ข้ามไปเนื้อหา

ตาลิส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Thalys)
ตาลิส
รถไฟตาลิส TGV ในโฮฟด์ดอร์ป, ประเทศเนเธอร์แลนด์
ข้อมูลทั่วไป
เจ้าของยูโรสตาร์ กรุป
จำนวนสถานี26
เว็บไซต์www.thalys.com
การดำเนินงาน
รูปแบบรถไฟความเร็วสูง
ขบวนรถ
ประวัติ
ปีที่เริ่ม4 มิถุนายน 1996; 28 ปีก่อน (1996-06-04)
ข้อมูลทางเทคนิค
รางกว้าง1,435 mm (4 ft 8 12 in) สแตนดาร์ดเกจ
ความเร็ว300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (190 ไมล์ต่อชั่วโมง)
แผนที่เส้นทาง

อัมสเตอร์ดัมแซ็นตราล
ท่าอากาศยานอัมสเตอร์ดัมสคิปโฮล
โรตเตอร์ดัมแซ็นตราล
พรมแดนเนเธอร์แลนด์–เบลเยียม
อันต์แวร์เปิน-แซ็นตราล
ดอร์ทมุนท์
เอ็สเซิน
ดืสบวร์ค
ท่าอากาศยานดึสเซิลดอร์ฟ
ดึสเซิลดอร์ฟ
โคโลญ
อาเคิน
พรมแดนเยอรมนี–เบลเยียม
ลีแยฌ-กีเยอแม็ง
บรัสเซลล์-เซาท์
พรมแดนเบลเยียม–ฝรั่งเศส
ท่าอากาศยานชาร์ล เดอ โกล 2 เตเฌเว
มาร์น-ลา-วาเล–แชซี
ปารี-นอร์
ตาลิสแนฌ (ฤดูหนาว)
ช็องเบรี–ชาลเลโซ
อาลแบร์วีล
มูตีเย–ซาแล็ง–บรีด-เล-แบ็ง
แอม–ลาปลาญ
ล็องดรี
บูร์-แซ็ง-มอริส
ตาลิสซอแลย์ (ฤดูร้อน)
วาล็องส์ เตเฌเว
อาวีญง เตเฌเว
แอ็กซ็องพรอว็องส์ เตเฌเว
มาร์แซย์-แซ็ง-ชาร์ล
รถไฟตาลิส 4346 ในเมืองโคโลญ ประเทศเยอรมนี

ตาลิส (ฝรั่งเศส: Thalys) เป็นขบวนรถไฟความเร็วสูงระหว่างประเทศ วิ่งระหว่างกรุงปารีสกับกรุงบรัสเซลส์ ใช้ระบบรางร่วมกับรถไฟยูโรสตาร์และรถไฟเตเฌเว (TGV) รถไฟตาลิสให้บริการถึงอัมสเตอร์ดัมและโคโลญด้วย รถไฟตาลิสบริหารงานโดยตาลิสแอ็งแตร์นาซียอนาล (Thalys International) ซึ่งเป็นการร่วมทุนกันของบริษัทระหว่างประเทศ 4 ประเทศคือ ฝรั่งเศส เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ และเยอรมนี

ประวัติการสร้าง

[แก้]

การตัดสินใจก่อสร้างระบบรถไฟความเร็วสูงระหว่างปารีส บรัสเซลส์ โคโลญ และอัมสเตอร์ดัม เกิดขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1993 เมื่อบริษัททางรถไฟแห่งชาติฝรั่งเศส (SNCF), การรถไฟแห่งชาติเบลเยียม (NMBS/SNCB), การรถไฟเนเธอร์แลนด์ (Nederlandse Spoorwegen) และบริษัทรถไฟแห่งชาติเยอรมนี (Deutsche Bahn) ได้ทำข้อตกลงที่จะให้บริการรถไฟความเร็วสูงร่วมกันในชื่อ ตาลิส[1] ปี ค.ศ. 1995 ได้มีการจัดตั้งบริษัท Westrail International โดยบริษัททางรถไฟแห่งชาติฝรั่งเศสร่วมกันกับการรถไฟแห่งชาติเบลเยียมให้เป็นผู้ดูแลและให้บริการรถไฟตาลิส และเริ่มให้บริการครั้งแรกเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2539 ขบวนรถขบวนแรกวิ่งออกจากปารีสโดยใช้รางสายความเร็วสูงตอนเหนือ (LGV Nord) ของฝรั่งเศสไปถึงกรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม ใช้เวลาเดินทาง 2 ชั่วโมง 7 นาที และถึงสถานีอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ ใช้เวลา 4 ชั่วโมง 47 นาที[2]

