ข้ามไปเนื้อหา

ซาร์ด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ZARD)
ซาร์ด
ภาพปกอัลบั้มที่ 10 Tomatteita Tokei ga Ima Ugoki Dashita
ข้อมูลพื้นฐาน
ที่เกิดญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
แนวเพลงร็อก, ป็อปร็อก
ช่วงปีพ.ศ. 25342550
ค่ายเพลงบี-แกรมเรคอร์ด
อดีตสมาชิกอิซุมิ ซะกะอิ
ฟุมิฮิโตะ มะชิดะ
ฮิโระยะซุ โฮะชิ
โคะซุเกะ มิชิกุระ
คิมิทะกะ อิเกะซะวะ
เว็บไซต์Wezard.net

ซาร์ด (ญี่ปุ่น: ザードโรมาจิซาโดะทับศัพท์: ZARD) เป็นกลุ่มนักร้องเจ-ป็อปที่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2534 ในสังกัดค่ายเพลง บี-แกรมเรคอร์ด เดิมประกอบด้วยสมาชิก 5 คน นำโดยนักร้องอิซุมิ ซะกะอิ ซึ่งเธอเป็นสมาชิกคนเดียวในกลุ่มที่ยังคงอยู่ในวงตั้งแต่เริ่มก่อตั้งและเป็นผู้แต่งเพลงทั้งหมดให้กับวงซาร์ด รวมถึงวงอื่น ๆ ด้วย ในขณะที่สมาชิกอื่นเปลี่ยนตัวตลอดเวลา และหลังจากอัลบั้มโฮลด์มี (HOLD ME) ออกจำหน่าย สมาชิกทั้งหมดก็ออกจากวงไป ทำให้เมื่อกล่าวถึงซาร์ด ก็มักจะหมายถึงอิซุมิ ในขณะเดียวกันเมื่อกล่าวถึงอิซุมิ ก็สามารถหมายถึงซาร์ดได้เช่นกัน ซาร์ดมีเพลงที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงอยู่หลายเพลง เช่น มะเกะไนเดะ (ญี่ปุ่น: 負けないで) , ยุเระรุโอะโมะอิ (ญี่ปุ่น: 揺れる想い) (พ.ศ. 2536) และ มายเฟรนด์ (ญี่ปุ่น: マイ フレンドโรมาจิไมฟุเรนโดะทับศัพท์: MY FRIEND) (พ.ศ. 2539)

ซาร์ดปิดตำนานของวงเนื่องจากการเสียชีวิตของอิซุมิเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 (รวมอายุได้ 40 ปี) จากอุบัติเหตุพลัดตกจากบันไดสูง 3 เมตร ที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเคย์โอ อย่างไรก็ดีก็ยังมีการนำเพลงเก่าของซาร์ดทั้งที่เคยอยู่ในอัลบั้มหรือซิ งเกิลเก่า ๆ มาทำใหม่โดยนำนักร้องจากเครือบีอิ้งซึ่งเป็นบริษัทแม่ของบี-แกรมเรคคอร์ด ต้นสังกัดของซาร์ดมาร้องคู่กันหรือเรียบเรียงทำนองใหม่ ทำให้ซาร์ดยังมีผลงานออกมาเรื่อย ๆ โดยในปัจจุบันซาร์ดมี 45 ซิงเกิล และ 17 อัลบั้ม

ในวงการเพลง

[แก้]

ซาร์ดเริ่มเข้าวงการครั้งแรกใน พ.ศ. 2534 จากการที่ซีอีโอของเครือบีอิ้ง ไดโก นางาโตะ (เกษียณเมื่อ พ.ศ. 2550) ได้รับนางแบบ ซะจิโกะ คะมะจิ (ญี่ปุ่น: 蒲池幸子โรมาจิKamachi Sachiko) วัย 24 ปีเข้าร่วมงาน โดยหลังจากนั้นเธอเปลี่ยนชื่อเป็น อิซุมิ ซะกะอิ (ญี่ปุ่น: 坂井泉水โรมาจิSakai Izumi) เพื่อตัดประสบการณ์ในอดีต เธอได้ก่อตั้งวงซาร์ดขึ้นมา และได้ออกซิงเกิล กูด-บายมายโลนลีเนส (Good-bye My Loneliness) เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 ในขณะที่ยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องของสมาชิกร่วมวง เพลงนี้ได้นำไปประกอบละครโทรทัศน์ของฟูจิทีวี ที่ชื่อ เก็กกงโนะริโซโตะเก็งจิสึ (ญี่ปุ่น: 結婚の理想と現実โรมาจิKekkon no risou to genjitsu) ที่นำแสดงโดยมิซาโอะ ทานากะ เพลงนี้ประสบความสำเร็จมากและขึ้นถึงอันดับ 9 ในชาร์ตโอริคอน

ซาร์ดทำยอดขายในสองซิงเกิลต่อมาได้ไม่ดีนัก จนมาถึงซิงเกิลที่สี่ เนะมุเรไนโยะรุโวะไดเตะ (ญี่ปุ่น: 眠れない夜を抱いてโรมาจิNemurenai Yoru wo Daite) ที่แนวเพลงเริ่มแตกต่างจากสามซิงเกิลแรก เนื่องจากการที่เพลงนี้เป็นเพลงแนวร็อก ทำให้เพลงเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น ในมิวสิกวีดิโอภาพ ที่เดิมดูมืดในมิวสิกวิดีโอก่อน ๆ ก็เริ่มสว่างมากขึ้น เพลงนี้ทำยอดขายไปได้ประมาณ 440,000 ชุด และทำให้ซาร์ดปรากฏตัวทางโทรทัศน์หลายครั้ง ซึ่งประมาณครึ่งหนึ่งของการปรากฏตัวทางโทรทัศน์อย่างเป็นทางการของซาร์ด ล้วนมีการร้องเพลงนี้ทั้งสิ้น ในการปรากฏตัวครั้งหนึ่ง คะซุโยะชิ โมริตะ (เรียกสั้น ๆ ว่า "ทาโมริ") พิธีกรรายการมิวสิกสเตชัน ซึ่งเป็นรายการร้องเพลงสดทางโทรทัศน์ของนักร้องในประเทศญี่ปุ่น ได้ถามซะกะอิว่าเหตุใดจึงใช้เวลานานกว่าจะได้มาปรากฏตัวในรายการ เธอตอบว่าเพื่อให้ยอดขายอัลบั้มประสบผลสำเร็จ เธอจึงไม่อยากมาปรากฏตัวเพื่อโปรโมตเพลงของเธอก่อนกำหนดวางขายซิงเกิลของ ซาร์ด

