ฮันนีแบดเจอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Mellivorinae)
ฮันนีแบดเจอร์
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ยุคกลางไพลโอซีน – ปัจจุบัน
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Carnivora
วงศ์: Mustelidae
วงศ์ย่อย: Mellivorinae[1]
หรือ Mustelinae[2]
สกุล: Mellivora
Storr, 1780
สปีชีส์: M.  capensis
ชื่อทวินาม
Mellivora capensis
(Schreber, 1776)
ชนิดย่อย[2]
  • M. capensis abyssinica Hollister, 1910
  • M. capensis buechneri Baryshnikov, 2000
  • M. capensis capensis (Schreber, 1776)
  • M. capensis concisa Thomas and Wroughton, 1907
  • M. capensis cottoni Lydekker, 1906
  • M. capensis inaurita (Hodgson, 1836)
  • M. capensis indica (Kerr, 1792)
  • M. capensis leuconota Sclater, 1867
  • M. capensis maxwelli Thomas, 1923
  • M. capensis pumilio Pocock, 1946
  • M. capensis signata Pocock, 1909
  • M. capensis wilsoni Cheesman, 1920
การแพร่กระจายพันธุ์ของฮันนีแบดเจอร์

ฮันนีแบดเจอร์ (อังกฤษ: Honey badger, Ratel) (ชื่อวิทยาศาสตร์: Mellivora capensis) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในอันดับสัตว์กินเนื้อ จัดอยู่ในวงศ์เพียงพอน (Mustelidae) ชนิดหนึ่ง

จัดเป็นเพียงชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล Mellivora และวงศ์ย่อย Mellivorinae (บางข้อมูลจัดให้อยู่ในวงศ์ย่อย Mustelinae[2])[1] มีถิ่นแพร่กระจายพันธุ์ในทวีปแอฟริกา, ตะวันออกกลาง, เอเชียกลาง และอนุทวีปอินเดีย

ศัพท์มูลวิทยา[แก้]

คำว่า "Ratel" เป็นภาษาอาฟรีกานส์ ที่มีต้นทางมาจากภาษาดัตช์ ขณะที่ชื่อโดยทั่วไป คือ "ฮันนีแบดเจอร์" หรือ "แบดเจอร์น้ำผึ้ง" มีที่มาจากพฤติกรรมการกินน้ำผึ้งเป็นปริมาณมาก โดยไม่กลัวผึ้งต่อย[3]

ชนิดย่อย[แก้]

ชนิดย่อย ถิ่นที่อยู่ ชื่ออื่น ๆ
ฮันนีแบดเจอร์เคป (M. c. capensis) (Schreber, 1776)

ภูมิภาคตอนใต้ และตะวันตกเฉียงใต้ของทวีปแอฟริกา mellivorus (Cuvier, 1798)

ratel (Sparrman, 1777)
typicus (Smith, 1833)
vernayi (Roberts, 1932)

ฮันนีแบดเจอร์อินเดีย (M. c. indica) (Kerr, 1792)[4]

ทางตะวันตกของเอเชียกลาง, แถบแม่น้ำอามูดาร์ยา รวมถึงอัฟกานิสถาน, อิหร่าน, ทางตะวันตกของปากีสถาน และทางตะวันตกของอินเดีย mellivorus (Bennett, 1830)

ratel (Horsfield, 1851)
ratelus (Fraser, 1862)

ฮันนีแบดเจอร์เนปาล (M. c. inaurita) (Hodgson, 1836)[5] ประเทศเนปาล
ฮันนีแบดเจอร์หลังขาว (M. c. leuconota) (Sclater, 1867)[6] แอฟริกาตะวันตก และตอนใต้ของประเทศโมร็อกโก
ฮันนีแบดเจอร์ดำ (M. c. cottoni) (Lydekker, 1906)[6]

ประเทศกานา และทางตะวันออกเฉียงเหนือของสาธารณรัฐคองโก sagulata (Hollister, 1910)
ฮันนีแบดเจอร์ทะเลสาบชาด (M. c. concisa) (Thomas and Wroughton, 1907)[6] เขตซาเฮล, ประเทศซูดาน ไปจนถึงประเทศโซมาเลีย brockmani (Wroughton and Cheesman, 1920)

buchanani (Thomas, 1925)