ปี ค.ศ. 1997 เส้นทางรถไฟความเร็วสูง สาย 1 (Hight-Speed line 1) ของเบลเยียม ซึ่งเป็นระบบรางที่เชื่อมต่อระหว่างบรัสเซลส์กับเส้นทางรถไฟความเร็วสูงตอนเหนือของฝรั่งเศสได้เปิดให้บริการด้วยระบบของรางเส้นทางรถไฟความเร็วสูง สาย 1 ที่อนุญาตให้รถไฟวิ่งได้ 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ทำให้ย่นระยะเวลาการเดินทางจากปารีสถึงบรัสเซลส์เหลือ 1 ชั่วโมง 25 นาที ในช่วงเวลาใกล้เคียงกันนั่นก็ได้เปิดให้บริการไปยังโคโลญ ในเยอรมนี, บรูช, ชาร์เลอรัว, เกนต์, มงส์, นามูร์ และออสเทนด์ในเบลเยียม

ปี ค.ศ. 1999 ได้เปิดให้บริการจากท่าอากาศยานนานาชาติปารีส-ชาร์ล เดอ โกล ตรงไปยังบรัสเซลส์ รวมถึงได้มีการทำ Code sharing กับสายการบินแอร์ฟรานซ์, อเมริกัน แอร์ไลน์ และสายการบินนอร์ทเวสต์แอร์ไลน์ และในปีเดียวกันนั้นได้เปลี่ยนชื่อเป็น ตาลิสแอ็งแตร์นาซียอนาล

ปี ค.ศ. 2002 ได้ขยายการให้บริการไปถึงเมืองมาร์แซย์และอาวีญงในประเทศฝรั่งเศส ในเดือนธันวาคมปีเดียวกันนั้น เส้นทางรถไฟความเร็วสูง สาย 2 ของเบลเยียมได้ก่อสร้างแล้วเสร็จ ทำให้ขบวนรถระหว่างบรัสเซลส์กับโคโลญได้เปลี่ยนไปใช้เส้นทางนี้แทน

ปี ค.ศ. 2003 เปิดให้บริการไปยังท่าอากาศยานนานาชาติบรัสเซลส์

ปี ค.ศ 2007 การก่อสร้างเส้นทางรถไฟความเร็วสูง สาย 3 ช่วงระหว่างเมืองลีแยฌในเบลเยียมกับเมืองอาเคินในเยอรมนีแล้วเสร็จ แต่ขบวนรถตาลิสยังไม่รองรับกับระบบให้สัญญาณ ETCS (European Train Control System)

ปี ค.ศ. 2009 หลังจากปรับปรุงระบบรับสัญญานและทดสอบระบบให้เข้ากับ ETCS แล้ว ขบวนรถไฟตาลิสก็วิ่งอย่างสมบูรณ์แบบบนรางรถไฟความเร็วสูง สาย 3 ทำให้ขบวนรถระหว่างบรัสเซลส์กับโคโลญย่นระยะเวลาเดินทางอีก 19 นาที และในปีเดียวกันนี้รถไฟตาลิส ก็ได้เริ่มให้บริการบนรางรถไฟความเร็วสูง สาย 4 หรือรถไฟความเร็วสูง สายใต้ ซึ่งเป็นรางระหว่างเมืองแอนต์เวิร์ปกับอัมสเตอร์ดัม ตั้งแต่วันที่ 29 สิงหาคม ค.ศ. 2011 เป็นต้นมาขบวนรถเดิมที่วิ่งระหว่างบรัสเซลส์กับโคโลญ ได้วิ่งไปถึงเมืองดุยส์บูร์กและเอสเซินในเยอรมนี[3]และวิ่งถึงท่าอากาศยานนานาชาติบรัสเซลส์ในเบลเยียม[4] ปี ค.ศ. 2013 เริ่มให้บริการที่สถานีท่าอากาศยานดึสเซลดอร์ฟ[5]

เส้นทางรถไฟ

[แก้]

