การประเมินตัวเองหลัก (จิตวิทยา)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Core self-evaluations)

การประเมินตัวเองหลัก หรือ ค่าประเมินตัวเองหลัก (อังกฤษ: Core self-evaluations ตัวย่อ CSE) เป็นลักษณะบุคลิกภาพ (personality trait) แบบเสถียรอย่างหนึ่งซึ่งรวมการประเมินทั้งตัวเอง ทั้งความสามารถ และทั้งการควบคุมเหตุการณ์ได้ของตน โดยพื้นฐานและใต้จิตสำนึก คนที่มีค่าประเมินตัวเองหลักสูงจะคิดถึงตัวเองในเชิงบวกและมั่นใจในความสามารถของตน และโดยนัยตรงกันข้าม ผู้มีค่าประเมินต่ำจะประเมินตัวเองในเชิงลบและขาดความมั่นใจ แนวคิดในเรื่องนี้ตรวจสอบเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2540[1] โดยรวมมิติ 4 อย่างของบุคลิกภาพ คือ ที่ตั้งการควบคุม (locus of control) ความไม่เสถียรทางอารมณ์ (neuroticism) ความมั่นใจในความสามารถของตน (self-efficacy) และความภูมิใจในตน (self-esteem) เป็นลักษณะที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้พยากรณ์ความพอใจในการงานโดยนิสัย แต่ก็ได้ขยายไปพยากรณ์ผลอื่น ๆ แล้วอีกด้วย CSE สำคัญเป็นพิเศษเพราะว่าเป็นตัวแทนลักษณะบุคลิกภาพที่เสถียร นอกจากนั้นแล้ว รูปแบบที่บุคคลประเมินตัวเองโดย CSE สามารถพยากรณ์ผลบวกทางการงาน ซึ่งโดยเฉพาะก็คือ ความพอใจในการงาน และประสิทธิภาพการทำงาน และความสัมพันธ์เช่นนี้ได้ดลบันดาลให้มีงานวิจัยในเรื่องนี้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยมีผลติดตามที่สำคัญต่อองค์กรต่าง ๆ

นิยามและมิติ 4[แก้]

ที่ตั้งการควบคุม (Locus of control)[แก้]

บทสร้างคือ ที่ตั้งการควบคุม (locus of control) บ่งแนวโน้มที่บุคคลจะอธิบายเหตุการณ์ในชีวิตว่าเกิดขึ้นเพราะตนหรือเพราะปัจจัยอื่น ๆ นอกเหนือจากที่ตนควบคุม มีที่ตั้ง 2 ที่ในเรื่องนี้ คือ ภายในและภายนอก ผู้มีที่ตั้งภายในเชื่อว่าตนสามารถควบคุมสถานการณ์สิ่งแวดล้อม เปรียบเทียบกับผู้มีที่ตั้งภายนอกผู้เชื่อว่าปัจจัยข้างนอกควบคุมชีวิตของตน[2] ผู้มีที่ตั้งภายในมีโอกาสพอใจในงานและชีวิตของตนสูงกว่าเพราะเชื่อว่า ตัวเองสามารถควบคุมเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้[3]

ความไม่เสถียรทางอารมณ์ (Neuroticism)[แก้]

ความไม่เสถียรทางอารมณ์ หรือ Neuroticism ซึ่งเป็นลักษณะหนึ่งในลักษณะบุคลิกภาพใหญ่ 5 อย่าง นิยามว่าเป็นแนวโน้มคงยืนที่จะมีอารมณ์ไม่ดี (เช่น ความโกรธ ความวิตกกังวล และความซึมเศร้า) ได้ง่าย ๆ ผู้มี neuroticism สูงมีปฏิกิริยาต่อความเครียดในเชิงลบสูงกว่า เสี่ยงต่อความวิตกกังวล และความรู้สึกว่าทำอะไรไม่ได้[4] neuroticism (ความไม่เสถียรทางอารมณ์) เป็นส่วนของ CSE โดยกำหนดเป็นแนวคิดด้านตรงข้ามคือเป็นความเสถียรทางอารมณ์ (emotional stability)[3] และจริง ๆ แล้ว เนื่องจาก neuroticism และ emotional stability เป็นขั้ว 2 ขั้วของลักษณะเดียวกัน ดังนั้น วรรณกรรมวิชาการจึงใช้คำอย่างสับเปลี่ยนกันได้[5]

ความมั่นใจในความสามารถของตนโดยทั่วไป[แก้]

ความมั่นใจในความสามารถของตนโดยทั่วไป (generalized self-efficacy) ที่สืบมาจากนิยามของคำว่า ความมั่นใจในความสามารถของตน (self-efficacy)[6] นิยามว่าเป็นการประเมินสมรรถภาพของตนในการรับมือและการทำได้ดีในสถานการณ์ต่าง ๆ[1] แม้ว่าบุคคลอาจจะมั่นใจในเรื่องต่าง ๆ แตกต่างกัน แต่ความมั่นใจในความสามารถของตนโดยทั่วไป เป็นค่าประเมินทั่วไปของสมรรภภาพในสถานการณ์ต่าง ๆ และสามารถมองได้ว่าเป็นลักษณะที่เสถียร[1] บุคคลที่มีคะแนนส่วนนี้สูงมีโอกาสทำงานใหม่ ๆ เพื่อพัฒนาสมรรถภาพของตนสูงกว่า และอดทนอุตสาหะมากกว่า คนที่มั่นใจแบบทั่วไปน้อยกว่า

ความภูมิใจในตน[แก้]

ความภูมิใจในตน (self-esteem) สะท้อนการประเมินคุณค่าของตนโดยทั่วไป[7] และจริง ๆ อาจเป็นหลักของ CSE ที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นค่าทั่วไปที่ให้กับตนโดยความเป็นบุคคล[3]

การพัฒนาบทสร้าง[แก้]

ลักษณะต่าง ๆ ของ CSE ได้พัฒนาขึ้นผ่านการศึกษาเรื่องความพอใจในการงาน โดยประวัติแล้ว มีแบบจำลอง 3 อย่างที่ใช้ในการศึกษาความพอใจในงาน[1]

  • แบบสถานการณ์/ลักษณะงาน (situational/job characteristics) ซึ่งให้เหตุผลความยินดีพอใจในงานโดยปัจจัยภายนอกเช่นลักษณะของงานเอง
  • แบบนิสัย (dispositional) ซึ่งให้เหตุผลโดยลักษณะบุคลิกภาพภายในที่เสถียร
  • แบบปฏิสัมพันธ์ (interactionist) ซึ่งให้เหตุผลโดยปฏิสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางสถานการณ์และทางนิสัย

แบบสถานการณ์และแบบปฏิสัมพันธ์มีหลักฐานสนับสนุนมากที่สุดในวรรณกรรมที่ผ่านมา โดยยอมรับความไม่เสมอกันเช่นนี้ จึงมีการพัฒนา CSE ขี้นเพื่อเพิ่มการตรวจสอบแบบนิสัยในเรื่องความพอใจในงาน[1]

การเลือกลักษณะต่าง ๆ[แก้]

งานวิจัยปี 2540 ที่ศึกษาแบบจำลองแบบนิสัย[1] ให้เหตุผลว่า ลักษณะ (trait) ที่มีโอกาสพยากรณ์ความพอใจในงานมากที่สุดจะมีคุณสมบัติ 3 อย่างคือ เพ่งการประเมิน เป็นลักษณะพื้นฐาน และเป็นลักษณะที่ครอบคลุม

