ข้ามไปเนื้อหา

มาอิ คูรากิ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ไม คุรากิ)
มาอิ คูรากิ
倉木 麻衣
เกิดญี่ปุ่น: 青野 真衣โรมาจิMai Aono; มาอิ อาโอโนะ
(1982-10-28) ตุลาคม 28, 1982 (42 ปี)
ฟูนาบาชิ ประเทศญี่ปุ่น
ชื่ออื่นมาอิ เค
ศิษย์เก่าRitsumeikan University
อาชีพ
  • นักร้อง-นักแต่งเพลง
  • โปรดิวเซอร์เพลง
อาชีพทางดนตรี
แนวเพลง
เครื่องดนตรี
  • นักร้อง
  • เปียโน
  • อูคูเลเล
ช่วงปี1999–ปัจจุบัน
ค่ายเพลง
เว็บไซต์mai-kuraki.com

มาอิ คูรากิ (ญี่ปุ่น: 倉木 麻衣โรมาจิKuraki Mai) หรือชื่อจริง มาอิ อาโอโนะ (ญี่ปุ่น: 青野真衣โรมาจิAono Maiทับศัพท์: อาโอโนะ มาอิ; เกิด 28 ตุลาคม พ.ศ. 2525) เป็นนักร้อง นักแต่งเพลงแนวป็อป อาร์แอนด์บีร่วมสมัย และโปรดิวเซอร์ ชาวญี่ปุ่น จากเมืองฟูนาบาชิ จังหวัดชิบะ มาอิเปิดตัวครั้งแรกใน พ.ศ. 2542 ด้วยซิงเกิล "เลิฟเดย์แอฟเทอร์ทูมอร์โรว์" (Love, Day After Tomorrow) ในปีต่อมาเธอออกอัลบั้ม ดิลิเชิสเวย์ (Delicious Way) ที่เปิดตัวเป็นอันดับหนึ่งบนชาร์ตโอริคอนและทำยอดขายได้มากถึง 2,210,000 ชุดในสัปดาห์แรกที่ออกวางจำหน่าย และอัลบั้มต่อ มาของเธอก็ทำผลงานได้ดีเช่นเดียวกัน ทำให้เธอเป็นหนึ่งในนักร้องหญิงคนหนึ่งที่มีอัลบั้ม 4 อัลบั้มแรกติดชาร์ตโอริคอนเป็นอันดับหนึ่ง[1]อีกทั้งเธอยังเป็นนักร้องหญิงที่มียอดขายของซิงเกิลสัปดาห์แรกติด 10 อันดับแรกตั้งแต่เดบิว มากที่สุด

หลังจากความนิยมของเธอลดลงอยู่ช่วงหนึ่ง ในปี พ.ศ. 2552 ความนิยมของเธอจึงเริ่มกลับมาอีกครั้ง โดยอัลบั้ม ทัชมี! (Touch Me!) ได้ขึ้นถึงอันดับหนึ่งในชาร์ตโอริคอน ทำให้อัลบั้มนี้เป็นอัลบั้มอันดับหนึ่งครั้งแรกในรอบ 5 ปีตั้งแต่ พ.ศ. 2547 นอกจากนี้ เธอยังทำสถิติเป็นนักร้องหญิงคนเดียวที่มีซิงเกิลอยู่ใน 10 อันดับแรกของชาร์ตตั้งแต่ออกซิงเกิลแรก[2] โดยในปัจจุบันนี้มาอิมีสตูดิโออัลบั้ม 10 อัลบั้ม อัลบั้มเพลงฮิต 2 อัลบั้ม และซิงเกิลอีก 42 ซิงเกิล (รวมดีวีดีซิงเกิล สตรองฮาร์ตและเวคมีอัป) ซึ่งในจำนวนนี้เป็นอัลบั้มอันดับหนึ่ง 6 อัลบั้ม และซิงเกิลอันดับหนึ่ง 2 ซิงเกิล สำหรับผลงานล่าสุดของเธอคือซิงเกิล "มูเตกินะฮาร์ท/สแตนด์บายยู" (Muteki na heart/STAND BY YOU)

ประวัติ

[แก้]

ชีวิตช่วงต้นและอาชีพนักร้อง

[แก้]

แรงบันดาลใจของคูรากิในสมัยเด็กที่จะเป็นนักร้องนั้น เกิดขึ้นมาจากการร้องเพลงของ วิทนีย์ ฮูสตัน และการเต้นของไมเคิล แจ็กสัน[3] ด้วยเหตุนี้เมื่อเธออยู่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เธอจึงส่งเดโมเทปไปยังค่ายเพลง กิซะสตูดิโอ ซึ่งทางค่ายเพลงได้ตอบรับและเซ็นสัญญากับเธอ[4] เธอได้รับการส่งตัวไปยังสตูดิโอไซเบอร์ซาวน์เพื่อเปิดตัวในสหรัฐอเมริกา [3][4] ภายใต้สังกัดกิซ่า ยูเอสเอ โดยเธอได้ออกซิงเกิลแรก เบบี้ไอไลค์ (อังกฤษ: Baby I Like) ในชื่อ มาอิ-เค (อังกฤษ: Mai-K) อย่างไรก็ดีเพลงนี้ทำอันดับบนชาร์ดบิลบอร์ด ได้ไม่ดีนัก แต่เนื่องจากสตาฟที่ทำงานกับเธอรู้สึกทึ่งในความสามารถในการร้องเพลงของเธอ สตาฟเหล่านั้นจึงชวนเธอให้กลับมาทำงานที่ประเทศญี่ปุ่นภายใต้ค่ายแม่ "กิซ่า สตูดิโอ" แทน และชื่อเรียกว่ามาอิ-เค ก็กลายเป็นชื่อเล่นของเธอนับแต่นั้นมา [3][5]

2543-2544: เปิดตัวในญี่ปุ่น

[แก้]

