ข้ามไปเนื้อหา

Bálint's syndrome

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Bálint's syndrome
ชื่ออื่นBalint-Holmes syndrome, Optic ataxia-gaze apraxia-simultanagnosia syndrome
Balint Syndrome
สาขาวิชาประสาทวิทยา, จักษุวิทยา, ทัศนมาตรศาสตร์

Bálint's syndrome เป็นกลุ่มอาการความเสียหายทางประสาทและจิตใจ 3 อย่างที่ไม่สามัญและยังไม่เป็นที่เข้าใจกันดี คือ

  • ความไม่สามารถที่จะรับรู้วัตถุต่าง ๆ ในลานสายตาโดยสิ้นเชิง (simultanagnosia)
  • ความยากลำบากในการตรึงตา (oculomotor apraxia)
  • และความไม่สามารถในการขยับมือไปยังวัตถุหนึ่ง ๆ โดยใช้ตา (optic ataxia)[1]

กลุ่มอาการนี้มีชื่อตามประสาทแพทย์ชาวออสโตร-ฮังกาเรียน น.พ. เรสโช แบลินต์ ผู้ระบุถึงอาการนี้เป็นคนแรกในปี ค.ศ. 1909[2][3]

อาการนี้เกิดขึ้นบ่อยครั้งที่สุดอย่างฉับพลันเป็นผลจากโรคหลอดเลือดสมองกำเริบ 2 ครั้งหรือยิ่งกว่านั้นในเขตสมองเขตเดียวกัน (หรือใกล้ ๆ กัน) ในซีกสมองแต่ละซีก ดังนั้นจึงเป็นอาการที่ไม่เกิดขึ้นบ่อย นักวิจัยบางท่านกล่าวว่าเหตุที่เกิดขึ้นบ่อยที่สุดในอาการนี้แบบสมบูรณ์แบบก็คือความดันโลหิตต่ำแบบฉับพลันและรุนแรง มีผลเป็นเนื้อตายเหตุขาดเลือดตรงส่วนเชื่อมต่อกันของสมองกลีบท้ายทอยและสมองกลีบข้าง (occipito-parietal) ในซีกสมองทั้งสองข้าง[1] นอกจากนั้นแล้ว แม้ว่าจะพบยากยิ่งกว่านั้น ก็คือกรณีของอาการนี้ที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในโรคสมองเสื่อมเช่นโรคอัลไซเมอร์[4][5] หรือในอาการบาดเจ็บที่สมองตรงส่วนเชื่อมต่อกันในสมองเช่นกัน

การไม่ตระหนักถึงอาการนี้อาจนำไปสู่การวินิจฉัยทางการแพทย์ที่ผิดพลาด และมีผลเป็นการบำบัดรักษาที่ไม่สมควรหรือไม่เพียงพอ ดังนั้น แพทย์รักษาพึงมีความคุ้นเคยกับอาการนี้และกับเหตุเกิดและอาการปรากฏต่าง ๆ[6]

อาการ

[แก้]

อาการนี้สามารถลดสมรรถภาพทางร่างกายไปได้มากเพราะมีผลต่อ visuospatial skill (ทักษะเกี่ยวกับพื้นที่รอบตัวที่เห็นทางตา) การมองหา (visual scanning) และการใส่ใจทางตา[7] เพราะว่าอาการมีผลเป็นความพิการอย่างสำคัญทางตาและทางภาษา จึงสามารถมีผลต่อความปลอดภัยของคนไข้ แม้ในเวลาที่อยู่ในบ้าน และอาจจะทำให้ไม่สามารถทำอาชีพได้[8] ในหลายกรณี อาการโดยสมบูรณ์ทั้งสามอย่าง คือ ความไม่สามารถที่จะรับรู้วัตถุต่าง ๆ ในลานสายตาโดยสิ้นเชิง (simultanagnosia) ความยากลำบากในการตรึงตา (oculomotor apraxia) และความไม่สามารถในการขยับมือไปยังวัตถุหนึ่ง ๆ โดยใช้ตา (optic ataxia) จะไม่ปรากฏจนกระทั่งคนไข้ได้รับการพยาบาลเพื่อฟื้นฟูสภาพ นักบำบัดโรคผู้ไม่คุ้นเคยกับอาการนี้อาจจะทำการวินิจฉัยผิดเมื่อคนไข้ไม่มีการเจริญคืบหน้าตามที่คาดหวังเพราะเหตุอาการ 3 อย่างเหล่านั้นว่า จะไม่เกิดประโยชน์จากการบำบัดรักษาที่ใช้กันทั่ว ๆ ไปอีกต่อไป เพราะธรรมชาติของอาการแต่ละอย่างจะเป็นตัวขัดขวางความก้าวหน้าแก่กันและกัน ยังต้องมีงานศึกษาวิจัยอีกมากเพื่อพัฒนาขั้นตอนการรักษาที่มุ่งบำบัดอาการทั้งหมดโดยเป็นกลุ่มเนื่องจากว่า ความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นเกี่ยวพันกันเป็นอย่างยิ่ง