จุดเปลี่ยนสำคัญที่สุดในวงการเพลงของซาร์ดคือซิงเกิลใน พ.ศ. 2536 ด้วยซิงเกิล มะเกะไนเดะ (ญี่ปุ่น: 負けないでโรมาจิMakenaide) ซึ่งเพลงนี้ถูกนำไปใช้ในละครโทรทัศน์ญี่ปุ่นเรื่อง เรโกะ ฉันนั้นหรือสวย เฉียบ เนี้ยบ และเนื่องจากช่วงนั้นเป็นช่วงที่ตลาดหุ้น Nikkei 225 ตกต่ำที่สุดในรอบ 3 ปี เพลงนี้จึงกลายเป็นเพลงที่ได้รับความรู้จักอย่างรวดเร็วในฐานะเพลงประจำยุค เศรษฐกิจตกต่ำ เพลงนี้ขึ้นสู่อันดับ 1 ของชาร์ตโอริคอนเป็นครั้งแรก ด้วยยอดขายกว่า 1.6 ล้านก๊อปปี้ ไม่เพียงเท่านั้น เพลงนี้ยังถูกนำไปใช้เป็นเพลงประกอบรายการพิเศษ 24 ชั่วโมงของนิปปอนเทเลวิชัน ซึ่งเป็นรายการประจำปีที่พิธีกรที่มีชื่อเสียงจะจัดรายการตลอดทั้งวัน ในปีเดียวกันซาร์ดออกซิงเกิลอีก 4 ซิงเกิลโดยมี 2 ซิงเกิลติดอันดับหนึ่งของชาร์ต คือ ยุเระรุโอะโมะอิ (ญี่ปุ่น: 揺れる想いโรมาจิYureru Omoi) และ คิตโตะวะซุเระไน (ญี่ปุ่น: きっと忘れないโรมาจิ Kitto Wasurenai) ก่อนที่เธอจะออกอัลบั้มยุเรรุโอะโมะอิ ที่มีทั้งเพลงมะเกะไนเดะและยุเระรุโอะโมะอิ อัลบั้มนี้ทำยอดขายได้ถึง 2 ล้านชุด ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ซาร์ดทำยอดขายได้ถึงล้านชุด และอัลบั้มนี้ยังเป็นอัลบั้มที่มียอดขายสูงสุดประจำปี พ.ศ. 2536 อีกด้วย

ใน พ.ศ. 2538 ซิงเกิล มายเฟรนด์ เป็นซิงเกิลที่สองของซาร์ดที่ทำยอดขายรวมได้มากกว่า 1 ล้านชุด โดยรวมแล้วตั้งแต่ซาร์ดเข้าวงการจนถึงปัจจุบัน ซาร์ดมีซิงเกิลทั้งสิ้น 11 ซิงเกิลที่ขึ้นถึงอันดับหนึ่งบนชาร์ตโอริคอน และสตูดิโออัลบั้มจำนวน 6 อัลบั้มที่ขึ้นถึงอันดับหนึ่ง นั่นคือตั้งแต่อัลบั้มยุเระรุโอะโมะอิ โอมายเลิฟ (Oh My Love) ซึ่งเป็นอัลบั้มอันดับหนึ่งลำดับที่ 500 ตั้งแต่มีการจัดอันดับชาร์ตโอริคอน จนถึงอัลบั้ม โทคิโนะสึบาสะ (ญี่ปุ่น: 時間(とき)の翼โรมาจิToki No Tsubasaทับศัพท์: Wings of Time; ปีกแห่งเวลา) ก่อนที่จะมาร่วงในอัลบั้มที่ 10 โทมัตเตอิตา โทเคอิกาอิมาอุโกคิดาชิตา (ญี่ปุ่น: 止まっていた時計が今動き出したโรมาจิTomatteita Tokei ga Ima Ugokidashita) ซึ่งทำอันดับได้สูงสุดอันดับ 2

ซาร์ดเป็นนักแต่งคำร้องที่มีความสามารถสูง เธอเขียนเพลงรวม 150 เพลงตลอดเวลา 17 ปีที่อยู่ในวงการ ทั้งของตัวเองและของคนอื่น ยกเว้นเพลง อนนะเดะอิตะอิ (ญี่ปุ่น: 女でいたいโรมาจิOnna de Itai) และ โคอิอนนะโนะยูยุทสุ (ญี่ปุ่น: 恋女の憂鬱โรมาจิKoionna no Yūutsu) ของซาร์ดในอัลบั้มแรก กูด-บายมายโลนลีเนส (Good-bye My Loneliness) ซึ่งแต่งโดยดาริยะ คะวะชิมะ โดยเพลงที่เธอแต่งนั้นนอกจากจะทำเป็นซิงเกิลและอัลบั้มแล้ว ยังมีหนังสือจำนวนหนึ่งที่ออกมาเกี่ยวกับเพลงที่เธอแต่งด้วยเช่นกัน ในบทบรรณาธิการของ หนังสืออาซาฮีชิมบุนกล่าวว่า ความลับที่ทำให้ซาร์ดประสบความสำเร็จอันเนื่องมาจากกระแสที่รายการเพลงทาง โทรทัศน์เริ่มน้อยลงเรื่อย ๆ ซาร์ดกลับใช้ช่วงโฆษณาในช่วงดึกเพื่อโปรโมตผลงานแทน