  1. เพ่งการประเมิน (Evaluation-focused) คือเป็นการประเมินที่ตัดสินคุณค่าขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับตนเอง ไม่ใช่เป็นการพรรณนาถึงตนเองแบบทั่วไป (เช่น "ฉันมั่นใจในตัวเองและมีค่า" เทียบกับ "ฉันเป็นคนทะเยอทะยาน") ส่วนค่าความพอใจในงานเองก็เป็นการประเมินของบุคคลในเรื่องงาน/อาชีพของตน ดังนั้น การประเมินตนเอง โดยเฉพาะการคิดถึงตัวเองและคุณค่าของตัวเอง จะมีผลสำคัญต่อความพอใจในงานของตน
  2. เป็นลักษณะพื้นฐาน (fundamental trait, source trait) เป็นลักษณะที่แยกออกเป็นลักษณะอื่น ๆ ไม่ได้ เพราะเป็นพื้นฐานหรือรากฐาน โดยลักษณะพื้นฐานรวมกันสามารถกลายเป็นลักษณะที่ครอบคลุมกว่า (surface trait) ได้[8] และมีผลต่อลักษณะอื่น ๆ ได้ ยกตัวอย่างเช่น ความไม่แน่ใจในตัวเอง (self-doubt) และความขัดข้องใจ (frustration) สามารถพิจารณาว่าเป็นลักษณะพื้นฐานที่สามารถพยากรณ์ลักษณะที่ครอบคลุมกว่าคือความก้าวร้าว (aggression) ได้ ลักษณะพื้นฐานจะมีผลที่มีกำลังและแน่นอนต่อความพอใจในการงานมากกว่าลักษณะครอบคลุม[1]
  3. เป็นลักษณะที่กว้าง ๆ (global) เพราะน่าจะถือเอานัยทั่วไปได้ในที่ทำงานดีกว่าลักษณะโดยเฉพาะ ๆ ยกตัวอย่างเช่น ค่าประเมินกว้าง ๆ ของคุณค่าตนจะสามารถพยากรณ์ความพอใจในงานโดยทั่วไปได้ดีกว่าการประเมินความสามารถทางศิลป์โดยเฉพาะ

โดยใช้ลักษณะ 3 อย่างที่ว่า งานวิจัยจึงได้เลือกลักษณะบุคลิกภาพ 4 อย่างที่ศึกษากันมากที่สุด คือ ที่ตั้งการควบคุม (locus of control) ความไม่เสถียรทางอารมณ์ (neuroticism) ความมั่นใจในความสามารถของตน (self-efficacy) และความภูมิใจในตน (self-esteem) ซึ่งแต่ละอย่างได้แสดงแล้วว่าเป็นตัวพยากรณ์ที่มีกำลังต่อผลทางการงานในด้านต่าง ๆ แต่จนกระทั่งถึงปี 2540 กำลังพยากรณ์ของลักษณะเหล่านั้น ๆ ศึกษาแต่ทีละอย่าง ๆ งานที่ศึกษาลักษณะเหล่านั้น ๆ ร่วมกันในปี 2540 (1997)[1] พบว่า ลักษณะ 4 อย่างเหล่านี้จะรวมกันเป็นลักษณะทางบุคลิกภาพที่กว้างกว่าซึ่งต่อมาเรียกว่า core self-evaluations (CSE) ซึ่งสามารถพยากรณ์ความพอใจในงานมากกว่าแต่ละอย่าง ๆ สามารถพยากรณ์โดยลำพัง กล่าวอีกอย่างก็คือ ระดับต่าง ๆ ของลักษณะ 4 อย่างเหล่านั้น สามารถอธิบายได้โดยใช้ลักษณะที่กว้าง ๆ เพียงอย่างเดียว ซึ่งก็คือ CSE นอกจากนั้นแล้ว การรวมลักษณะ 4 อย่างเหล่านั้นทำให้พยากรณ์ความพอใจในการงานได้ดีกว่า และต่อมาผลทางการงานด้านอื่น ๆ อีกด้วย[9]

ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะต่าง ๆ[แก้]

ลักษณะทั้ง 4 อย่าง (Locus of control, neuroticism, generalized self-efficacy, และ self-esteem) มีแนวคิดบางอย่างที่คล้ายคลึงกัน แต่ไม่ได้ศึกษาร่วมกันจนกระทั่งรวมเข้าเป็นลักษณะครอบคลุมเดียวคือ CSE นักวิจัยทางจิตวิทยาบุคลิกภาพจำนวนหนึ่งอ้างว่า ลักษณะเหล่านี้ได้เสนอและศึกษาต่างหาก ๆ โดยไม่สนใจว่า มีฐานที่เหมือนกันบ้างหรือไม่ เพราะว่า ลักษณะเหล่านี้หลายอย่างมีสหสัมพันธ์ในระดับสูงจนกระทั่งว่า ควรพิจารณาว่าเป็นตัววัดบทตั้ง (construct) ตัวเดียวกัน[10] ซึ่งก็เป็นจริงสำหรับลักษณะ 4 อย่างของ CSE เพราะลักษณะเหล่านี้สัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด และแต่ละอย่างพยากรณ์ความพอใจในการงานเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้นโดยลำพัง แต่เมื่อรวมกันเป็นหลักที่เป็นแกน คือ CSE อำนาจการพยากรณ์ผลของ CSE ก็เพิ่มขึ้น[9]

การเปรียบเทียบกับลักษณะบุคลิกภาพใหญ่ 5 อย่าง และอารมณ์เชิงบวก/เชิงลบ[แก้]

ลักษณะต่าง ๆ ของ CSE พิสูจน์แล้วว่าเป็นตัวพยากรณ์โดยนิสัยที่ดีสำหรับความพอใจในการงาน และพยากรณ์ได้ดีกว่าลักษณะบุคลิกภาพใหญ่ 5 อย่าง หรือ การมีอารมณ์เชิงบวก/เชิงลบ (Positive/Negative Affectivity)[11]

ลักษณะบุคลิกภาพใหญ่ 5 อย่าง[แก้]

มีข้อสงสัยว่า CSE พยากรณ์อะไรได้ดีกว่าลักษณะบุคลิกภาพใหญ่ 5 อย่าง คือ ความยินยอมเห็นใจ (agreeableness), ความพิถีพิถัน (conscientiousness), ความสนใจต่อสิ่งภายนอก (extraversion), neuroticism, และความเปิดรับประสบการณ์ (openness to experience) หรือไม่ และบางคนก็อ้างว่า ตัวบ่งชี้ลักษณะต่าง ๆ ของ CSE เป็นแนวคิดคล้าย ๆ กับ neuroticism ที่เป็นส่วนของลักษณะใหญ่ 5 อย่าง[12] แม้จะจริงว่า คำนิยามบางอย่างของ neuroticism จะรวมลักษณะทั้ง 4 อย่างของ CSE แต่ลักษณะใหญ่ 5 อย่างก็ไม่ได้กล่าวถึงความภูมิใจในตนโดยตรงในคำอธิบายของ neuroticism และความภูมิใจในตนก็ไม่ได้เป็นด้าน ๆ หนึ่ง (facet) ของ neuroticism ด้วย[9] ดังนั้น แนวคิดของ neuroticism แคบกว่า CSE นอกจากนั้นแล้ว ไม่มีแบบวัด neuroticism ไหน ๆ ที่ประเมินความภูมิใจในตน และแบบวัด neuroticism มีแต่คำถามแบบพรรณนาแต่ไม่มีคำถามที่ประเมิน[12]

การมีอารมณ์เชิงบวก/เชิงลบ[แก้]

การมีอารมณ์เชิงบวก/เชิงลบ (Positive/negative affectivity ตัวย่อ PA/NA) ซึ่งเป็นความโน้มเอียงที่จะประสบอารมณ์เชิงบวกหรือเชิงลบเป็นหลัก ได้มีการศึกษาโดยเป็นตัวสหสัมพันธ์ (correlate) กับความพอใจในการงาน แม้ว่าความโน้มเอียงจะมีอิทธิพลต่อความพอใจในการงาน แต่ว่าการวัดค่านี้ไม่สามารถอธิบายความแตกต่างของความพอใจในงานมากไปกว่าที่อธิบายได้ด้วยการวัดความภูมิใจในตนและ neuroticism ของ CSE[3][13] และจริง ๆ แล้ว ค่าวัดของ CSE สามารถอธิบายความแตกต่างของความพอใจในการงานและความพอใจในชีวิตที่ไม่สามารถอธิบายได้โดย PA/NA[3]

การวัด[แก้]

ก่อนหน้านี้ การวัดลักษณะของ CSE ทำแบบอ้อม จึงต้องสกัดผ่านการวัดค่าของลักษณะ 4 อย่างแต่ละอย่าง แต่ว่า มีแบบวัด CSE โดยตรงคือ CSES ที่พัฒนาขึ้นในปี 2546 ที่พิสูจน์แล้วว่าเชื่อถือได้และสมเหตุสมผล[14] แม้ว่าจะมีนักวิจัยบางพวกที่ยังชอบใจใช้แบบวัดลักษณะแต่ละอย่าง ๆ เพื่อวัด CSE แต่แบบวัดโดยตรงก็เพิ่มความนิยมขึ้นเรื่อย ๆ ในหมู่นักวิชาการ[15][16][17] มีเหตุผลหลายอย่างที่การวัด CSE โดยอ้อมพิจารณาว่าเป็นตัวจำกัดงานวิจัย CSE[14]

