลาของการปรับโฉมกันแล้ว โดยเกาหลีใต้จะเป็นที่แรกที่เริ่มทำตลาดเช่นเคย ปัจจุบัน Sonata ที่กำลังทำตลาดโลก แบ่งเป็นรุ่นพื้นฐาน เครื่องยนต์เบนซิน และ เครื่องยนต์ดีเซล รวมทั้งมีรุ่นย่อยแบบกรีนที่เน้นความประหยัดในการใช้พลังงานสำหรับทำตลาดอเมริกาเหนือและยุโรป โดยแบ่งเป็น รุ่นระบบขับเคลื่อนไฮบริด และ รุ่นปลั๊ก-อิน ไฮบริด ทุกรุ่นใช้พื้นฐานแพลทฟอร์มเดียวกัน ขนาดตัวใหญ่ขึ้นเล็กน้อย น้ำหนักเบาลง แต่แข็งแรงยิ่งกว่าเดิมด้วยการใช้เหล็ก advanced-high strength steel ที่แข็งแรงขึ้น 35% ในรุ่นปรับโฉมนี้ ฮุนไดยังคงใช้รูปแบบกระจังหน้า 6 เหลี่ยม Hexagonal Shape เป็นเอกลักษณ์ดั้งเดิมเพื่อเรียกการจดจำในแบรนด์ ทว่ามีการปรับรูปทรงให้ดูดุดันและลงตัวยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามรูปแบบกระจังหน้าใหม่นี้ไม่ใช่การออกแบบใหม่ทั้งหมด เนื่องจากรูปทรงนี้จะกลายเป็นโกลบอล ดีไซน์ ของฮุนไดในรถรุ่นปรับโฉมรุ่นอื่นๆ ต่อไป กระจังหน้าแบบใหม่ในลักษณะนี้ ฮุนไดใช้ชื่อว่า “Cascading Grille” แทนที่ Hexagonal Shape และเราได้เห็นกันมาแล้วใน Hyundai i30 ใหม่เจนเนอเรชั่นที่ 3 ที่เปิดตัวไปในช่วงปลายปี 2016 ไฟท้ายปรับทรงใหม่ให้ดูเรียบง่ายกว่าเดิม (ให้ความรู้สึกเหมือนกำลังมองดูท้ายของ KIA อยู่พอสมควร) จุดเด่นคือล้ออัลลอยลายใหม่ขนาด 17 และ 18 นิ้วที่ช่วยเติมความสดให้กับการปรับโฉมได้ชัดเจน ห้องโดยสารไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงมากนัก การจัดวางอุปกรณ์ยังคงเดิม มีการตกแต่งด้วยวัสดุใหม่ๆ ตามจุดต่างๆ เล็กน้อย ในขณะที่จอทัชสกรีนสำหรับแสดงผลชุดระบบอินโฟเทนเมนท์ ทุกรุ่นย่อยจะมากับจอขนาด 7 นิ้วเป็นอุปกรณ์มาตรฐาน และมีจอขนาด 8 นิ้วเป็นออปชั่น ส่วนของใหม่มีพวงมาลัยทรงสปอร์ต 3 ก้าน (รุ่นท๊อปตามข้อมูลจะพิเศษกว่าด้วยทรงปาดล่าง Flat-Bottom) เบาะทรงสปอร์ต คันเกียร์แบบใหม่ และฟังก์ชันการแสดงผลสมาร์ทโฟนบนจอกลางผ่าน Apple CarPlay หรือ Android Auto ซึ่งทั้งหมดนี้จะมีให้เป็นอุปกรณ์มาตรฐานในทุกรุ่นย่อย ในเกาหลีใต้ ฮุนไดจะทำตลาดด้วยรุ่นเครื่องยนต์เบนซินหลายความจุ ประกอบด้วยเครื่องยนต์ตระกูล Gamma 1.6 ลิตร T-GDI เทอร์โบชาร์จ เกียร์ DCT 7 จังหวะ กำลังสูงสุด 180 แรงม้า (PS) ต่อด้วย Nu 2.0 ลิตร เกียร์อัตโนมัติ 6 จังหวะ กำลังสูงสุด 163 แรงม้า ส่วนรุ่นท๊อปจะได้ใช้งานเครื่องยนต์ Theta 2.0 ลิตร T-GDI เทอร์โบชาร์จ เกียร์อัตโนมัติ 8 จังหวะ กำลังสูงสุด 245 แรงม้า รุ่นเครื่องยนต์ดีเซลมีเพียงรุ่นเดียวคือ 4 สูบ 1.7 ลิตร เทอร์โบชาร์จแบบแปรผัน VGT จับคู่เกียร์ DCT 7 จังหวะ กำลังสูงสุด 141 แรงม้า ชุดระบบความปลอดภัย และระบบช่วยเหลือผู้ขับมีระบบ High Beam Assist เปิด-ปิดไฟสูงอัตโนมัติ, ระบบ Dynamic Bending Lights ปรับองศาของชุดไฟหน้าตามการเลี้ยว, ระบบ Lane Departure Warning เตือนเมื่อออกนอกเลนโดยไม่ตั้งใจ, ระบบ Lane Keep Assist ช่วยรักษาตำแหน่งรถในเลน, ระบบ Blind Spot Detection ตรวจจับรถในจุดบอดขณะเปลี่ยนเลน และระบบ Rear Cross-traffic Alert ตรวจจับวัตถุที่วิ่งตัดเข้ามาทางด้านหลังขณะถอย