นอกจากซาร์ดจะแต่งเพลงสำหรับตัวเองแล้ว ซาร์ดยังแต่งเพลงสำหรับนักร้องเจป็อปอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน เช่น ฟิลออฟวิว วานด์ส ดีน รวมไปถึง เติ้ง ลี่จวิน นักร้องไต้หวันอีกด้วย ตัวอย่างของเพลงที่เธอแต่งและร้องร่วมกับนักร้องคนอื่น เช่น ซิงเกิล ฮาเตชินาอิยูเมะโวะ (ญี่ปุ่น: 果てしない夢をโรมาจิHateshinai Yume o) ที่ซาร์ดร้องร่วมกับกลุ่มเจป็อปอื่น ๆ อาทิ วานด์ส ซิก เรฟ รวมไปถึงอดีตนักเบสบอลใน ตำนานของญี่ปุ่น ชิเกะโอะ นากาชิมะ เพลงที่ซาร์ดแต่งมักถูกนำไปใช้ประกอบการ์ตูนและรายการอื่น ๆ อยู่บ่อยครั้ง ไม่ว่าจะเป็นเพลงที่ซาร์ดร้องเองหรือไม่ก็ตาม เช่น ดราก้อนบอล GT ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน ยอดกุ๊กแดนมังกร และสแลมดังก์ รวมถึงวิดีโอเกม โทคิเมคิเมโมเรียล 3 ตัวอย่างของเพลงในกลุ่มนี้คือเพลง ดังดัง โคะโคะโระฮิกะเระเตะกุ (ญี่ปุ่น: DAN DAN 心魅かれてくโรมาจิDan Dan Kokoro Hikareteku) ซึ่งใช้ในอนิเมะเรื่องดราก้อนบอล GT ร้องโดยฟิลออฟวิว เป็นเพลงที่อิซุมิเป็นผู้แต่งคำร้องให้ ซึ่งซาร์ดนำมาร้องเป็นเวอร์ชันของตัวเองในอัลบั้ม ทูเดย์อีสอนาเธอร์เดย์ (Today Is Another Day)

ซาร์ดเป็นที่รู้จักเพราะความที่เป็นนักร้องที่ลึกลับคนหนึ่ง เนื่องจากต้นสังกัดของเธอไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดที่เกี่ยวกับเธอมากนัก และการที่เธอไม่ปรากฏตัวทางโทรทัศน์หรือปรากฏตัวต่อสาธารณชนมากนัก ตั้งแต่ พ.ศ. 2536 อาทิ การปรากฏตัวผ่านทางรายการเพลง ซึ่งเป็นวิธีทำตลาดในวงการเพลงญี่ปุ่น เช่น รายการมิวสิกสเตชันของทีวีอาซาฮี แต่ซาร์ดปรากฏตัวต่อสาธารณชนในรูปของการออกแสดงคอนเสิร์ตรวมทั้งสิ้น 2 ครั้งแทน ครั้งแรกจัดขึ้นบนเรือสำราญแปซิฟิกวีนัสในวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2542 โดยมีการคัดเลือกผู้เข้าชมเพียง 600 คนจากผู้สมัครกว่า 2 ล้านคน ดีวีดีของการแสดงครั้งนี้วางจำหน่ายจำนวนจำกัดเพียง 300,000 ชุดในวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2543 และคอนเสิร์ตเต็มรูปแบบ ว็อทอะบิวตีฟูลโมเมนต์ (What a Beautiful Moment) ในช่วงเดือนมีนาคมถึง กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ซึ่งเมื่อมีคอนเสิร์ตนี้ขึ้น ซิงเกิลของเพลงที่เธอใช้ในคอนเสิร์ตก็ขายหมดเกลี้ยงเกือบทุกซิงเกิล

แม้ว่าแท้จริงแล้วซาร์ดเป็นวงดนตรี ซาร์ดมักถูกนับว่าเป็นนักร้องหญิงเดี่ยวมากกว่า ซึ่งเธอเคยเป็นประสบความสำเร็จมากวงหนึ่งของญี่ปุ่น ในช่วงปี พ.ศ. 2534-พ.ศ 2544 ซาร์ดมียอดขายสูงที่สุดในกลุ่มนักร้องหญิง และเป็นอันดับ 3 จากอันดับทั้งหมดรองลงมาจาก บีซ และ มิสเตอร์ชิลเดรน โดยซาร์ดมี 11 ซิงเกิลที่ติดอันดับ 1 ในอันดับซิงเกิลโอริกอน (Oricon Singles Charts) 42 ซิงเกิลที่ติด 1 ใน 10 อันดับแรก และ 9 อัลบั้มที่ติดอันดับหนึ่ง จากอัลบั้มทั้งหมด 17 อัลบั้ม (11 อัลบั้ม 5 อัลบั้มเพลงฮิต และ 1 อัลบั้มไลฟ์) และซิงเกิล 45 ซิงเกิล

การเสียชีวิตของอิซุมิ ซะกะอิ

[แก้]

เมื่อเวลาประมาณ 5.40 น. ตามเวลาท้องถิ่นของวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 อิซุมิประสบอุบัติเหตุตกจากทางลาดความสูง 3 เมตร ระหว่างที่กำลังเดินบนทางลาดเพื่อกลับไปยังห้องผู้ป่วย หลังจากเข้ารับการรักษาเกี่ยวกับมะเร็งปากมดลูกตั้งแต่ พ.ศ. 2549 เธอถูกนำส่งห้องฉุกเฉินเพื่อช่วยชีวิต แต่ก็สายเกินไปและในวันที่ 27 พฤษภาคม ได้มีการยืนยันว่าอิซุมิเสียชีวิตแล้ว โดยโฆษกของทางต้นสังกัดกล่าวว่า