คูรากิออกซิงเกิลแรกของเธอ เลิฟเดย์แอฟเทอร์ทูมอร์โรว์ (อังกฤษ: Love, Day After Tomorrow) เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2542 ซิงเกิลนี้ติดอันดับชาร์ตโอริคอนในอันดับที่ 18[6]ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2543 หลังจากซิงเกิลเลิฟเดย์แอฟเทอร์ทูมอร์โรว์ ไต่อันดับขึ้นมาอย่างช้า ๆ จนหยุดที่อันดับ 2 ซึ่งเป็นอันดับสูงสุดของซิงเกิลนั้น [7]ยอดขายของซิงเกิลนี้ พุ่งทะลุหลักล้าน เธอได้ออกซิงเกิลที่ 2 สเตย์บายมายไซต์ (อังกฤษ: Stay by My Side) และซิงเกิลที่ 3 ซีเคร็ตออฟมายฮาร์ท (อังกฤษ: Secret of My Heart) ซึ่งสองซิงเกิลนี้เป็นเครื่องพิสูจน์ความสำเร็จของเธอร่วมกับซิงเกิลเลิฟเดย์แอฟเทอร์ทูมอร์โรว์ โดยซิงเกิล "สเตย์บายมายไซต์" ที่วางจำหน่ายเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2543 และเปิดตัวที่อันดับหนึ่งในชาร์ตโอริคอน ส่วนซิงเกิลซีเคร็ตออฟมายฮาร์ทที่ออกตามมาเมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2543 เปิดตัวในอันดับ 2[8][9] นอกจากนี้ซิงเกิลซีเคร็ตออฟมายฮาร์ตได้รับการรับรองยอดขายเกิน 1 ล้านก๊อปปี้โดยสมาคมผู้ประกอบกิจการเพลงของญี่ปุ่น และยังได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำแห่งญี่ปุ่นในสาขา "เพลงแห่งปี" อีกด้วย[10][11]

ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2543 มาอิออกซิงเกิลที่สี่ เนเวอร์กอนนากิฟยูอัพ (อังกฤษ: Never Gonna Give You Up) ซึ่งเปิดตัวในอันดับสองบนชาร์ต นอกจากนี้เธอยังออกอัลบั้มแรก ดิลิเชิสเวย์ (อังกฤษ: Delicious Way) ซึ่งเปิดตัวเป็นอันดับหนึ่งบนชาร์ดด้วยยอดขายกว่า 2,210,000 ก๊อปปี้ในสัปดาห์แรกที่วางจำหน่าย[12][13] เมื่อรวมยอดขายในยอดปีนั้นแล้ว อัลยั้มดิลิเชิสเวย์สามารถทำยอดขายไปได้กว่า 3 ล้านก๊อปปี้ โดยได้รับการรับรองยอดขาย รวมถึงได้รับเลือกให้เป็น อัลบั้มร็อกประจำปีในงานแผ่นเสียงทองคำประจำปีครั้งที่ 16 อีกด้วย [11][14][10] และเป็นอัลบั้มที่ขายดีที่สุดประจำปี 2543 นอกจากนี้ยังเป็นอัลบั้มที่ยอดขายเปิดตัวอัลบั้มแรกสูงที่สุดของญี่ปุ่น ที่ 2,218,640 ชุด

ในช่วงเดือนกันยายน พ.ศ. 2543 ถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2544 เธอออกซิงเกิลตามมาอีก 5 ซิงเกิล ได้แก่ ซิมพลีวันเดอร์ฟูล (อังกฤษ: Simply Wonderful), รีชฟอร์เดอะสกาย (อังกฤษ: Reach for the Sky) (พ.ศ. 2543), สึเมไตอูมิ/สตาร์ทอินมายไลฟ์ (ญี่ปุ่น: (冷たい海/Start in My LifeโรมาจิTsumetai Umi/Start in My Life) , สแตนด์อัพ (อังกฤษ: Stand Up) และ ออลเวยส์ (อังกฤษ: Always) (พ.ศ. 2544) ซึ่งซิงเกิลทั้งหมดนี้เปิดตัวใน 3 อันดับแรกบนชาร์ต[15][16][17][18][19] หลังจากออกซิงเกิลติดต่อกันมานาน มาอิออกอัลบั้มที่สอง เพอร์เฟกต์ไครม์ (อังกฤษ: Perfect Crime) ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2544 โดยอัลบั้มนี้ประกอบไปด้วยซิงเกิลทั้งหมดที่ออกหลังจากอัลบั้มดิลิเชิสเวย์ ยกเว้นเพลงซิมพลีวันเดอร์ฟูล (ซิงเกิลนี้มีอยู่ในอัลบั้มแค่เพลงหน้าบี)[20] อัลบั้มเพอร์เฟกต์ไคร์มนี้ทำยอดขายขึ้นถึงอันดับหนึ่งในชาร์ตและกลายเป็นอัลบั้มที่มียอดขายกว่า 1 ล้านชุดอีกอัลบั้มหนึ่งของเธอ [21][3] อัลบั้มได้รับการรับรองยอดขายโดยสมาคมผู้ประกอบกิจการเพลงของญี่ปุ่น และได้รับรางวัลอัลบั้มร็อกประจำปีเช่นเดียวกับอัลบั้มแรกของเธอ[22][23]หลังจากอัลบั้มเพอร์เฟกต์ไครม์ออกจำหน่ายได้หนึ่งเดือน มาอิออกซิงเกิล แคนท์ฟอร์กอตยัวร์เลิฟ/เพอร์เฟกต์ไครม์: ซิงเกิลอีดิท (อังกฤษ: Can't Forget Your Love/Perfect Crime: Single Edit) ซึ่งเป็นซิงเกิลสุดท้ายของเธอใน พ.ศ. 2544 โดยซิงเกิลนี้เปิดตัวเป็นอันดับ 2 ในชาร์ต[24]

2545-2551: ช่วงขาลง

[แก้]