ฮุนไดจะเริ่มจำหน่าย Sonata รุ่นปรับโฉมในเกาหลีใต้ก่อนเป็นที่แรก โดยนับเป็นรถรุ่นปี 2017 จากนั้นจึงจะเป็นคิวของสหรัฐฯ, แคนาดา, ออสเตรเลีย ราวกลางปี 2017 เป็นต้นไป (ปัดเป็นรุ่นปี 2018 ตามไตรมาส) รุ่นเครื่องยนต์ที่จะทำตลาดสหรัฐฯ คือ เบนซิน 2.0 เทอร์โบชาร์จ 245 แรงม้า พร้อมเกียร์อัตโนมัติ 8 จังหวะ… บ้านเราคงต้องลุ้นกันหนักหน่อยครับสำหรับใครที่สนใจ

รุ่นที่ 8 (DN8; พ.ศ. 2562–ปัจจุบัน)

[แก้]
รุ่นที่ 8 (DN8)
ภาพรวม
เริ่มผลิตเมื่อพ.ศ. 2562–ปัจจุบัน
รุ่นปีพ.ศ. 2563–ปัจจุบัน
แหล่งผลิต
  • เกาหลีใต้: Asan (Hyundai Motor Company Asan Plant)
  • สหรัฐอเมริกา: Montgomery, Alabama
  • จีน: Beijing (Beijing Hyundai)
  • ปากีสถาน: Faisalabad (Hyundai Nishat Motors)
ผู้ออกแบบLuc Donckerwolke, Sang Yup Lee, Ji Heon Lee, Kevin Kang, Song Hyun
ตัวถังและช่วงล่าง
รูปแบบตัวถัง
แพลตฟอร์มHyundai-Kia N3
รุ่นที่คล้ายกันเกีย K5
ระบบส่งกำลัง
เครื่องยนต์1.6 L Smartstream G1.6 T-GDi I4 (turbocharged gasoline)
2.0 L Smartstream G2.0 LPi I4 (gasoline)
2.0 L Smartstream G2.0 MPi I4 (gasoline)
2.0 L Smartstream G2.0 GDi I4 (Hybrid gasoline; Sonata hybrid)
2.0 L Smartstream G2.0 GDi I4 (PHEV gasoline; Sonata Plug-in Hybrid)
2.5 L Smartstream G2.5 MPi I4 (gasoline)
2.5 L Smartstream G2.5 GDi I4 (gasoline)
ระบบเกียร์6-speed automatic
8-speed automatic
มิติ
ระยะฐานล้อ2,840 mm (111.8 in)
ความยาว4,897 mm (192.8 in)
ความกว้าง1,890 mm (74.4 in)
ความสูง1,445 mm (56.9 in)

