การล้อมเยรูซาเลมโดยอัสซีเรีย
การล้อมเยรูซาเลม | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ส่วนหนึ่งของ การทัพของเซนนาเคอริบในลิแวนต์ | |||||||
กำแพงเฮเซคียาห์ | |||||||
| |||||||
คู่สงคราม | |||||||
จักรวรรดิอัสซีเรียใหม่ | ราชอาณาจักรยูดาห์ | ||||||
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ | |||||||
รับชาเคห์ของเซนนาเคอริบ รับสารีสของเซนนาเคอริบ ทารทานของเซนนาเคอริบ |
กษัตริย์เฮเซคียาห์แห่งยูดาห์ เอลียาคิมบุตรฮิลคียาห์ โยอาห์บุตรอาสาฟ เชบนา | ||||||
กำลัง | |||||||
ไม่ทราบ | ไม่ทราบ | ||||||
ความสูญเสีย | |||||||
ไม่ทราบ
| ไม่ทราบ |
การล้อมเยรูซาเลมโดยอัสซีเรีย (อังกฤษ: Assyrian siege of Jerusalem; ประมาณ 701 ปีก่อนคริสกาล) เป็นการล้อมเยรูซาเลมที่เป็นเมืองหลวงของราชอาณาจักรยูดาห์ในเวลานั้น ดำเนินการโดยเซนนาเคอริบกษัตริย์แห่งจักรวรรดิอัสซีเรียใหม่ การล้อมครั้งนี้เป็นการสิ้นสุดการทัพของเซนนาเคอริบในลิแวนต์ ซึ่งเซนนาเคอริบได้ทรงโจมตีเมืองป้อมและทำลายชนบทในยูดาห์ในการทัพเพื่อปราบปราม เซนนาเคอริบปิดล้อมเยรูซาเลมแต่ยึดไม่สำเร็จ
จดหมายเหตุเซนนาเคอริบบรรยายถึงการที่กษัตริย์เซนนาเคอริบทรงขังเฮเซคียาห์แห่งยูดาห์ไว้ในเยรูซาเลม "เหมือนนกในกรง" และภายหลังพระองค์ทรงยกทัพกลับอัสซีเรียเมื่อได้รับบรรณาการจากยูดาห์ ในคัมภีร์ฮีบรูระบุเฮเซคียาห์ทรงจ่ายเงิน 300 ตะลันต์และทอง 30 ตะลันต์ให้แก่อัสซีเรีย เรื่องราวในคัมภีร์ฮีบรูยังได้เพิ่มตอนจบน่าอัศจรรย์ที่เซนนาเคอริบเคลื่อนทัพไปยังเยรูซาเลม แต่ถูกทูตสวรรค์องค์หนึ่งโจมตีใกล้ประตูเยรูซาเลม ทำให้พระองค์ต้องล่าถอยไปยังนีนะเวห์
ตามทฤษฎีทางโบราณคดีของคัมภีร์ไบเบิล อุโมงค์สิโลอัมและกำแพงกว้างในเยรูซาเลมถูกสร้างโดยเฮเซคียาห์เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการล้อมที่กำลังจะเกิดขึ้น
ภูมิหลัง
[แก้]เมื่อ 720 ปีก่อนคริสตกาล ทัพอัสซีเรียยึดได้สะมาเรียที่เป็นเมืองหลวงของราชอาณาจักรอิสราเอลเหนือ และกวาดต้อนชาวอิสราเอลจำนวนไปเป็นเชลย การทำลายราชอาณาจักรอิสราเอลทำให้ราชอาณาจักรใต้คือราชอาณาจักรยูดาห์ต้องป้องกันตัวเองท่ามกลางอาณาจักรต่าง ๆ ในตะวันออกใกล้ที่กำลังทำสงครามกัน หลังการล้มสลายของราชอาณาจักรเหนือ กษัตริย์แห่งยูดาห์ทรงพยายามขยายอิทธิพลและการคุ้มครองแก่ชาวอิสราเอลที่ไม่ได้ถูกกวาดต้อนไปเป็นเชลย และยังพยายามขยายอำนาจไปทางเหนือเข้าไปยังพื้นที่ซึ่งก่อนหน้านี้อยู่ในอาณาเขตของราชอาณาจักรอิสราเอล ปลายรัชสมัยของกษัตริย์อาหัสและรัชสมัยของกษัตริย์เฮเซคียาห์เป็นช่วงเวลาของความมั่นคงซึ่งราชอาณาจักรยูดาห์สามารถรวมศูนย์อำนาจทั้งในด้านการเมืองและเศรษฐกิจ แม้ว่ายูดาห์จะเป็นเมืองขึ้นของอัสซีเรียในช่วงเวลานั้นและต้องส่งบรรณาการประจำปีไปยังจักรพรรดิทรงอำนาจ แต่ยูดาห์ก็เป็นรัฐที่สำคัญที่สุดที่อยู่ระหว่างอัสซีเรียและอียิปต์[1]
เมื่อเฮเซคียาห์ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์แห่งยูดาห์ พระองค์ทรงริเริ่มการเปลี่ยนแปลงทางศาสนาอย่างกว้างขวาง รวมถึงการทำลายรูปเคารพทางศาสนาด้วย พระองค์ยึดดินแดนที่ชาวฟิลิสเตียยึดไว้ในถิ่นทุรกันดารเนเกบ ก่อตั้งการเป็นพันธมิตรกับอัชเคโลนและอียิปต์ และยืนหยัดต้านอัสซีเรียโดยการปฏิเสธที่จะส่งบรรณาการ[2] กษัตริย์เซนนาเคอริบจึงยกทัพเข้าโจมตียูดาห์และปิดล้อมเยรูซาเลม
การล้อม
[แก้]ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
แหล่งข้อมูลโบราณ
[แก้]- หนังสือพงศ์กษัตริย์
- หนังสืออิสยาห์
- หนังสือพงศาวดาร
- จดหมายเหตุเซนนาเคอริบ
- Antiquities of the Jews, Titus Flavius Josephus
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Malamat, Abraham and Ben-Sasson, Haim Hillel. A History of the Jewish People, Harvard University Press, 1976 ISBN 9780674397316
- ↑ "Pritchard, James B. ed., Ancient Near Eastern Texts, 2nd ed. (Princeton, New Jersey: Princeton University Press, 1955), 287ff". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-06. สืบค้นเมื่อ 2013-07-15.
บรรณานุกรม
[แก้]- Evans, Paul S. (2023). Sennacherib and the War of 1812: Disputed Victory in the Assyrian Campaign of 701 BCE in Light of Military History. Bloomsbury Publishing. ISBN 978-0-567-70897-7.
- Grabbe, Lester (2003). Like a Bird in a Cage: The Invasion of Sennacherib in 701 BCE. A&C Black. ISBN 9780826462152.
- Grayson, A.K. (1991). "Assyria: Sennacherib and Essarhaddon". ใน Boardman, John; Edwards, I. E. S. (บ.ก.). The Cambridge Ancient History, Volume III Part II. Cambridge University Press. ISBN 9780521227179.
- Kalimi, Isaac; Richardson, Seth (2014). Sennacherib at the Gates of Jerusalem: Story, History and Historiography. BRILL. ISBN 978-90-04-26562-2.