มาอิออกซิงเกิลที่ 11 ของเธอที่ชื่อว่า วินเทอร์เบลล์ส (อังกฤษ: Winter Bells) ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2545 ซึ่งเปิดตัวในอันดับหนึ่งบนชาร์ต รวมถึงเพลงนี้ได้นำไปใช้เป็นเพลงเปิดที่ 10 ของอนิเมะเรื่อง ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน[25] รวมถึงได้ลองทำตลาดเพลงในสหรัฐอเมริกาอีกครั้งหลังจากไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรในซิงเกิลภาษาอังกฤษ "เบบี้ไอไลค์" โดยในวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2545 เธอได้ออกอัลบั้มภาษาอังกฤษอัลบั้มแรกในชื่อ ซีเคร็ตออฟมายฮาร์ท (อังกฤษ: Secret of My Heart เป็นชื่อเดียวกับซิงเกิลภาษาญี่ปุ่นลำดับ ที่ 3) โดยนำเพลงในช่วงซิงเกิลแรก ๆ อัลบั้มดิลิเชิสเวย์ซึ่งเป็นอัลบั้มภาษาญี่ปุ่นอัลบั้มแรก และซิงเกิลเบบี้ไอไลค์ซึ่งเป็นซิงเกิลแรกในสหรัฐอเมริกาของเธอ ไม่ว่าจะเป็นเพลงซีเคร็ตออฟมายฮาร์ท เลิฟเดย์แอฟเทอร์ทูมอร์โรว์ และสเตย์บายมายไซต์ มาร้องเป็นภาษาอังกฤษ อย่างไรก็ดี อัลบั้มนี้ก็ทำผลงานได้ไม่ดีเท่าที่ควรในชาร์ตบิลบอร์ด เช่นเดียวกับซิงเกิลเบบี้ไอไลค์ของเธอ[26] หลังจากออกอัลบั้มภาษาอังกฤษเธอได้ออกซิงเกิลต่อมาอีก 2 ซิงเกิลซึ่งติดอยู่ใน 2 อันดับแรกของชาร์ตทั้งคู่[27][28] คือ ฟีลไฟน์! (อังกฤษ: Feel Fine!) ในเดือนเมษายน และซิงเกิล ไลค์อะสตาร์อินเดอะไนท์ (อังกฤษ: Like a Star in the Night) ในเดือนกันยายน ก่อนที่จะออกอัลบั้มที่ 3 ชื่อ แฟรีเทล (อังกฤษ: Fairy Tale) ในเดือนตุลาคม และเช่นเดียวกับสองอัลบั้มแรก อัลบั้มแฟรีเทลเปิดตัวเป็นอันดับหนึ่งบนชาร์ต[29] รวมถึงได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำแห่งญี่ปุ่นในสาขา "อัลบั้มร็อกแอนด์ป็อปประจำปี" อีกด้วย[30] เธอปิดท้ายปี 2545 ด้วยซิงเกิล เมคมายเดย์ (อังกฤษ: Make My Day) เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม โดยซิงเกิลนี้ขึ้นไปสูงสุดในอันดับ 2 ของชาร์ต[31]

ในปี พ.ศ. 2546 มาอิเปิดตัวด้วยซิงเกิล ไทม์อาฟเตอร์ไทม์: ฮานามาอูมาจิเดะ (ญี่ปุ่น: Time after time〜花舞う街で〜โรมาจิTime after time~Hana Mau Machi De~) (5 มีนาคม), คิส (อังกฤษ: Kiss) (30 เมษายน) และ คาเซโนลาลาลา (ญี่ปุ่น: 風のらららโรมาจิKaze no Rarara) (28 พฤษภาคม) ตามลำดับ ซึ่งซิงเกิลทั้งหมดนี้สามารถทำอันดับสูงสุดอยู่ใน 3 อันดับแรกบนชาร์ต[32][33][34] หลังจากออกซิงเกิลได้ 3 ซิงเกิลแล้ว เธอออกอัลบั้มที่ 4 อิฟไอบีลีฟ (อังกฤษ: If I Believe) ในวันที่ 9 กรกฎาคม ซึ่งก็เช่นเดียวกับทุกอัลบั้มที่ผ่านมา อัลบั้มนี้ก็ยังสามารถทำอันดับหนึ่งได้ และได้รับการรับรอง 2x Platinum อีกด้วย[35][36]ปิดท้ายปี 2546 ด้วยผลงานร่วมกับ ทัค มัสสึโมโตะ กับซิงเกิล อิมิเทชันโกลด์ (ญี่ปุ่น: イミテイション・ゴールド Imitation Gold ?)

มาอิเริ่มต้นปี พ.ศ. 2547 ด้วยการออกอัลบั้มเพลงฮิตอัลบั้มแรก วิชยูเดอะเบสต์ (อังกฤษ: Wish You the Best) ในวันที่ 1 มกราคม อัลบั้มนี้เปิดตัวอันดับหนึ่งบนชาร์ตและได้รับการรับรองยอดขายเกิน 1 ล้านก๊อปปี้ ซึ่งอัลบั้มนี้เป็นอัลบั้มสุดท้ายของเธอที่ได้รับการรับรองสถานะนั้นจนถึง ปัจจุบัน[37][38] ในปีนั้นเธอไม่มีผลงานอื่นอีกเลย นอกจากอัลบั้มนี้และซิงเกิล อะชิตะเอคาเครุฮาชิ (ญี่ปุ่น: 明日へ架ける橋โรมาจิAshita e Kakeru Hashi) (19 พฤษภาคม) ซึ่งเปิดตัวในอันดับ 3[39]

ในปี พ.ศ. 2548 มาอิเริ่มต้นปีด้วยซิงเกิล เลิฟ, นีดดิง (อังกฤษ: Love, needing) (26 มกราคม) หลังจากซิงเกิลนี้ เธอจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยริตสึเมกัง (ญี่ปุ่น: 立命館大学โรมาจิRitsumeikan Daigakuทับศัพท์: Ritsumeikan University) ในวันเดียวกับที่ซิงเกิล แดนซิง (ญี่ปุ่น: ダンシングโรมาจิDancing) วางจำหน่าย (23 มีนาคม) ต่อมาเธอออกซิงเกิล พี.เอส มายซันไชน์ (อังกฤษ: P.S My Sunshine) ในวันที่ 1 มิถุนายน โดยทั้งสามซิงเกิลนี้เปิดตัวนอก 3 อันดับแรกเป็นครั้งแรกตั้งแต่ซิงเกิลแรกของเธอ แต่ยังคงอยู่ในสิบอันดับแรก[40][41][42] หลังจากนั้นเธอออกอัลบั้มที่ 5 ฟิวส์ออฟเลิฟ (อังกฤษ: Fuse of Love) 24 สิงหาคม ซึ่งประกอบไปด้วยเพลงจากซิงเกิลอะชิตะเอะคาเครุฮาชิ และซิงเกิลในปี พ.ศ. 2548 ทั้งหมด โดยอัลบั้มนี้เปิดตัวเป็นอันดับ 3 ทำให้สถิติลำดับของอัลบั้มในวันเปิดตัวที่เป็นอันดับหนึ่งมาตลอดต้องเสียลง[43] แต่ภายหลังอัลบั้มได้รับการรับรองระดับทองโดยสมาคมผู้ประกอบกิจการเพลงของญี่ปุ่น[44] เธอจบปี 2548 ด้วยซิงเกิล โกรวอิงออฟมายฮาร์ท (อังกฤษ: Growing of My Heart) (9 พฤศจิกายน) ซึ่งทำลำดับได้สูงสุดในลำดับ 7[45] และเพลงนี้ยังนำไปใช้เป็นเพลงเปิดที่ 16 ของอนิเมะยอดนักสืบจิ๋วโคนันอีกด้วย