นอกจากบรัสเซลส์แล้ว เมืองใหญ่ที่ตาลิสให้บริการคือ แอนต์เวิร์ป รอตเทอร์ดัม อัมสเตอร์ดัม ลีแยฌ บรูช เกนต์ ชาเลอรัว อาเคิน และโคโลญ รถไฟตาลิสวิ่งบนระบบรางสำหรับรถไฟความเร็วสูงโดยเฉพาะด้วยความเร็ว 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่ก็มีบางช่วงที่วิ่งบนกับรางรถไฟเดิมร่วมกับรถไฟธรรมดาด้วยความเร็ว 160-200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เส้นทางรถไฟหลักที่ตาลิสใช้คือ

  • เส้นทางความเร็วสูงตอนเหนือ (LGV Nord) และเส้นทางรถไฟความเร็วสูง สาย 1 (HSL 1) ระหว่างปารีสกับบรัสเซลส์
  • เส้นทางรถไฟความเร็วสูง สาย 4/สายใต้ (HSL 4/HSL-Zuid) ระหว่างแอนต์เวิร์ปกับอัมสเตอร์ดัม
  • เส้นทางรถไฟความเร็วสูง สาย 2 (HSL 2) และเส้นทางรถไฟความเร็วสูง สาย 3 (HSL 3) ระหว่างบรัสเซลส์กับอาเคิน และใช้ระบบรางของฝรั่งเศสการในบริการตามช่วงฤดูกาล

ได้มีแผนการให้บริการจากโคโลญถึงแฟรงก์เฟิร์ต แต่ก็ล้มเลิกไปเนื่องจากรถไฟตาลิสไม่มีประสิทธิภาพพอสำหรับระบบไฟฟ้า 15 กิโลโวลต์ (kV) ของเยอรมนี ดังนั้นจึงทำให้รถไฟตาลิสไม่สามารถวิ่งบนเส้นทางนี้[6][7]

สำหรับการเดินทางจากปารีสถึงบรัสเซลส์ ระยะทางประมาณ 300 กม. ใช้เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 22 นาที ด้วยความเร็วสูงสุด 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง บนรางสำหรับรถไฟความเร็วสูงโดยเฉพาะ

โครงข่ายรางรถไฟในทวีปยุโรป

การเชื่อมต่อกับระบบรางของฝรั่งเศสไปยังท่าอากาศยานนานาชาติปารีส-ชาร์ล เดอ โกล ทำให้สายการบินแอร์ฟรานซ์ เปลี่ยนการให้บริการการบินระหว่างปารีสกับบรัสเซลส์ มาร่วมให้บริการกับรถไฟตาลิสแทน[8] รถไฟตาลิสได้รับรหัสสายการบิน (IATA) คือ 2H นอกจากนี้ยังให้บริการร่วมกับสายการบินอเมริกัน แอร์ไลน์ และเดลต้า แอร์ไลน์ สายการบินอเมริกัน แอร์ไลน์ได้ร่วมทำสัญญา Code sharing กับรถไฟตาลิสในการให้บริการทางรางจากท่าอากาศยานนานาชาติปารีส-ชาร์ล เดอ โกล สู่สถานีบรัสเซลส์เซาท์ (Brussels-South) กลุ่มพันธมิตรสายการบินสกายทีม ยังได้ร่วมทำสัญญา Code sharing กับรถไฟตาลิสในการบริการทางรางจากศูนย์กลางการบิน (Hub) คือท่าอากาศยานอัมสเตอร์ดัมสคิพฮ็อล ไปสถานีแอนต์เวิร์ปเซ็นทรัล และสถานีบรัสเซลส์ และล่าสุดคือสายการบินเจ็ตแอร์เวย์ของอินเดียได้ทำ Code sharing กับรถไฟตาลิสในการให้บริการระหว่างปารีสกับรัสเซลส์ [9]

การเข้าถึงบริการ

[แก้]

รถไฟตาลิสให้บริการสำหรับผู้ที่ใช้วีลแชร์ โดยจะมีเจ้าหน้าที่ของรถไฟตาลิสคอยช่วยเหลือ รถไฟตาลิสไม่อนุญาตให้นำจักรยานขึ้นบนรถไฟ ยกเว้นจะถอดแยกชิ้นส่วนหรือห่อให้เรียบร้อยก่อน จักรยานที่ทำการห่อเรียบร้อยแล้วสามารถนำขึ้นรถได้[10]

แบบของขบวนรถไฟ

[แก้]

รถไฟตาลิสใช้รถไฟ 2 แบบ ทั้งสองแบบเป็นชนิดเดียวกับรถไฟเตเฌเว ผลิตโดยบริษัทอาลสตอม (Alstom) ในฝรั่งเศส