  1. ความยาว - การวัดโดยตรงสามารถวัด CSE ได้ด้วยคำถามที่น้อยกว่า
  2. ความสมเหตุสมผล - แบบวัดโดยตรงมีโอกาสสมเหตุสมผลสูงกว่าเพราะออกแบบเพื่อวัดลักษณะโดยตรง ไม่ได้วัดตัวบ่งชี้ลักษณะ
  3. ความกลมกลืนกัน - ลักษณะบุคลิกภาพที่วัดในงานวิจัยปัจจุบันมักใช้แบบวัดที่สั้นและเป็นการวัดลักษณะตรง ๆ

แบบวัดโดยตรง (CSES)[แก้]

แบบวัด CSE คือ CSES (core self-evaluations scale) มี 12 คำถาม โดยมีคำตอบ 5 อย่างที่เป็นไปได้สำหรับแต่ละคำถาม คือ ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง (strongly disagree) ไม่เห็นด้วย เฉย ๆ เห็นด้วย และเห็นด้วยอย่างยิ่ง (strongly agree) คำถามมีตัวอย่างดังต่อไปนี้[14]

  • "ฉันมั่นใจว่าฉันประสบความสำเร็จที่ควรได้ในชีวิต (I am confident I get the success I deserve in life)"
  • "บางครั้งฉันรู้สึกซึมเศร้า (Sometimes I feel depressed)"
  • "บางครั้งเมื่อฉันล้มเหลว ฉันรู้สึกไม่มีค่า (Sometimes when I fail I feel worthless.")"
  • "ฉันเต็มไปด้วยความสงสัยเกี่ยวกับความสามารถของฉัน (I am filled with doubts about my competence)"
  • "ฉันเป็นคนตัดสินว่าอะไรจะเกิดขึ้นในชีวิต (I determine what will happen in my life)"

ผลที่สำคัญ[แก้]

ความพอใจในการงาน[แก้]

วรรณกรรมแสดงอย่างสม่ำเสมอว่า CSE สัมพันธ์กับความพอใจในการงานในระดับสำคัญ[1][3][9][18][19] และงานวิจัยเบื้องต้นปี 2540 ที่ตรวจสอบแนวคิดนี้[1] จริง ๆ แล้วพัฒนา CSE ขึ้นเพื่อชี้ลักษณะนิสัยที่สามารถพยากรณ์ความพอใจในการงานอย่างสมเหตุสมผล และตั้งแต่มีบทสร้างนี้ งานวิจัยต่อ ๆ มาก็ยังคงสนับสนุนความสัมพันธ์ระหว่าง CSE และความพอใจในการงาน ซี่งแสดงว่า คนที่ประเมินตัวเองในเชิงบวกยิ่งกว่า (คือประเมินตนเองดีใน CSE) มีโอกาสพอใจในการงานสูงกว่า คือยังยืนยันว่า ลักษณะของ CSE พยากรณ์ความพอใจในการงานได้ในระยะยาว[18][20] บุคคลที่ประเมินตัวผ่าน CSE ในระดับดีมีโอกาสพอใจในการงานในช่วงชีวิตที่ทำงานสูงกว่า

แม้ว่า หลักฐานว่า CSE สามารถพยากรณ์ความพอใจในงาน จะมีหลักฐานที่แสดงอย่างสม่ำเสมอทั่ววรรณกรรมทางจิตวิทยา แต่ว่า งานเบื้องต้นปี 2540 ก็ยังเสนอให้ตรวจสอบตัวแปรอื่น ๆ อีกที่อาจมีอิทธิพลต่อความสัมพันธ์นี้[1] ดังนั้น วรรณกรรมต่อ ๆ มาจึงได้เริ่มตรวจสอบอิทธิพลของบทสร้าง (construct) ต่าง ๆ ต่อความสัมพันธ์ระหว่าง CSE และความพอใจในการงาน ซึ่งจะกล่าวต่อไป

บทบาทของลักษณะงานที่รู้สึก[แก้]

ลักษณะงานก็คือคุณสมบัติ 4 อย่างของงานที่คนมักจะเห็นว่าสำคัญ รวมทั้งความรู้สึกว่าตนเข้ากับงาน (identity) ความหลายหลากของงาน (variety) ความรู้สึกว่างานมีผลต่อคนอื่น (significance) การได้รับฟี้ดแบ็กที่มีประโยชน์ (feedback) และอิสรภาพในการตัดสินใจ (autonomy)[21] ลักษณะงานเหล่านี้มีอิทธิพลสำคัญต่อความสัมพันธ์ระหว่าง CSE และความพอใจในการงาน งานวิจัยต่าง ๆ แสดงว่า ลักษณะงานที่ตนรู้สึกเป็นตัวอำนวยความสัมพันธ์ระหว่าง CSE และความพอใจในการงานโดยส่วนหนึ่ง[3][20][22] กล่าวอีกอย่างก็คือ บุคคลที่ประเมินตัวเองดีกว่า (คือมีคะแนน CSE สูง) และได้งานที่มีลักษณะที่ว่า 4 อย่าง มีโอกาสพอใจในงานสูงกว่า

มีทฤษฎีต่าง ๆ ที่อธิบายการอำนวยความสัมพันธ์นี้ โดยหลักก็คือ ความสัมพันธ์ระหว่าง CSE กับคุณลักษณะของงาน และโดยเป็นผลตามมา กับความพอใจในงาน สามารถอธิบายได้โดยใช้แบบจำลองที่เป็นไปได้ 2 อย่าง แบบจำลองแรก ที่รู้จักกันว่า action mediation model (แบบจำลองอำนวยโดยการกระทำ) แสดงว่า ระดับ CSE ในบุคคลมีผลต่อสิ่งที่ตนทำเพื่อจะได้งานที่มีลักษณะที่สมควร[1] ตามแบบจำลองนี้ คนที่มีคะแนน CSE สูงมีโอกาสสูงกว่าที่จะหาสถานการณ์ทางอาชีพที่สามารถทำให้งานเสร็จโดยได้ผลบวก กล่าวอีกอย่างก็คือ คนที่ประเมินตัวเองสูง (คือได้คะแนน CSE สูง) จะมีโอกาสสูงกว่าที่จะหาและได้งานที่มีคุณลักษณะที่สมควร และดังนั้น จะได้ความพอใจในงานที่ดีกว่า[20] แบบจำลองอำนวยโดยการกระทำยังอธิบายได้ด้วยว่า บุคคลที่มีคะแนน CSE สูงอาจทำการมากกว่าเพื่อเปลี่ยนลักษณะงานที่ได้อยู่แล้ว ยกต้วอย่างเช่น ผู้ที่ได้คะแนนสูงอาจจะมีโอกาสหาฟี้ดแบ็กสูงกว่าคนที่มีคะแนนต่ำ และดังนั้นจะรู้สึกว่ามีฟี้ดแบ็กในงานสูงกว่าและพอใจในงานมากกว่า[22]

แบบจำลองที่สอง คือ perception mediation model (แบบจำลองอำนวยโดยความรู้สึก) เสนอว่าบุคคลที่ได้คะแนนสูงมีโอกาสรู้สึกว่างานมีลักษณะที่สมควรมากกว่าบุคคลที่มีคะแนนต่ำ[22][20][3] ยกตัวอย่างเช่น คนที่ได้คะแนนต่ำมีโอกาสรู้สึกว่ามีอิสระในงานน้อยกว่า และดังนั้น จึงพอใจในงานน้อยกว่าเพราะเชื่อว่า ปัจจัยภายนอกเป็นตัวควบคุมชีวิตของตน เทียบกับคนที่ได้คะแนนสูงผู้จะรู้สึกอิสระมากกว่า ว่าตัวเองเป็นผู้ควบคุมสภาวะแวดล้อมในการทำงาน และดังนั้น จึงรู้สึกพอใจในงานมากกว่า[22]

