ยูฟ่ายูโรปาคอนเฟอเรนซ์ลีก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก UEFA Europa Conference League)
ยูฟ่ายูโรปาคอนเฟอเรนซ์ลีก
ก่อตั้งค.ศ. 2021
ภูมิภาคทวีปยุโรป (ยูฟ่า)
จำนวนทีม32 (รอบแบ่งกลุ่ม)[a]
181 (ทั้งหมด)
ผ่านเข้าไปเล่นในยูฟ่ายูโรปาลีก
การแข่งขันที่เกี่ยวข้องยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก (ระดับที่ 1)
ยูฟ่ายูโรปาลีก (ระดับที่ 2)
ทีมชนะเลิศปัจจุบันอังกฤษ เวสต์แฮมยูไนเต็ด (สมัยแรก)
ทีมที่ประสบความสำเร็จที่สุดอังกฤษ เวสต์แฮมยูไนเต็ด, อิตาลี โรมา (1 สมัย)
ผู้แพร่ภาพโทรทัศน์รายชื่อผู้แพร่ภาพออกอากาศ
เว็บไซต์เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ
ยูฟ่ายูโรปาคอนเฟอเรนซ์ลีก ฤดูกาล 2022–23

ยูฟ่ายูโรปาคอนเฟอเรนซ์ลีก (อังกฤษ: UEFA Europa Conference League) เป็นการแข่งขันฟุตบอลระดับสโมสรประจำปี ที่เริ่มต้นขึ้นในปี ค.ศ. 2021 โดยมีสโมสรฟุตบอลในยุโรปที่มีสิทธิ์เข้าร่วมแข่งขัน[1] สโมสรจะได้สิทธิ์ลงเล่นในรายการนี้หรือไม่จะขึ้นอยู่กับผลงานในลีกในประเทศ หรือการแข่งขันถ้วย แล้วแต่จะกำหนดขึ้นในแต่ละประเทศ

การแข่งขันมีกำหนดเริ่มตั้งแต่ฤดูกาล 2021–22 การแข่งขันนี้จะเป็นการแข่งขันระดับที่สามของฟุตบอลสโมสรยุโรปรองจาก ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก และยูฟ่ายูโรปาลีก ซึ่งได้ถูกลดทีมในรอบแบ่งกลุ่มลงเหลือ 32 ทีม โดยทีมจากสมาคมฟุตบอลของประเทศที่มีค่าสัมประสิทธิ์ต่ำกว่าจะต้องลงเล่นรอบคัดเลือกที่มากกว่า [1] ไม่มีทีมใดจะผ่านเข้ารอบแบ่งกลุ่มได้โดยตรง โดยจะมี 10 ทีมที่เป็นทีมที่แพ้ในรอบเพลย์ออฟของ ยูโรปาลีก และส่วนที่เหลือจะมาจากรอบคัดเลือกของยูโรปาคอนเฟอเรนซ์ลีก

ประวัติ[แก้]

มีรายงานว่ายูฟ่าได้พิจารณาเพิ่มการแข่งขันฟุตบอลสโมสรระดับยุโรประดับที่สาม ตั้งแต่ช่วงปี ค.ศ. 2015 เป็นอย่างน้อย โดยเชื่อว่าการแข่งขันระดับล่างจะสามารถทำหน้าที่เป็นช่องทางในการให้สโมสรจากประเทศสมาชิกยูฟ่าที่มีอันดับต่ำกว่ามีโอกาสที่จะก้าวไปแข่งขันในรอบต่อ ๆ ไปได้มากกว่าการตกรอบในแชมเปียนส์ลีก หรือยูโรป้าลีก[2] ในช่วงกลางปี ​​ค.ศ. 2018 การพูดคุยเกี่ยวกับการแข่งขันนี้ได้เริ่มเข้มข้นขึ้น โดยแหล่งข่าวอ้างว่าได้บรรลุข้อตกลงสำหรับการเปิดตัวการแข่งขันแล้ว และรอบแบ่งกลุ่มของยูโรป้าลีก ซึ่งประกอบไปด้วย 48 ทีมจะถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน โดยส่วนล่างจะเป็นแกนหลักของการแข่งขันใหม่นี้[3]

