MissingNo.

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

A boy wearing a baseball cap seen from behind looks up at a lower-case "d" shaped character with a scrambled appearance. Below, a text box says "Wild MISSINGNO. appeared!"
ผู้เล่นเผชิญหน้ากับ MissingNo. ในเกมโปเกมอนภาคเรด

MissingNo. (อังกฤษ: MissingNo; ญี่ปุ่น: けつばんโรมาจิKetsuban) หรือ MissingNO[1] เป็นสายพันธุ์โปเกมอนไม่เป็นทางการพบในวิดีโอเกมโปเกมอนภาคเรดและบลู MissingNo. ย่อจาก "Missing Number" เกมฟรีกใช้ MissingNo. เป็นชุดคำสั่งจัดการสิ่งผิดปรกติ (exception handler) โปเกมอนตัวนี้จะปรากฏเมื่อเกมพยายามเข้าถึงข้อมูลของสายพันธุ์โปเกมอนที่ไม่มีอยู่จริง เนื่องจากการเขียนโปรแกรมส่วนของเหตุการณ์ในเกมสามเหตุการณ์ ผู้เล่นสามารถพบกับ MissingNo. ได้ผ่านกลิตช์ นินเท็นโดบันทึกข้อมูลโปเกมอนสายพันธุ์นี้ครั้งแรกในนิตยสารนินเท็นโดเพาเวอร์ฉบับเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2542

การเผชิญกับ MissingNo. ทำให้เกิดข้อผิดพลาดทางกราฟิก และเกิดการทำไอเทมลำดับที่หกซ้ำจำนวนมากในเมนูไอเทมของผู้เล่น การทำไอเทมซ้ำนี้ทำให้มีรายงานผ่านคู่มือกลยุทธ์และนิตยสารเกม ไอจีเอ็นมองการปรากฏตัวของ MissingNo. ในเกมโปเกมอนภาคเรดและบลูว่าเป็นหนึ่งในกลิตช์ของวิดีโอเกมที่โด่งดังที่สุด แฟนของเกมพยายามใช้เหตุผลเพื่อกำหนดให้ MissingNo. เป็นฉบับแท้ของเกมอย่างหนึ่ง และนักสังคมวิทยายังศึกษาผลกระทบของ MissingNo. ที่มีต่อผู้เล่นด้วย[2]

ประวัติ[แก้]

เกมชุดโปเกมอนเกิดขึ้นใน พ.ศ. 2539 ในประเทศญี่ปุ่น พัฒนาโดยบริษัทเกมฟรีก และจำหน่ายโดยนินเท็นโด ผู้เล่นรับบทเป็นโปเกมอนเทรนเนอร์ โดยมีเป้าหมายในการจับและฝึกฝนสิ่งมีชีวิตเรียกว่า โปเกมอน ผู้เล่นใช้ความสามารถพิเศษของโปเกมอนต่อสู้กับโปเกมอนตัวอื่น ๆ[3][4] และความสามารถบางอย่างทำให้ผู้เล่นสามารถสำรวจโลกของเกมได้ในวิธีใหม่ ๆ เช่น การเดินทางถึงที่หมายในทันที[5]

นินเท็นโดเริ่มบันทึกเหตุการณ์ที่ทำให้เกิด MissingNo. ในนิตยสารนินเท็นโดเพาเวอร์ ฉบับประจำเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2542 พร้อมคำเตือนว่า "หากพบมัน (แม้ว่าคุณไม่ได้จับมัน) ไฟล์เกมของคุณอาจหายไปหรือทำให้ภาพเกมยุ่งเหยิง"[6] กลิตช์ดังกล่าวเป็นผลพวงมาจากเหตุการณ์หลายเหตุการณ์ต่อเนื่องกัน อย่างแรก ผู้เล่นชมระบบสอนจับโปเกมอน จากนั้นผู้เล่นให้โปเกมอนบิน (Fly) ไปที่เกาะซินนาบาร์ และใช้โปเกมอนที่มีท่าโต้คลื่น (Surf) เดินทางขึ้นลงตามกระแสน้ำที่ชายฝั่งทิศตะวันออกของเกาะจน MissingNo. ปรากฏตัว[6][7]

คุณลักษณะ[แก้]

A seal-like creature swimming on a coast. To the left is a town and to the right is water.
ชายฝั่งของเกาะซินนาบาร์ องค์ประกอบสำคัญในการเกิดกลิตช์