เราหวังว่าอิซุมิ ซะกะอิ และเพลงของเธอ จะยังคงอยู่ในความทรงจำของแฟนเพลงตลอดไป

ก่อนที่เธอจะเสียชีวิตนั้น เธอได้วางแผนจะออกอัลบั้มที่ 12 และจัดทัวร์คอนเสิร์ตอีกครั้งเพื่อแสดงให้แฟน ๆ เห็นถึงการยืนหยัดต่อสู้โรคร้ายของเธอ ด้วยเหตุผลนี้ทำให้ทางต้นสังกัดเชื่อว่าเธอไม่น่าจะฆ่าตัวตายแม้ว่าจะมีร่อง รอยที่สามารถบอกได้ว่าเธออาจทำเช่นนั้นก็ตาม

พิธีศพของซาร์ดสำหรับแฟนเพลงถูกจัดขึ้นเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2550 หนึ่งเดือนหลังจากเธอเสียชีวิต ที่ย่านอาโอยาม่า เขตมินะโตะ กรุงโตเกียว โดยก่อนหน้านั้นหนึ่งวันมีการจัดพิธีไว้อาลับที่จัดสำหรับบุคคลในวงการ อาทิเช่น เท็ตสึโระ โอดะและมากิ โอกุโระ ซึ่งในวันเดียวกัน ทัค มะสึโมโตะ และ โคชิ อินาบะ แห่งวงบีซ ไม คุรากิและชิเกโอะ นากาชิมะ ได้ร่วมกล่าวไว้อาลับให้กับซาร์ดด้วย นอกจากนี้ยังมีการออกอัลบั้มรวมเพลง 2 อัลบั้ม แบ่งเป็นเพลงที่อิซุมิชอบ 1 อัลบั้มและของสตาฟผู้ผลิตเพลงของเธออีก 1 อัลบั้มเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม รวมถึงยังมีการเปิดให้แฟนเพลงร่วมโหวดเพลงที่จะนำไปรวมเป็นอัลบั้มตามคำขอ ของแฟนเพลงอีกด้วย รวมถึงในปีนั้นยังมีการจัดคอนเสิร์ตที่ชื่อ "ว็อทอะบิวตีฟูลเมโมรี" (What a Beautiful Memory) เมื่อวันที่ 6, 7 กันยายน ที่โอซากะเฟสติวัลฮอลล์ และวันที่ 14 กันยายน ที่ สนามกีฬาต่อสู้ญี่ปุ่น โดยเหตุที่เลือกสองสถานที่นี้มาจากการที่ซาร์ดเคยจัดคอนเสิร์ตว็อทอะบิวตีฟูลโมเมนต์ เมื่อ พ.ศ. 2547 โดยเลือกสถานที่ทั้งสองเป็นสถานที่แรกและสถานที่สุดท้ายตามลำดับ สำหรับคอนเสิร์ตในวันที่ 14 นั้นมีผู้เข้าชมกว่า 13,000 คน มีการฉายภาพที่ไม่เคยออกอากาศทางพีวีมาก่อน แต่ไฮไลต์สำคัญคือเพลง กลอเรียสมานด์ (ญี่ปุ่น: グロリアス マインドทับศัพท์: Glorious Mind) ที่ถูกนำมาเล่นในงาน ซึ่งเป็นเพลงที่เธอแต่งก่อนที่จะเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลด้วยอาการมะเร็งปากมดลูกเมื่อ พ.ศ. 2549 เพลงนี้แท้จริงแล้วเป็นเพลงที่ยังไม่สมบูรณ์เนื่องจากอิซุมิบันทึกเสียงไว้เฉพาะท่อนคอรัส แต่ท่อนอื่นไม่ได้บันทึกเสียงไว้ เพลงท่อนอื่นที่เป็นภาษาอังกฤษจึงเกิดจากการนำเพลงที่ไม่เกี่ยวข้องกัน ที่ไม่ได้ออกวางขายของซาร์ดมาใส่แทน โดยเพลงนี้ถูกใช้เป็นเพลงเปิดของอนิเมะยอดนักสืบจิ๋วโคนัน

ผลงานเพลง

[แก้]

