ข้ามไปเนื้อหา

คณะกรรมการโอลิมปิกยุโรป

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะกรรมการโอลิมปิกยุโรป
European Olympic Committees
ก่อตั้งค.ศ. 1968
ประเภทองค์กรกีฬา
สํานักงานใหญ่โรม, อิตาลี
สมาชิก
50 คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ
ภาษาทางการ
อังกฤษ, ฝรั่งเศส
ประธาน
Janez Kocijančič
รองประธาน
Niels Nygaard
Secretary General
Raffaele Pagnozzi
เว็บไซต์www.eurolympic.org

คณะกรรมการโอลิมปิกยุโรป (อังกฤษ: European Olympic Committees) เป็นองค์กรที่ตั้งอยู่ในกรุงโรม ประเทศอิตาลี ประกอบด้วยคณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติจากทวีปยุโรป จำนวน 50 ประเทศ [1] คณะกรรมการโอลิมปิกยุโรปยังมีหน้าที่ในการจัดแข่งขันกีฬารายการที่สำคัญ 3 รายการ ได้แก่ เทศกาลโอลิมปิกเยาวชนยุโรป, กีฬาระหว่างรัฐขนาดเล็กในยุโรป และยูโรเปียนเกมส์

คณะกรรมการโอลิมปิกยุโรปไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการแข่งขันกีฬาชิงแชมป์ยุโรปซึ่งจัดโดยสหพันธ์กีฬารายบุคคลที่เกี่ยวข้อง

ประเทศสมาชิก

[แก้]
ประเทศ รหัส คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ ก่อตั้ง/ยอมรับ อ้างอิง
 แอลเบเนีย ALB คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติแอลเบเนีย 1958/1959 [1]
 อันดอร์รา AND คณะกรรมการโอลิมปิกอันดอร์รา 1971/1975 [2]
 อาร์มีเนีย ARM คณะกรรมการโอลิมปิกอาร์มีเนีย 1990/1993 [3]
 ออสเตรีย AUT คณะกรรมการโอลิมปิกออสเตรีย 1908/1912 [4]
 อาเซอร์ไบจาน AZE คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติสาธารณรัฐอาเซอร์ไบจาน 1992/1993 [5]
 เบลารุส BLR คณะกรรมการโอลิมปิกเบลารุส 1991/1993 [6]
 เบลเยียม BEL คณะกรรมการโอลิมปิกเบลเยียม 1906 [7]
 บอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา BIH คณะกรรมการโอลิมปิกบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา 1992/1993 [8]
 บัลแกเรีย BUL คณะกรรมการโอลิมปิกบัลแกเรีย 1923/1924 [9]
 โครเอเชีย CRO คณะกรรมการโอลิมปิกโครเอเชีย 1991/1993 [10]
 ไซปรัส CYP คณะกรรมการโอลิมปิกไซปรัส 1974/1978 [11]
 เช็กเกีย CZE คณะกรรมการโอลิมปิกเช็ก 1899/1993 [12]
 เดนมาร์ก DEN คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติและสมาพันธ์กีฬาเดนมาร์ก 1905 [13]
 เอสโตเนีย EST คณะกรรมการโอลิมปิกเอสโตเนีย 1923/1991 [14]
 ฟินแลนด์ FIN คณะกรรมการโอลิมปิกฟินแลนด์ 1907 [15]
 ฝรั่งเศส FRA คณะกรรมการโอลิมปิกและกีฬาแห่งชาติฝรั่งเศส 1894 [16]
 จอร์เจีย GEO คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติจอร์เจีย 1989/1993 [17]
 เยอรมนี GER สมาพันธ์กีฬาโอลิมปิกเยอรมัน 1895 [18]
 บริเตนใหญ่ GBR สมาคมโอลิมปิกบริติช 1905 [19]
 กรีซ GRE คณะกรรมการโอลิมปิกเฮลเลนิก 1894/1895 [20]
 ฮังการี HUN คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งฮังการี 1895 [21]
 ไอซ์แลนด์ ISL สมาคมโอลิมปิกและกีฬาแห่งชาติไอซ์แลนด์ 1921/1935 [22]
 ไอร์แลนด์ IRL สหพันธ์โอลิมปิกไอร์แลนด์ 1922 [23]
 อิสราเอล[2] ISR คณะกรรมการโอลิมปิกอิสราเอล 1933/1952 [24]
 อิตาลี ITA คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติอิตาลี 1908/1915 [25]
 คอซอวอ KOS คณะกรรมการโอลิมปิกคอซอวอ 1992/2014 [26]
 ลัตเวีย LAT คณะกรรมการโอลิมปิกลัตเวีย 1922/1991 [27]
 ลีชเทินชไตน์ LIE คณะกรรมการโอลิมปิกลิกเตนสไตน์ 1935 [28]
 ลิทัวเนีย LTU คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติลิทัวเนีย 1924/1991 [29]
 ลักเซมเบิร์ก LUX คณะกรรมการโอลิมปิกและกีฬาลักเซมเบิร์ก 1912 [30]
 มอลตา MLT คณะกรรมการโอลิมปิกมอลตา 1928/1936 [31]
 มอลโดวา MDA คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติสาธารณรัฐมอลโดวา 1991/1993 [32]
 โมนาโก MON คณะกรรมการโอลิมปิกโมนาโก 1907/1953 [33]
 มอนเตเนโกร MNE คณะกรรมการโอลิมปิกมอนเตเนโกร 2006/2007 [34]
 เนเธอร์แลนด์ NED คณะกรรมการโอลิมปิกดัตช์*สหพันธ์กีฬาดัตช์ 1912 [35]
 มาซิโดเนียเหนือ MKD คณะกรรมการโอลิมปิกมาซิโดเนียเหนือ 1992/1993 [36]
 นอร์เวย์ NOR คณะกรรมการโอลิมปิกและพาราลิมปิกและสมาพันธ์กีฬาแห่งนอร์เวย์ 1900 [37]
 โปแลนด์ POL คณะกรรมการโอลิมปิกโปแลนด์ 1918/1919 [38]
 โปรตุเกส POR คณะกรรมการโอลิมปิกโปรตุเกส 1909 [39]
 โรมาเนีย ROU คณะกรรมการโอลิมปิกและกีฬาโรมาเนีย 1914 [40]
 รัสเซีย RUS คณะกรรมการโอลิมปิกรัสเซีย 1911/1912 [41]
 ซานมารีโน SMR คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติซานมารีโน 1959 [42]
 เซอร์เบีย SRB คณะกรรมการโอลิมปิกเซอร์เบีย 1911[3]/1912 [43]
 สโลวาเกีย SVK คณะกรรมการโอลิมปิกและกีฬาสโลวัก 1992/1993 [44]
 สโลวีเนีย SLO คณะกรรมการโอลิมปิกสโลวีเนีย 1991/1993 [45]
 สเปน ESP คณะกรรมการโอลิมปิกสเปน 1912 [46]
 สวีเดน SWE คณะกรรมการโอลิมปิกสวีเดน 1913 [47]
 สวิตเซอร์แลนด์ SUI สมาคมโอลิมปิกสวิส 1912 [48]
 ตุรกี TUR คณะกรรมการโอลิมปิกตุรกี 1908/1911 [49]
 ยูเครน UKR คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติยูเครน 1990/1993 [50]