ฮุนได โซนาต้า รุ่นที่ 8 เริ่มผลิตเมื่อปี พ.ศ. 2562 ฮุนไดเตรียมเปิดตัวซีดานขนาดกลาง Hyundai Sonata รุ่นใหม่แบบ All-New เจนเนอเรชั่นที่ 8 ภายในงาน 2019 New York Auto Show ระหว่างวันที่ 17 – 28 เมษายน 2562 นี้ ตัวรถพัฒนาขึ้นบนแพลทฟอร์มใหม่รุ่นที่ 3 (Hyundai Motor Group’s 3rd Generation Platform) ซึ่งจะถูกใช้เป็นพื้นฐานสำหรับการผลิตรถรุ่นใหม่ๆ ในอนาคตของฮุนได มอเตอร์ กรุ๊ป แพลทฟอร์มใหม่นี้ออกแบบมาเพื่อให้ตัวรถมีคุณสมบัติโดยรวมที่ดีขึ้น เช่น คล่องตัวขึ้นจากโอเวอร์แฮงก์ที่สั้นลง, ห้องโดยสารทางด้านหลังกว้างขวางขึ้นจากระยะฐานล้อที่ยาวขึ้น, การทรงตัวดีขึ้นจากจุดศูนย์ถ่วงที่ต่ำลง, ตำแหน่งที่นั่งของเบาะคู่หน้า/หลังเหมาะสมขึ้น, ทัศนวิสัยดีขึ้นจากแนวฝากระโปรงที่ลาดลง, ระดับเสียง ความสั่นสะเทือน และความกระด้าง (NVH) ลดลง และโครงสร้างของตัวรถยังถูกออกแบบให้ซับแรงได้ดีขึ้นขณะเกิดการชน ทั้งยังช่วยลดแรงเหวี่ยงของศีรษะในขณะเกิดการปะทะด้านหน้าแบบเฉียง ซึ่งจะส่งผลให้ศีรษะไม่เบนออกไปจากตำแหน่งที่ถุงลมนิรภัยรองรับด้วย นอกจากนี้ แพลทฟอร์มใหม่ยังมีการออกแบบให้ด้านหน้ารถสามารถรับปริมาณอากาศได้ดีขึ้น ช่วยลดความร้อนในห้องเครื่องยนต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีการจัดระเบียบอากาศพลศาสตร์ใต้ท้องรถใหม่ เมื่อรวมกับน้ำหนักที่ลดลง 5% เมื่อเทียบกับแพลทฟอร์มที่ใช้ใน Sonata รุ่นก่อนหน้า ตัวรถจะมีอัตราเร่งที่ดีขึ้น (จากแอร์โรไดนามิคส์ในส่วนของใต้ท้องรถ) และใช้เชื้อเพลิงน้อยลง ด้านงานออกแบบ Sonata จะได้รับการออกแบบใหม่ทั้งหมดภายใต้ Design Language หรือภาษาในการออกแบบใหม่ที่ฮุนไดเรียกว่า Sensuous Sportiness ที่เริ่มใช้แทนที่ Fluidic Sculpture มาตั้งแต่ช่วงกลางปี 2018 ซึ่งฮุนไดเริ่มใช้กับ Hyundai Lafesta รถซีดานขนาดกลางที่ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศจีนเป็นรุ่นแรก (Lafesta เป็นรถที่มีตำแหน่งทางการตลาดอยู่กึ่งกลางระหว่างคอมแพคท์คาร์ Hyundai Mistra และ Sonata ในจีน) จุดเด่นอยู่ที่การแยกไฟ LED Daytime สำหรับวิ่งกลางวันออกจากชุดโคมไฟหน้า แล้วลากไปเชื่อมต่อกับแนวฝากระโปรง หากไม่มีการเปิดไฟเพื่อใช้งาน แนวเส้นชุดไฟ LED ก็จะดูเหมือนชุดแต่งแบบโครเมียมที่วาดเป็นเส้นนำสายตาไปจนถึงกรอบหน้าต่างทั้งหน้าและหลัง ฮุนไดจะเริ่มจำหน่าย Sonata ใหม่ในเกาหลีเป็นที่แรก ตามมาด้วยตลาดหลักอย่างสหรัฐฯ