ซิงเกิล

[แก้]
ปี ชื่อซิงเกิล ชาร์ตซิงเกิลของโอริคอน ชาร์ตบิลบอร์ดเจแปน อยู่ในสตูดิโออัลบั้ม ออกจำหน่ายวันแรก
ตำแหน่งสูงสุด ยอดขาย ฮอต 100 ฮอตแอร์เพลย ฮอตซิงเกิล
ประจำวัน ประจำสัปดาห์ ประจำปี เปิดตัว ทั้งหมด
2534 กูด-บายมายโลนลีเนส (Good-Bye My Loneliness) - 9 69 8,920 209,460 กูด-บายมายโลนลีเนส 10 กุมภาพันธ์ 2534
ฟุชิงิ เนะ... (ญี่ปุ่น: 不思議ね...โรมาจิFushigi ne...) - 30 - 9,720 31,090 โมซะงะซะไน 25 มิถุนายน 2534
โมซะงะซะไน (ญี่ปุ่น: もう探さないโรมาจิMō Sagasanai) 39 - - 36,940 6 พฤศจิกายน 2534
2535 เนมุเระนาอิ โยรุ โวะ ไดเทะ (ญี่ปุ่น: 眠れない夜を抱いてโรมาจิNemurenai Yoru wo Daite) 8 43 27,250 458,480 โฮลด์มี 5 สิงหาคม 2535
อิน มาย อาร์ม ทูไนท์ (IN MY ARMS TONIGHT) 9 65 38,440 321,810 ยุเระรุโอะโมะอิ 9 กันยายน 2535
2536 มะเกะนาอิเดะ (ญี่ปุ่น: 負けないでโรมาจิMakenaideทับศัพท์: อย่ายอมแพ้) 1 1 6 192,830 1,645,010 27 มกราคม 2536
คิมิ กะ อินาอิ (ญี่ปุ่น: 君がいないโรมาจิKimi ga Inai) 2 30 172,850 801,690 21 เมษายน 2536
ยุเระรุโอะโมะอิ (ญี่ปุ่น: 揺れる想いโรมาจิYureru Omoi) 1 1 9 247,520 1,396,420 19 พฤษภาคม 2536
ฮาเตชิไน ยูเมโวะ (ญี่ปุ่น: 果てしない夢をโรมาจิHateshinai Yumewo) - 2 39 156,270 726,310 9 มิถุนายน 2536
โมว สุโคะชิ อาโตะ สุโคะชิ (ญี่ปุ่น: もう少し あと少し…โรมาจิMō Sukoshi Ato Sukoshi …) 2 22 249,590 843,880 โอมายเลิฟ 4 กันยายน 2536
คิตโตะ วะชุเรนาอิ (ญี่ปุ่น: きっと忘れないโรมาจิKitto Wasurenaiทับศัพท์: จะไม่ลืมเธอแน่นอน) 1 1 53 291,420 872,130 3 พฤศจิกายน 2536
2537 โคโนะ อาอิ นิ โอโยะกิสึคาเระเทโมะ/บอย] (ญี่ปุ่น: この愛に泳ぎ疲れても/BoyโรมาจิKono Ai ni Oyogitsukaretemo/Boy) 1 1 24 293,810 887,190 2 กุมภาพันธ์ 2537
โคอึนนา นิ โชบะ นิ อิรุโนนิ (ญี่ปุ่น: こんなにそばに居るのにโรมาจิKonna ni Soba ni Irunoni) 1 1 27 318,230 787,660 ฟอร์เอเวอร์ยู 8 สิงหาคม 2537
อะนะตะ โวะ คานจิเทย์ไท (ญี่ปุ่น: あなたを感じていたいโรมาจิAnata wo Kanjiteitai) - 2 44 303,610 737,910 24 ธันวาคม 2537
2538 จัสบีลีฟ อิน เลิฟ (Just believe in love) - 2 51 290,850 655,960 1 กุมภาพันธ์ 2538
ไอ กะ มิเอะไน (ญี่ปุ่น: 愛が見えないโรมาจิAi ga Mienai) - 2 48 332,960 720,790 ทูเดย์อีสอนาเธอร์เดย์ 5 มิถุนายน 2538
ซาโยนาระ ฮะ อิมะ โมะ โคโนะ มูเนะ นิ อิมะสุ (ญี่ปุ่น: サヨナラは今もこの胸に居ますโรมาจิSayonara ha Ima mo Kono Mune ni Imasu) 1 1 61 308,910 551,260 28 สิงหาคม 2538
2539 มาย เฟรนด์ (ญี่ปุ่น: マイ フレンドโรมาจิMai Furendo (MY FRIEND)) 1 1 19 363,240 1,000,620 8 มกราคม 2539
โคโกโระ โวะ ฮิราอิเทะ (ญี่ปุ่น: 心を開いてโรมาจิKokoro wo Hiraite) (1996) 1 1 32 338,650 746,990 6 พฤษภาคม 2539
2540 ดอนท์ ยู ซี (Don't you See) 1 1 46 231,570 602,760 ซาร์ดเบลนด์ ~ซันแอนด์สโตน~ 6 มกราคม 2540
คิมิ นิ ไอตะคุนัทตะระ (ญี่ปุ่น: 君に逢いたくなったら…โรมาจิKimi ni Aitakunattara…) - 2 40 300,950 635,840 26 กุมภาพันธ์ 2540
คาเซะ กะ โตะรินุเครุ มาชิ เฮะ (ญี่ปุ่น: 風が通り抜ける街へโรมาจิKaze ga Torinukeru Machi he) - 3 - 138,370 281,130 เอเอ็น 2 กรกฎาคม 2540
เอเอ็น (ญี่ปุ่น: 永遠โรมาจิEien) 1 1 42 197,610 628,770 20 สิงหาคม 2540
มาย เบบี้ แกรนด์ ~นุคุโมริ กะ โฮชิคุเตะ (ญี่ปุ่น: My Baby Grand~ぬくもりが欲しくて~โรมาจิMy Baby Grand ~Nukumori ga Hoshikute~) - 3 71 144,950 331,840 3 ธันวาคม 2540
2541 อิคิ โมะ เดคิไน (ญี่ปุ่น: 息もできないโรมาจิIki mo Dekinai) - 3 100 101,050 240,740 4 มีนาคม 2541