พ.ศ. 2549 เธอเปิดตัวด้วยซิงเกิล เบสต์ออฟฮีโร่ (ญี่ปุ่น: ベスト オブ ヒーローโรมาจิBesuto Obu Hīrō; Best of Hero) (8 กุมภาพันธ์) และ ไดมอนด์เวฟ (อังกฤษ: Diamond Wave) (21 มิถุนายน) ซึ่งทำอันดับสูงสุดอยู่ใน 10 อันดับแรกของชาร์ตทั้งคู่[46][47] ก่อนที่จะออกอัลบั้มที่ 6 ไดมอนด์เวฟ ที่เปิดตัวเป็นอันดับสามและได้รับการรับรองสถานะโกลด์ [48][49] เธอจบปี 2549 ด้วยซิงเกิลที่นำไปใช้ในอนิเมะยอดนักสืบจิ๋วโคนันที่ชื่อ ชิโรอิยูคิ (ญี่ปุ่น: 白い雪โรมาจิShiroi Yuki) (20 ธันวาคม) โดยซิงเกิลนี้ทำอันดับได้สูงสุดที่อันดับ 4 บนชาร์ต[50]

ใน พ.ศ. 2550 เธอออกซิงเกิลสุดท้ายภายใต้ค่ายกิซะ สตูดิโอ ในชื่อ ซีซันออฟเลิฟ (อังกฤษ: Season of Love) (14 กุมภาพันธ์) ซึ่งทำอันดับสูงสุดที่อันดับ 6 [51]ก่อนที่จะย้ายค่ายไปสังกัดยังค่ายนอร์ธเทิร์นมิวสิก ในเครือบีอิ้ง บริษัทแม่ของกิซ่าสตูดิโอและนอร์ธเทิร์นมิวสิก [3] เธอออกซิงเกิล ไซเลนท์เลิฟ: โอเพนมายฮาร์ท/บีวิทยู เป็นซิงเกิลแรกกับค่ายนั้น (อังกฤษ: Silent Love: Open My Heart/Be With U) (28 พฤศจิกายน) ซึ่งเปิดตัวในอันดับ 9 [52] ก่อนที่จะออกอัลบั้มที่ 7 วันไลฟ์ (อังกฤษ: One Life) ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551 ซึ่งอัลบั้มนี้เปิดตัวในอันดับที่ 14[53] และเป็นอัลบั้มเดียวที่ไม่ได้รับการรับรองใด ๆ จากสมาคมผู้ประกอบกิจการเพลงของญี่ปุ่นเลย เธอออกซิงเกิลต่อออกมาอีก 3 ซิงเกิลในปี 2551 คือซิงเกิล ยูเมะกาซาคุฮารุ/ยูแอนด์มิวสิกแอนด์ดรีม (ญี่ปุ่น: 夢が咲く春/You and Music and DreamโรมาจิYume ga Saku Haru/You and Music and Dream) (19 มีนาคม), อิชิบิโยโกโตนิเลิฟฟอร์ยู (ญี่ปุ่น: 一秒ごとに Love for YouโรมาจิIchibyōgoto ni Love for You) (9 กรกฎาคม) และ ทูโฟว์คริสต์มาสไทม์ (อังกฤษ: 24 Xmas Time) ซึ่งซิงเกิลทั้งหมดนี้ก็ยังคงรักษามาตรฐานซิงเกิลของคูรากิไว้ได้ นั่นคือยังทำอันดับได้สูงสุดใน 10 อันดับแรกบนชาร์ต[54][55][56]

2552-ปัจจุบัน: ความนิยมกลับมา

[แก้]

มาอิเริ่มปี พ.ศ. 2552 ด้วยการออกสตูดิโออัลบั้มลำดับที่ 8 ทัชมี (อังกฤษ: Touch Me!) ในวันที่ 21 มกราคม โดยอัลบั้มนี้ประกอบไปด้วยซิงเกิลที่เคยออกใน พ.ศ. 2551 อัลบั้มนี้เปิดตัวเป็นอันดับหนึ่งบนชาร์ตโอริคอนด้วยยอดขายประมาณ 50,200 ก๊อปปี้ และเป็นอัลบั้มอันดับหนึ่งอัลบั้มแรกในรอบ 5 ปีตั้งแต่อัลบั้มรวมเพลง วิชยูเดอะเบสต์ ทำยอดขายได้ในอันดับหนึ่งในปี พ.ศ. 2547[57] และต่อมาอัลบั้มนี้ได้รับการรับรองสถานะเป็นโกลด์โดยสมาคมผู้ประกอบกิจการเพลงของญี่ปุ่น[58] เธอออกซิงเกิลต่อมา พัซเซิล/รีไวฟ์ (อังกฤษ: Puzzle/Revive) ในรูปแบบดับเบิลเอไซต์ ซึ่งทั้งสองเพลงนี้นำไปใช้ประกอบอนิเมะเรื่องยอดนักสืบจิ๋วโคนันทั้งคู่[59] โดยพัซเซิลนำไปใช้เป็นเพลงจบของ ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน เดอะมูฟวี่ ตอน ปริศนานักล่าทรชนทมิฬ ส่วนรีไวฟ์นำไปใช้เป็นเพลงเปิดลำดับที่ 25 ของซีรีส์ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน ปี 17[60]ซิ งเกิลดังกล่าวเปิดตัวเป็นอันดับ 3 บนชาร์ตโอริคอน ทำให้เป็นซิงเกิลแรกในรอบ 5 ปีที่ทำอันดับได้สูงสุดอยู่ใน 3 อันดับแรกของชาร์ตนับตั้งแต่ซิงเกิลอะชิตะเอคาเครุฮาชิ ใน พ.ศ. 2547[61]