งานปี 2552[22] ขยายการตรวจสอบเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของ CSE, ลักษณะงาน, และความพอใจในงาน โดยตรวจดูว่าลักษณะงานอะไรสำคัญที่สุดในความสัมพันธ์เชื่อมกันแบบนี้ งานศึกษานี้พบว่า ความสำคัญของงาน (คืออิทธิพลของงานต่อคนอื่น) มีอิทธิพลสำคัญที่สุดต่อความสัมพันธ์ระหว่าง CSE กับความพอใจในงาน ถ้าใช้แบบจำลองอำนวยโดยความรู้สึก นี่แสดงว่า คนที่มีคะแนนสูงจะรู้สึกว่างานของตนสำคัญมากกว่าของคนอื่นและดังนั้น จะพอใจในงานมากกว่า แต่ว่า งานศึกษาก็ยอมรับว่า อาจมีคำอธิบายอีกอย่างหนึ่ง คือคนที่ได้คะแนนสูงจะมั่นใจในการกระทำของตนและจะหางานที่มีเป้าหมายยิ่งกว่า ซึ่งจะทำให้รู้สึกว่ามีความหมายสูงกว่า และต่อมาจึงพอใจมากกว่า ซึ่งเป็นคำอธิบายที่แบบจำลองอำนวยโดยการกระทำจะพยากรณ์ แต่ว่าจริง ๆ แล้ว มีโอกาสมากว่า จะเป็นแบบที่รวมทั้ง 2 แบบจำลอง ที่อธิบายบทบาทของลักษณะงานต่อความสัมพันธ์ระหว่าง CSE กับความพอใจในงานได้ดีที่สุด

บทบาทความซับซ้อนของงาน[แก้]

งานศึกษาลักษณะงานมักจะวัดลักษณะงานโดยอัตวิสัย คือผู้ร่วมการทดลองแจ้งเอง อย่างไรก็ดี มีการแสดงแล้วด้วยว่า การวัดลักษณะงานโดยเป็นปรวิสัย เช่น งานยากแค่ไหน (ความซับซ้อน) มีอิทธิพลต่อความสัมพันธ์ระหว่าง CSE กับความพอใจในงานด้วย โดยเฉพาะก็คือ ความซับซ้อนของงานอำนวยความสัมพันธ์ระหว่าง CSE กับความพอใจในงานเป็นบางส่วน ดังนั้น ผู้ที่ได้คะแนน CSE สูงที่มีงานที่ซับซ้อน มีโอกาสพอใจในงานสูงกว่า[3][23] แต่ก็เหมือนลักษณะงานอื่น ๆ ที่มีทฤษฎีอธิบายความสัมพันธ์ได้มากกว่าหนึ่ง อาจเป็นไปได้ว่า คนที่ได้คะแนนสูงสนใจงานที่ซับซ้อนมากกว่าเพราะเห็นรางวัลโดยตัวงานเองมากกว่า หรือว่า คนที่มีคะแนนสูงอาจเพียงรู้สึกว่างานซับซ้อนกว่า งานศึกษาปี 2543[20] วัดความซับซ้อนของงานโดยตำแหน่ง แล้วได้ยืนยันคำอธิบายทั้งสองอย่างเหล่านี้ คือพบว่า คนที่ได้คะแนนสูงไม่เพียงรู้สึกว่างานซับซ้อนกว่า แต่มีโอกาสมีงานที่ซับซ้อนยิ่งกว่า ซึ่งทำให้พอใจสูงกว่า

บทบาทของความลงรอยกันกับเป้าหมาย[แก้]

ความลงรอยกันกับเป้าหมาย (Goal congruence) อาจมีอิทธิพลต่อความสัมพันธ์ระหว่าง CSE กับความพอใจในงาน หลักทฤษฎีของความลงรอยกับเป้าหมายแสดงว่า คนที่เลือกเป้าหมายที่เข้ากับตัวเอง (คือลงรอยกัน) จะมีความสุขมากกว่าเมื่อทำตามเป้าหมาย มีโอกาสตั้งใจพยายามให้ถึงเป้าหมายมากกว่า และดังนั้น มีโอกาสถึงเป้าหมายสูงกว่า เป้าหมายที่เข้ากันกับตัวเองคือเป้าหมายที่มุ่งปัจจัยภายใน ยกตัวอย่างเช่น คนที่ทำตามเป้าหมายที่เข้ากับตัวเองจะเลือกเป้าหมายที่ตนรู้สึกว่าสำคัญต่อตน และที่ตนจะชอบใจ โดยเปรียบเทียบกันแล้ว เป้าหมายที่ไม่เข้ากับตนจะมุ่งปัจจัยภายนอก ผู้ที่เลือกเป้าหมายไม่เข้ากับตัวเองจะมุ่งหลีกเลี่ยงอารมณ์เชิงลบ (เช่น ความวิตกกังวลหรือความรู้สึกผิด) โดยทำการตามความพอใจของคนอื่น หรือตามรางวัลที่ได้ในภายนอก เช่น เงินทอง[24]

งานศึกษาปี 2548[25] พบว่าความลงรอยกับเป้าหมาย หรือการเลือกเป้าหมายที่เข้ากันตนเอง อำนวยความสัมพันธ์ระหว่าง CSE กับความพอใจในงานเป็นบางส่วน ผู้เขียนอธิบายว่า บุคคลที่มองตนในแง่ดี (คือ มี CSE สูง) เชื่อว่าตนมีความสามารถและเก่ง และดังนั้น จึงมีโอกาสตกอยู่ในอิทธิพลจากปัจจัยภายนอกน้อยกว่า และจึงมีโอกาสเลือกเป้าหมายที่เข้ากันตนมากกว่า ซึ่งทำให้พอใจสูงกว่า โดยเปรียบเทียบกันแล้ว คนที่มองตัวเองในแง่ลบจะเสี่ยงตกอยู่ในอิทธิพลของปัจจัยภายนอก เช่น ความวิตกกังวลและความรู้สึกผิด และดังนั้น จึงมีโอกาสทำตามเป้าหมายที่ไม่เข้ากับตน และจะรายงานความพอใจน้อยกว่า

ประสิทธิภาพของงาน[แก้]

การพยากรณ์ประสิทธิภาพของงานเป็นผลที่สม่ำเสมอและสำคัญของ CSE อีกอย่างหนึ่ง[9][26][27][28] มีการพัฒนาทฤษฎีหลายทฤษฎีว่า CSE สัมพันธ์กับประสิทธิภาพงานได้อย่างไร

ทฤษฎีที่นิยมมากที่สุดอ้างว่า คนที่มีคะแนนสูงจะมีแรงจูงใจทำให้ดีเพราะมั่นใจว่าสามารถทำได้[9] ส่วนอีกทฤษฎีเสนอว่า ความสัมพันธ์ระหว่าง CSE กับประสิทธิภาพการทำงานมีเหตุจากความที่เจ้านายชอบใจความคิดเชิงบวกของคนที่ได้คะแนนสูง แล้วประเมินประสิทธิภาพงานของบุคคลนั้นเหนือกว่า ส่วนอีกทฤษฎีอ้างว่า CSE สูงอาจเป็นปัจจัยทางความสามารถอย่างหนึ่ง เป็นทฤษฎีที่เกิดจากความหยั่งรู้ในเรื่อง CSE จากความสัมพันธ์ต่าง ๆ ที่พบในวรรณกรรม ยกตัวอย่างเช่น วรรณกรรมได้เชื่อมบทสร้างเกี่ยวกับแนวคิดเกี่ยวกับตนเชิงบวก (positive self-concept) ซึ่งคล้ายกับ CSE กับความสามารถรับมือความเปลี่ยนแปลงในองค์กรได้[29]

นอกจากนั้นแล้ว ลักษณะย่อย ๆ ของ CSE เช่น ความเสถียรทางอารมณ์ (emotional stability) มีหลักฐานว่าสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการทำงานในกลุ่ม (Mount, Barrick, & Stewart, 2538 อ้างอิงใน[29]) และก็มีการเสนอว่าคนมองตนเองดีมีโอกาสทำหน้าที่บริการลูกค้าได้ดีกว่าเพราะแสดงอารมณ์ที่ดีกว่า[30] ดังนั้น สิ่งที่ค้นพบเหล่านี้ชี้ว่า คนที่ได้คะแนน CSE สูงอาจบ่งว่า คนนั้นสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในองค์กรได้ดี ทำงานในกลุ่มได้ดี แสดงอารมณ์ที่ดี ซึ่งล้วนแต่มีผลเป็นประสิทธิภาพงานที่ดีกว่า[28]

