ยุทธการที่เมกิดโด (609 ปีก่อนคริสต์ศักราช)

พิกัด: 32°35′N 35°11′E / 32.583°N 35.183°E / 32.583; 35.183
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยุทธการที่เมกิดโด

รูปปั้นคุกเข่าที่ทำจากสัมฤทธิ์ขนาดเล็ก น่าจะเป็นฟาโรห์เนโชที่ 2 ปัจจุบันจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์บรุกลิน
วันที่มิถุนายนหรือกรกฎาคม 609 ปีก่อน ค.ศ.
สถานที่32°35′N 35°11′E / 32.583°N 35.183°E / 32.583; 35.183
ผล

อียิปต์ชนะ

คู่สงคราม
อียิปต์ อาณาจักรยูดาห์
ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ
ฟาโรห์เนโชที่ 2 โยสิยาห์ 
กำลัง
ไม่ทราบ ไม่ทราบ
ความสูญเสีย
น้อยมาก สูง
ยุทธการที่เมกิดโด (609 ปีก่อนคริสต์ศักราช)ตั้งอยู่ในประเทศอิสราเอล
ยุทธการที่เมกิดโด (609 ปีก่อนคริสต์ศักราช)
ที่ตั้งในประเทศอิสราเอล

มีการบันทึกว่ายุทธการที่เมกิดโดเกิดขึ้นใน 609 ปีก่อนคริสต์ศักราช เมื่อฟาโรห์เนโชที่ 2 แห่งอียิปต์นำกองทัพไปที่คาร์เรมิช (ซีเรียเหนือ) เพื่อเข้าร่วมกับจักรวรรดิอัสซีเรียใหม่ พันธมิตรที่ใกล้เสื่อมสลาย ต่อจักรวรรดิบาบิโลเนียใหม่ที่กำลังรุ่งเรื่อง โดยจำเป็นต้องผ่านดินแดนที่ควบคุมโดยอาณาจักรยูดาห์ พระเจ้าโยสิยาห์แห่งยูดาห์ไม่ให้กองทัพอียิปต์เดินผ่าน[3] กองทัพยูดาห์เผชิญหน้ากับกองทัพอียิปต์ที่เมกิดโด ทำให้โยสิยาห์ถูกปลงพระชนม์และอาณาจักรของพระองค์กลายเป็นรัฐบริวารของอียิปต์ สงครามนี้ได้รับการบันทึกในคัมภีร์ฮีบรู 1 เอสดราสของกรีก และงานเขียนของโยเซพุส

เมื่อเนโชที่ 2 ควบคุมอาณาจักรยูดาห์ กองทัพอัสซีเรียพ่ายแพ้ต่อบาบิโลเนียและมีดส์ในการล่มสลายของฮัรราน ซึ่งทำให้อัสซีเรียสูญเสียสถานะรัฐเอกราช

รายงานพระคัมภีร์[แก้]

เรื่องราวพื้นฐานปรากฏในหนังสือพงศ์กษัตริย์ ฉบับที่ 2 23:29–30 (เขียนขึ้นประมาณ 550 ปีก่อน ค.ศ.) ข้อความภาษาฮีบรูถูกทำให้เข้าใจผิดและแปลว่าเนโช 'ต่อสู้กับ' อัสซีเรีย Cline 2000:92-93 แสดงหมายเหตุว่าคำแปลสมัยใหม่พยายามพัฒนาข้อความนี้ด้วยการใช้รายงานสิ่งที่รู้จากข้อมูลประวัติศาสตร์อื่น ๆ เช่น อียิปต์และอัสซีเรียเป็นพันธมิตร ข้อความต้นฉบับไม่ได้กล่าวถึง 'ยุทธการ' กระนั้นในฉบับสมัยใหม่ก็เพิ่มคำว่า 'ยุทธการ' ในข้อความนั้น