การเผชิญหน้ากับ MissingNo. เป็นผลมาจากเหตุการณ์การคอมพิวเตอร์ 3 เหตุการณ์ เหตุการณ์แรกคือระบบสุ่มการเผชิญหน้า ในแต่ละบริเวณจะกำหนดค่าให้กับโปเกมอนในบัฟเฟอร์ข้อมูล ซึ่งตัวเกมจะเข้าถึงข้อมูลในบัฟเฟอร์เพื่อให้ผู้เล่นพบกับโปเกมอนป่า แต่อย่างไรก็ตาม ค่าดังกล่าวนี้ไม่ได้กำหนดไว้ในบัฟเฟอร์ ในบริเวณเกาะซินนาบาร์และเกาะซีโฟม เกมจึงนำข้อมูลจากบริเวณที่แวะล่าสุดมาใช้แทน[8] ปัจจัยที่สองคือในระบบสอนการเล่น ซึ่งจะเก็บชื่อของผู้เล่นไว้ในบัฟเฟอร์ชั่วคราว เป็นเหตุให้เกมเข้าถึงเลขฐานสิบหกของชื่อผู้เล่นเพื่อให้ผู้เล่นพบกับโปเกมอนในเกาะซินนาบาร์และเกาะซีโฟม ปัจจัยที่สามคือระบบการจัดการข้อผิดพลาดของเกม ถ้าเกมเลือกค่าของโปเกมอนที่ไม่มีจริงจากบัฟเฟอร์ข้อมูล ซับรูทีนจะทำงาน ทำให้โปเกมอนชื่อ MissingNo. (ย่อจาก Missing Number) ปรากฏตัว[7][8]

เช่นเดียวกับโปเกมอนป่าตัวอื่น ๆ ผู้เล่นสามารถหนี ต่อสู้ หรือจับ MissingNo. ได้[9] หลังจากเผชิญหน้ากับ MissingNo. จำนวนของไอเทมลำดับที่หกในเมนูไอเทมของผู้เล่นจะเพิ่มจำนวนขึ้น และหอเกียรติยศโปเกมอนจะกลายเป็นกลิตช์อย่างถาวร อาจเกิดกลิตช์ด้านกราฟิกชั่วคราว[9][10] แต่สามารถลบออกได้โดยเข้าชมหน้าสถิติของโปเกมอนตัวอื่น หรือเริ่มคอนโซลใหม่ MissingNo. ที่จับมาได้ จะเป็นโปเกมอนที่สมบูรณ์แบบ และมีดัชนีโปเกมอนหมายเลข 000 MissingNo. ทุกตัวจะมีความสามารถพิเศษ รูปแบบ ค่าสถิติ และเสียงร้องของตนเอง โปเกมอนดังกล่าวมักปรากฏเป็นรูปตัว "d" ที่ดูยุ่งเหยิง แต่ค่าในการเผชิญหน้าค่าหนึ่ง ๆ ทำให้สไปรต์ของมันปรากฏเป็นหนึ่งในสามสไปรต์ที่โปเกมอนอื่นไม่ได้ใช้[9]

ปฏิกิริยาและการตอบรับ[แก้]

แม้ว่า MissingNo. จะปรากฏในเกมไม่กี่เกมในเกมชุดโปเกมอน แต่มันมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ นินเท็นโด เรียกมันว่า "ความพลิกผันทางโปรแกรมมิง" (programming quirk) เตือนไม่ให้เผชิญหน้ากับมัน อ้างว่าผู้เล่นอาจต้องเริ่มเกมใหม่ตั้งแต่ต้นเพื่อลบกลิตช์เกี่ยวกับภาพดังกล่าวออก[1][6][8] แม้ว่านินเท็นโดเตือนเช่นนั้น ในนิตยสารและคู่มือเกมหลายฉบับได้พิมพ์วิธีการเผชิญหน้ากับ MissingNo. เนื่องจากมีผลการตอบรับดี[8][11][12] ผู้เล่นจำนวนหนึ่งพยายามขาย "เคล็ดลับ" การจับ MissingNo. ในราคาสูงถึง 200 ดอลลาร์[13] แม้ว่าไม่ได้เป็นส่วนที่เกมตั้งใจให้มี ไอจีเอ็นใส่ MissingNo. ในรายชื่อไข่อีสเตอร์ในวิดีโอเกมยอดเยี่ยม โดยอ้างถึงประโยชน์ในการทำซ้ำไอเทมหายาก[14] ไอจีเอ็นกล่าวในบทความบทความหนึ่งว่า "มันบอกบางอย่างเกี่ยวกับแฟนโปเกมอน ว่าพวกเขานำสิ่งที่เป็นกลิตช์ทำลายเกมมาใช้เป็นทางลัดในการเพิ่มเลเวลให้โปเกมอนของพวกเขา"[7] และต่อมาเรียกมันว่ากลิตช์ "ที่ไม่อาจลืมได้" ที่ช่วยดันเกมให้เป็น "ซูเปอร์ดาราเกม" (gaming super stardom)[15]

