ข้ามไปเนื้อหา

ไบรอัน ร็อบสัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Bryan Robson)
ไบรอัน ร็อบสัน
โอบีอี
ร็อบสันใน ค.ศ. 2009
ข้อมูลส่วนตัว
ชื่อเต็ม ไบรอัน ร็อบสัน[1]
วันเกิด (1957-01-11) 11 มกราคม ค.ศ. 1957 (67 ปี)[2]
สถานที่เกิด เชสเตอร์ลิสตรีต ประเทศอังกฤษ
ส่วนสูง 1.76 เมตร (5 ฟุต 9 นิ้ว)[3]
ตำแหน่ง กองกลาง
ข้อมูลสโมสร
สโมสรปัจจุบัน
แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด (ทูตระดับโลก)
สโมสรเยาวชน
1972–1975 เวสต์บรอมมิชอัลเบียน
สโมสรอาชีพ*
ปี ทีม ลงเล่น (ประตู)
1975–1981 เวสต์บรอมมิชอัลเบียน 198 (40)
1981–1994 แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด 345 (74)
1994–1997 มิดเดิลส์เบรอ 25 (1)
รวม 568 (115)
ทีมชาติ
1979–1980 อังกฤษ ไม่เกิน 21 ปี 7 (2)
1979–1980 อังกฤษ บี 3 (1)
1980–1991 อังกฤษ 90 (26)
จัดการทีม
1994–2001 มิดเดิลส์เบรอ
2003–2004 แบรดฟอร์ดซิตี
2004–2006 เวสต์บรอมมิชอัลเบียน
2007–2008 เชฟฟิลด์ยูไนเต็ด
2009–2011 ไทย
2009–2011 ไทย ไม่เกิน 23 ปี
*นัดที่ลงเล่นและประตูที่ยิงให้แก่สโมสรเฉพาะลีกในประเทศเท่านั้น

ไบรอัน ร็อบสัน OBE (อังกฤษ: Bryan Robson) เป็นผู้จัดการและอดีตผู้เล่นฟุตบอลชาวอังกฤษ เขาเริ่มอาชีพกับเวสต์บรอมมิชอัลเบียนใน ค.ศ. 1972 ที่เขาลงเล่นมากกว่า 200 ครั้งและเป็นกัปตันสโมสร ก่อนย้ายไปยังแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดใน ค.ศ. 1981 ที่เขากลายเป็นกัปตันที่ดำรงตำแหน่งนานที่สุดในประวัติสโมสร เขาชนะรางวัลพรีเมียร์ลีกสองครั้ง เอฟเอคัพสามครั้ง ฟุตบอลลีดคัพครั้งเดียว เอฟเอแชริตีชีลด์สองครั้ง และยูโรเปียนคัพวินเนอส์คัพขณะอยู่ในสโมสรนั้น โดยมีชื่อเล่นว่า "กัปตันมาร์เวล" (Captain Marvel)[4] ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2011 ร็อบสันได้รับเลือกเป็นผู้เล่นที่ดีที่สุดของแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ดในโพลของอดีตผู้เล่นสโมสรในหนังสือ 19 ที่ตีพิมพ์เนื่องในการเฉลิมฉลองแชมป์ลีกสมัยที่ 19 ที่ทำลายสถิติของสโมสร[5]

ร็อบสันเริ่มต้นอาชีพผู้จัดการในฐานะผู้เล่น-ผู้จัดการกับมิดเดิลส์เบรอใน ค.ศ. 1994 เกษียณจากการเล่นฟุตบอลใน ค.ศ. 1997 ในช่วงที่เป็นผู้จัดการมิดเดิลส์เบรอ 7 ปี เขานไทีมเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศเวมบลีย์ 3 ครั้งที่แพ้ทั้งหมด และได้รับการเลื่อนขั้นสู่พรีเมียร์ลีก 2 ครั้ง เขาทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยโค้ชแก่เทอร์รี เวนาเบิลส์ ผู้จัดการชาวอังกฤษที่รวมไว้ในยูโร 96 ในช่วง ค.ศ. 1994 ถึง 1996[6][7] ภายหลังเขากลับมาเป็นผู้จัดการให้กับเวสต์บรอมมิชอัลเบียนสองปี ช่วยให้สโมสรเป็นดิวิชันสูงสุดทีมแรกที่หลีกเลี่ยงการตกชั้นหลังตกอันดับบ๊วยของตารางลีกในวันคริสต์มาสใน 14 ปี จากนั้นจึงเป็นผู้จัดการแบรดฟอร์ดซิตีและเชฟฟิลด์ยูไนเต็ดที่ประสบความสำเร็จน้อยกว่า ณ วันที่ 23 กันยายน ค.ศ. 2009 ร็อบสันได้รับเลือกเป็นผู้จัดการทีมชาติไทย จากนั้นจึงลาออกในวันที่ 8 มิถุนายน ค.ศ. 2011 หลังจากนั้นในวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2011 ร็อบสันได้รับเลือกเป็น "ทูตระดับโลก" ในแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด

ชีวิตช่วงต้น

[แก้]

ร็อบสันเกิดที่นอร์ทแลนด์ส เชสเตอร์ลิสตรีต เทศมณฑลเดอรัม จากไบรอัน คนขับรถบรรทุกทางไกล กับเมารีน ร็อบสัน[8] เขาเป็นบุตรคนที่ 2 จากบุตรทั้งหมด 4 คน โดยเกิดหลังซูซาน พี่สาว และก่อนหน้าจัสตินกับแกรี น้องชายร็อบสันอีก 2 คน ก็ล้วนแต่เป็นนักฟุตบอลทั้งคู่[8] ร็อบสันได้รับการเลี้ยงดูที่วิตตันจิลเบิร์ตจนกระทั่งครอบครัวย้ายไปบริเวณใกล้เชสเตอร์ลิสตรีต ซึ่งเป็นเมืองที่เขาเกิด ตอนอายุ 6 ขวบ[8] ตอนเป็นเด็ก เขาสนับสนุนนิวคาสเซิลยูไนเต็ด โดยมีวีรบุรุษในวัยเด็กเป็นกองหน้า วิน เดวีส์[9] เขาเข้าร่วมกลุ่มคับสเกาต์ท้องถิ่นเพียงเพื่อที่เขาจะเล่นให้กับทีมฟุตบอลของพวกเขา[10] ก่อนที่จะเข้าไปศึกษาต่อระดับชั้นมัธยมศึกษาที่โรงเรียนเบิร์ตลีย์เซาท์เซเคินดารีโมเดิร์น และภายหลังเข้าเรียนที่โรงเรียนลอร์ดลอว์สันออฟบีมิชคอมพรีเฮนซีฟ ซึ่งร็อบสันได้ลงแข่งขันกรีฑาและฟุตบอล[11] ตอนวัยรุ่นทดสอบตนเองกับเบิร์นลีย์, คอเวนทรีซิตี, เชฟฟีลด์เวนส์เดย์, นิวคาสเซิลยูไนเต็ด และเวสต์บรอมมิชอัลเบียน[12]

อาชีพสโมสร

[แก้]

ร็อบสันสำเร็จการศึกษาขั้นสุดท้ายของนักเรียน เมื่ออายุ 15 ปี ในช่วงฤดูร้อนปี ค.ศ. 1972 และได้รับข้อเสนอจาก เวสต์บรอมวิช อัลเบียน ให้เข้าเป็นนักฟุตบอลฝึกหัด จากนั้นระหว่างปี ค.ศ. 1974 - ค.ศ. 1981 ร็อบสันก็เข้าสู่ทีมชุดใหญ่ของเวสต์บรอมวิช อัลเบียน หลังจากนั้น ร็อบสัน ย้ายไปเล่นให้กับ แมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด ระหว่างปี ค.ศ. 1981 - ค.ศ. 1994

ช่วงปลายชีวิตการเป็นนักฟุตบอล ร็อบสันย้ายไปเล่นให้กับ มิดเดิลสโบรช์ ระหว่างปี ค.ศ. 1994 - ค.ศ. 1991 หลังจากนั้นก็แขวนสตั๊ดไปและผันตัวมาทำหน้าที่เป็นผู้จัดการทีมฟุตบอล

อาชีพนานาชาติ

[แก้]

ในระดับทีมชาติ ร็อบสันติดทีมชาติอังกฤษเป็นครั้งแรก ในการเล่นในทีมชาติเยาวชนชุดอายุต่ำกว่า 21 ปี ในปี ค.ศ. 1979 - 1980 รวมถึงได้เล่นในทีมชาติชุดสำรอง ในปี ค.ศ. 1979 - 1990 ก่อนที่เข้าสู่ทีมชุดใหญ่ในปี ค.ศ. 1980 - 1991