บทบาทของแรงจูงใจ[แก้]

แม้ว่าจะมีทฤษฎีหลายหลาก แรงจูงใจเป็นตัวอำนวยความสัมพันธ์ระหว่าง CSE กับประสิทธิผลการทำงานที่ยอมรับกันมากที่สุด[26][28] วรรณกรรมที่มีอยู่แสดงว่า ผู้ประเมินตัวเองต่ำ (คือ มีคะแนน CSE ต่ำ) จะเห็นว่างานยาก เกินความสามารถ หรือควบคุมไม่ได้ และดังนั้นจึงบริหารจัดการไม่ได้ ซึ่งจะทำให้มีแรงจูงใจต่ำ และมีผลเป็นประสิทธิภาพงานที่ต่ำ เทียบกับคนที่มีคะแนน CSE สูง จะมีแรงจูงใจสูงเพื่อทำงานที่ยากให้สำเร็จเพราะเชื่อว่า ตนมีความสามารถและสามารถควบคุมสถานการณ์เพื่อให้งานสำเร็จได้ ดังนั้น ผู้ที่มีคะแนน CSE และมีแรงจูงใจสูง จึงมีโอกาสมีประสิทธิภาพในงานมากกว่า[28]

การพยากรณ์ผลอื่น ๆ[แก้]

ความพอใจในชีวิต[แก้]

วรรณกรรมโดยมากที่ตรวจสอบ CSE และความพอใจในงานยังตรวจสอบว่าบทสร้างทั้งสองเหล่านี้ว่า สัมพันธ์กับความพอใจในชีวิตโดยทั่วไปของบุคคลหรือไม่ แล้วพบอย่างสม่ำเสมอว่า คนที่มี CSE สูง มีโอกาสพอใจทั้งในงานและชีวิตโดยทั่วไปสูงกว่าเทียบกับคนที่มีคะแนนต่ำ[3][13][25]

ความเครียดจากงาน[แก้]

บุคคลที่ประเมินตัวเองสูง (คือมี CSE สูง) มีโอกาสรับมือกับสถานการณ์เครียดในงานโดยจัดการลงมือทำสูงกว่า คือมีโอกาสพยายามเปลี่ยนสถานการณ์แทนที่จะให้ความเครียดมีผลกับตน กล่าวอีกอย่างก็คือ คนที่มี CSE สูงจะรู้สึกเครียดเรื่องงานน้อยกว่าคนที่มี CSE ต่ำ[31][32]

ความเหนื่อยล้าจากงาน[แก้]

ความเหนื่อยล้าจากงาน (occupational burnout) มีมูลจากความเครียดที่เกิดในงาน คนที่เหนื่อยล้าจะหมดแรง ชอบถากถาง และไม่มีแรงจูงใจ[33] โดยเหมือนกับความเครียดในงาน ความเหนื่อยล้าจากงานก็สัมพันธ์กับ CSE ด้วย บุคคลที่มี CSE ต่ำจะรู้สึกอย่างสม่ำเสมอว่าตนไม่สามารถรับมือกับงานเพราะไม่สามารถหรือควบคุมสถานการณ์ไม่ได้ ด้วยเหตุนี้ คนที่มี CSE ต่ำจะเสี่ยงต่อความเหนื่อยล้าจากงานมากกว่าคนที่มีคะแนนสูง ผู้ประเมินตนดี และมั่นใจในความสามารถของตนในการจัดการบริหารสถานการณ์[34] นี่เป็นเรื่องสำคัญเป็นพิเศษเพราะความเหนื่อยล้าสัมพันธ์กับการเปลี่ยนงาน ซึ่งเป็นเรื่องที่มีราคาสูงต่อองค์กรทั้งหมด[33]

การมีฐานะ[แก้]

งานวิจัยปี 2550[35] เป็นงานศึกษาตามยาวที่ตรวจ CSE สัมพันธ์กับรายได้ทั้งตอนเป็นผู้ใหญ่วัยต้น ๆ หรือเมื่อถึงวัยกลางคนแล้ว นักวิจัยพบว่า CSE สัมพันธ์กับระดับรายได้ คือ คนที่มี CSE สูงมีโอกาสได้รายได้มากสูงกว่า นี่อาจเป็นเพราะว่า ผู้มี CSE สูงหางานที่ดีกว่า ซึ่งมีโอกาสก้าวหน้ามากกว่า และดังนั้นจึงมีรายได้ที่สูงกว่า แต่ผลอาจจะเป็นเพราะความสัมพันธ์ระหว่าง CSE แรงจูงใจ และประสิทธิภาพของงาน การมี CSE สูงเป็นตัวบ่งว่าบุคคลจะมีแรงจูงใจสูงเพื่อทำงานให้ดี จึงมีประสิทธิภาพในงานดีกว่า ซึ่งอาจนำไปสู่เงินเดือนที่สูงกว่า

นอกจากนั้นแล้ว ผู้เขียนยังตรวจสอบบทบาทที่อาจมีของ CSE ต่อความสัมพันธ์ระหว่างฐานะทางสังคม-เศรษฐกิจของครอบครัวกับการเรียนเก่ง ซึ่งเป็นตัวพยากรณ์ฐานะทางเศรษฐกิจในภายหลัง วรรณกรรมก่อน ๆ ได้ยืนยันแล้วว่า ถ้าบุคคลโตขึ้นในครอบครัวที่มีฐานะดีและมีการศึกษาดีกว่า ก็จะมีฐานะทางเศรษฐกิจดีกว่าต่อ ๆ ไป งานวิจัยนี้[35] พบว่า CSE อาจจะช่วยเสริมความสัมพันธ์เช่นนี้ กล่าวอีกอย่างก็คือ คนที่มี CSE สูง มีโอกาสสูงกว่าที่จะได้ประโยชน์จากความได้เปรียบทางเศรษฐกิจที่มีทางครอบครัว หรือความได้เปรียบทางการเรียน ซึ่งให้ผลสำเร็จทางการเงินภายหลังในชีวิต[35] ผู้เขียนอธิบายว่า คนที่มี CSE สูงรับมือกับเหตุการณ์และสถานการณ์ชีวิตได้ดีกว่า และมีแรงจูงใจเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของตนโดยสม่ำเสมอ และดังนั้น มีโอกาสได้ประโยชน์จากความได้เปรียบทางฐานะและทางการศึกษาที่มีอยู่แล้วในช่วงวัยเด็กดีกว่า ซึ่งจะให้ประสบความสำเร็จทางการเงินได้สูงกว่า ดังที่วัดโดยรายได้ในช่วงกลางชีวิต

พัฒนาการ/ทิศทางใหม่ ๆ[แก้]

