จักรพรรดิกัลลิเอนุส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กัลลิเอนุส
ประสูติป. ค.ศ. 218
จักรวรรดิโรมัน
สวรรคตกันยายน ค.ศ. 268 (พระชนมพรรษา 50 พรรษา)
เมดิโอลานุม, อิตาเลีย (จักรวรรดิโรมัน), จักรวรรดิโรมัน
พระราชบิดาวาเลริอานุส
พระราชมารดาเอ็กนาเทีย มาริเนียนา

พูบลิอุส ลิกินิอุส เอ็กนาติอุส กัลลิเอนุส (/ˌɡæliˈɛnəs/; ประมาณ ค.ศ. 218 – กันยายน ค.ศ. 268) เป็นจักรพรรดิแห่งโรมันร่วมกับพระราชบิดาของพระองค์พระนามว่า วาเลริอานุส ระหว่างปี ค.ศ. 253 จนถึง ค.ศ. 260 และทรงปกครองเพียงพระองค์เดียวตั้งแต่ ค.ศ. 260 จนถึง ค.ศ. 268 พระองค์ทรงปกครองในช่วงวิกฤตการณ์ในคริสต์ศตวรรษที่สามที่ส่งผลให้จักรวรรดิเกือบล่มสลาย พระองค์ทรงได้รับชัยชนะทางทหารหลายครั้งต่อผู้แย่งชิงตำแหน่งและชนเผ่าเจอร์แมนิก แต่ทรงไม่สามารถป้องกันการแยกตัวออกจากมณฑลสำคัญได้ พระองค์ทรงครองราชย์เป็นระยะเวลา 15 ปี ซึ่งเป็นระยะเวลาแห่งการครองราชย์ยาวนานที่สุดในรอบครึ่งศตวรรษ

จักรพรรดิกัลลิเอนุสเสด็จพระราชสมภพในตระกูลวุฒิสมาชิกดั้งเดิมที่ร่ำรวย ทรงเป็นพระราชโอรสของจักรพรรดิวาเลริอานุสกับนางมารินิอานา โดยที่จักรพรรดิวาเลริอานุสทรงขึ้นเป็นจักรพรรดิในเดือนกันยายน ค.ศ. 253 และให้วุฒิสภาโรมันยกให้กัลลิเอนุสขึ้นเป็นออกุสตุส จักรพรรดิวาเลริอานุสทรงแบ่งจักรวรรดิออกเป็นของพระองค์กับพระราชโอรส โดยจักรพรรดิวาเลริอานุสทรงปกครองทางตะวันออกและจักรพรรดิกัลลิเอนุสทรงปกครองอยู่ทางตะวันตก พระองค์ทรงเอาชนะอินเกนูอุส ซึ่งผู้แย่งชิงตำแหน่งของพระองค์ในปี ค.ศ. 258 และทรงทำลายกองทัพของชนอลามันน์ที่บริเวณเมดิโอลานุมในปี ค.ศ. 259

ความพ่ายแพ้และการจับกุมตัวของจักรพรรดิวาเลริอานุสที่เอเดสซาในปี ค.ศ. 260 โดยจักรวรรดิซาซาเนียน ส่งผลให้จักรวรรดิโรมันเข้าสู่กลียุคของสงครามกลางเมือง การควบคุมของจักรวรรดิทั้งหมดตกเป็นของจักรพรรดิกัลลิเอนุส พระองค์ทรงเอาชนะผู้แย่งชิงตำแหน่งฝั่งทางตะวันออกนามว่า มากริอานุส มายอร์ และลูกิอุส มุสซิอุส ไอมิลิอามุนในปี ค.ศ. 261 – ค.ศ. 262 แต่ทรงล้มเหลวในการยุติการก่อตัวของจักรวรรดิกอลที่แยกตัวออกมาในช่วงการปกครองของแม่ทัพโพสตูมุส ออเรโอลุส ซึ่งเป็นผู้แย่งชิงตำแหน่งอีกคนหนึ่งที่ประกาศตนเป็นจักรพรรดิในเมดิโอลานุมในปี ค.ศ. 268 แต่จักรพรรดิกัลลิเอนุสก็ทรงพ่ายแพ้ที่นอกเมืองและถูกปิดล้อมเมือง ในขณะที่การปิดล้อมดำเนินต่อไป จักรพรรดิกัลลิเอนุสทรงถูกขุนนางนามว่า เซโครพิอุส ลอบสังหารและแทงจนเสด็จสวรรคต ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนการสมรู้ร่วมคิด

อ้างอิง[แก้]