อึนเมะอิโนะ รูเรท มะวะชิเตะ (ญี่ปุ่น: 運命のルーレット廻してโรมาจิUnmei no Ruretto Mawashite) 1 1 96 122,000 247,560 17 กันยายน 2541
อะตะราชิ ดอร์~ฟุยุ โนะ ฮิมะวาริ~ (ญี่ปุ่น: 新しいドア~冬のひまわり~โรมาจิAtarashi Doa ~Fuyu no Himawari~) - 3 112,980 205,170 2 ธันวาคม 2541
กูด เดย์ (GOOD DAY) - 2 114,120 223,950 2 ธันวาคม 2541
2542 มายด์ เกม (Mind Game) 1 1 - 75,670 147,130 - - ZARD BEST 〜Request Memorial〜 7 เมษายน 2542
เซกาอิ ฮะ คิตโตะ มิราอิ โนะ นะกะ (ญี่ปุ่น: 世界はきっと未来の中โรมาจิSekai ha Kitto Mirai no Naka) (1999) - 2 - 121,330 201,410 - - โทคิโนะสึบาสะ 16 มิถุนายน 2542
อิตาอิ คุราอิ คิมิ กะ อะฟุเระไตรุโยะ (ญี่ปุ่น: 痛いくらい君があふれているよโรมาจิItaikurai Kimi ga Afureteiruyo) - 5 - 68,120 124,730 - - - 14 ตุลาคม 2542
โคโนะ นามิดะ โฮชิ นิ นาเระ (ญี่ปุ่น: この涙 星になれโรมาจิKono Namida Hoshi ni Nare) - 5 - 81,420 129,000 - - - 1 ธันวาคม 2542
2543 เกท ยัว ดรีม (Get U're Dream - 4 - 122,620 241,220 - - 6 กันยายน 2543
โพรมิส ยู (promised you) - 6 80,620 115,360 - 15 พฤศจิกายน 2543
2545 ซะวะยาคะนะ คิมิ โนะ คิโมะชิ (ญี่ปุ่น: さわやかな君の気持ちโรมาจิSawayakana Kimi no Kimochi) - 4 43,360 69,740 โทมัตเตอิตา โทเคอิกาอิมาอุโกคิดาชิตา 22 พฤษภาคม 2545
2546 อะชิตะ โวะ ยูเมะมิเตะ (ญี่ปุ่น: 明日を夢見てโรมาจิAshita wo Yumemiteทับศัพท์: ฝันถึงพรุ่งนี้) - 4 36,019 62,049 - - - 9 เมษายน 2546
ฮิโตมิ โตจิเตะ (ญี่ปุ่น: 瞳閉じてโรมาจิHitomi Tojite) - 4 - 29,102 44,208 - - - 9 กรกฎาคม 2546
อิโฮจิน (ญี่ปุ่น: 異邦人โรมาจิIhoujin) - 3 58 67,531 155,263 เดอะฮิตพาเรด (อัลบั้มโซโลของทัค มัตสึโมโตะ (B'z)) 27 สิงหาคม 2546
โมโตะ ชิคาคุเดะ คิมิ โนะ โยโกะกาโอ มิเทย์ไท (ญี่ปุ่น: もっと近くで君の横顔見ていたいโรมาจิMotto Chikakude Kimi no Yokogao Miteitai) - 4 - 32,278 50,489 - - - โทมัตเตอิตา โทเคอิกาอิมาอุโกคิดาชิตา 12 พฤศจิกายน 2546
2547 คาเคะกะเอะ โนะ นาอิโมโน (ญี่ปุ่น: かけがえのないものโรมาจิKakegae no Naimono) - 4 - 27,836 46,244 - - - คิมิโตะโนะดิสแทนซ์ 23 มิถุนายน 2547
เคียว วะ ยูคุริ ฮานะโซ (ญี่ปุ่น: 今日はゆっくり話そうโรมาจิKyō wa yukkuri hanasō) - 5 - 21,435 33,384 - - - 24 พฤศจิกายน 2547
2548 โฮชิ โนะ คากะยะคิ โยะ/นัทสึ โวะ มัสสึ เซย์รุ โนะ โยวนิ (ญี่ปุ่น: 星のかがやきよ/夏を待つセイル (帆)のようにโรมาจิHoshi no Kagayaki yo/ Natsu wo matsu SEIRU no You ni) 1 2 - 32,788 79,816 - - - 20 เมษายน 2548
2549 คานะชี โฮโดะ อะนะตะ กะ สุคิ/คารัตโตะ อิโค (ญี่ปุ่น: 悲しいほど貴方が好き/カラッといこう!โรมาจิKanashii Hodō Anata ga Suki/ Karatto Ikō!) 1 2 - 19,905 33,957 - - - ซาร์ด ซิงเกิล คอลแลคชั่น~20th แอนนิเวอร์เซอร์รี่~ 8 มีนาคม 2549
ฮาร์ท นิ ฮิ โวะ สึเกะเตะ (ญี่ปุ่น: ハートに火をつけてโรมาจิHeart ni Hi wo Tsukete) - 10 - 17,112 26,944 - - - 10 พฤษภาคม 2549
2550 กลอเรียส มายด์ (ญี่ปุ่น: グロリアスマインドโรมาจิGlorious Mind) 2 2 89 50,196 84,027 - - - 12 ธันวาคม 2550
2551 สึบาสะโวะฮิโระเงะเตะ/ไอวะคุระยะมิโนะนะกะเดะ (ญี่ปุ่น: 翼を広げて/愛は暗闇の中でโรมาจิTsubasa Wo Hirogete/Ai wa Kurayami no Naka de) - 3 90 50,112 83,694 - - - 9 เมษายน 2551
2552 สึนาโอ นิ อิเอะนะคุเตะ (ญี่ปุ่น: 素直に言えなくてโรมาจิSunao ni Ienakute) 4 5 127 36,178 49,655 - - - 27 พฤษภาคม 2552
เพลงอันดับหนึ่ง 14 12
เพลงใน 10 อันดับแรก 43 43 2
เพลงใน 20 อันดับแรก 43 43 3