ในวันที่ 2 ธันวาคม ค.ศ. 2018 ยูฟ่าได้ประกาศว่าการแข่งขันซึ่งเรียกว่า "ยูโรปาลีก 2" หรือเรียกโดยย่อว่า "UEL2" จะเกิดขึ้น โดยเป็นส่วนหนึ่งของรอบการแข่งขันสามปีในช่วงฤดูกาล 2021–24 โดยยูฟ่ากล่าวเพิ่มเติมว่าการแข่งขันนี้จะมี "การแข่งขันเพิ่มเติมสำหรับสโมสรอื่น ๆ และสมาคมอื่น ๆ "[4]

ชื่ออย่างเป็นทางการของการแข่งขัน "ยูฟ่ายูโรปาคอนเฟอเรนซ์ลีก" ได้ประกาศขึ้นเมื่อวันที่ 24 กันยายน ค.ศ. 2019 โดยเรียกโดยย่อว่า "UECL"[5]

รูปแบบ[แก้]

การคัดเลือก[แก้]

การคัดเลือกจะคล้ายคลึงกับรรอบคัดเลือกของยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ที่จะแบ่งออกเป็นสองเส้นทาง ได้แก่ สายชนะเลิศ และสายไม่ชนะเลิศ โดยทีมที่ได้ลงเล่นในสายชนะเลิศคือทีมที่ตกรอบมาจากการคัดเลือกเข้ารอบแบ่งกลุ่มของแชมเปียนส์ลีก

โดยสโมสรในแต่ละประเทศจะได้รับสิทธิ์ลงเล่นในรายการนี้ในแต่ละรอบไม่เท่ากัน ทั้งนี้ จะขึ้นอยู่กับค่าสัมประสิทธิ์ยูฟ่าของสมาคมฟุตบอลในประเทศนั้น ๆ ดังนี้[6]

  • สมาคมที่อยู่ในอันดับที่ 1 ถึง 5 จะได้สิทธิ์ 1 ทีม;
  • สมาคมที่อยู่ในอันดับที่ 6 ถึง 15 จะได้สิทธิ์ 2 ทีม;
  • สมาคมที่อยู่ในอันดับที่ 16 ถึง 50 จะได้สิทธิ์ 3 ทีม;
  • สมาคมที่อยู่ในอันดับที่ 51 ถึง 55 จะได้สิทธิ์ 1 ทีม;
  • ลิกเตนสไตน์ ไม่มีการแข่งขันลีกในประเทศจึงให้สิทธิ์แก่ผู้ชนะเลิศ ลิกเตนสไตน์ฟุตบอลคัพ ลงเล่นแทน

นอกจากนี้ รายการนี้ยังเป็นการแข่งขันรองรับทีมที่ตกรอบจากรอบคัดเลือกรอบเบื้องต้น และรอบแรก ของรายการแชมเปียนส์ลีก และทีมที่ตกรอบจากรอบคัดเลือกรอบที่สาม และรอบเพลย์-ออฟ ของรายการยูโรปาลีก จากการปรับโครงสร้างใหม่นี้ จะไม่มีสมาคมใดที่จะได้รับสิทธ์ลงเล่นมากขึ้นจากที่เคยได้รับมาก่อนรอบการแข่งขันปี 2021–24

รอบแบ่งกลุ่ม และรอบแพ้คัดออก[แก้]

ในรอบแบ่งกลุ่มจะประกอบไปด้วย 32 ทีม กลุ่มละ 4 ทีม มีทั้งหมดแปดกลุ่ม ทีมแชมป์กลุ่มจะผ่านเข้าสู่รอบ 16 ทีมสุดท้าย ขณะที่รองแชมป์กลุ่มจะต้องไปแข่งขันกับทีมลำดับสามในรอบแบ่งกลุ่มของรายการยูโรปาลีก โดยมีชื่อว่ารอบแพ้คัดออกเบื้องต้น เพื่อหาผู้ชนะเข้าสู่รอบ 16 ทีมสุดท้าย แล้วจึงแข่งขันเพื่อหาทีมเข้าสู่รอบ 8 ทีม, 4 ทีมสุดท้าย และรอบชิงชนะเลิศต่อไป การแข่งขันใหม่จะมีการแข่งขัน 141 นัดในช่วง 15 สัปดาห์การแข่งขัน[4]

ผู้ชนะการแข่งขันใหม่จะได้รับสิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขันยูฟ่ายูโรปาลีกในฤดูกาลถัดไป การแข่งขันจะเล่นในวันพฤหัสบดี[4]