ในขณะที่โยสิยาห์ยังทรงครองราชย์อยู่ ฟาโรห์เนโคแห่งอียิปต์เสด็จมายังแม่น้ำยูเฟรติสเพื่อช่วยกษัตริย์อัสซีเรีย โยสิยาห์ยกทัพออกไปรบกับเนโค และถูกประหารที่เมกิดโด ทหารของโยสิยาห์จึงนำพระศพขึ้นรถม้าศึกจากเมกิดโดมายังกรุงเยรูซาเล็ม และฝังไว้ในสุสานของพระองค์เอง ประชาชนได้เลือกเยโฮอาหาสโอรสของโยสิยาห์และเจิมตั้งขึ้นเป็นกษัตริย์แทนราชบิดา

ภายหลังมีรายงานที่ยาวกว่าในหนังสือพงศาวดาร ฉบับที่ 2 35:20–25 (เขียนประมาณ 350–300 ปีก่อน ค.ศ.)[4]

หลังจากที่โยสิยาห์ทรงจัดระเบียบพระวิหารเรียบร้อยแล้ว กษัตริย์เนโคแห่งอียิปต์ยกทัพมาที่คารเคมิชริมแม่น้ำยูเฟรติส และโยสิยาห์กรีธาทัพออกไปรบกับพระองค์ แต่เนโคส่งผู้นำสาส์นมายังโยสิยาห์ความว่า “กษัตริย์ยูดาห์ ท่านและข้าพเจ้ามีเรื่องราวบาดหมางอะไรกันหรือ? ข้าพเจ้าไม่ได้ยกทัพมาโจมตีท่านในครั้งนี้ แต่ข้าพเจ้ามารบกับศัตรูที่ขับเคี่ยวกันอยู่ พระเจ้าได้ตรัสสั่งให้ข้าพเจ้ารีบเร่ง ดังนั้นจงอย่าขัดขวางพระเจ้าผู้สถิตกับข้าพเจ้า มิฉะนั้นพระองค์จะทรงทำลายท่าน” แต่โยสิยาห์ไม่ยอมถอยทัพ กลับปลอมตัวเข้าสู่สงครามในที่ราบเมกิดโด โยสิยาห์ไม่ยอมฟังพระบัญชาของพระเจ้าที่ตรัสผ่านเนโค พลธนูยิงถูกกษัตริย์โยสิยาห์ พระองค์ทรงร้องบอกทหารว่า “พาเราออกไปที เราบาดเจ็บมาก” พวกเขาจึงประคองพระองค์ลงจากรถม้าศึกของพระองค์ แล้วขึ้นรถม้าศึกอีกคันกลับสู่เยรูซาเล็ม โยสิยาห์ก็สิ้นพระชนม์ พระศพถูกฝังไว้ในสุสานบรรพบุรุษของพระองค์ ทั่วทั้งยูดาห์และกรุงเยรูซาเล็มพากันไว้อาลัย เยเรมีย์แต่งบทเพลงคร่ำครวญไว้อาลัยแด่โยสิยาห์ และคณะนักร้องชายหญิงทุกคนยังคงขับร้องเพลงไว้อาลัยโยสิยาห์ตราบจนทุกวันนี้ซึ่งกลายเป็นประเพณีในอิสราเอล และมีบันทึกไว้ในประมวลบทเพลงคร่ำครวญ

รายงานอื่น ๆ[แก้]

ข้อโต้แย้งในรายงานจากหนังสือพงศาวดาร ฉบับที่ 2[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

  1. มีหลักฐานว่ายูดาห์เป็นรัฐบริวารอียิปต์ก่อนหน้าสงครามนี้[1][2]

อ้างอิง[แก้]

  1. Kahn, Dan'el, "Why did Necho II kill Josiah?"
  2. Bar, S.; Kahn, D.; Shirley, J.J. (2011). Egypt, Canaan and Israel: History, Imperialism, Ideology and Literature (Culture and History of the Ancient Near East). BRILL. pp. 279–83.
  3. Coogan, Michael David (2001). The Oxford History of the Biblical World. Oxford University Press. p. 261. ISBN 9780195139372.
  4. 2 Chronicles 35: New American Standard Bible

บรรณานุกรม[แก้]