ไบรอัน ร็อบสัน เข้ามาสู่การเป็นผู้จัดการทีมฟุตบอลทีมชาติไทย ในช่วงกลางปี ค.ศ. 2009 ท่ามกลางการคาดหวังจากแฟนฟุตบอลทั่วประเทศ แต่ปรากฏว่ากลับทำผลงานได้ย่ำแย่มาก ทั้งการพาทีมตกรอบการแข่งขัน เอเชียนคัพ 2011 รอบคัดเลือก และการพาทีมตกรอบแบ่งกลุ่มของศึก เอเอฟเอฟ ซูซูกิ คัพ 2010 ซึ่งช่วงนั้นถือเป็นยุคมืดของทีมชาติไทยอย่างแท้จริง[13] ทำให้ถูกปลดออกจากการทำหน้าที่ไปเมื่อกลางปี ค.ศ. 2011

ชีวิตนอกฟุตบอล

[แก้]

ชีวิตส่วนตัว

[แก้]

ร็อบสันแต่งงานกับเดนีส ภรรยาของเขา ตั้งแต่วันที่ 2 มิถุนายน ค.ศ. 1979 เธอมาจากพื้นที่เกรตบารร์และพบกับร็อบสันตอนที่เขาเข้าเริ่มต้นเล่นให้กับเวสต์บรอมมิชอัลเบียน[14] ทั้งคู่ให้กำเนิดลูก 3 คน: แคลร์ (เกิดวันที่ 17 กันยายน ค.ศ. 1980)[15] ชาร์ลอตต์ (เกิดวันที่ 17 มิถุนายน ค.ศ. 1982)[16] และเบ็น (เกิดวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1988)[17] ใน ค.ศ. 2000 มีรายงานว่าร็อบสันมีความสัมพันธ์กับแคลร์ ทอมลินสัน ผู้รายงานข่าวจากสกายสปอร์ตส์[18]

การป่วย

[แก้]

ณ วันที่ 16 มีนาคม ค.ศ 2011 มีการเปิดเผยว่าร็อบสันได้รับการผ่าตัดโรคมะเร็งในลำคอที่กรุงเทพมหานครในวันที่ 3 มีนาคม ค.ศ. 2011[19][20]

กิจกรรมอื่น ๆ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "ไบรอัน ร็อบสัน". Barry Hugman's Footballers. สืบค้นเมื่อ 24 มีนาคม 2018.
  2. The Times 10 January 2009. Retrieved 9 January 2010
  3. Strack-Zimmermann, Benjamin. "Bryan Robson (Player)". www.national-football-teams.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-09-11.
  4. "Manchester United: Who was your favourite Man Utd captain?". BBC Sport. 18 July 2023. สืบค้นเมื่อ 3 March 2024.
  5. Harry Harris (9 August 2011). "Bryan Robson named as Manchester United's most marvellous". Daily Express.
  6. Ridley, Ian (14 January 1996). "Lessons of the long goodbye". The Independent. สืบค้นเมื่อ 7 April 2019.
  7. Gibbons, Mike (9 July 2018). "Redemption Song? Gareth Southgate, semi-finals and football coming home". Eurosport. สืบค้นเมื่อ 7 April 2019.
  8. 8.0 8.1 8.2 Robson, Bryan (2007) [2006]. Robbo: My Autobiography (Paperback ed.). Hodder & Stoughton. pp. 4–7. ISBN 978-0-340-83957-7.
  9. Robson (2007), p. 10.
  10. Robson (2007), pp. 11–12.
  11. Robson (2007), pp. 9–10.
  12. Robson (2007), pp. 13–14.
  13. "ร็อบสัน" แถลงรับผลงานไม่ดี แต่มั่นใจขอทำงานต่อสานฝันไทยไปบอลโลก เก็บถาวร 2010-12-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากมติชน
  14. Robson (2007), pp. 37–39.
  15. Robson (2007), p. 43.
  16. Robson (2007), p. 61.
  17. Robson (2007), p. 131.
  18. "TV sports girls: Clare Tomlinson". Virgin Media. สืบค้นเมื่อ 17 September 2007.
  19. "Bryan Robson faces fight against throat cancer". BBC Sport. 16 March 2011. สืบค้นเมื่อ 16 March 2011.
  20. ช็อก! ไบรอัน ร็อบสัน ป่วยเป็นมะเร็งในลำคอ เก็บถาวร 2011-03-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน จากสนุกดอตคอม

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]