Simultanagnosia

[แก้]

Simultanagnosia เป็นความไม่สามารถที่จะรับรู้เหตุการณ์หรือวัตถุต่าง ๆ หลายอย่างพร้อม ๆ กันที่ปรากฏในลานสายตา[9] คนไข้อาการนี้รับรู้โลกอย่างไม่สมบูรณ์ คือเป็นลำดับของวัตถุเดี่ยว ๆ ต่อ ๆ กันโดยไม่เห็นภาพรวมทั้งหมด[10]

ความผิดปกติในการรับรู้พื้นที่รอบ ๆ ตัวเกี่ยวเนื่องกับความใส่ใจทางตา คือความสามารถที่มีในการระบุถึงวัตถุเดี่ยว ๆ ในสิ่งที่เห็น แต่ไม่สามารถระบุภาพโดยรวม เรียกว่า เป็นการหดตัวลงของหน้าต่าง gestalt ของคนไข้ ซึ่งก็คือหน้าต่างแห่งความใส่ใจทางตา โดยปกติแล้ว มนุษย์จะตรึงตาไปที่จุดต่าง ๆ ในสถานการณ์ทางสังคมเพราะว่าจุดต่าง ๆ เหล่านั้นช่วยสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของสถานการณ์นั้น ๆ ดังนั้น การฟื้นฟูสภาพอาการ simultanagnosia อาจจะต้องเกี่ยวข้องกับการขยายหน้าต่างความใส่ใจที่เกิดการหดตัวลง (ที่เป็นลักษณะเฉพาะของอาการนี้)[11]

Simultanagnosia เป็นความบกพร่องทางการเห็นที่ลึกซึ้ง เพราะว่า เข้าไปทำลายสมรรถภาพในการรับรู้วัตถุหลาย ๆ อย่างในภาพ ๆ หนึ่ง ในขณะที่ไม่มีผลต่อความสามารถในการรู้จำวัตถุเดี่ยว ๆ ผลงานวิจัยหนึ่งเสนอว่า simultanagnosia อาจเกิดจากการแข่งขันแบบสุด ๆ ระหว่าง (การรับรู้) วัตถุต่าง ๆ ซึ่งทำให้ลำบากในการที่จะถอนความใส่ใจจากวัตถุหนึ่งเมื่อเข้าไปใส่ใจในวัตถุนั้นแล้ว[12] คนไข้ simultanagnosia มีหน้าต่างความใส่ใจทางตาที่หดตัวลงและจะไม่สามารถมองเห็นวัตถุเกินกว่าหนึ่งในขณะนั้น ๆ คนไข้เห็นโลกแบบปะติดปะต่อ ทีละจุด ๆ ดังนั้น จึงเลือกเอาเพียงวัตถุหนึ่ง ๆ หรือแม้แต่เพียงแค่องค์ประกอบบางอย่างของวัตถุหนึ่ง ๆ โดยที่ไม่สามารถเห็นภาพรวม

งานวิจัยหนึ่งซึ่งทำการตรวจสอบโดยตรงในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างการหดตัวของหน้าต่างความใส่ใจในคนไข้ simultanagnosia กับการเห็นของบุคคลสุขภาพดีที่มีการประมวลผลทางตาปกติ ยืนยันถึงของเขตปัญหาของคนไข้ (ที่กล่าวมาแล้ว)[13]

มีหลักฐานหลายอย่างที่แสดงว่า คอร์เทกซ์ของมนุษยแบ่งการประมวลสัญญาณการเห็นออกเป็นสองสาย คือ วิถีประสาทสมองกลีบท้ายทอย-สมองกลีบข้าง-สมองกลีบหน้าประมวลข้อมูลที่แสดงว่า วัตถุหนึ่ง ๆ อยู่ที่ไหน (where pathway) ในขณะที่วิถีประสาทสมองกลีบท้ายทอย-สมองกลีบขมับ-สมองกลีบหน้าประมวลข้อมูลที่แสดงว่า วัตถุหนึ่ง ๆ นั้นคืออะไร (what pathway)[14] (ดูข้อมูลเพิ่มเติมที่สมมุติฐานทางสัญญาณสองทาง)