อัลบั้ม

[แก้]
ลำดับ ชื่ออัลบั้ม ประเภท ซิงเกิลในอัลบั้ม Label No. วันที่วางจำหน่าย Peak Position ยอดขาย
1 กูด-บายมายโลนลีเนส
(Good-bye My Loneliness)
สตูดิโอ 1 BGCH-1003 27 มีนาคม พ.ศ. 2534 34 253,740
2 โมซะงะซะไน
(ญี่ปุ่น: もう探さないโรมาจิMō Sagasanai, もう探さない)
สตูดิโอ 2-3 BGCH-1004 25 ธันวาคม พ.ศ. 2534 36 333,080
3 โฮลด์มี (HOLD ME) สตูดิโอ  3 (C/W), 4 BGCH-1005 2 กันยายน พ.ศ. 2535 2 1,065,190
4 ยุเระรุโอะโมะอิ
(ญี่ปุ่น: 揺れる想いโรมาจิYureru Omoi)
สตูดิโอ 5-8 BGCH-1001 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 1 2,238,600
5 โอมายเลิฟ (OH MY LOVE) สตูดิโอ 9-11 BGCH-1014 4 มิถุนายน พ.ศ. 2537 1 2,002,070
6 ฟอร์เอเวอร์ยู (forever you) สตูดิโอ 12-14 JBCJ-1001 10 มีนาคม พ.ศ. 2538 1 1,773,930
7 ทูเดย์อีสอนาเธอร์เดย์ (TODAY IS ANOTHER DAY) สตูดิโอ 15-18 JBCJ-1009 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2539 1 1,655,430
8 ซาร์ดเบลนด์ ~ซันแอนด์สโตน~ (ZARD BLEND~SUN & STONE~) ซีเล็กชัน (รวมเพลง) - JBCJ-1013 23 เมษายน พ.ศ. 2540 1 2,002,670
9 เอเอ็น (ญี่ปุ่น: 永遠โรมาจิEien) สตูดิโอ 21-27 JBCJ-1021 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 1 1,149,931
10 ซาร์ดเบสต์เดอะซิงเกิลคอลเลคชั่น ~คิเซคิ~ (ZARD BEST The Single Collection ~軌跡~ (~Kiseki~)) อัลบั้มเพลงฮิต - JBCJ-1023 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 1 3,007,990 (ลำดับ 19 ตลอดกาลของญี่ปุ่น)
11 ซาร์ดเบสต์ ~รีเควสต์เมโมเรียล (ZARD BEST~Request Memorial~) อัลบั้มรวมเพลง - JBCJ-1024 15 กันยายน พ.ศ. 2542 1 1,486,190
12 ซาร์ดครูซซิงแอนด์ไลฟ์ ~เก็นเตอิบันไลฟ์ซีดี~ (ZARD Cruising & Live 〜限定盤ライヴCD〜 (~Genteiban Live CD~) ไลฟ์อัลบั้ม - JBCJ-1026 26 มกราคม พ.ศ. 2543 2 305,550
13 โทคิโนะสึบาสะ (ญี่ปุ่น: 時間の翼โรมาจิToki no Tsubasa) สตูดิโอ 29-33 JBCJ-1033 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 1 371,350
14 ซาร์ดเบลนด์ II ~ลีฟแอนด์สโนว์~ (ZARD BLEND II~LEAF & SNOW~) ซีเล็กชัน (รวมเพลง) -  JBCJ-9002 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 4 226,830
15 โทมัตเตอิตา โทเคอิกาอิมาอุโกคิดาชิตา (ญี่ปุ่น: 止まっていた時計が今動き出したโรมาจิTomatteita Tokei ga Ima Ugokidashita) สตูดิโอ 34-37 JBCJ-9008 28 มกราคม พ.ศ. 2547 2 212,494
16 คิมิโตะโนะดิสแทนซ์ (ญี่ปุ่น: 君とのDistanceโรมาจิKimi To No Distance) สตูดิโอ 38-40 JBCJ-9012 7 กันยายน พ.ศ. 2548 3 151,840
17 โกลเด้นเบสต์ ~ฟิฟทีนแอนิเวอซารี~ (Golden Best ~15th Anniversary~) อัลบั้มรวมเพลง - JBCJ-9013 ถึง JBCJ-9020 25 ตุลาคม พ.ศ. 2549 1 942,220
18 ซอฟฟิโอดิเวนโต ~เบสต์ออฟอิซุมิ ซะกะอิ ซีเล็กชัน~ (Soffio di vento 〜Best of IZUMI SAKAI Selection〜) ซีเล็กชัน (รวมเพลง) - JBCJ-9023 15 สิงหาคม พ.ศ. 2550 2 129,793
19 เบรซซาดิมาร์ ~เดดิเคเตททูอิซุมิ ซะกะอิ~ (Brezza di mare 〜dedicated to IZUMI SAKAI〜) ซีเล็กชัน (รวมเพลง) - JBCJ-9024 15 สิงหาคม พ.ศ. 2550 3 134,826
20 ซาร์ดรีเควสต์เบสต์ ~บิวตีฟูลเมโมรี~ (ZARD Request Best ~Beautiful Memory~) อัลบั้มรวมเพลง - JBCJ-9027 / JBCJ-9028 23 มกราคม พ.ศ. 2551 1 229,014

ดีวีดี

[แก้]

ดีวีดีของซาร์ดออกในนามของค่ายบีวิชั่น ซึ่งเป็นค่ายในสังกัดบีอิ้งเช่นเดียวกับบี-แกรมเรคคอร์ด

ลำดับ ชื่อ Label No. วันที่วางจำหน่าย Peak position ยอดขาย
1 ว็อทอะบิวตีฟูลโมเมนต์ (What a beautiful moment) ONBD-7040~7041 8 มิถุนายน พ.ศ. 2548 1 103,040
2 ซาร์ดเลอพอร์ตฟอลิโอ 1991-2006 (ZARD Le Portfolio 1991-2006) ONBD-7068 25 ตุลาคม พ.ศ. 2549 1 97,050

ซาวด์แทร็ก

[แก้]

เพลงของซาร์ดมักถูกนำไปประกอบในรายการทีวีและโทรทัศน์ต่าง ๆ ในประเทศญี่ปุ่น อยู่บ่อยครั้ง ต่อไปนี้คือรายการซาวด์แทร็กที่นำเพลงของซาร์ดไปรวมอยู่ในอัลบั้มรวมเพลงของรายการนั้น ๆ ด้วย

