ข้ามไปเนื้อหา

ปลอฟดิฟ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Plovdiv)
ปลอฟดิฟ

Пловдив
ตราราชการของปลอฟดิฟ
ตราอาร์ม
สมญา: 
The city of the seven hills (Градът на седемте хълма)
คำขวัญ: 
Ancient and eternal (Древен и вечен)
ปลอฟดิฟตั้งอยู่ในบัลแกเรีย
ปลอฟดิฟ
ปลอฟดิฟ
สถานที่ตั้งของปลอฟดิฟในบัลแกเรีย
พิกัด: 42°9′N 24°45′E / 42.150°N 24.750°E / 42.150; 24.750
ประเทศธงของประเทศบัลแกเรีย บัลแกเรีย
จังหวัดปลอฟดิฟ
Established4000 BC
การปกครอง
 • MayorIvan Totev (GERB)
พื้นที่
 • ตัวเมือง101.98 ตร.กม. (39.37 ตร.ไมล์)
ความสูง164 เมตร (538 ฟุต)
ประชากร
 (Census February 2011[1])
 • ตัวเมือง338,153 คน
 • ความหนาแน่น3,316 คน/ตร.กม. (8,590 คน/ตร.ไมล์)
 • เขตเมือง403,153 คน
 • รวมปริมณฑล546,472 คน
 • DemonymPlovdivchanin
เขตเวลาUTC+2 (EET)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)UTC+3 (EEST)
Postal code4000
รหัสพื้นที่(+359) 032
เว็บไซต์www.plovdiv.bg

ปลอฟดิฟ (บัลแกเรีย: Пловдив; อังกฤษ: Plovdiv) เป็นเมืองใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศบัลแกเรีย รองจากเมืองโซเฟีย โดยมีประชากร 338,153 คน (ค.ศ. 2011)[1] ประวัติศาสตร์ของเมืองนี้ย้อนไปได้ราว 6,000 ปี ในการตั้งถิ่นฐานในยุคหินใหม่ ราว 4000 ก่อนคริสต์ศักราช เป็นเมืองที่เก่าแก่ที่สุดเมืองหนึ่งในยุโรป[2] เป็นเมืองศูนย์กลางการปกครองของจังหวัดปลอฟดิฟ เป็นเมืองสำคัญด้านเศรษฐกิจ การขนส่ง วัฒนธรรม และการศึกษา[3] สถาบันการศึกษาอเมริกันนอกสหรัฐอเมริกาที่เก่าแก่ที่สุดตั้งอยู่ที่เมืองนี้ โดยก่อตั้งในปี ค.ศ. 1860 แต่หลังจากนั้นย้ายไปอยู่ที่กรุงโซเฟีย ใช้ชื่ออเมริกันคอลเลจออฟโซเฟีย

เมืองตั้งอยู่ทางตอนกลางของประเทศ บนฝั่งแม่น้ำมารีตซา ทางเหนือของทิวเขารอโดพี เมืองนี้เคยตกเป็นของมาซิโดเนียสมัยกษัตริย์ฟิลิปที่ 2 เมื่อ 341 ปีก่อนคริสต์ศักราช ผนวกเข้ากับโรมใน ค.ศ. 46 ในสมัยกลางเปลี่ยนผู้ปกครองหลายครั้ง พวกเติร์กเข้ายึดครองในปี ค.ศ. 1364 จนตกเป็นของบัลแกเรียในปี ค.ศ. 1885

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "1. Население към 01.02.2011 година (338,153 д. в Пловдив, 403,153 д. общо с община Родопи и Марица)" (PDF). Nsi.bg. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-07-27. สืบค้นเมื่อ 2011-07-03.
  2. Rodwell, Dennis (2007). Conservation and Sustainability in Historic cities. Blackwell Publishing. p. 19. ISBN 1405126566.
  3. avtori Evgeni Dinchev (2002). Пътеводител България (ภาษาบัลแกเรีย). София: ТАНГРА ТанНакРа ИК. p. 138. ISBN 954-9942-32-5.