Oculomotor apraxia

[แก้]

น.พ. แบลินต์เรียกอาการของ Oculomotor apraxia ว่า "psychic paralysis of gaze (อัมพาตทางใจในการจ้องมอง)" ซึ่งเป็นความไม่สามารถขยับตาไปตามใจในเพื่อเปลี่ยนการตรึงตาจากที่ ๆ หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่ง

Optic ataxia

[แก้]

Optic ataxia เป็นความไม่สามารถในการเคลื่อนมือไปที่วัตถุหนึ่ง ๆ โดยใช้งตา[15] เป็นกรณีที่ไม่สามารถอธิบายความพิการโดยความบกพร่องทางการสั่งการ (motor) ทางการรับรู้ทางกาย (somatosensory) ทางลานสายตา หรือทางความชัดเจนของการเห็น (acuity) Optic ataxia เกิดขึ้นในคนไข้อาการนี้ กำหนดโดยความบกพร่องในการควบคุมการยื่นแขนออกไปยังเป้าหมายที่เห็นทางตา พร้อมกับการวางทิศทางและรูปแบบการจับของมือที่ไม่ถูกต้อง[16] เป็นความผิดปกติของการสั่งการอำนวยโดยการเห็น (visuomotor disorder) เฉพาะอย่าง โดยไม่เกี่ยวกับการรับรู้พื้นที่รอบ ๆ ตัวอย่างผิด ๆ

Optic ataxia บางครั้งเรียกว่า "misreaching" (แปลว่า เอื้อมไปผิด) หรือ "dysmetria" (แปลว่า ยากที่จะวัด) ซึ่งเป็นอาการที่มีความเสียหายรองลงไปจากความบกพร่องในการรับรู้ทางการเห็นอื่น ๆ คนไข้ Bálint's syndrome มักจะมีการเคลื่อนไหวมือที่บกพร่องที่อาศัยตา แม้ว่าจะมีพละกำลังที่มือแขนเป็นปกติ คือคนไข้ไม่สามารถจับวัตถุเมื่อกำลังมองดูวัตถุนั้น ๆ เพราะเหตุความไม่สัมพันธ์กันระหว่างการเห็นและการเคลื่อนไหวมือ โดยเฉพาะในมือที่อยู่ตรงข้าม (contralesional) กับรอยโรคในสมอง

Dysmetria หมายถึงการสูญเสียการเคลื่อนไหวที่ประสานกัน กำหนดโดยการยื่นมือ แขน ขา หรือการขยับตา ที่มากเกินไปหรือน้อยเกินไปสัมพันธ์กับตำแหน่งที่ต้องการ ซึ่งบางครั้งพรรณนาว่า เป็นความไม่สามารถในการตัดสินระยะทางหรือขนาด

ดังที่ (น.พ.) แบลินต์กล่าวไว้ optic ataxia ทำให้คนไข้เกิดความลำบากในการใช้ชีวิตประจำวัน

เนื่องจากว่า "เมื่อกำลังตัดชิ้นเนื้อ...ที่เขากำลังจับไว้ด้วยซ่อมในมือซ้าย...ก็จะเสาะหาชิ้นเนื้อนั้นภายนอกภาชนะด้วยมีดในมือขวา" หรือว่า "...เมื่อกำลังจุดบุหรี่ เขามักจะจุดที่ตรงกลางไม่ใช่ที่ตรงปลาย" (น.พ.) แบลินต์ได้ชี้ถึงความผิดปกติทั้งระบบของของอาการนี้ ซึ่งปรากฏได้ชัดในพฤติกรรมของคนไข้เมื่อกำลังสืบหา (อะไร ๆ) ในพื้นที่ "ดังนั้น เมื่อบอกให้จับวัตถุที่ยื่นให้ด้วยมือขวาของเขา

เขาจะจับมันพลาดเป็นปกติ และจะพบมันได้ก็ต่อเมื่อมือของเขาไปชนมัน"[16]