ฮันนีแบดเจอร์กระ (M. c. signata) (Pocock, 1909)[6] ประเทศเซียร์ราลีโอน
ฮันนีแบดเจอร์เอธิโอเปีย (M. c. abyssinica) (Hollister, 1910) ประเทศเอธิโอเปีย
ฮันนีแบดเจอร์เปอร์เซีย (M. c. wilsoni) (Cheesman, 1920) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศอิหร่าน และประเทศอิรัก
ฮันนีแบดเจอร์เคนยา (M. c. maxwelli) (Thomas, 1923) ประเทศเคนยา
ฮันนีแบดเจอร์อาหรับ (M. c. pumilio) Pocock, 1946[7] คาบสมุทรอาหรับ
ฮันนีแบดเจอร์เติร์กเมนิสถาน (M. c. buechneri) Baryshnikov, 2000[8] ประเทศเติร์กเมนิสถาน

ลักษณะและพฤติกรรม[แก้]

ฮันนีแบดเจอร์ มีรูปร่างคล้ายกับสกังก์ ที่เคยเป็นสัตว์ร่วมวงศ์มาก่อน[9][10] ด้วยการที่มีขนบริเวณส่วนหลังสีขาว ขณะที่มีลำตัวสีดำสนิท มีกรงเล็บที่แหลมคม และฟันเขี้ยวที่แหลมคมในปาก

ฮันนีแบดเจอร์ แบ่งออกได้เป็น 12 ชนิดย่อย (ดูในตาราง)[2] มีความสูงจากตีนจนถึงหัวไหล่โดยเฉลี่ย 23-28 เซนติเมตร (9.1-11 นิ้ว) และความยาวลำตัว 55–77 เซนติเมตร (22–30 นิ้ว) และความยาวหางประมาณ 12–30 เซนติเมตร (4.7–12 นิ้ว) ตัวเมียมีขนาดเล็กกว่าตัวผู้ ตัวผู้มีน้ำหนัก 9-16 กิโลกรัม (20-35 ปอนด์) ขณะที่ตัวเมียประมาณ 5-10 กิโลกรัม (11-22 ปอนด์) โดยเฉลี่ย กะโหลกมีความยาวประมาณ 13.9–14.5 เซนติเมตร (5.5–5.7 นิ้ว) ในตัวผู้ และ 13 เซนติเมตร (5.1 นิ้ว) ในตัวเมีย[11][12] อายุขัยในธรรมชาติยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่อายุในที่เลี้ยงสูงสุด 24 ปี[13] ส่วนใหญ่อยู่ตามลำพัง แต่อาจอยู่เป็นคู่ในฤดูผสมพันธุ์ มักอาศัยอยู่ในโพรงดินที่ขุดขึ้นมาเองด้วยกรงเล็บ หรือเป็นโพรงเก่าของอาร์ดวาร์ก, หมูป่าหน้าหูด หรือรังปลวก[14]

ฮันนีแบดเจอร์ได้ชื่อว่าเป็นสัตว์บกที่ดุร้ายที่สุดในโลก มีการบันทึกชื่อลงในกินเนสส์บุ๊คในปี ค.ศ. 2002 มาแล้ว ด้วยความที่เป็นสัตว์ที่ไม่เกรงกลัวอะไรเลย แม้แต่สัตว์ที่มีขนาดใหญ่กว่าหรือสัตว์มีพิษ สามารถกินอาหารได้หลากหลาย ทั้งแมลง, กบ, เต่าบก, กิ้งก่า, สัตว์ฟันแทะ, งู, นก, ไข่นก, แมงป่อง ตลอดจนเบอร์รี และรากไม้ แต่อาหารที่ชอบมากที่สุด คือน้ำผึ้ง ซึ่งฮันนีแบดเจอร์จะใช้กรงเล็บที่แหลมคมในการขุดเจาะทะลายรวงผึ้งฉีกเอาน้ำผึ้งมากิน โดยที่ไม่เกรงกลัวเหล็กในของผึ้ง เนื่องจากมีขนที่หนาและภูมิคุ้มกันพิษของเหล็กในผึ้งและพิษของงูพิษอยู่ในตัว เมื่อถูกงูพิษกัดหรือผึ้งต่อย ฮันนีแบดเจอร์จะล้มลงนอนเฉย ๆ 2-3 ชั่วโมง จากพฤติกรรมนี้ ทำให้นกพรานผึ้ง ที่ชอบกินผึ้งและน้ำผึ้งเหมือนกัน จะคอยบินติดตามฮันนีแบดเจอร์ เนื่องจากไม่สามารถบินฝ่าฝูงผึ้งเข้าไปกินเองได้ จึงต้องให้ฮันนีแบดเจอร์บุกเข้าไปทะลายรวงผึ้งเสียก่อน นกพรานผึ้งจึงบินตามเข้าไปกิน[15]