งานวิจัยล่า ๆ สุดสัมพันธ์ CSE กับ

  • การเข้าร่วมโปรแกรมการออกกำลังกายแบบ progressive resistance training ของผู้สูงอายุ ซึ่งช่วยสร้างกล้ามเนื้อ[36] แต่ยังต้องมีการศึกษาแบบทั่วไปเพื่อกำหนดว่า CSE มีผลต่อการเข้าร่วมออกกำลังกายอย่างอื่น ๆ ในชนทุกวัยหรือไม่
  • การประเมินประสิทธิภาพและความสามารถของทีมที่ดีกว่า (high collective efficacy) ซึ่งทำให้มีประสิทธิภาพในการจัดการบริหารที่ดีกว่า (เช่น การตั้งเป้าหมายของทีม การประสานงาน การสอดส่องความก้าวหน้าไปยังเป้าหมาย)[37] ซึ่งแนะแนวว่า งานวิจัย CSE ควรขยายเพื่อตรวจสอบว่า CSE มีอิทธิพลต่อทีมและประสิทธิภาพการทำงานของทีมได้อย่างไร
  • การจัดการความขัดแย้งกันระหว่างบทบาทหน้าที่ต่าง ๆ โดยเสริมสร้างความสมบูรณ์ คือคนที่มี CSE สูงมักจะรู้สึกและสืบหาการสนับสนุนและความช่วยเหลือมากกว่า ทำให้สามารถจัดการบทบาทต่าง ๆ ในชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ (เช่น หน้าที่ที่บ้าน ที่ทำงาน เป็นต้น)[38]
  • การหาเอกลักษณ์ในด้านการงาน คือ คนที่มี CSE สูงสัมพันธ์กับความพยายามสำรวจเอกลักษณ์ของตัวเองในฐานะผู้ทำงาน ซึ่งทำให้พอใจในชีวิตมากกว่า[39] เป็นงานวิจัยซึ่งช่วยเพิ่มความเข้าใจเรื่องความสัมพันธ์ของ CSE กับความพอใจในชีวิต
  • ปัญหาการตัดสินใจเรื่องทางอาชีพ หญิงที่โตในครอบครัวที่ดูแลอย่างเผด็จการจะพัฒนา CSE แบบลบ ซึ่งจะทำให้ลำบากในการตัดสินใจเรื่องอาชีพภายหลังในชีวิต[40] ควรจะมีงานศึกษาต่อไปเพื่อกำหนดผลของสไตล์การเป็นพ่อแม่ต่อ CSE และสมรรถภาพการตัดสินใจทางอาชีพที่กว้างกว่านี้
  • การหมดแรงใจและความดูถูกถากถาง คือคนที่มี CSE สูงสัมพันธ์กับระดับการหมดแรงใจ (emotional exhaustion) และการดูถูกถากถาง (cynicism) ที่ต่ำกว่า ซึ่งทั้งสองประเด็นสัมพันธ์กับความพอใจในงานที่ต่ำกว่า[41]
  • การมีงาน-ครอบครัวที่สมบูรณ์กว่า - ในกรณีที่แม้รู้สึกว่า องค์กรให้การสนับสนุนต่ำ บุคคลที่ได้คะแนน CSE สูงจะรายงานว่า รู้สึกถึงความสมบูรณ์ทางการงาน-ครอบครัวที่ดีกว่า คือ เหตุการณ์ในบทบาทหน้าที่หนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงานหรือเรื่องครอบครัว จะเพิ่มคุณภาพชีวิตในอีกด้านหนึ่ง[15]
  • ความขัดแย้งและบูรณาการเรื่องที่ทำงาน-สถาบันการศึกษา - โดยคล้าย ๆ กัน บุคคลที่มี CSE สูงมีความขัดแย้งในที่ทำงาน-สถาบันการศึกษาน้อยกว่า และมีการบูรณาการที่ดีกว่า[16]
  • ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้นำ-สมาชิก - ระดับ CSE ที่สูงของทั้งผู้นำและสมาชิกเพิ่มความชัดเจนในบทบาทของสมาชิก (คือ เข้าใจหน้าที่การงานและบทบาทในองค์กร) ทำให้เกิดผลเป็นปฏิสัมพันธ์ที่ดีกว่าระหว่างผู้นำ-สมาชิก[42]
  • ประสิทธิภาพของทีม - ระดับที่สูงของ CSE ช่วยเสริมเครือข่ายสังคมภายในทีม ซึ่งทำให้ประสิทธิภาพของทีมดีขึ้น[17] และงานวิจัยนี้ก็ยังแนะให้ขยายการตรวจสอบ CSE จากประสิทธิภาพการทำงานของบุคคล ไปยังประสิทธิภาพของกลุ่มหรือทีมด้วย

ผลติดตาม[แก้]

CSE ได้ศึกษาโดยหลักในเรื่องสำคัญที่สุดเกี่ยวกับงานสองอย่าง คือ ความพอใจในงาน และประสิทธิภาพในการทำงาน เนื่องจากเป็นความสัมพันธ์ที่พบอย่างสม่ำเสมอในวรรณกรรมวิชาการ จึงสำคัญที่จะตรวจดูว่า CSE มีผลกับธุรกิจจริง ๆ อย่างไร

การคัดเลือกบุคลากร[แก้]

ทุกองค์กรต้องเลือกบุคลากรเพื่อบรรจุตำแหน่งงาน และเพราะ CSE สัมพันธ์โดยตรงกับความพอใจในงานและประสิทธิภาพการทำงาน ดูเหมือนจะมีเหตุผลว่าควรจะใช้ CSE ในการเลือกบุคลากร และจริง ๆ แล้ว นักวิจัยก็สนับสนุนแนวคิดเช่นนี้โดยระดับหนึ่ง หัวข้อย่อยต่อไปจะกล่าวถึงข้อดีและข้อเสียของการใช้ CSE เพื่อเลือกบุคลากรตามวรรณกรรมปี 2541[28]

ข้อดี[แก้]

  1. ถ้าทุก ๆ ด้านของ CSE (คือ ที่ตั้งการควบคุม ความไม่เสถียรทางอารมณ์ ความมั่นใจในความสามารถของตน และความภูมิใจในตน) นำมาใช้ การวัด CSE จะเป็นตัวพยากรณ์ที่สมเหตุผลของความพอใจในงานและประสิทธิภาพในการทำงาน
  2. แบบวัดของ CSE แต่ละด้านเปิดให้ใช้ได้โดยสาธารณะ ไม่เหมือนกับแบบวัดลักษณะบุคลิกภาพใหญ่ 5 อย่าง ซึ่งเป็นงานลิขสิทธิ์
  3. งานวิจัยไม่พบผลที่ไม่เสมอกัน (disparate Impact) ของ CSE ต่อชนกลุ่มน้อยหรือคนมีอายุ ผลที่ไม่เสมอกันหมายถึงข้อปฏิบัติที่มีผลต่อสมาชิกชนกลุ่มน้อยอย่างเกินสัดส่วน งานวิจัยแสดงว่า ระดับ CSE ไม่ได้ต่างกันในคนที่มีอายุมากกว่าหรือชนกลุ่มน้อย ดังนั้น จะไม่เป็นตัวกันไม่ให้จ้างบุคคลเหล่านั้นเพื่องาน

ข้อเสีย[แก้]

  1. CSE มีผลที่ไม่เสมอกัน (disparate Impact) ต่อหญิง
  2. งานวิจัยโดยมากแสดงว่า คนสมัครงานไม่เชื่อว่าการวัดบุคลิกภาพเป็นเรื่องเกี่ยวกับการสมัครงาน และดังนั้น คนสมัครงานอาจจะรู้สึกว่าการคัดเลือกไม่ยุติธรรมถ้ามีการวัดบุคลิกภาพ
  3. โดยเหมือนกับแบบวัดบุคลิกภาพอื่น ๆ การตอบไม่ตรงความจริงเพื่อให้คนอื่นมองในแง่ดี เป็นข้อเสียในการใช้ CSE เพื่อเลือกคนงาน

เนื่องจากการเลือกคนงานที่มี CSE สูงมีประโยชน์มากกับนายจ้าง จึงควรจะมีงานวิจัยเพิ่มขึ้นเพื่อกำหนดข้อปฏิบัติที่ใช้ CSE เป็นส่วนของการเลือกคนงาน

ผลเสียของการมี CSE สูงเกิน[แก้]

แม้ว่า CSE จะมองโดยทั่วไปว่าเป็นลักษณะที่ดี แต่การมี CSE สูงเกินไปอาจมีผลลบ[43][44][45] งานวิจัยปี 2548[43] แสดงว่า การมี CSE สูงมาก ซึ่งเป็นเรื่องสามัญของผู้ทำงานระดับบริหาร สามารถมีผลต่อกระบวนการตัดสินใจได้ (เช่น สำหรับการตัดสินใจในระดับกลยุทธ์ อาจจะทำให้เกิดกระบวนการที่กว้างขวางน้อยกว่า เป็นแบบรวมศูนย์มากกว่า และจะมีการอดทนเฝ้าทำกลยุทธ์ที่ผู้บริหารเป็นคนริเริ่มนานกว่า) นอกจากนั้นแล้ว เพราะว่าคนที่มี CSE สูงจะมั่นใจในตัวเองมากกว่าและเชื่อว่าตนสามารถควบคุมสถานการณ์ได้[2][45] ก็อาจจะทำให้เกิดปรากฏการณ์มั่นใจมากเกินไป (overconfidence effect) และการแปลสิ่งเร้าผิดว่าควบคุมได้ (illusion of control)

ข้อขัดแย้ง[แก้]

เมื่องานวิจัยในบทสร้างต่าง ๆ ของ CSE ได้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ได้มีข้อคัดค้านที่สำคัญที่สุดต่อทฤษฎีสองอย่าง

ทฤษฎี[แก้]