สมรรถภาพในการเอื้อม (มือและแขน) ของคนไข้ก็จะเปลี่ยนไปด้วย คือ ต้องใช้เวลานานกว่าที่จะเอื้อม (อวัยวะ) ไปหาวัตถุ สมรรถภาพการจับวัตถุหนึ่ง ๆ ก็จะเสียหายไปด้วย คนไข้ยิ่งทำได้แย่ลงอย่างมากถ้าไม่ให้เห็นมือหรือเป้าหมาย (ที่จะจับ)

เหตุ

[แก้]

ความผิดปกติทางตาในอาการนี้มักจะเกิดจากความเสียหายที่ยอดส่วนเชื่อมของสมองกลีบขมับ-สมองกลีบท้ายทอย (temporal-occipital) ในซีกสมองทั้งสองข้าง สมองกลีบขมับเป็นส่วนด้านข้างของสมองข้างหู และสมองกลีบท้ายทอยเป็นส่วนหลังของสมอง ดังนัน ส่วนเชื่อมจึงอยู่ที่ข้าง ๆ ด้านหลังของสมอง ในอาการนี้ ส่วนยอดของสมองกลีบข้างในซีกสมองทั้งสมองอาจจะเกิดความเสียหายด้วย สมองกลีบข้างเป็นส่วนตรงกลางด้านบนของสมอง

การวินิจฉัย

[แก้]

การขาดความตระหนักถึงอาการนี้อาจนำไปสู่การวินิจฉัยทางการแพทย์ที่ผิดว่า คนไข้ตาบอด มีโรคจิต หรือมีภาวะสมองเสื่อม[1] คนที่จะสังเกตเห็นว่าคนไข้มีอาการนี้ก่อนอื่นทั้งหมดมักจะเป็นผู้บำบัดโรคที่ให้การพยาบาลฟื้นสภาพหลังจากคนไข้เกิดรอยโรคในสมอง แต่ว่า เพราะว่ามีผู้บำบัดโรคเป็นจำนวนน้อยที่คุ้นเคยกับอาการนี้ อาการต่าง ๆ ที่ได้สังเกตเห็นก็จะรับคำอธิบายผิดอื่น ๆ โดยที่ไม่ได้พิจารณาถึงอาการนี้ หรือตรวจสอบยืนยันด้วยวิธีทางการแพทย์หรือประสาทรังสีวิทยา[17] ดังนั้น ความปรากฏของความผิดปกติทางพื้นที่ ที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันสืบต่อจากความเสียหายที่สมองกลีบข้างในซีกสมองทั้งสองข้าง เป็นเครื่องชี้บ่งที่มีกำลังของ Bálint's syndrome และควรที่จะตรวจสอบต่อไปว่าใช่อาการนี้หรือไม่[18] งานวิจัยหนึ่งรายงานว่า ความเสียหายที่เขตต่าง ๆ ของส่วนเชื่อมระหว่างสมองกลีบท้ายทอยและสมองกลีบข้างในซีกสมองทั้งสองข้างดูเหมือนจะมีความสัมพันธ์กับ Bálint's syndrome[19]

หลักฐานโดยประสาทกายวิภาค

[แก้]

มีการพบ Bálint's syndrome ในคนไข้ที่มีความเสียหายต่อสมองกลีบข้างด้านหลังในซีกสมองทั้งสองข้าง เหตุหลักของความเสียหายและอาการมาจากโรคหลอดเลือดสมองที่เกิดซ้ำ ๆ กัน โรคอัลไซเมอร์ เนื้องอกในกะโหลกศีรษะ (intracranial tumor) หรือการบาดเจ็บที่สมอง นอกจากนั้นแล้ว ยังพบว่า multifocal leukoencephalopathy และโรคครอยตส์เฟลดต์-จาค็อบ ก็ก่อให้เกิดอาการเช่นนี้อีกด้วย อาการนี้เกิดจากความเสียหายต่อบริเวณที่รับโลหิตมาจากเส้นเลือดใหญ่สองเส้น (watershed area) ด้านบนข้างหลัง หรือที่เรียกว่า parietal-occipital vascular border zone (โซนเชื่อมต่อกันระหว่างสมองกลีบข้าง-สมองกลีบท้ายทอยที่มีเส้นเลือด) หรือที่เรียกว่าเขตบร็อดแมนน์ 19 และ 7

อาการปรากฏ

[แก้]

อาการที่อาจเป็นตัวบ่งบอก Bálint's syndrome หลังจากเกิดความเสียหายต่อสมองทั้งสองซีกมีดังต่อไปนี้