รุ่นย่อย

[แก้]
ข้อมูลจำเพาะ[2][3][4]
รุ่น เปิดตัว เครื่องยนต์ กำลัง แรงบิด อัตราเร่ง (0-100KM)
(Official)
ความเร็วสูงสุด
Smartstream G1.6 T-GDI 2019-ปัจจุบัน 8-speed automatic 180 PS (132 kW; 178 hp) @ 5500 rpm 27 kg⋅m (265 N⋅m; 195 lbf⋅ft) @ 1500-4500 rpm
Smartstream G2.0 LPI 6-speed automatic 146 PS (107 kW; 144 hp) @ 6000 rpm 19.5 kg⋅m (191 N⋅m; 141 lbf⋅ft) @ 4200 rpm
Smartstream G2.0 MPI 152 PS (112 kW; 150 hp) @ 6200 rpm
160 PS (118 kW; 158 hp) @ 6500 rpm
19.6 kg⋅m (192 N⋅m; 142 lbf⋅ft) @ 4000 rpm
20.0 kg⋅m (196 N⋅m; 145 lbf⋅ft) @ 4800 rpm
10.5s (152PS) 200 km/h (124 mph)
Smartstream G2.0 GDI Hybrid 154 PS (113 kW; 152 hp) @ 6000 rpm (Engine)
52 PS (38 kW; 51 hp) @ 1770–2000 rpm (Electric Motor)
196 PS (144 kW; 193 hp) @ 6000 rpm (Combined)
19.4 kg⋅m (190 N⋅m; 140 lbf⋅ft) @ 5000 rpm (Engine)
20.9 kg⋅m (205 N⋅m; 151 lbf⋅ft) @ 0-1770 rpm (Electric Motor)
8.3s 200 km/h (124 mph)
Smartstream G2.0 GDI Plug-in Hybrid 156 PS (115 kW; 154 hp) @ 6000 rpm (Engine)
68 PS (50 kW; 67 hp) @ 1770–2000 rpm (Electric Motor)
205 PS (151 kW; 202 hp) @ 6000 rpm (Combined)
19.4 kg⋅m (190 N⋅m; 140 lbf⋅ft) @ 5000 rpm (Engine)
20.9 kg⋅m (205 N⋅m; 151 lbf⋅ft) @ 0-1770 rpm (Electric Motor)
8.5 s 200 km/h (124 mph)
Smartstream G2.5 MPI 180 PS (132 kW; 178 hp) @ 6000 rpm 23.7 kg⋅m (232 N⋅m; 171 lbf⋅ft) @ 4000 rpm 9.0s 210 km/h (130 mph)
Smartstream G2.5 GDI 8-speed automatic 194 PS (143 kW; 191 hp) @ 6100 rpm 25 kg⋅m (245 N⋅m; 181 lbf⋅ft) @ 4000 rpm

อ้างอิง

[แก้]
  1. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-12-08. สืบค้นเมื่อ 2017-11-14.
  2. https://www.hyundai.com/worldwide/en/cars/sonata-2019/highlights
  3. https://www.hyundaiusa.com/sonata/specifications.aspx?intcmp=in-page%20cta;subnav;text;compare%20trims
  4. https://www.hyundai.com/kr/ko/vehicles/sonata/19fc/specifications