ในเดือนพฤษภาคมนั้นเอง เธอร่วมมือกับค่ายบี-แกรมเรคคอร์ด ในการรีเมคเพลง สึนาโอะนิอิเอะนะคุเตะ (ญี่ปุ่น: 素直に言えなくてโรมาจิSunao ni Ienakute) ของซาร์ดเพื่อวางจำหน่ายในวาระครบรอบ 2 ปีการเสียชีวิตของนักร้องรุ่นพี่ร่วมค่ายบีอิง อิซุมิ ซะกะอิ ซิงเกิลดังกล่าวออกจำหน่ายในวันที่ 27 พฤษภาคม วันเสียชีวิตของอิซุมิ ซึ่งในวันดังกล่าวมาอิยังได้ขึ้นเวทีที่สนามกีฬาต่อสู้ญี่ปุ่น ในคอนเสิร์ตซาร์ด ว็อทอะบิวตีฟูลเมโมรี 2009 เพื่อร่วมขับร้องเพลงนี้อีกด้วย[62] หลังจากคอนเสิร์ตของซาร์ตจบลง คูรากิจึงเดินหน้าออกซิงเกิลที่ 32 ของตนเองในชื่อ บิวตีฟูล (อังกฤษ: Beautiful) ในวันที่ 10 มิถุนายน โดยเพลงนี้นำไปประกอบโฆษณาโคสพอร์ทซาลอนสไตล์ของโคเซะ[63]เพลงนี้เปิดตัวเป็นอันดับ 2 บนชาร์ตโอริคอน ทำให้เธอยังคงสถิติเป็นนักร้องหญิงคนเดียวที่มีทุกซิงเกิลติด 10 อันดับแรกของโอริคอนต่อไป[64] หลังจากนั้นได้ไม่นาน เธอได้จัดทัวร์คอนเสิร์ตฉลอง 10 ปีในวงการในชื่อ เท็นธแอนนิเวอร์ซารี มาอิ คูรากิ ไลฟ์ทัวร์ 2009 เบสต์ (10th Anniversary Mai Kuraki Live Tour 2009 Best) โดยเริ่มประเดิมทัวร์ครั้งแรกเมื่อวันที่ 4 และ 5 กรกฎาคม ที่มาคุฮาริเมสเสะ (ญี่ปุ่น: 幕張メッセโรมาจิMakuhari Messe) และได้จัดทัวร์คอนเสิร์ตไปตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม จนถึง 21 ธันวาคม [65] นอกจากนี้ยังมีคอนเสิร์ตไลฟ์ฮาโลวีนที่บูโดกังเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม อีกรอบหนึ่ง ในคอนเสิร์ต วันฮาโลวีนนี้มีเพลงใหม่ที่เธอแต่งขึ้น 1 เพลง คือ เพลง บอยเฟรนด์ (Boyfreind) ซึ่งอยู่ในอัลบั้มฟิวเจอร์ คิสเป็นแทร็กพิเศษ เพลงนี้นำไปประโฆษณา ESPRIQUE PRECIOUS ของโคเซะ ในเดือนธันวาคม ปี 2553

ในวันที่ 9 กันยายน (09/09/09 เมื่อเขียนเป็นเลขวันเดือนปี) เธอออกอัลบั้ม ออลมายเบสต์ (ALL MY BEST) ออกมาฉลองวาระ 10 ปีในวงการเพลง อัลบั้มนี้ขึ้นถึงอันดับหนึ่งในทันทีที่วางจำหน่ายทั้งในชาร์ตโอริคอนและชาร์ตบิลบอร์ดเจแปน[66] โดยในวันแรกขายได้กว่า 38,000 ชุด[67]และรวมยอดขายประจำสัปดาห์วันที่ 21 กันยายน อัลบั้มนี้ทำยอดขายไปกว่า 137,050 กอปปี และยังคงยืนชาร์ตต่อมาเรื่อย ๆ โดยปิดอันดับชาร์ตโอริคอนประจำปี 2009 ที่อันดับที่ 25 ด้วยยอดขาย 250,247 ชุด[68] เธอส่งท้ายปี 2552 ด้วยดีวีดีบันทึกการแสดงสด 10th Anniversary ในวันที่ 4 กรกฎาคมที่มาคุฮาริ และคอนเสิร์ตฮาโลวีนวันที่ 31 ตุลาคมที่นิปปอนบูโดกัง ดีวีดีขึ้นชาร์ตอันดับ 1 ในวันแรกและปิดยอดขายประจำสัปดาห์ที่อันดับ 4 ด้วยยอดขายกว่า 13,500 แผ่น

สำหรับใน พ.ศ. 2553 เธอจะออกซิงเกิลดับเบิลเอไซด์ เอเอ็นโยรินากาคุ/ไดรฟ์มีเครซี (ญี่ปุ่น: 永遠より ながく / Drive me crazyโรมาจิEien Yori Nagaku / Drive me crazy) ในวันที่ 3 มีนาคม[69] โดยเพลงเอเอ็นโยรินากาคุ ใช้ในโฆษณา ESPRIQUE PRECIOUS ของโคเซะอีกครั้งหลังจากเพลง วาตาชิโนะ ชิราไน วาตาชิ (ญี่ปุ่น: わたしの、しらない、わたし。โรมาจิWatashi no, Shiranai, Watashi) ในอัลบั้มรวมเพลง "ออลมายเบสต์" ได้ใช้เป็นโฆษณาของ ESPRIQUE PRECIOUS มาแล้วในปี 2552 ส่วนเพลงไดรฟ์มีเครซี ใช้ในซีรีส์ ฮีโรส์ ในประเทศญี่ปุ่น ในส่วนของยอดขาย ซิงเกิลดังกล่าวเปิดตัววันแรกอันดับที่ 3 และทำยอดขายในสัปดาห์แรกอยู่ที่อันดับที่ 4

หลังจากนั้นในวันที่ 9 มิถุนายน ปีเดียวกันเธอจะออกดิจิทัล ดาวน์โหลดซิงเกิล แชนซ์ฟอร์ยู ~ซีนิมาเวอร์ชัน~ (อังกฤษ: chance for you ~cinema ver.~) ชึ่งนำเพลงสุดท้ายของสตูดิโออัลบั้มที่ 5 มารีเมคใหม่ เพลงนี้ใช้ในภาพยนตร์เรื่องหนึ่งที่ออกฉายวันที่ 19 เดือนเดียวกัน[70][71]และในวันที่31 สิงหาคม เธอได้ออกซิงเกิลที่ 34 ของเธอที่มีชื่อว่าซัมเมอร์ ทาม กอน (อังกฤษ: SUMMER TIME GONE) เป็นเพลงเปิดที่ 29 ของอนิเมะยอดนักสืบจิ๋วโคนันเปิดตัวที่อันดับที่ 1 ของโอริคอนซาร์ดประจำวันและทำยอดขายประจำสัปดาห์ที่อันดับที่ 4 เปิดตัวที่ 25,332 ชุดในสัปดาห์แรก และเธอจะออกสตูดิโออัลบั้มลำดับที่ 9 ฟิวเจอร์ คิส (อังกฤษ: FUTURE KISS) โดยภายในอัลบั้มประกอบไปด้วยเพลงของซิงเกิลบิ้วตี้ฟูลและซัมเมอร์ไทม์กอนทั้งหมด แทร็ก 2 ของซิงเกิล พัซเซิล/รีไวฟ์ และ เอเอ็นโยรินากาคุ/ไดรฟ์มีเครซี เพลงวาตาชิโนะ ชิราไน วาตาชิ (ญี่ปุ่น: わたしの、しらない、わたし。โรมาจิWatashi no, Shiranai, Watashi) ในอัลบั้มรวมเพลง "ออลมายเบสต์" และเพลงใหม่ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ ทูมอร์โรว์ อิส เดอะ ลาสต์ ทาม (อังกฤษ: Tomorrow is the last Time) ซึ่งเป็นเพลงปิดที่ 36 ของอนิเมะยอดนักสืบจิ๋วโคนันซึ่งมีกำหนดวางจำหน่ายในญี่ปุ่นในวันที่ 17 พฤศจิกายน นี้แทนวันที่เดิมที่กำหนดวางจำหน่ายคือวันที่ 20 ตุลาคมและและเป็นอัลบั้มที่ 2 ที่ไม่ได้รับการรับรองใด ๆ จากสมาคมผู้ประกอบกิจการเพลงของญี่ปุ่นเลย