  • มีการจำกัดการรับรู้ต่อสิ่งเร้าที่ปรากฏ 35-40 องศาไปทางด้านขวาเท่านั้น คนไข้สามารถเคลื่อนไหวตาทั้งสองแต่ไม่สามารถตรึงตาที่สิ่งเร้านั้น ๆ (ataxia)
  • คนไข้สามารถใส่ใจในวัตถุเดียวเท่านั้นในขณะหนึ่ง ๆ ซึ่งมีผลให้กิจในชีวิตประจำวันต่าง ๆ เช่นการอ่านหนังสือเป็นสิ่งที่ยากลำบาก เพราะว่า ต้องทำการรับรู้ตัวหนังสือทีละตัว (ataxia)
  • ความผิดปกติในการเห็นรูป/พื้นหลัง ที่คนไข้สามารถสามารถเห็นพื้นหลังแต่ไม่เห็นวัตถุที่อยู่ภายในพื้นหลังนั้น หรือว่าสามารถเห็นวัตถุแต่ไม่สามารถเห็นพื้นหลัง (simultanagnosia)
  • คนไข้คนหนึ่งปรากฏว่าพยายามใส่รองเท้าแตะโดยพยายามสอดเท้าเข้าไปในรองเท้าห่าง 2-3 นิ้วจากรองเท้าที่มีอยู่ แม้ว่าคนไข้จะมีโฟกั๊สอยู่ที่รองเท้าจริง ๆ (oculomotor apraxia)
  • คนไข้คนหนึ่งยกช้อนหรือซ่อมที่มีอาหารไปที่เหนือปากหรือใต้ปาก และพยายามที่จะหาปากโดยทดลองขยับช้อนหรือซ่อมนั้นไปรอบ ๆ ใบหน้า (optic ataxia)

การบำบัดรักษา

[แก้]

มีเอกสารที่ตีพิมพ์น้อยมาก เกี่ยวกับวิธีการบำบัดโดยเฉพาะสำหรับโรคเกี่ยวกับการเห็นและพื้นที่เช่น Bálint’s syndrome[7] งานวิจัยหนึ่งแสดงว่า การฝึกหัดเพื่อรักษาฟื้นฟูควรจะเล็งที่การพัฒนาการสืบหาทางตา การพัฒนาการเคลื่อนไหวมือโดยใช้ตา และการพัฒนาการประสานกัน (integration) ของวัตถุต่าง ๆ ที่เห็นทางตา[20] มีวิธีการรักษาเป็นจำนวนน้อยมากที่ได้รับการเสนอ และที่เสนอแล้วนั้น ก็ได้รับคำวิจารณ์ว่า มีการพัฒนาและการประเมินผลที่ไม่ดี

มีแนวคิด 3 อย่างในการบำบัดรักษาความบกพร่องในการรับรู้ เช่นกับที่มีในคนไข้ Bálint's syndrome ได้แก่

  1. วิธีการปรับตัว (โดยกิจ) ซึ่งเป็นการฝึกหัดที่ใช้ทักษะและความสามารถที่มีอยู่ของคนไข้ เพื่อช่วยคนไข้ทำการชดเชยเพื่อแก้ปัญหา หรือช่วยคนไข้เปลี่ยนสิ่งแวดล้อมให้เกิดปัญหาน้อยลง นี้เป็นแนวคิดที่นิยมที่สุด
  2. วิธีแก้ปัญหา ซึ่งฟื้นสภาพระบบประสาทกลางที่เสียหายโดยให้ฝึกทักษะการรับรู้ ซึ่งอาจมีผลโดยทั่วไปกับกิจกรรมชีวิตประจำวันทั้งหมด เป็นวิธีที่ทำโดยใช้กิจกรรมที่ทำบนโด๊ะหรือข้อฝึกหัดระบบรับความรู้สึกและระบบสั่งการ (sensorimotor)
  3. วิธีการฝึกในหลาย ๆ สถานการณ์ (multicontext) ซึ่งเป็นการตอบสนองต่อความจริงว่า การเรียนรู้ในสถานการณ์หนึ่งอาจจะใช้ไม่ได้ในอีกสถานการณ์หนึ่ง จึงมีการฝึกหัดยุทธวิธีเฉพาะอย่างในหลาย ๆ สถานการณ์โดยใช้แบบฝึกหัดและการเคลื่อนไหวหลายหลาก และอาศัยการสำนึกตน (self-awareness)[21]