ปฏิกิริยาของผู้เล่นที่มีต่อ MissingNo. กลายเป็นหัวข้อในการศึกษาทางสังคมวิทยาหลายเรื่อง นักสังคมวิทยา วิลเลียม ซิมส์ เบนบริดจ์ กล่าวว่า เกมฟรีกสร้าง "หนึ่งในกลิตช์ที่มีเป็นที่นิยมที่สุดในประวัติศาสตร์เกม" และกล่าวถึงการที่ผู้เล่นนำไปใช้อย่างสร้างสรรค์[2] ในหนังสือเรื่อง Pikachu's Global Adventure: The Rise and Fall of Pokémon ศาสตราจารย์ด้านครุศาสตร์ จูเลียน เซฟตัน-กรีน สังเกตในการวิจัยจากปฏิกิริยาของลูกชายของเขาที่มีต่อการใช้ MissingNo. ในฐานะ "การโกง" โดยทัศนคติของลูกที่มีต่อเกมเปลี่ยนไปอย่างมาก และเสริมว่า การมีกลิตช์ดังกล่าวทลายภาพลวงตาของเกมที่มองว่าเป็นโลกปิดและเตือนใจพวกเขาว่า "โดยแท้แล้ว มันก็คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์"[16] หนังสือเรื่อง Playing with Videogames เล่าเกี่ยวกับการศึกษา MissingNo. เชิงลึก โดยมีรายละเอียดเกี่ยวกับความอยากรู้อยากเห็นของเด็กเมื่อเผชิญหน้ากับมัน หนังสือบรรยายจุดประสงค์ของผู้เล่นแต่ละคนเพื่อเปรียบเทียบ และเพื่อประเมินและวิจารณ์การพบเจอของแต่ละคน[17] หนังสือกล่าวอีกว่า จากความพยายามกำหนดฉบับแท้ให้กับ MissingNo. ผ่านแฟนอาร์ตและแฟนฟิกชัน ชุมชนโปเกมอนยกย่องข้อบกพร่องของเกมและพยายามประทับตนในฉบับแท้ของเกม[18] นักเขียนบรรยายสถานการณ์เหล่านี้ว่าเป็นเอกลักษณ์ และเรียกความนิยมดังกล่าวว่าเป็นกรณีประหลาด[10]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Nintendo. "Customer Service — Specific GamePak Troubleshooting". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-01-27. สืบค้นเมื่อ 2009-06-07.
  2. 2.0 2.1 Bainbridge, William Sims; Wilma Alice Bainbridge (July 2007). "Creative Uses of Software Errors: Glitches and Cheats". Social Science Computer Review. SAGE Publications. 25: 61. doi:10.1177/0894439306289510.
  3. Game Freak (1998-09-30). Pokémon Red and Blue, Instruction manual. Nintendo. pp. 6–7.
  4. Game Freak (1998-09-30). Pokémon Red and Blue, Instruction manual. Nintendo. p. 11.
  5. Game Freak (September 30, 1998). Pokémon Red and Blue. Nintendo. HM02 is FLY. It will take you back to any town.
  6. 6.0 6.1 6.2 Staff (May 1999). "Pokechat". Nintendo Power. 120: 101.
  7. 7.0 7.1 7.2 DeVries, Jack (2008-11-24). "Pokemon Report: OMG Hacks". IGN. IGN Entertainment. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-06. สืบค้นเมื่อ 2009-06-07.
  8. 8.0 8.1 8.2 8.3 Loe, Casey (1999). Pokémon Perfect Guide Includes Red-Yellow-Blue. Versus Books. p. 125. ISBN 1-930206-15-1.
  9. 9.0 9.1 9.2 Schlesinger, Hank (2001). Pokémon Future: The Unauthorized Guide. St. Martin's Paperbacks. pp. 184–188. ISBN 0-312-97758-1.
  10. 10.0 10.1 Newman, James (2008). Playing with Videogames. Taylor & Francis. p. 119. ISBN 0-415-38523-7.
  11. Staff (Summer–Fall 1999). "Top 50 Games". Pocket Games (1): 96.
  12. "Guides: Pokemon Blue and Red". IGN. IGN Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-05. สืบค้นเมื่อ 2009-06-08.
  13. Sweetman, Kim (1999-12-28). "The latest Pokemon trend: if you can't beat 'em, cheat". The Daily Telegraph. p. 11.
  14. Staff (April 9, 2009). "Gaming's Top 10 Easter Eggs". IGN. IGN Entertainment. p. 2. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 5, 2010. สืบค้นเมื่อ June 7, 2009.
  15. Drake, Audrey (2011-01-10). "The Evolution of Pokémon". IGN. IGN Entertainment. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-01-12. สืบค้นเมื่อ 2011-01-12.
  16. Sefton-Green, Julian (2004). "Initiation Rites: A Small Boy in a Poké-World". ใน Tobin, Joseph Jay (บ.ก.). Pikachu's Global Adventure: The Rise and Fall of Pokémon. Duke University Press. pp. 147, 160. ISBN 0-8223-3287-6.
  17. Newman, James (2008). Playing with Videogames. Taylor & Francis. pp. 117–118. ISBN 0-415-38523-7.
  18. Newman, James (2008). Playing with Videogames. Taylor & Francis. p. 118. ISBN 0-415-38523-7.