ข้ามไปเนื้อหา

คาร์คาโรดอนโทซอรัส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คาร์คาโรดอนโทซอรัส
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: Late Cretaceous, Cenomanian
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Reptilia
อันดับใหญ่: Dinosauria
อันดับ: Saurischia
อันดับย่อย: Theropoda
วงศ์: Carcharodontosauridae
วงศ์ย่อย: Carcharodontosaurinae
สกุล: Carcharodontosaurus
Stromer, 1931
ชนิดต้นแบบ
Megalosaurus saharicus
Depéret & Savornin, 1925
Species
  • C. saharicus
    (Depéret & Savornin, 1925)
  • C. iguidensis
    Brusatte & Sereno, 2007
ชื่อพ้อง
  • Megalosaurus saharicus Depéret & Savornin, 1925
  • Megalosaurus africanus von Huene, 1956
กะโหลกของคาร์คาโรดอนโทซอรัส นั้นมีความสมบูรณ์มาก

คาร์คาโรดอนโทซอรัส (อังกฤษ: Carcharodontosaurus) เป็นหนึ่งในไดโนเสาร์เทอโรพอดกินเนื้อที่มีขนาดใหญ่ที่สุดชนิดหนึ่ง มีชีวิตอยู่ในช่วงซีโนมาเนียนของยุคครีเทเชียสเมือประมาณ 98-95 ล้านปีก่อน มีขนาดโดยประมาณ 12—13.7 เมตร มีน้ำหนักประมาณ 6.2−15.1 ตัน ความยาวกระโหลก 1.42-1.63 เมตร คาร์คาโรดอนโทซอรัสจัดอยู่ในกลุ่มไดโนเสาร์เทอโรพอดวงศ์ Carcharodontosauridae และเป็นไดโนเสาร์เทอโรพอดทีใหญ่ที่สุดในวงศ์เดียวกัน Carcharodontosaurid ที่มีความใกล้ชิดกับ Giganotosaurus

ขนาด

[แก้]

ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ ได้ให้ประมาณการความยาวของคาร์คาโรดอนโทซอรัสมีความยาวที่ 12-13.7 เมตร และมีความสูงที่สะโพก 4 เมตร และหนักระหว่าง 6.2 -15.1ตัน[1] [2][3]

คาร์คาโรดอนโตซอรัสมีขากรรไกรที่ใหญ่และยาว พร้อมด้วยฟันคมที่ยาว 8 นิ้ว[4] กะโหลกมีความยาวประมาณ 1.42-1.63 เมตร ปัจจุบันกะโหลกไดโนเสาร์กินเนื้อที่ยาวที่สุดคือกระโหลกของไจกาโนโทซอรัส ที่มีความยาวถึง 1.95 เมตร

คาร์คาโรดอนโทซอรัส ถูกค้นพบครั้งแรกโดย คาร์เรส เดเปอร์เร็ท และ ซาวอร์นิน ใน intercalaire Continental ของแอลจีเรีย ใน ค.ศ. 1924

ขนาดของคาร์คาโรดอนโทซอรัสเมื่อเทียบกันไดโนเสาร์กินเนื้ออื่น (สีส้ม)

ธรรมชาติ

[แก้]

เนื่องจากตำแหน่งดวงตาของคาร์คาโรดอนโทซอรัสอยู่บริเวณด้านข้างของกะโหลก ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการล่าเหยื่อ

ฟันของคาร์คาโรดอนโทซอรัสนั้นมีความคมและมีสันด้านข้างฟันเรียงกันเป็นแถวเพื่อเฉือนเนื้อเช่นเดียวกับฉลาม


แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. https://web.archive.org/web/20080216074438/http://www.mnhn.ul.pt/geologia/gaia/7.pdf
  2. https://dinoweb.ucoz.ru/_fr/4/A_new_method_to.pdf
  3. https://www.tandfonline.com/doi/abs/10.1671/0272-4634%282007%2927%5B108%3AMTIBTY%5D2.0.CO%3B2
  4. https://science.sciencemag.org/content/272/5264/986