กรณีศึกษา

[แก้]

อาการต่าง ๆ ของ Bálint’s syndrome พบในคนไข้โรคไมเกรนวัย 29 ปีคนหนึ่ง ในขณะที่เห็นออราก่อนการปวดหัวไมเกรนจะเกิดขึ้น เธอจะไม่สามารถเห็นวัตถุต่าง ๆ ในลานสายตาได้พร้อม ๆ กัน ไม่สามารถเคลื่อนไหวมือประสานกับการเห็น และไม่สามารถตรึงตาที่วัตถุหนึ่ง ๆ ตามสั่ง[22] แต่อาการต่าง ๆ จะไม่มีก่อนการเกิดขึ้นของไมเกรนหรือหลังจากที่ผ่านไปแล้ว

งานศึกษาเกี่ยวกับคนไข้ที่มีโรค Corticobasal Ganglionic Degeneration (CGBD) คนหนึ่งพบว่าคนไข้มีอาการนี้ที่เริ่มเจริญขึ้น โดยเป็นผลของ CGBD คนไข้เกิดความไม่สามารถในการเคลื่อนตาไปที่วัตถุต่าง ๆ ในส่วนรอบ ๆ (peripheral) ลานสายตา ไม่สามารถเอื้อมมือไปจับวัตถุต่าง ๆ ในส่วนรอบ ๆ ลานสายตา และไม่สามารถรู้จำวัตถุมากกว่าหนึ่งในขณะเดียวกัน เมื่อมีการแสดงรูปการขโมยคุกกี้จากบทตรวจสอบ Boston Diagnostic Aphasia Examination[23]

ชายวัย 58 ปีมี Bálint's syndrome ที่เกิดจากความบาดเจ็บในสมองอย่างรุนแรง 4 เดือนหลังจากความบาดเจ็บ เขาได้ผ่านโปรแกรมฟื้นฟูความบาดเจ็บในสมองเป็นเวลา 6 เดือนในโรงพยาบาล กลวิธีในการรักษาแบ่งเป็น 3 วิธีรวมทั้ง (1) กลวิธีการชดเชย (2) แบบการฝึกหัดเพื่อรักษา (3) การใช้ทักษะที่ได้ใหม่ในสิ่งแวดล้อมและสถานการณ์หลาย ๆ อย่าง มีการประเมินคนไข้ทางประสาทจิตวิทยาและทางทักษะชีวิตประจำวันทั้งก่อนรับคนไข้และหลังจากจำหน่ายคนไข้จากโรงพยาบาลแล้ว คนไข้ปรากฏความก้าวหน้าในการทดสอบที่ประเมินความสามารถเกี่ยวกับการเห็นและพื้นที่ (visuospatial) แม้ว่า ความก้าวหน้าที่ดีขึ้นที่สุดจะเป็นความสามารถในการใช้ชีวิตประจำวันและการทำงานทางกาย[7]

คนไข้ที่หูหนวกมาตั้งแต่กำเนิดปรากฏอาการบางอย่างของ Bálint’s syndrome คือ ไม่สามารถรับรู้เหตุการณ์หลายอย่าง ๆ พร้อมกันที่เกิดให้เห็นในลานสายตา นอกจากนั้นแล้ว เธอยังไม่สามารถทำการตรึงตาหรือติดตามวัตถุหนึ่ง ๆ ด้วยตา และก็มีสมรรถภาพบกพร่องด้วยในการทำกิจต่าง ๆ ทางกายที่ต้องใช้ตา[17]

ไม่ค่อยมีรายงานเกี่ยวกับ Bálint's syndrome ในเด็ก แต่มีงานวิจัยบางงานที่แสดงหลักฐานว่าอาการนี้ก็มีในเด็กด้วย คือมีการรายงานถึงกรณีเด็กชายอายุ 10 ขวบในปี ค.ศ. 2003[24] นอกจากนั้นแล้ว ก็ยังมีรายงานในเด็กชายอายุ 7 ขวบด้วย ในเด็ก อาการนี้มีผลต่อการใช้ชีวิตหลายอย่าง แต่ที่เห็นชัดที่สุดก็คือปัญหาในการเรียน โดยเฉพาะเกี่ยวกับการอ่านหนังสือ ผู้ทำงานวิจัยสนับสนุนให้มีการตระหนักถึงอาการนี้เพิ่มยิ่งขึ้นเพื่อที่จะให้การบำบัดรักษากับคนไข้และเพื่อให้เกิดการปรับสภาพสิ่งแวดล้อมที่สมควรต่อคนไข้[25]