ทฤษฎีของ CSE เป็นเรื่องทางนามธรรมโดยล้วน ๆ[46] ซึ่งอ้างว่า การประเมินตัวเองอย่างพื้นฐาน (คือ CSE) ในระดับจิตใต้สำนึกอาจมีอิทธิพลต่อการประเมินอื่น ๆ เกี่ยวกับตนโดยมากและเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม[1] ดังนั้นจึงยากที่จะตรวจสอบโดยการทดลองทั้งลักษณะของ CSE และผลใต้จิตสำนึกต่อลักษณะย่อยอื่น ๆ เช่นที่ตั้งการควบคุม (locus of control) ความไม่เสถียรทางอารมณ์ (neuroticism) ความมั่นใจในความสามารถของตน (self-efficacy) และความภูมิใจในตน (self-esteem) นอกจากนั้นแล้ว ยังไม่ชัดเจนว่า ทำไมทฤษฎีนี้จึงมีมิติเพียงแค่ 4 มิติ คือไม่มีน้อยหรือมากกว่านั้น[46]

  • ที่ตั้งการควบคุม (locus of control) ในเบื้องต้นไม่ได้รวมอยู่ใน CSE[1] แต่ต่อมาเพิ่มขึ้นเนื่องจากผ่านเกณฑ์ที่งานวิจัยปี 2540 ได้ตั้งขึ้น[1] ว่าเป็นลักษณะของ CSE อย่างหนึ่ง[12] และภายหลังแม้ว่าจะมีนักวิจัยบางท่านที่คิดว่ามันเกี่ยวกับตนน้อยกว่าตัวแปรอื่น ๆ เพราะมีเรื่องทางภายนอก แต่ก็ยังกลายเป็นส่วนของทฤษฎีด้วยเหตุผลหลัก 2 อย่าง คือ (1) แบบวัดของมันวัดสิ่งที่เกี่ยวกับตนหลายอย่าง และ (2) มันสัมพันธ์ทั้งทางแนวคิดและทางหลักฐานกับความมั่นใจในความสามารถของตนแบบทั่วไป (โดยงานวิเคราะห์อภิมานแสดงค่าสหสัมพันธ์ที่ .56 แม้ว่าจะเป็นค่าสหสัมพันธ์ที่ต่ำที่สุดระหว่างบรรดาลักษณะย่อยของ CSE ทั้งหลาย)[9][12]
  • ลักษณะอย่างอื่น ๆ เช่นการมองโลกในแง่ดีโดยนิสัย ก็ได้รับพิจารณาแต่ในที่สุดก็ไม่รวมในทฤษฎี[1] และเหตุผลในการตัดสินใจเรื่องนี้ก็ไม่ชัดเจน แต่รวมเหตุผลว่าบทสร้างนี้ไม่มีการศึกษาเท่ากับบทสร้างอื่น ๆ[1][12]
  • ยังมีการเสนอด้วยว่า การมองโลกในแง่ดีโดยนิสัย (dispositional optimism) ไม่ได้ต่างไปจาก neuroticism หรือลักษณะนิสัยอย่างอื่น ๆ[1]

งานวิจัยในอนาคตควรตรวจสอบทฤษฎีโดยหลักฐานการทดลองมากขึ้น และแสดงให้ใชัดเจนว่า ลักษณะที่ควรจะรวมเข้ากับ CSE ควรจะเป็นเรื่องกว้างขวาง เป็นเรื่องพื้นฐาน เป็นการประเมินแค่ไหนก่อนที่จะรวม[46]

แนวคิดเกี่ยวกับ CSE แบบต่าง ๆ[แก้]

มีงานวิจัยที่เคยเสนอว่า CSE เป็นลักษณะมูลฐาน (underlying, latent) ที่สามารถอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างที่ตั้งการควบคุม neuroticism ความมั่นใจในความสามารถของตน และความภูมิใจในตน[3][12][13][19][26] แต่ว่า ก็ยังมอง CSE ได้ว่าเป็นบทสร้างประกอบ (aggregate construct) ซึ่งประกอบด้วยหรือสามารถพยากรณ์ได้ด้วยมิติของมัน 4 อย่าง คือระดับลักษณะต่าง ๆ เหล่านั้นความจริงอาจจะเป็นตัวพยากรณ์ระดับ CSE แทนที่จะเป็นนัยตรงกันข้าม แนวคิดที่ต่างกันเช่นนี้มีผลสำคัญต่อการวัด CSE และดังนั้น จึงมีผลติดตามที่สำคัญในเรื่องที่พบเมื่อทำงานวิจัยในเรื่องนี้ เพราะเหตุนี้ อาจจำเป็นต้องมีงานวิจัยเพิ่มขึ้นเพื่อตรวจดูความแตกต่างทางแนวคิดในเรื่องนี้[46]

ดูเพิ่ม[แก้]

เชิงอรรถและอ้างอิง[แก้]