การจำแนกสิทธิ์ (ตั้งแต่ 2021–22 ถึง 2023–24)[แก้]

แต่ละสมาคมจะส่งทีมได้ตามสิทธิ์ของตนที่ได้ถูกจัดสรรไว้แล้วตามค่าสัมประสิทธิ์ยูฟ่า โดยคัดเลือกจากทีมที่มีอันดับสูงสุดหลังจากผู้ที่มีสิทธิ์ลงเล่นในแชมเปียนส์ลีก และยูโรปาลีกในปีที่แล้วในรายการนั้น ๆ ตามที่ได้รับสิทธิ์ ทั้งนี้ อังกฤษ ซึ่งได้รับสิทธิ์ให้ทีมลำดับที่ 6 ในพรีเมียร์ลีก ลงเล่น ได้แจ้งเปลี่ยนแปลงให้สิทธิ์แก่ทีมชนะเลิศ คาราบาวคัพ ลงเล่นแทน

ทีมที่เพิ่งเข้าร่วมลงเล่นในรอบนี้ ทีมที่ได้ลงเล่นจากการชนะรอบก่อนหน้า ทีมที่ตกรอบจากแชมเปียนส์ลีก ทีมที่ตกรอบจากยูโรปาลีก
รอบคัดเลือกรอบแรก
(72 ทีม)
  • ทีมแชมป์ฟุตบอลถ้วยจำนวน 26 ทีมจากสมาคมลำดับที่ 30–55
  • ทีมรองแชมป์ฟุตบอลลีกจำนวน 25 ทีมจากสมาคมลำดับที่ 30–55 (ยกเว้นลิกเตนสไตน์)
  • ทีมลำดับที่สามฟุตบอลลีกจำนวน 21 ทีมจากสมาคมลำดับที่ 29–50 (ยกเว้นลิกเตนสไตน์)
รอบคัดเลือกรอบที่สอง สายชนะเลิศ
(20 ทีม)
  • 17 ทีมที่ตกรอบจากแชมเปียนส์ลีก รอบคัดเลือกรอบแรก
  • 3 ทีมที่ตกรอบจากแชมเปียนส์ลีก รอบคัดเลือกก่อนรอบแรก
สายไม่ชนะเลิศ
(90 ทีม)
  • ทีมแชมป์ฟุตบอลถ้วยจำนวน 14 ทีมจากสมาคมลำดับที่ 16–29
  • ทีมรองแชมป์ฟุตบอลลีกจำนวน 14 ทีมจากสมาคมลำดับที่ 16–29
  • ทีมลำดับที่สามฟุตบอลลีกจำนวน 16 ทีมจากสมาคมลำดับที่ 13–28
  • ทีมลำดับที่สี่ฟุตบอลลีกจำนวน 9 ทีมจากสมาคมลำดับที่ 7–15
  • ทีมลำดับที่ห้าฟุตบอลลีกจำนวน 1 ทีมจากสมาคมลำดับที่ 6
  • 36 ทีมที่ชนะจากรอบคัดเลือกรอบแรก
รอบคัดเลือกรอบสาม สายชนะเลิศ
(10 ทีม)
  • 10 ทีมที่ชนะจากรอบคัดเลือกรอบที่สองสายชนะเลิศ
สายไม่ชนะเลิศ
(52 ทีม)
  • ทีมลำดับที่สามฟุตบอลลีกจำนวน 6 ทีมจากสมาคมลำดับที่ 7–12
  • ทีมลำกับที่สี่ฟุตบอลลีกจำนวน 1 ทีมจากสมาคมลำดับที่ 6
  • 45 ทีมที่ชนะจากรอบคัดเลือกรอบที่สองสายไม่ชนะเลิศ
รอบเพลย์-ออฟ สายชนะเลิศ
(10 ทีม)
  • 5 ทีมที่ชนะจากรอบคัดเลือกรอบที่สามสายชนะเลิศ
  • 5 ทีมที่ตกรอบจากยูโรปาลีกรอบคัดเลือกรอบที่สามสายชนะเลิศ
สายไม่ชนะเลิศ
(34 ทีม)
  • ทีมลำดับที่ห้าฟุตบอลลีกจำนวน 1 ทีมจากสมาคมลำดับที่ 5
  • ทีมลำดับที่หกฟุตบอลลีกจำนวน 1 ทีมจากสมาคมลำดับที่ 1–4 (ประเทศอังกฤษ ให้สืทธิ์แก่ทีมแชมป์คาราบาวคัพ)
  • 26 ทีมที่ชนะจากรอบคัดเลือกรอบที่สามสายไม่ชนะเลิศ
  • 3 ทีมที่ตกรอบจากยูโรปาลีกรอบคัดเลือกรอบที่สามสายไม่ชนะเลิศ
รอบแบ่งกลุม
(32 ทีม)
  • 5 ทีมที่ชนะจากรอบเพลย์-ออฟ สายชนะเลิศ
  • 17 ทีมที่ชนะจากรอบเพลย์-ออฟ สายไม่ชนะเลิศ
  • 10 ทีมที่ตกรอบจากยูโรปาลีกรอบเพลย์-ออฟ
รอบแพ้คัดออกเบื้องต้น
(16 ทีม)
  • ทีมรองชนะเลิศของกลุ่มจำนวน 8 ทีมจากรอบแบ่งกลุ่ม
  • ทีมลำดับที่สามของกลุ่มจำนวน 8 ทีมจากรอบแบ่งกลุ่มในยูโรปาลีก
รอบแพ้คัดออก
(16 ทีม)
  • ทีมแชมป์กลุ่มจากรอบแบ่งกลุ่มจำนวน 8 ทีม
  • ทีมชนะรอบแพ้คัดออกเบื้องต้นจำนวน 8 ทีม