ข้อวิจารณ์

[แก้]

มีการคัดค้านถึงการจัดกลุ่มอาการเช่นนี้ เพราะว่าองค์ประกอบ 3 อย่าง (simultanagnosia, oculomotor apraxia, และ optic ataxia) แต่ละอย่างอาจเป็นผลของความบกพร่องหรือความผิดปกติหลายอย่าง

เพราะว่า Bálint's syndrome หาได้ยากและยากที่จะประเมินโดยใช้วิธีทั่วไปทางคลินิก

งานเอกสารที่มีอยู่โดยมากเป็นการรายงานเค้ส (case report) ที่เต็มไปด้วยความเอนเอียงในการเลือกเค้ส (case selection bias) การใช้ศัพท์ที่ไม่เหมือนกัน การตรวจสอบการเห็นขั้นพื้นฐานที่ไม่เพียงพอ การระบุส่วนของรอยโรคที่ไม่ชัดเจน

และการไม่ระบุความแตกต่างของความบกพร่องในช่วงที่อาการเกิดขึ้นโดยฉับพลัน (acute phase) กับช่วงที่มีอาการเกิดขึ้นแบบเรื้อรัง (chronic phase)[10]

เชิงอรรถและอ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 Udesen, H; Madsen, A. L. (1992). "Balint's syndrome--visual disorientation". Ugeskrift for Laeger. 154 (21): 1492–4. PMID 1598720.
  2. synd/1343 ใน Who Named It?
  3. Bálint, Dr. (1909). "Seelenlähmung des 'Schauens', optische Ataxie, räumliche Störung der Aufmerksamkeit. pp. 51–66" [Soul imbalance of 'seeing', optical ataxia, spatial disturbance of attention. pp. 51–66]. European Neurology (ภาษาเยอรมัน). 25: 51–66. doi:10.1159/000210464.
  4. Kerkhoff, G. (2000). "Neurovisual rehabilitation: Recent developments and future directions". Journal of Neurology, Neurosurgery & Psychiatry. 68 (6): 691–706. doi:10.1136/jnnp.68.6.691. PMC 1736971. PMID 10811691.
  5. Ribai, P.; Vokaer, M.; De Tiege, X.; Massat, I.; Slama, H.; Bier, J.C. (2006). "Acute Balint's syndrome is not always caused by a stroke". European Journal of Neurology. 13 (3): 310–2. doi:10.1111/j.1468-1331.2006.01144.x. PMID 16618355. S2CID 6567099.
  6. Perez, F. M.; Tunkel, R. S.; Lachmann, E. A.; Nagler, W. (2009). "Balint's syndrome arising from bilateral posterior cortical atrophy or infarction: Rehabilitation strategies and their limitation". Disability and Rehabilitation. 18 (6): 300–4. doi:10.3109/09638289609165884. PMID 8783001.
  7. 7.0 7.1 7.2 Zgaljardic, Dennis J.; Yancy, Sybil; Levinson, Jason; Morales, Gabrielle; Masel, Brent E. (2011). "Balint's syndrome and post-acute brain injury rehabilitation: A case report". Brain Injury. 25 (9): 909–17. doi:10.3109/02699052.2011.585506. PMID 21631186. S2CID 207447734.
  8. Toyokura, M; Koike, T (2006). "Rehabilitative intervention and social participation of a case with Balint's syndrome and aphasia". The Tokai Journal of Experimental and Clinical Medicine. 31 (2): 78–82. PMID 21302228.
  9. Rizzo, Matthew (2000). "Clinical Assessment of Complex Visual Dysfunction". Seminars in Neurology. 20 (1): 75–87. doi:10.1055/s-2000-6834. PMID 10874778.
  10. 10.0 10.1 Rizzo, M (2002). "Psychoanatomical substrates of Balint's syndrome". Journal of Neurology, Neurosurgery & Psychiatry. 72 (2): 162–78. doi:10.1136/jnnp.72.2.162. PMC 1737727. PMID 11796765.
  11. Dalrymple, Kirsten A.; Birmingham, Elina; Bischof, Walter F.; Barton, Jason J.S.; Kingstone, Alan (2011). "Experiencing simultanagnosia through windowed viewing of complex social scenes". Brain Research. 1367: 265–77. doi:10.1016/j.brainres.2010.10.022. PMID 20950591. S2CID 9857024.
  12. Jackson, Georgina M.; Swainson, Rachel; Mort, Dominic; Husain, Masud; Jackson, Stephen R. (2009). "Attention, competition, and the parietal lobes: Insights from Balint's syndrome". Psychological Research. 73 (2): 263–70. doi:10.1007/s00426-008-0210-2. PMID 19156438. S2CID 26978283.