ลำดับ ชื่อซาวน์แทร็ก รายการที่ใช้ประกอบ Label No. วันที่ออกวางจำหน่าย เพลงของซาร์ด (ลำดับซิงเกิล)
1 คาโนะโจโนะคิราอินะคาโนะโจ ออริจินัลซาวด์แทร็ก
(ญี่ปุ่น: 彼女の嫌いな彼女 オリジナル・サウンドトラックโรมาจิKanojo no kiraina kanojo Original Soundtrack)
คาโนะโจโนะคิราอินะคาโนะโจ
(ญี่ปุ่น: 彼女の嫌いな彼女โรมาจิKanojo no kiraina kanojo)
BGCH-1002 30 มิถุนายน พ.ศ. 2536 คิมิงะอิไน (เวอร์ชันทีวี) (ซิงเกิลที่ 7)
2 อะอิโทกิวาคุโนะซัสเพนซ์ เอนดิ้งธีมเคียวคุชู
(ญี่ปุ่น: 愛と疑惑のサスペンス エンディングテーマ曲集โรมาจิAi to giwaku no Suspense Ending Theme Kyokushuu)
อะอิโทกิวาคุโนะซัสเพนซ์
(ญี่ปุ่น: 愛と疑惑のサスペンス集โรมาจิAi to giwaku no Suspense)
BGCH-1013 26 มีนาคม พ.ศ. 2537 โคะโนะอะอินิโอะโยะงิสึกะเระเตะโมะ (ซิงเกิลที่ 11)
3 ทีวีแอนิเมชันสแลมดังก์ธีมซอง (TV Animation Slam Dunk Theme Song) อนิเมะเรื่องสแลมดังก์ JBCJ-1008 20 มีนาคม พ.ศ. 2539 มายเฟรนด์ (ซิงเกิลที่ 16)
4 ชิทสึระคุเอ็น ~แพระไดส์ลอสต์~ ออริจินัลซาวด์แทร็ก
(失楽園 (Shitsurakuen) ~Paradise Lost~ Original Soundtrack)
ละครทีวีเรื่องชิทสึระคุเอ็น (ญี่ปุ่น: 失楽園โรมาจิShitsurakuen) - 10 กันยายน พ.ศ. 2540 เอเอ็น (เวอร์ชันเปียโนและโซปราโนแซกโซโฟน (ซิงเกิลที่ 22))
5 ชูกะอิชิบัน สเปเชียลทีวีออนแอร์มิกซ์แอนด์ออริจินัลซาวด์แทร็ก
(中華一番! (Chūka Ichiban!) Special TV On Air Mix & Original Soundtrack)
อนิเมะเรื่องยอดกุ๊กแดนมังกร ZACL-1047 5 สิงหาคม พ.ศ. 2541 อิกิโมะเดะกิไน (ทีวีมิกซ์) (ซิงเกิลที่ 24)
6 เดอะเบสต์ออฟดีเทคทีฟโคนัน
(THE BEST OF DETECTIVE CONAN)
อนิเมะเรื่องยอดนักสืบจิ๋วโคนัน ZACL-1055 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 อุนเมโนะรูเล็ตมะวะชิเตะ (หน้า A) และโชวโจโนะโคโระนิโมดัตตามิทาอินิ (หน้า B) (ซิงเกิลที่ 25)
7 โทคิเมคิเมโมเรียล 3 ซาวด์เบลนด์~ฟีเจอร์ริงซาร์ด~
(ときめきメモリアル3 (Tokimeki Memorial 3) SOUND BLEND ~featuring ZARD~)
เกม โทคิเมคิเมโมเรียล 3 ของโคนามิ JBCJ-9003 30 มกราคม พ.ศ. 2545 ดาคิชิเมเตะอิเตะ และเซเวนเรนโบว์ (เพลงในซิงเกิลที่ 34 "ซะวะยะกะนะคิมิโนะคิโมะจิ")
8 เดอะเบสต์ออฟทีวีแอนิเมชันสแลมดังก์ ~ซิงเกิลคอลเลคชั่น (THE BEST OF TV ANIMATION SLAM DUNK~Single Collection~) อนิเมะเรื่องสแลมดังก์ JBCJ-9004 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 มายเฟรนด์ (ซิงเกิลที่ 16)
9 เดอะเบสต์ออฟดีเทคทีฟโคนัน 2
(THE BEST OF DETECTIVE CONAN 2)
อนิเมะเรื่องยอดนักสืบจิ๋วโคนัน JBCJ-9005 (ปกติ) / JBCJ-9007 (Limited) 10 ธันวาคม พ.ศ. 2546 อะชิตะโวะยุเมะมิเตะ (ซิงเกิลที่ 35)
10 อิทสทีวีโชว์ (It's TV SHOW!!) ละครเรื่อง เรโกะ ฉันนั้นหรือสวย เฉียบ เนี้ยบ JBCJ-9009 / JBCJ-9010 27 ตุลาคม พ.ศ. 2547 มะเกะไนเดะ (ซิงเกิลที่ 6)
11 สปอร์ต! เมโมเรียล - สวีทแอนเทียร์ส (すぽると! (Sport!) Memorial - Sweet & Tears) รายการกีฬา "สปอร์ต!" ของฟูจิทีวี GZCA-5053 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 ฮิโตะมิโตะจิเตะ (ซิงเกิลที่ 36)
12 เดอะเบสต์ออฟดีเทคทีฟโคนัน ~เดอะมูฟวี่ธีมคอลเลคชั่น
(THE BEST OF DETECTIVE CONAN ~The Movie Themes Collection~)
ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน เดอะมูฟวี่ JBCJ-9021 13 ธันวาคม พ.ศ. 2549 โชวโจโนะโคโระนิโมดัตตามิทาอินิ (หน้า B ของ ซิงเกิลที่ 25 "อุนเมโนะรูเล็ตมะวะชิเตะ") และนัตซึโวะมัตซึเซรุโนะโยนิ (ซิงเกิลที่ 40)
13 เดอะเบสต์ออฟดีเทคทีฟโคนัน 3
(THE BEST OF DETECTIVE CONAN 3)
อนิเมะเรื่องยอดนักสืบจิ๋วโคนัน JBCJ-9030 / JBCJ-9031 6 สิงหาคม พ.ศ. 2551 สึบาสะโวฮิโรเงะเตะ และ อะอิวะคุรายามิโนนาคาเดะ (# 44), โฮะชิโนะคะงะยะกิโยะ และ นัตซึโวะมัตซึเซรุโนะโยนิ (ซิงเกิลที่ 40), กลอเรียส มานด์ (# 43), คะนะชีโฮะโดอะนะตะงะซุกิ (# 41)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]