ด้วยความที่ไม่เกรงกลัวสัตว์ใหญ่กว่า ฮันนีแบดเจอร์กล้ากระทั่งพุ่งใส่หรือฆ่าสัตว์ดุร้ายที่มีขนาดใหญ่กว่าหลายตัวได้ เช่น เสือดาวแอฟริกา, ไฮยีนา, สิงโต หรือแม้กระทั่งควายป่าแอฟริกา[16] อย่างไรก็ตาม ฮันนีแบดเจอร์สามารถถูกล่าเป็นอาหารของงูหลามแอฟริกา, จระเข้แม่น้ำไนล์ หรือไฮยีนาลายจุดได้[17][18]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Steve Jackson. "Honey Badger..." คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-25. สืบค้นเมื่อ 6 July 2011.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 จาก itis.gov
  3. "10 สุดยอดสัตว์คู่หูของโลก". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2013-01-11.
  4. Pocock 1941, p. 458
  5. Pocock 1941, p. 462
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 Rosevear 1974, pp. 126–127
  7. Pocock, I. R. (1946). "External and cranial characters of some rare Asiatic mammals recently exhibited by the Society". Proceedings of the Zoological Society of London. 115 (3–4): 310–318. doi:10.1111/j.1096-3642.1946.tb00094.x.
  8. Baryshnikov, G. (2000). "A new subspecies of the honey badger Mellivora capensis from Central Asia". Acta Theriologica. 45 (1): 45–55. doi:10.4098/AT.arch.00-5.
  9. Wozencraft, W. C. (2005). "Species Mellivora capensis". ใน Wilson, D. E.; Reeder, D. M. (บ.ก.). Mammal Species of the World: A Taxonomic and Geographic Reference (3rd ed.). Johns Hopkins University Press. p. 612. ISBN 978-0-8018-8221-0. OCLC 62265494.
  10. Dragoo; Honeycutt, Rodney L (1997). "Systematics of Mustelid-like Carnvores". Journal of Mammalogy. Journal of Mammalogy, Vol. 78, No. 2. 78 (2): 426–443. doi:10.2307/1382896. JSTOR 1382896.
  11. Heptner, V. G.; Sludskii, A. A. (2002). Mammals of the Soviet Union. Vol. II, part 1b, Carnivores (Mustelidae). Washington, D.C.: Smithsonian Institution Libraries and National Science Foundation. ISBN 90-04-08876-8.
  12. ""Honey badger videos, photos and facts - Mellivora capensis". ARKive. Retrieved 2012-11-27". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-07. สืบค้นเมื่อ 2013-01-11.
  13. Rosevear, Donovan Reginald (1974). The Carnivores of West Africa. London: British Museum (Natural History). ISBN 978-0-565-00723-2.
  14. Rosevear 1974, pp. 117–118
  15. Dean, W. R. J.; Siegfried, W. R.; MacDonald, I. A. W. (1990). "The Fallacy, Fact, and Fate of Guiding Behavior in the Greater Honeyguide". Conservation Biology. 4 (1): 99–101. doi:10.1111/j.1523-1739.1990.tb00272.x.
  16. Hunter, L. (2011). Carnivores of the World. Princeton: Princeton University Press. ISBN 978-0-691-15228-8.
  17. Braczkowski, A.; Watson, L.; Coulson, D.; Randall, R. (2012). "Diet of leopards in the southern Cape, South Africa". African Journal of Ecology. 50 (3): 377–380.
  18. Hayward, M. W.; Henschel, P.; O'Brien, J.; Hofmeyr, M.; Balme, G. & Kerley, G. I. H. (2006). "Prey preferences of the leopard (Panthera pardus)" (PDF). Journal of Zoology. 270 (2): 298–313. doi:10.1111/j.1469-7998.2006.00139.x. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-02-29. สืบค้นเมื่อ 2020-08-11.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)

อ่านเพิ้ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]