  13. Dalrymple, Kirsten A.; Bischof, Walter F.; Cameron, David; Barton, Jason J. S.; Kingstone, Alan (2010). "Simulating simultanagnosia: Spatially constricted vision mimics local capture and the global processing deficit". Experimental Brain Research. 202 (2): 445–55. doi:10.1007/s00221-009-2152-3. PMID 20066404. S2CID 23818496.
  14. Kim, Min-Shik; Robertson, Lynn C. (2001). "Implicit Representations of Space after Bilateral Parietal Lobe Damage". Journal of Cognitive Neuroscience. 13 (8): 1080–7. CiteSeerX 10.1.1.579.299. doi:10.1162/089892901753294374. PMID 11784446. S2CID 18411954.
  15. Perenin, M.-T.; Vighetto, A. (1988). "Optic Ataxia: A Specific Disruption in Visuomotor Mechanisms". Brain. 111 (3): 643–74. doi:10.1093/brain/111.3.643. PMID 3382915.
  16. 16.0 16.1 Battaglia-Mayer, A.; Caminiti, R. (2002). "Optic ataxia as a result of the breakdown of the global tuning fields of parietal neurones". Brain. 125 (2): 225–37. doi:10.1093/brain/awf034. PMID 11844724.
  17. 17.0 17.1 Drane DL, Lee GP, Huthwaite JS; และคณะ (May 2009). "Development of a partial Balint's syndrome in a congenitally deaf patient presenting as pseudo-aphasia". Clin Neuropsychol. 23 (4): 715–28. doi:10.1080/13854040802448718. PMC 2836810. PMID 18923965.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  18. Valenza N, Murray MM, Ptak R, Vuilleumier P (2004). "The space of senses: impaired crossmodal interactions in a patient with Balint syndrome after bilateral parietal damage". Neuropsychologia. 42 (13): 1737–48. doi:10.1016/j.neuropsychologia.2004.05.001. PMID 15351624.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  19. Kas A, de Souza LC, Samri D; และคณะ (May 2011). "Neural correlates of cognitive impairment in posterior cortical atrophy". Brain. 134 (Pt 5): 1464–78. doi:10.1093/brain/awr055. PMID 21478188.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  20. Rosselli, Mónica; Ardila, Alfredo; Beltran, Christopher (2001). "Rehabilitation of Balint's Syndrome: A Single Case Report". Applied Neuropsychology. 8 (4): 242–7. doi:10.1207/S15324826AN0804_7. PMID 11989728. S2CID 969103.
  21. Al-Khawaja, I (2001). "Neurovisual rehabilitation in Balint's syndrome". Journal of Neurology, Neurosurgery & Psychiatry. 70 (3): 416. doi:10.1136/jnnp.70.3.416. PMC 1737281. PMID 11248903.
  22. Shah, P. A; Nafee, A (1999). "Migraine aura masquerading as Balint's syndrome". Journal of Neurology, Neurosurgery & Psychiatry. 67 (4): 554–5. doi:10.1136/jnnp.67.4.554. PMC 1736566. PMID 10610392.
  23. Mendez, M. F. (2000). "Corticobasal Ganglionic Degeneration with Balint's Syndrome". Journal of Neuropsychiatry. 12 (2): 273–5. doi:10.1176/appi.neuropsych.12.2.273. PMID 11001609.
  24. Gillen, Jennifer A; Dutton, Gordon N (2007). "Balint's syndrome in a 10-year-old male". Developmental Medicine & Child Neurology. 45 (5): 349–52. doi:10.1111/j.1469-8749.2003.tb00407.x. PMID 12729150.
  25. Drummond, Suzannah Rosalind; Dutton, Gordon N. (2007). "Simultanagnosia following perinatal hypoxia—A possible pediatric variant of Balint syndrome". Journal of American Association for Pediatric Ophthalmology and Strabismus. 11 (5): 497–8. doi:10.1016/j.jaapos.2007.03.007. PMID 17933675.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก