งูหลามแอฟริกา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

งูหลามแอฟริกา
เพศเมียวัยผู้ใหญ่ (สังเกตที่ร่างกายหนา)
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอตา
อาณาจักร: สัตว์
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
ชั้น: สัตว์เลื้อยคลาน
อันดับ: กิ้งก่าและงู
อันดับย่อย: Serpentes
วงศ์: วงศ์งูเหลือม
สกุล: Python
(Gmelin, 1789)
สปีชีส์: Python sebae
ชื่อทวินาม
Python sebae
(Gmelin, 1789)
Map of Africa showing highlighted range of two subspecies covering much of the continent south of the Sahara Desert
  ขอบเขตของ Python sebae
  ขอบเขตของ Python natalensis
  ขอบเขตของลูกผสม
ชื่อพ้อง[2]
ชื่อพ้อง
  • Coluber sebae Gmelin, 1789
  • Coluber speciosus Bonnaterre, 1790
  • Boa hieroglyphica Schneider, 1801
  • Python houttuyni Daudin, 1803
  • Python liberiensis Hallowell, 1845
  • Hortulia sebae Gray, 1849
  • Boa liberiensis Hallowell, 1854
  • Python sebae Boettger, 1887
  • Python sebae Boulenger, 1893
  • Python jubalis Pitman, 1936
  • Python sebae sebae
    Broadley, 1983
  • Python sebae – Branch, 1991
  • Python sebae – Kluge, 1993

งูหลามแอฟริกา (อังกฤษ: African rock python; ชื่อวิทยาศาสตร์: Python sebae) เป็นงูขนาดใหญ่ไม่มีพิษชนิดหนึ่งจำพวกงูหลาม

งูหลามแอฟริกาโดยทั่วไปจะมีสีน้ำตาลและมีลวดลายประจำตัวสีน้ำตาลอ่อนและเขียวเข้มปนเหลือง ด้านล่างลำตัวมีสีขาวครีม จัดเป็นงูอีกชนิดหนึ่งที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีความยาวเฉลี่ย 6 เมตร (20 ฟุต) หรือมากกว่า พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่ทางตอนใต้ของซาฮาร่า, แอฟริกาตะวันออก, โมซัมบิก, ซิมบับเวและในภาคตะวันออกของแอฟริกาใต้ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดย่อย (ดูในตาราง)[3]

งูหลามแอฟริกา จัดเป็นงูขนาดใหญ่ที่สุดในทวีปแอฟริกา กินสัตว์ขนาดใหญ่กว่าเป็นอาหารได้ เช่นสิงโต แอนทิโลป, จระเข้ แม้กระทั่งวิลเดอบีสต์ และมีรายงานว่าทำร้ายและฆ่ามนุษย์ได้ด้วย ด้วยขากรรไกรที่ไม่เชื่อมต่อกันและกระดูกซี่โครงที่สามารถยืดขยายได้และไม่มีกระดูกช่วงอกเหมือนงูชนิดอื่น ๆ แต่โดยปกติแล้วจะกินอาหารจำพวกสัตว์ขนาดเล็ก เช่น นก, หนู, กระรอก เป็นอาหารมากกว่า[4][5][6]

ตัวเมียวางไข่ได้ถึง 100 ฟอง ระยะเวลาการกกไข่อยู่ที่ระหว่าง 2-3 เดือน ลูกงูที่เพิ่งฟักออกจากไข่มีความยาวประมาณ 50-60 เซนติเมตร ลูกงูที่เพิ่งฟักออกจากไข่จะมีสีเดียวกัน และจะมีสีที่เข้มขึ้นเมื่อเติบโตขึ้นตามวัย งูตัวเมียจะมีความดุร้ายอย่างในช่วงการกกไข่[7]

งูหลามแอฟริกา มีความดุร้ายก้าวร้าวกว่างูหลามพม่า (Python bivittatus) และปัจจุบันมีรายงานการเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นในสหรัฐอเมริกาเช่นเดียวกับงูหลามพม่าไปแล้ว โดยสามารถแพร่กระจายพันธุ์ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติเอเวอร์เกลดส์ รัฐฟลอริดา และจากการศึกษาพบว่าสามารถที่จะผสมข้ามพันธุ์กับงูหลามพม่าได้ด้วย[8]

รูปภาพ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Alexander, G.J.; Tolley, K.A.; Penner, J.; Luiselli, L.; Jallow, M.; Segniagbeto, G.; Niagate, B.; Howell, K.; Beraduccii, J.; Msuya, C.A. & Ngalason, W. (2021). "Python sebae". IUCN Red List of Threatened Species. 2021: e.T13300572A13300582. สืบค้นเมื่อ 2 December 2021.
  2. McDiarmid RW, Campbell JA, Touré TA (1999). Snake Species of the World: A Taxonomic and Geographic Reference, Volume 1. Washington, District of Columbia: Herpetologists' League. ISBN 1-893777-00-6 (series). ISBN 1-893777-01-4 (volume).
  3. จาก itis.gov
  4. "ช่างภาพช็อค!! งูหลามยักษ์แอฟริกา เขมือบวิลเดอร์บีส จากเอ็มไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-10. สืบค้นเมื่อ 2013-01-10.
  5. "AGN: Couple acquitted in child's death by python". Amarillo Globe-News. 25 March 2000.
  6. Flanagan, Jane (November 25, 2002). "Children terrified as python eats boy". The Age. สืบค้นเมื่อ January 14, 2010.
  7. งูหลามแอฟริกา
  8. งูหลามพม่า, "สำรวจโลก" ทาง new)tv: วันเสาร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2557

อ่านเพิ่ม[แก้]

  • Boulenger GA (1893). Catalogue of the Snakes in the British Museum (Natural History). Volume I., Containing the Families ... Boidæ ... London: Trustees of the British Museum (Natural History). (Taylor and Francis, printers). xiii + 448 pp. + Plates I-XXVIII. (Python sebae, pp. 86–87).
  • Gmelin JF (1789). Caroli a Linné Systema Naturae. Editio Decima Tertia [13th edition]. Tomus 1, Pars 3. Leipzig: G.E. Beer. 1,896 pp. (Coluber sebae, new species, p. 1118). (in Latin).

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]