อดีตสมาชิก

[แก้]
ประเทศ รหัส คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติ ก่อตั้ง/ยอมรับ ยกเลิก
 เชโกสโลวาเกีย TCH คณะกรรมการโอลิมปิกเชโกสโลวาเกีย 1919 1992
 เยอรมนีตะวันออก GDR คณะกรรมการโอลิมปิกแห่งชาติสาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี 1951/1968 1990
 เซอร์เบียและมอนเตเนโกร SCG คณะกรรมการโอลิมปิกเซอร์เบียและมอนเตเนโกร 2003 2006
 สหภาพโซเวียต URS คณะกรรมการโอลิมปิกโซเวียต 1951 1992
 ยูโกสลาเวีย YUG คณะกรรมการโอลิมปิกยูโกสลาเวีย 1919/1920 2003

อ้างอิง

[แก้]
  1. สมาชิกประกอบด้วย อิสราเอล, ไซปรัส, อาเซอร์ไบจาน, อาร์เมเนีย และ จอร์เจีย ซึ่งมีภูมิประเทศอยู่ในทวีปเอเชีย แต่มีความสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่แน่นแฟ้นกับยุโรปและ ตุรกี และ สหพันธรัฐรัสเซีย ซึ่งทั้งสองประเทศมีที่ตั้งทั้งในทวีปยุโรปและทวีปเอเชีย
  2. Between 1954 and 1974, Israel took part in the Asian Games, but political pressure exerted by Arab countries due to the Arab–Israeli conflict led to Israel's exclusion from the re-organized Olympic Council of Asia in 1981 (See Israelis Facing Asian Ban). It then became a member of the European Olympic Committees in 1994.
  3. The Olympic Committee of Serbia was founded in 1911, as a successor to the Serbian Olympic Club (source).