 แบบรถ  รูปภาพ  ชนิด   ความเร็วสูงสุด   จำนวน (ขบวน)    สร้างเมื่อปี   อื่นๆ 
 mph   km/h 
PBA พ่วงหลายโบกี้โดยใช้ไฟฟ้าเป็นแหล่งพลังงาน 186 300[11] 9 1996 ใช้กระแสไฟฟ้า Tri-current, ให้บริการในเส้นทางปารีส-บรัสเซลส์-อัมสเตอร์ดัม เท่านั้น
PBKA พ่วงหลายโบกี้โดยใช้ไฟฟ้าเป็นแหล่งพลังงาน 186 300 17 1997 ใช้กระแสไฟฟ้า Quadri-current, ให้บริการจากปารีส-บรัสเซลส์-โคโลญ-อัมสเตอร์ดัม เท่านั้น

อุบัติการณ์และอุบัติเหตุ

[แก้]

วันที่ 9 พฤษภาคม ค.ศ. 1998 ได้มีรถบรรทุกขวางทางขบวนรถไฟตาลิส PBKA บนทางข้ามที่ไม่มีที่กั้น รถบรรทุกพยายามที่จะข้ามรางรถไฟตอนที่รถไฟมาถึง คนขับรถบรรทุกเสียชีวิตจากการชน อุปกรณ์แปลงไฟของรถ 1 ใน 2 อันได้รับความเสียหาย ขบวนรถไฟได้รับความเสียหายอย่างหนัก ผู้โดยสาร 6 คนได้รับบาดเจ็บ รางและระบบส่งไฟได้รับความเสียหาย รถพ่วง R1 และ R2 เสียหายและไม่สามารถซ่อมได้จึงต้องทิ้งไป ส่วนที่เหลือได้รับการซ่อมแซม และนำขบวนรถพ่วง R1 และ R2 จากรถไฟ TGV มาพ่วงต่อ

วันที่ 8 ตุลาคม ค.ศ. 2008 ขบวนรถไฟตาลิส PBA ที่มุ่งหน้าไปอัมสเตอร์ดัม ได้ชนกับขบวนรถท้องถิ่น ICM ที่สถานีเกาดา (Gouda Railway station) ในเนเธอร์แลนด์ เนื่องจากรถไฟตาลิสได้ถูกสับรางที่สถานีเกาด้าเพราะการซ่อมรางหลัก ไม่มีผู้โดยสารได้รับบาดเจ็บรุนแรง แต่ขบวนรถไฟทั้งสองขบวนเสียหายอย่างหนัก ภายหลังการสืบสวนสรุปว่า เจ้าหน้าที่ของขบวนรถท้องถิ่น ICM ผิดเพราะวิ่งออกจากชานชาลาในขณะที่ยังไม่ได้สัญญาณไฟเขียว[12][13]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Thalys (1976-1995) train: economic development drive เก็บถาวร 2016-03-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  2. | ประวัติของตาลิส
  3. เฮิรมเซน,สเตฟาน (ภาษาเยอรมัน) connects the Ruhr area with Paris[ลิงก์เสีย]
  4. หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นประเทศเบลเยียม [http://www.lalibre.be/economie/actualite/article/685230/brussels-airport-a-1h47-de-paris-via-thalys.html%7CBrussels[ลิงก์เสีย] Airport 1h47 away from Paris with Thalys
  5. ตารางเดินรถไฟตาลิส ฤดูหนาวปี 2013 [1]
  6. http://www.railfaneurope.net/list/germany/germany_db_fv.html%7Crailfaneurope.net[ลิงก์เสีย] (7 มีนาคม 2009)]
  7. อเลน จูเนสส์,มิเชล โรลลิน (ภาษาฝรั่งเศส) motorisation du TGV POS วันที่2004-03
  8. หนังสือของสำนักงานความรับผิดชอบรัฐบาลสหรัฐอเมริกา,สนพ.DIANE,1994 หัวข้อ Intermodal Transportation หน้า 27 isbn = 1-4289-3337-9
  9. http://in.news.yahoo.com/jet-airways-forms-air-rail-code-share-thalys-124248337.html
  10. Thalys Trains, European Trains | Rail Europe
  11. Gazette: Manufacturers must share the risk[ลิงก์เสีย]
  12. เว็บไซต์ nu.nl,accident [2] เก็บถาวร 2012-05-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  13. Goudaivwrapport[3]