ข้ามไปเนื้อหา

งูปาล์ม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
งูปาล์ม
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ไฟลัมย่อย: Vertebrata
ชั้น: Reptilia
อันดับ: Squamata
อันดับย่อย: Serpentes
วงศ์: Viperidae
วงศ์ย่อย: Crotalinae
สกุล: Trimeresurus
สปีชีส์: T.  puniceus
ชื่อทวินาม
Trimeresurus puniceus
(Kuhl, 1824)
ชื่อพ้อง
  • [Craspedocephalus] puniceus Kuhl, 1824
  • Trigonocephalus puniceus
    - Kuhl, 1824
  • [Cophias] punicea
    - F. Boie, 1827
  • Atropos puniceus
    - Wagler, 1830
  • Atropos acontia Gray, 1842
  • Trigonocephalus puniceus
    - Schlegel, 1824
  • Trimeresurus puniceus
    - Boettger, 1892
  • Lachesis puniceus
    - Boulenger, 1896
  • Trimeresurus wiroti
    Trutnau, 1981
  • Trimeresurus puniceus puniceus - Cox, 1991
  • Trimeresurus puniceus wiroti - Cox, 1991
  • T[rimeresurus]. puniceus
    - Nutphand, Cox, Trutnau &
    H.M. Smith, 1991
    [2]
  • Trimeresurus (Craspedocephalus) puniceus - David et al., 2011[3]

งูปาล์ม หรือ งูเขียวปาล์ม หรือ งูปาล์มแดง (อังกฤษ: Palm pit viper, Javanese pit viper, Flat-nosed pit viper; ชื่อวิทยาศาสตร์: Trimeresurus puniceus) เป็นงูพิษชนิดหนึ่ง ในจำพวกงูเขียวหางไหม้

งูปาล์ม เป็นงูเขียวหางไหม้ขนาดเล็ก ยาวประมาณ 35 เซนติเมตร มีสีและลวดลายปะปนกันหลายสี มีสีพื้นสีเขียว สีน้ำตาล และสีน้ำตาลอมแดง มีจุดประสีขาว ส่วนท้องสีน้ำตาลม่วง มีสิ่งที่ทำให้แตกต่างจากงูเขียวหางไหม้ชนิดอื่น คือ มีเกล็ดจมูกเชิดงอนขึ้น เกล็ดบนตาแหลมสูงทำให้แลดูเด่นชัด ไม่เหมือนงูเขียวหางไหม้ชนิดอื่น ๆ ซึ่งในครั้งแรกเข้าใจว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงของสีลวดลายหรือเป็นความแตกต่างระหว่างเพศของตัวผู้และตัวเมียของงูที่พบในเขตประเทศมาเลเซียและไม่พบในประเทศไทย แต่เมื่อนำมาเลี้ยงดูและศึกษาแล้วพบว่ามีลักษณะเช่นนี้เหมือนกันทั้งตัวผู้และตัวเมีย

งูปาล์ม เดิมเคยเชื่อว่าเป็นงูถิ่นเดียวที่พบได้เฉพาะในภาคใต้ของไทย พบครั้งแรกโดยเกาะพาดอยู่กลางป่าหวาย ที่อำเภอท่าฉางเขตติดต่อกับจังหวัดนครศรีธรรมราช จึงได้ชื่อว่า "งูปาล์ม" และได้ให้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Trimeresurus wiroti เพื่อเป็นเกียรติให้แก่ น.อ.(พิเศษ) วิโรจน์ นุตพันธุ์ นักวิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกชาวไทย[4] แต่แท้จริงแล้ว งูปาล์มพบได้ทั่วไปตั้งแต่ภาคใต้ของไทยไปจนถึงมาเลเซียตะวันออกและอินโดนีเซีย โดยตัวอย่างต้นแบบแรกพบที่เกาะชวา[2] โดยที่ไม่มีชนิดย่อย [5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Vogel, G., Iskandar, D., Auliya, M. & Lilley, R. (2012). "Trimeresurus puniceus". IUCN Red List of Threatened Species. Version 2012.1. สืบค้นเมื่อ 2011-09-01.{{cite web}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  2. 2.0 2.1 McDiarmid RW, Campbell JA, Touré T. 1999. Snake Species of the World: A Taxonomic and Geographic Reference, Volume 1. Herpetologists' League. 511 pp. ISBN 1-893777-00-6 (series). ISBN 1-893777-01-4 (volume).
  3. The Reptile Database. www.reptile-database.org.
  4. คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจจัดทำหนังสือเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๖ รอบ ในปีพุทธศักราช ๒๕๔๒. สัตว์ถิ่นเดียวของประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร : คณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี, 2542. 109 หน้า. หน้า 81. ISBN 974-7772-39-6
  5. "Trimeresurus puniceus (Kuhl, 1824)". itis.gov. สืบค้นเมื่อ 11 October 2014.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Trimeresurus puniceus ที่วิกิสปีชีส์