การแข่งขันนัดชิงชนะเลิศ[แก้]

สัญลักษณ์
นัดที่ตัดสินในช่วงต่อเวลาพิเศษ
* นัดที่ตัดสินในช่วงการดวลลูกโทษ
รายการนัดชิงชนะเลิศยูฟ่ายูโรปาคอนเฟอเรนซ์ลีก
ฤดูกาล ชนะเลิศ ผล รองชนะเลิศ สนาม ผู้ชม
2021–22 อิตาลี โรมา 1–0 เนเธอร์แลนด์ ไฟเยอโนร์ด อาเรนากอมเบอตาเร ติรานา  แอลเบเนีย 19,597
2022–23 อังกฤษ เวสต์แฮมยูไนเต็ด 2–1 อิตาลี ฟีออเรนตีนา สนามกีฬาซีโนโบ ปราก  เช็กเกีย 17,363
2023–24 v สนามกีฬาอาเจียโซเฟีย เอเธนส์  กรีซ

บันทึกและสถิติ[แก้]

ผลงานแบ่งตามสโมสร[แก้]

สโมสร ชนะเลิศ รองชนะเลิศ ปีที่ชนะเลิศ ปีที่เป็นรองชนะเลิศ
อิตาลี โรมา 1 0 2022
อังกฤษ เวสต์แฮมยูไนเต็ด 1 0 2023
อิตาลี ฟีออเรนตีนา 0 1 2023
เนเธอร์แลนด์ ไฟเยอโนร์ด 0 1 2022

ผลงานแบ่งตามประเทศ[แก้]

ประเทศ ชนะเลิศ รองชนะเลิศ ทั้งหมด
 อิตาลี 1 1 2
 อังกฤษ 1 0 1
 เนเธอร์แลนด์ 0 1 1

ดูเพิ่ม[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

  1. ทีมอันดับสองในแต่ละกลุ่มจะผ่านเข้าสู่รอบแพ้คัดออกเบื้องต้น โดยพวกเขาจะเข้าร่วมโดยทีมอันดับสาม 8 ทีมจากรอบแบ่งกลุ่มของยูโรปาลีก

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "'Europa League 2': Uefa confirms new tournament from 2021". BBC Sport. 2 ธันวาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2018.
  2. "Uefa ponders third competition beneath Champions League and Europa League". The Guardian. 16 กันยายน 2015. สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2018.
  3. "Uefa set to introduce third European club competition from 2021–22". The Guardian. 11 กันยายน 2018. สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2018.
  4. 4.0 4.1 4.2 "UEFA Executive Committee approves new club competition". UEFA.com. Union of European Football Associations. 2 ธันวาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2018.
  5. "Format change for 2020/21 UEFA Nations League". UEFA.com. Union of European Football Associations. 24 กันยายน 2019.
  6. "UEL2 Access List 2021–24" (PDF). UEFA. 2 ธันวาคม 2018. สืบค้นเมื่อ 2 ธันวาคม 2018.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]