  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 1.12 1.13 1.14 1.15 1.16 1.17 Judge, T. A.; Locke, E. A.; Durham, C. C. (1997). "The dispositional causes of job satisfaction: A core evaluations approach". Research in Organizational Behavior. 19: 151–188.
  2. 2.0 2.1 Spector, P. E. (1982). "Behavior in organizations as a functioning of employees' locus of control". Psychological Bulletin. 91 (3): 482–497. doi:10.1037/0033-2909.91.3.482.
  3. 3.00 3.01 3.02 3.03 3.04 3.05 3.06 3.07 3.08 3.09 3.10 Judge, T. A.; Locke, E. A.; Durham, C. C.; Kluger, A. N. (1998). "Dispositional effects on job and life satisfaction: The role of core evaluations". Journal of Applied Psychology. 83 (1): 17–34. doi:10.1037/0021-9010.83.1.17. PMID 9494439.
  4. Costa, P. T.; McCrae, R. R. (1988). "Personality in adulthood: A six-year longitudinal study of self-reports and spouse ratings on the NEO Personality Inventory". Journal of Personality and Social Psychology. 54 (5): 853–863. doi:10.1037/0022-3514.54.5.853.
  5. Mount, M. K.; Barrick, M. R. (1995). "The Big Five personality dimensions: Implications for research and practice in human resources management". Research in Personnel and Human Resources Management. 13: 153–200.
  6. Bandura, A. (1982). "Self-efficacy mechanism in human agency". American Psychologist. 37 (2): 122–147. doi:10.1037/0003-066X.37.2.122.
  7. Harter, S. (1990). "Causes, correlates, and the functional role of global self-worth: A life-span perspective". ใน Sternberg, R. J.; Kolligan, J., Jr. (บ.ก.). Competence Considered. New Haven, CT: Yale University Press. pp. 67–97. ISBN 0-300-04567-0.
  8. Cattell, RB (1965). The Scientific Analysis of Personality. Oxford England: Penguin Books.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 9.4 9.5 9.6 Bono, JE; Judge, TA (2003). "Core self-evaluations: A review of the trait and its role in job satisfaction and job performance". European Journal of Personality. 17 (Suppl1): S5–S18.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  10. Watson, D.; Clark, L. A. (1984). "Negative affectivity: The disposition to experience aversive emotional states". Psychological Bulletin. 96 (3): 465–490. doi:10.1037/0033-2909.96.3.465. PMID 6393179.
  11. Judge, T. A.; Heller, D.; Klinger, R. (2008). "The dispositional sources of job satisfaction: A comparative test". Applied Psychology: An International Review. 57 (3): 361–372. doi:10.1111/j.1464-0597.2007.00318.x.
  12. 12.0 12.1 12.2 12.3 12.4 12.5 Judge, TA; Bono, JE (2001). A rose by any other name . . . . Are self-esteem, generalized self-efficacy, neuroticism, and locus of control indicators of a common construct?. Personality Psychology in the Workplace. Washington, DC: American Psychological Association. pp. 93–118. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |editors= ถูกละเว้น แนะนำ (|editor=) (help)CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  13. 13.0 13.1 13.2 Heller, D.; Judge, T. A.; Watson, D. (2002). "The confounding role of personality and trait affectivity in the relationship between job and life satisfaction". Journal of Organizational Behavior. 23 (7): 815–835. doi:10.1002/job.168.
  14. 14.0 14.1 14.2 Judge, T. A.; Erez, A.; Bono, J. E.; Thoresen, C. J. (2003). "The Core Self-Evaluations Scale: Development of a measure". Personnel Psychology. 56 (2): 303–331. doi:10.1111/j.1744-6570.2003.tb00152.x.
  15. 15.0 15.1 McNall, L. A.; Masuda, A. D.; Shanock, L.R.; Nicklin, J. M. (2011). "Interaction of core self-evaluations and perceived organizational support on work-to-family enrichment". Journal of Psychology. 145 (2): 133–149. doi:10.1080/00223980.2010.542506.
  16. 16.0 16.1 McNall, L. A.; Michel, J. S. (2011). "A dispositional approach to work-school conflict and enrichment". Journal of Business and Psychology. 26 (3): 397–411. doi:10.1007/s10869-010-9187-0.
  17. 17.0 17.1 Zhang, Z.; Peterson, S. J. (2011). "Advice networks in teams: The role of transformational leadership and members' core self-evaluations". Journal of Applied Psychology. 96 (5): 1004–1017. doi:10.1037/a0023254.
  18. 18.0 18.1 Dormann, C.; Fay, D.; Zapf, D.; Frese, M. (2006). "A state-trait analysis of job satisfaction: On the effect of core self-evaluations". Applied Psychology: An International Review. 55 (1): 27–51. doi:10.1111/j.1464-0597.2006.00227.x.
  19. 19.0 19.1 Judge, T. A.; Bono, J. E. (2001). "Relationship of core self-evaluations traits—self-esteem, generalized self-efficacy, locus of control, and emotional stability—with job satisfaction and job performance: A meta-analysis". Journal of Applied Psychology. 86 (1): 80–92. doi:10.1037/0021-9010.86.1.80. PMID 11302235.
  20. 20.0 20.1 20.2 20.3 20.4 Judge, T. A.; Bono, J. E.; Locke, E. A. (2000). "Personality and job satisfaction: The mediating role of job characteristics". Journal of Applied Psychology. 85 (2): 237–249. doi:10.1037/0021-9010.85.2.237.
  21. Hackman, JR; Oldham, GR (1980). Work redesign. Reading, MA: Addison-Wesle.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  22. 22.0 22.1 22.2 22.3 22.4 Stumpp, T.; Hülsheger, U. R.; Muck, P. M.; Maier, G. W. (2009). "Expanding the link between core self-evaluations and affective job attitudes". European Journal of Work and Organizational Psychology. 18 (2): 148–166. doi:10.1080/13594320802281110.
  23. doi:10.1016/j.jvb.2010.04.008
    This citation will be automatically completed in the next few minutes. You can jump the queue or expand by hand
  24. Sheldon, K. M.; Elliot, A. J. (1998). "Not all personal goals are personal: Comparing autonomous and controlled reasons for goals as predictors of effort and attainment". Personality and Social Psychology Bulletin. 24: 546–557. doi:10.1177/0146167298245010.
  25. 25.0 25.1 Judge, T. A.; Bono, J. E.; Erez, A.; Locke, E. A. (2005). "Core Self-Evaluations and Job and Life Satisfaction: The Role of Self-Concordance and Goal Attainment". Journal of Applied Psychology. 90 (2): 257–268. doi:10.1037/0021-9010.90.2.257.
  26. 26.0 26.1 26.2 Erez, A.; Judge, T. A. (2001). "Relationship of core self-evaluations to goal setting, motivation, and performance". Journal of Applied Psychology. 86 (6): 1270–1279. doi:10.1037/0021-9010.86.6.1270.
  27. Kacmar, K. M.; Harris, K. J.; Collins, B. J.; Judge, T. A. (2009). "Core self-evaluations and job performance: the role of the perceived work environment". Journal of Applied Psychology. 94 (6): 1572–1580. doi:10.1037/a0017498.
  28. 28.0 28.1 28.2 28.3 28.4 Judge, T. A.; Erez, A.; Bono, J. E. (1998). "The power of being positive: The relation between positive self-concept and job performance". Human Performance. 11 (2–3): 167–187. doi:10.1080/08959285.1998.9668030.
  29. 29.0 29.1 Judge, T. A.; Thoresen, C. J.; Pucik, V.; Welbourne, T. M. (1999). "Managerial coping with organizational change: A dispositional perspective". Journal of Applied Psychology. 84 (1): 107–122. doi:10.1037/0021-9010.84.1.107.
  30. Hogan, J.; Hogan, R.; Busch, C. M. (1984). "How to measure service orientation". Journal of Applied Psychology. 69 (1): 167–173. doi:10.1037/0021-9010.69.1.167.
  31. Brunborg, G (2008). "Core self-evaluations: A predictor variable for job stress". European Psychologist. 13 (2): 96–102.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  32. Judge, T. A.; Erez, A.; Bono, J. E.; Thoresen, C. J. (2002). "Are measures of self-esteem, neuroticism, locus of control, and generalized self-efficacy indicators of a common core construct?". Journal of Personality and Social Psychology. 83 (3): 693–710. doi:10.1037/0022-3514.83.3.693. PMID 12219863.
  33. 33.0 33.1 Maslach, C.; Schaufeli, W. B.; Leiter, M. P. (2001). "Job burnout". Annual Review of Psychology. 52: 397–422. doi:10.1146/annurev.psych.52.1.397.
  34. Best, R. G.; Stapleton, L. M.; Downey, R. G. (2005). "Core self-evaluations and job burnout: The test of alternative models". Journal of Occupational Health Psychology. 10 (4): 441–451. doi:10.1037/1076-8998.10.4.441.
  35. 35.0 35.1 35.2 Judge, T. A.; Hurst, C. (2007). "Capitalizing on one's advantages: Role of core self-evaluations". Journal of Applied Psychology. 92 (5): 1212–1227. doi:10.1037/0021-9010.92.5.1212.
  36. Baker, M. K.; Kennedy, D. J.; Bohle, P. L.; Campbell, D.; Wiltshire, J. H.; Singh, M. A. F. (2011). "Core self-evaluation as a predictor of strength training adoption in older adults". Maturitas. 68 (1): 88–93. doi:10.1016/j.maturitas.2010.10.001.
  37. Tasa, K.; Sears, G. J.; Schat, A. C. H. (2011). "Personality and teamwork behavior in context: The cross-level moderating role of collective efficacy". Journal of Organizational Behavior. 32 (1): 65–85. doi:10.1002/job.680.
  38. Westring, A. F.; Ryan, A. M. (2010). "Anticipated work-family conflict: A construct investigation". Journal of Vocational Behavior. 79 (2): 596–610. doi:10.1016/j.jvb.2011.02.004.
  39. Hirschi, A (2011). "Vocational identity as a mediator of the relationship between core self-evaluations and life and job Satisfaction". Applied Psychology: An International Review. 60 (4): 622–644. doi:10.1111/j.1464-0597.2011.00450.x.
  40. Koumoundourou, G.; Tsaousis, I.; Kounenou, K. (2011). "Parental influences on Greek adolescents' career decision-making difficulties: The mediating role of core self-evaluations". Journal of Career Assessment. 19 (2): 165–182. doi:10.1177/1069072710385547.
  41. Laschinger, H. K. S.; Finegan, J.; Wilk, P. (2011). "Situational and dispositional influences on nurses' workplace well-being the role of empowering unit leadership". Nursing Research. 60 (2): 124–131. doi:10.1097/nnr.0b013e318209782e.
  42. Sears, G. J.; Hackett, R. D. (2011). "The influence of role definition and affect in LMX: A process perspective on the personality - LMX relationship". Journal of Occupational and Organizational Psychology. 84 (3): 544–564. doi:10.1348/096317910x492081.
  43. 43.0 43.1 Hiller, N. J.; Hambrick, D. C. (2005). "Conceptualizing executive hubris: The role of (hyper-) core self-evaluations in strategic decision making". Strategic Management Journal. 26: 297–319. doi:10.1002/smj.455.
  44. Judge, TA; Hurst, C (2007). The benefits and possible costs of positive core self-evaluations: A review and agenda for future research. Positive organizational behavior. London, UK: Sage Publications. pp. 159–174. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |editors= ถูกละเว้น แนะนำ (|editor=) (help)CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  45. 45.0 45.1 Judge, T. A.; Kammeyer-Mueller, J. D. (2011). "Implications of core self-evaluations for a changing organizational context". Human Resource Management Review. 21: 331–341. doi:10.1016/j.hrmr.2010.10.003.
  46. 46.0 46.1 46.2 46.3 Johnson, R. E.; Rosen, C. C.; Levy, P. E. (2008). "Getting to the core of self-evaluation: A review and recommendations". Journal of Organizational Behavior. 29 (3): 391–413. doi:10.1002/job.514.