เดือนมีนาคม พ.ศ. 2554 นี้ เธอมีซิงเกิลที่ 35 ของเธอชื่อว่า เซ็นมันไคโนะคิสออกจำหน่ายในวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2554 วันที่ 4 เมษายน เธอประกาศซิงเกิลที่ 36 ที่มีชื่อว่า โมว อิชิโดะ (ญี่ปุ่น: もう一度โรมาจิMou Ichido) จะจำหน่ายวันที่ 25 พฤษภาคมนี้ โดยภายหลังจากการประกาศออกซิงเกิลดังกล่าว ยังมีการประกาศออกดิจิทัลดาวน์โหลดซิงเกิล อะนะตะงะอิรุคะระ (ญี่ปุ่น: あなたがいるからโรมาจิAnata ga iru kara) ซึ่งได้มีการเริ่มเปิดจำหน่ายผ่านทาง iTunes และเส้นทางอื่นๆ เมื่อวันที่ 11 เมษายน ที่ผ่านมา นอกจากนี้ยังมีผลงานร่วมอีกครั้งในรอบ 2 ปี ร่วมกับ NERDHEAD ออกซิงเกิลที่มีชื่อว่า โดชิเตะ สุคิ นันดะโร (ญี่ปุ่น: どうして好きなんだろうโรมาจิDoushite Suki Nantarou) ออกจำหน่ายถัดจากซิงเกิล โมว อิชิโดะ เพียง 1 สัปดาห์ ปลายปี 2554 เธอออกผลงานด้วย 2 ซิงเกิล คือ ยัวร์ เบสท์ เฟรนด์ ซึ่งเป็นเพลงปิดที่ 40 ของอนิเมะยอดนักสืบจิ๋วโคนันซึ่งมีกำหนดวางจำหน่ายในญี่ปุ่นในวันที่ 19 ตุลาคม และในไต้หวัน กับ ฮ่องกง ในวันเกิดครบรอบ 29 ปี ของเธอ เกาหลีใต้ ในวันที่ 1 พฤศจิกายนและ อีกซิงเกิลซึ่งเป็นครั้งแรกของเธอในรูปแบบ DVD ซิงเกิล อย่าง สตรอง ฮาร์ท ซึ่งมีกำหนดวางจำหน่ายในญี่ปุ่นในวันที่ 23 พฤศจิกายน นี้ และอีก 1 ดีวีดี ไลฟ์ HAPPY HAPPY HALLOWEEN LIVE 2010 จำหน่ายในวันเดียวกับ ยัวร์ เบสท์ เฟรนด์

ปีพ.ศ. 2555 เธอออกอัลบั้มที่ 10 ของเธอ โอเวอร์ เดอะ เรนโบว์ และเดือนเมษายน เธอได้รับรางวัล The Most Popular Asian Influential Japanese Singer จากงานประกาศผลรางวัล 2012 Channel [V] “Migu” Chinese Music Award ที่มาเก๊า ซึ่งเป็นคนที่ 2 ต่อจาก อายูมิ ฮามาซากิ[72] หลังจากนั้นเธอก็มีชื่อเสียงในประเทศจีนมากขึ้นเรื่อยๆ ในปีนั้นเธอมีแค่อัลบั้มที่ 10 กับซิงเกิล (ญี่ปุ่น: 恋に恋して/Special morning day to you, อักษรโรมัน: Koi ni koishite/Special morning day to you) เท่านั้น ปลายปีเธอได้นำเพลงเก่าทั้งหมด 11 เพลงรวมทั้งเพลงใหม่ (ญี่ปุ่น: 儚さ, อักษรโรมัน: Hakanasa) มาทำเป็นเวอร์ชัน Symphonic และออกเป็น Box set ที่ชื่อว่า Mai Kuraki Symphonic Collection in Moscow

ปีพ.ศ. 2556 เธอออกซิงเกิลที่มีชื่อว่าทรายอะเกน ชึ่งใช้ประกอบการ์ตูนยอดนักสืบจิ๋วโคนัน เป็นเพลงที่ 16 ของเธอ

ผลงานเพลง

[แก้]

ข้อวิพากษ์วิจารณ์และการปรากฏตัวในสื่ออื่น ๆ

[แก้]
คูรากิในปกซิงเกิลทรายอะเกนเวอร์ชันยอดนักสืบจิ๋ว โคนัน

เนื่องจากมาอิเป็นนักร้องที่มีสไตล์คล้ายกับ อูทาดะ ฮิคารุ ซึ่งเปิดตัวก่อนคูรากิในหลาย ๆ ด้าน เช่น แต่งเพลงร้องด้วยตัวเอง สไตล์เพลงอาร์แอนด์บีและป็อปที่ คล้ายกัน เสียงร้องรวมถึงภาพลักษณ์ที่ใกล้เคียงกัน เป็นต้น จึงทำให้มาอิกับฮิคารุถูกนำมาเปรียบเทียบกัน แม้ว่ามาอิได้รับการมองว่าเป็นนักเต้นหรือนักร้องที่ดีกว่าก็ตาม แต่ความสามารถในการร้องเพลง เขียนเพลง โปรโมตเพลงของฮิคารุนั้นเหนือกว่ามาอิ จึงทำให้มาอิอาจดูด้อยลงไปบ้าง แต่เธอก็ยังคงประสบความสำเร็จอย่างสูงอยู่ ดังจะเห็นได้จากยอดขายอัลบั้มดิลิเชิสเวย์และเพอร์เฟกต์ไครม์ที่ทำยอดขาย รวม 4 ล้านและ 2 ล้านก๊อปปี้ตามลำดับ[73][74] ไม่เพียงเหตุผลดังกล่าว ความสำเร็จของคูรากิอีกส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะเธอมักไม่ปรากฏตัวทางโทรทัศน์ บ่อยนักในการโปรโมตเพลง โดยเธอปรากฏตัวครั้งแรกเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2552 ในรายการโทรทัศน์ "มิวสิกสเตชัน" เพื่อโปรโมตอัลบั้มทัชมี การปรากฏตัวนอกเหนือจากนี้ก็เป็นเพียงการสัมภาษณ์ธรรมดา การถ่ายแบบ และการถ่ายทำโฆษณาเท่านั้น

