การปฏิวัติฝรั่งเศส ค.ศ. 1848

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การปฏิวัติฝรั่งเศส ค.ศ. 1848
ส่วนหนึ่งของ การปฏิวัติ ค.ศ. 1848
อาลฟงส์ เดอ ลามาร์ตีน ที่หน้าศาลาว่าการกรุงปารีส
เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1848
วันที่22–24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1848
สถานที่ปารีส ฝรั่งเศส
ผล
คู่ขัดแย้ง

ฝรั่งเศส ฝ่ายปฏิวัติ

  • ผู้ประท้วงฝ่ายพลเรือน
  • กองกำลังแห่งชาติผู้แปรพักตร์

ฝรั่งเศส รัฐบาลฝรั่งเศส

ผู้นำ
ไม่มีผู้นำที่ชัดเจน

การปฏิวัติ ค.ศ. 1848 ในประเทศฝรั่งเศส บ้างเรียก การปฏิวัติเดือนกุมภาพันธ์ (ฝรั่งเศส: révolution de Février) เป็นคลื่นการปฏิวัติลูกหนึ่งใน ค.ศ. 1848 ในทวีปยุโรป ในประเทศฝรั่งเศส เหตุการณ์ปฏิวัติยุติราชาธิปไตยออร์เลอ็อง (ค.ศ. 1830–1848) และนำสู่การสถาปนาสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 2

หลังการโค่นพระเจ้าหลุยส์-ฟีลิปในเดือนกุมภาพันธ์ รัฐบาลสาธารณรัฐที่ 2 จากการเลือกตั้งปกครองประเทศฝรั่งเศส ในหลายเดือนต่อมา รัฐบาลนี้เปลี่ยนมาเป็นอนุรักษนิยมมากขึ้น วันที่ 23 มิถุนายน ค.ศ. 1848 ประชาชนกรุงปารีสก่อการกบฏ ซึ่งได้ชื่อว่า การก่อการกำเริบวันมิถุนายน (June Days Uprising) เป็นการกบฏที่นองเลือดแต่ไร้ผลโดยแรงงานกรุงปารีสต่อการเปลี่ยนแปลงอนุรักษนิยมในเส้นทางของสาธารณรัฐ วันที่ 2 ธันวาคม ค.ศ. 1848 หลุยส์-นโปเลียน โบนาปาร์ต ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีสาธารณรัฐที่ 2 โดยส่วนใหญ่ได้การสนับสนุนจากชาวนา สามปีพอดีต่อมา เขาระงับรัฐสภาจากการเลือกตั้ง สถาปนาจักรวรรดิฝรั่งเศสที่ 2 ซึ่งดำรงอยู่จน ค.ศ. 1870 หลุยส์-นโปเลียน โบนาปาร์ตเป็นจักรพรรดิ​ฝรั่งเศสพระองค์สุดท้าย

การปฏิวัติกุมภาพันธ์สถาปนาหลัก "สิทธิทำงาน" (droit au travail) และรัฐบาลที่เพิ่งตั้งนั้นสร้าง "โรงฝึกงานแห่งชาติ" แก่ผู้ว่างงาน ในเวลาเดียวกัน มีการสถาปนาสภาอุตสาหกรรม ณ พระราชวังลุกซ็องบูร์ โดยมีหลุยส์ บลังเป็นประธาน มีวัตถุประสงค์เตรียรมแผนจัดระเบียบแรงงาน ความตึงเครียดเหล่านี้ระหว่างกลุ่มออร์เลอ็องเสรีนิยมกับสาธารณรัฐนิยมหัวรุนแรงและนักสังคมนิยมนำสู่การก่อการกำเริบวันมิถุนายน

อ้างอิง[แก้]