มาอิยังเคยได้รับการวาดเป็นการ์ตูนด้วยเช่นกัน ในเล่ม 29 ของยอดนักสืบจิ๋วโคนัน ปรากฏภาพของเธอ (ทางวิบูลย์กิจถอดภาษาญี่ปุ่นของเธอออกมาเป็นคูรากิ มิโฮะ) คู่กับทูมิกซ์และ มิโฮ โคมัตสึ ในคดี K3 [75] ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าโกโช อาโอยาม่า ผู้วาดเรื่องยอดนักสืบจิ๋วโคนันวาดภาพนี้เพราะนักร้องทั้งหมดที่กล่าวมาต่างก็เคยร้องเพลงประกอบอนิเมะให้กับยอดนักสืบจิ๋วโคนันทั้งสิ้น

ในโคนัน เดอะมูฟวี่ 16 ปริศนาระทึก ศึกลูกหนังมรณะ ได้มีชื่อของมาอิ ปรากฏอยู่บนโปสเตอร์โฆษณาคอนเสิร์ตครั้งใหญ่ที่ในตอนแรกตำรวจคิดว่าเป็นเป้าหมายของคนร้าย เป็นการเล่นคำ จาก mai kuraki เป็น kai muraki รวมทั้งนักร้องคนอื่นเช่น ยูกะ และ วง zard ด้วย

นอกจากนี้มาอิยังได้รับการใช้เป็นแบบตัวละครในการ์ตูน wish me mell ของ sanrio ซึ่งก็คือ maimai (ญี่ปุ่น: マイマイโรมาจิmaimai) ซึ่งมาอิเองก็ร้องเพลงประกอบให้ด้วย คือ เพลง Stay the same ในอัลบั้ม โอเวอร์ เดอะ เรนโบว์ [76]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "BoA、オリジナル1stから5作連続首位!" (ภาษาญี่ปุ่น). Oricon. 23 มกราคม 2552. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "倉木麻衣、10年目突入でアルバム1位獲得". Livedoor. 27 มกราคม 2552. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 Eremenko, Alexey. "allmusic ((( Mai Kuraki > Biography )))". Allmusic. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. 4.0 4.1 McClure, Steve. "Nippop | Mai Kuraki". Nippop. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. "Billboard.com - Discography (more) - Mai K. - Baby I Like". Billboard. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. /result.php?kbn=js&types=rnk&year=1999&month=12&week=3& amp;submit4.x=0&submit4.y=0 "1999年12月第3週の邦楽シングルランキング情 報" (ภาษาญี่ปุ่น). Oricon. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่า |url= (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. /result.php?kbn=js&types=rnk&year=2000&month=2&week=5& amp;submit4.x=0&submit4.y=0 "2000年03月第1週の邦楽シングルランキング情 報" (ภาษาญี่ปุ่น). Oricon. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่า |url= (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. /result.php?kbn=js&types=rnk&year=2000&month=3&week=4& amp;submit4.x=0&submit4.y=0 "2000年03月第4週の邦楽シングルランキング情 報" (ภาษาญี่ปุ่น). Oricon. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่า |url= (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. /result.php?kbn=js&types=rnk&year=2000&month=5&week=2& amp;submit4.x=0&submit4.y=0 "2000年05月第2週の邦楽シングルランキング情 報" (ภาษาญี่ปุ่น). Oricon. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่า |url= (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  10. 10.0 10.1 /others/million_list/2000.html "年度別ミリオンセラー一覧 2000 年" (ภาษาญี่ปุ่น). Recording Industry Association of Japan. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่า |url= (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  11. 11.0 11.1 "The 16th Japan Gold Disc Award 2001" (ภาษาญี่ปุ่น). Recording Industry Association of Japan. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  12. /result.php?kbn=js&types=rnk&year=2000&month=6&week=3& amp;submit4.x=22&submit4.y=15 "2000年06月第3週の邦楽シングルランキング情 報" (ภาษาญี่ปุ่น). Oricon. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่า |url= (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  13. /result.php?kbn=ja&types=rnk&year=2000&month=7&week=2& amp;submit5.x=0&submit5.y=0 "2000年07月第2週の邦楽アルバムランキング情 報" (ภาษาญี่ปุ่น). Oricon. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่า |url= (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  14. "Mai Kuraki's Oricon profile" (ภาษาญี่ปุ่น). Oricon. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  15. "Simply Wonderful Oricon page" (ภาษาญี่ปุ่น). Oricon. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  16. "Reach for the Sky Oricon page" (ภาษาญี่ปุ่น). Oricon. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  17. "Tsumetai Umi/Start in My Life Oricon page" (ภาษาญี่ปุ่น). Oricon. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  18. "Stand Up's Oricon page" (ภาษาญี่ปุ่น). Oricon. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  19. "Always Oricon page" (ภาษาญี่ปุ่น). Oricon. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  20. "Perfect Crime Oricon page" (ภาษาญี่ปุ่น). Oricon. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  21. /result.php?kbn=ja&types=rnk&year=2001&month=7&week=3& amp;submit5.x=0&submit5.y=0 "2001年07月第3週の邦楽アルバムランキング情 報" (ภาษาญี่ปุ่น). Oricon. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่า |url= (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  22. /others/million_list/2001.html "年度別ミリオンセラー一覧 2001 年" (ภาษาญี่ปุ่น). Recording Industry Association of Japan. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่า |url= (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  23. "The 17th annual Japan Gold Disc Award 2002" (ภาษาญี่ปุ่น). Recording Industry Association of Japan. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  24. "Can't Forget Your Love/Perfect Crime: Single Edit Oricon page" (ภาษาญี่ปุ่น). Oricon. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  25. "Winter Bells Oricon page". สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  26. "Billboard.com - Discography (more) - Mai Kuraki - Secret of My Heart". Billboard. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  27. "Feel Fine! Oricon page" (ภาษาญี่ปุ่น). Oricon. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  28. "Like a Star in the Night" (ภาษาญี่ปุ่น). Oricon. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  29. /result.php?kbn=ja&types=rnk&year=2002&month=11&week=1& amp;submit5.x=0&submit5.y=0 "2002年11月第1週の邦楽アルバムランキング情 報" (ภาษาญี่ปุ่น). Oricon. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่า |url= (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  30. "The 17th Japan Gold Disc Award 2003" (ภาษาญี่ปุ่น). Recording Industry Association of Japan. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  31. "Make My Day Oricon page" (ภาษาญี่ปุ่น). Oricon. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  32. "Time After Time: Hana Mau Machi de Oricon page" (ภาษาญี่ปุ่น). Oricon. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  33. "Kiss Oricon page" (ภาษาญี่ปุ่น). Oricon. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  34. "Kaze no Lalala" (ภาษาญี่ปุ่น). Oricon. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  35. /result.php?kbn=ja&types=rnk&year=2003&month=7&week=3& amp;submit5.x=0&submit5.y=0 "2003年07月第3週の邦楽アルバムランキング情 報" (ภาษาญี่ปุ่น). Oricon. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่า |url= (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  36. "ゴールド等認定作品一覧 2003年7月" (ภาษาญี่ปุ่น). Recording Industry Association of Japan. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  37. /result.php?kbn=ja&types=rnk&year=2004&month=1&week=2& amp;submit5.x=0&submit5.y=0 "2004年01月第2週の邦楽アルバムランキング情 報" (ภาษาญี่ปุ่น). Oricon. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่า |url= (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  38. "ゴールド等認定作品一覧 2004年1月" (ภาษาญี่ปุ่น). Recording Industry Association of Japan. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  39. "Ashita e Kakeru Hashi Oricon page" (ภาษาญี่ปุ่น). Oricon. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  40. "Love, Needing Oricon page" (ภาษาญี่ปุ่น). Oricon. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  41. "Dancing Oricon page" (ภาษาญี่ปุ่น). Oricon. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  42. "P.S. My Sunshine Oricon page" (ภาษาญี่ปุ่น). Oricon. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  43. /result.php?kbn=ja&types=rnk&year=2005&month=9&week=1& amp;submit5.x=0&submit5.y=0 "2005年09月第1週の邦楽アルバムランキング情 報" (ภาษาญี่ปุ่น). Oricon. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่า |url= (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  44. "2005年8月度 認定作品" (ภาษาญี่ปุ่น). Recording Industry Association of Japan. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  45. "Growing of My Heart Oricon page" (ภาษาญี่ปุ่น). Oricon. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  46. "Best of Hero Oricon page" (ภาษาญี่ปุ่น). Oricon. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  47. "Diamond Wave Oricon page" (ภาษาญี่ปุ่น). Oricon. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  48. /result.php?kbn=ja&types=rnk&year=2006&month=8&week=2& amp;submit5.x=0&submit5.y=0 "2006年08月第2週の邦楽アルバムランキング情 報" (ภาษาญี่ปุ่น). Oricon. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่า |url= (help); ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  49. "2006年8月度 認定作品" (ภาษาญี่ปุ่น). Recording Industry Association of Japan. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  50. "Shiroi Yuki Oricon page" (ภาษาญี่ปุ่น). Oricon. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  51. "Season of Love Oricon page" (ภาษาญี่ปุ่น). Oricon. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  52. "Silent Love: Open My Heart/Be With U Oricon page" (ภาษาญี่ปุ่น). Oricon. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  53. "One Life Oricon page" (ภาษาญี่ปุ่น). Oricon. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  54. "Yume ga Saku Haru/You and Music and Dream Oricon page" (ภาษาญี่ปุ่น). Oricon. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  55. "Ichibyōgoto ni Love for You Oricon page" (ภาษาญี่ปุ่น). Oricon. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  56. "24 Xmas Time Oricon page" (ภาษาญี่ปุ่น). Oricon. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  57. "倉木麻衣、ニューアルバムで5年ぶり1位". 27 มกราคม 2552. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  58. "2009年2月度 認定作品" (ภาษาญี่ปุ่น). Recording Industry Association of Japan. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  59. "Puzzle/Revive Oricon page" (ภาษาญี่ปุ่น). Oricon. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  60. "倉木麻衣がニュー・シングル"PUZZLE/Revive"を4月15日にリリース決定、全国各地にて握手会イヴェントも実施中". Tower Records Japan. Bounce. 27 มกราคม 2552. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-23. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  61. "倉木麻衣、CMタイアップ新曲がデイリー初日首位" (ภาษาญี่ปุ่น). Oricon. 11 มิถุนายน 2552. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  62. "WEZARD.net - ZARD Official Website" (ภาษาญี่ปุ่น). B-Gram RECORDS. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-13. สืบค้นเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2553. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  63. "倉木麻衣、「Beautiful」発売記念イベントでプレゼントを手渡し". Livedoor. 7 มิถุนายน 2552. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  64. "GIRL NEXT DOORがデビュー以来初の首位獲得" (ภาษาญี่ปุ่น). Oricon. 16 มิถุนายน 2552. สืบค้นเมื่อ 15 มิถุนายน 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  65. "10th Anniversary Mai Kuraki Live Tour 2009 Best - Schedule & Info" (ภาษาญี่ปุ่น). NORTHERN MUSIC. สืบค้นเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2553. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  66. "Billboard Japan Top Albums". บิลบอร์ด. สืบค้นเมื่อ 23 กันยายน 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  67. "倉木ベスト盤、今年2作目のアルバム首位なるか!?". Oricon (ภาษาญี่ปุ่น). 10 กันยายน 2552. สืบค้นเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2553. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  68. "2009 Oricon Top 50 Albums & Singles". Nothing Else Wordpress. สืบค้นเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2553. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  69. "Eien Yori Nagaku / Drive Me Crazy". Jpop Stop!. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-08. สืบค้นเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2553. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  70. "chance for you ~cinema ver~" (ภาษาญี่ปุ่น). Mai Kuraki office web site. สืบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2553. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  71. "soft boy" (ภาษาญี่ปุ่น). Soft boy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-10. สืบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2553. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  72. "倉木麻衣、9年ぶり2人目の栄冠 アジア最大音楽祭で「日本人歌手音楽賞」" (ภาษาญี่ปุ่น). Oricon. สืบค้นเมื่อ 14 เมษายน 2555. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  73. Pound (5 ธันวาคม พ.ศ. 2548). "PINGBOOK ENTERTAINMENT : ปิงบุ๊ค ! ข้อมูล Mai Kuraki". PINGBOOK ENTERTAINMENT. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-01-31. สืบค้นเมื่อ 24 มิถุนายน 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  74. "Mai Kuraki 5th Anniversary Edition: Grow, Step by Step (2004) DVD Review". Made In Hong Kong Geocities. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-10-26. สืบค้นเมื่อ 24 มิถุนายน 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  75. อาโอยาม่า, โกโช (พ.ศ. 2543). "เล่ม 29 ไฟล์ 9 (K3)". ยอดนักสืบจิ๋วโคนัน. วิบูลย์กิจ. ISBN 978-974-858-382-2. {{cite book}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |year= (help)
  76. "Wish me mell" (ภาษาญี่ปุ่น). Sanrio. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-23. สืบค้นเมื่อ 21 เมษายน 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]