9
หน้าตา
(เปลี่ยนทางจาก ๙)
| ||||
---|---|---|---|---|
จำนวนเชิงการนับ | เก้า | |||
จำนวนเชิงอันดับที่ | 9th (ที่เก้า) | |||
ตัวประกอบ | 32 | |||
เลขไทย | ๙ | |||
เลขโรมัน | IX | |||
เลขโรมัน (ยูนิโคด) | Ⅸ, ⅸ | |||
เลขจีน | 九, 玖, 廾 | |||
ฐานสอง | 1001 | |||
ฐานสาม | 100 | |||
ฐานสี่ | 21 | |||
ฐานห้า | 14 | |||
ฐานหก | 13 | |||
ฐานแปด | 11 | |||
ฐานสิบสอง | 9 | |||
ฐานสิบหก | 9 | |||
ฐานยี่สิบ | 9 | |||
ฐานสามสิบหก | 9 |
9 (เก้า) เป็นจำนวนธรรมชาติที่อยู่ถัดจาก 8 และอยู่ก่อนหน้า 10
คำเติมนำหน้า
[แก้]วิวัฒนาการ
[แก้]ภาษาอื่น
[แก้]- ภาษาฮิบรู - ט (เทท)
- เลขอาหรับ - ٩
- เลขกรีก - θ´
- เลขอินเดีย (ฮินดี/บาลี-สันสกฤต) - ९
ความหมายและความเชื่อ
[แก้]- 9 เป็นเลขอะตอม ของ ฟลูออรีน
- แฝดที่เกิดพร้อมกันในครรภ์เดียวเรียกว่า แฝดเก้า (nonuplets) ไม่เคยมีแฝดเก้ารอดชีวิตตั้งแต่ระยะตัวอ่อน
- ทีมเบสบอลมีผู้เล่น 9 คน ในแต่ละฝ่าย
- ในการเล่นฟุตบอล ดาวยิง มักจะใส่เสื้อเบอร์ 9 เช่น อลัน เชียเรอร์ ที่ได้ฉายาว่า หมายเลข 9
- ระยะเวลาการตั้งครรภ์ประมาณ 9 เดือน
- ในตำนานโบราณมีกล่าวไว้ว่า แมว มี 9 ชีวิต
- ในตำนานพื้นบ้านญี่ปุ่น ปีศาจจิ้งจอกเก้าหาง เป็นปีศาจที่มีพลังมหาศาล
- เลข 9 นิยมใช้ในพิธีบูชา เพราะคำว่า "เก้า" เล่นคำกับคำว่า "ก้าว" ที่ย่อจาก "ก้าวหน้า" การเตรียมของเซ่นไหว้นิยมเตรียมของอย่างละ 9 ชิ้น ความคติความเชื่อของไทย
- แต่ความเชื่อของชาวญี่ปุ่น เลข 9 จะตรงข้ามกับไทย เพราะชาวญี่ปุ่นถือว่าเลข 9 หมายถึง ความเจ็บปวดทรมาน[1]
- เลข 9 ตามความเชื่อของชาวจีนหมายถึง การมีอายุยืน เช่น ห้องในพระราชวังต้องห้ามมีทั้งหมด 9,999 ห้อง หรือคู่รักหนุ่มสาวนิยมมอบดอกกุหลาบให้กันด้วยจำนวน 99 หรือ 999 ดอก ซึ่งหมายถึง รักนิรันดร์[1]
- บนปุ่มโทรศัพท์เลข 9 จะมีตัวอักษรภาษาอังกฤษ W X Y (และบางครั้งจะมี Z)
- ภูเก้า ในเขตอุทยานแห่งชาติภูเก้า-ภูพานคำ เกี่ยวของกับตำนานหมาเก้าหางของทางภาคอีสาน
- 9 เป็นหมายเลขทางหลวงแผ่นดินของ ถนนกาญจนาภิเษก
- ช่อง 9 เอ็มคอตเอชดี
- คือลำดับรัชกาลใน ราชวงศ์จักรี ซึ่งหมายถึง พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
- ภาคเหนือ มี 9 จังหวัด
ในทางคณิตศาสตร์
[แก้]เก้า เป็นจำนวนประกอบ ตัวหารแท้ของมันคือ 1 และ 3 เก้าเท่ากับ 3 คูณด้วย 3 ดังนั้น มันจึงเป็นจำนวนจัตุรัสตัวที่สาม
จำนวนในเลขฐานสิบจะหารด้วย 9 ลงตัว ก็ต่อเมื่อ หาผลบวกของเลขโดดทุกหลัก และทำซ้ำกับผลบวกที่ได้จนได้เท่ากับ 9 หรือกล่าวได้ว่า จำนวนจะหารด้วย 9 ลงตัว ก็ต่อเมื่อ ผลบวกของเลขโดดทุกหลัก หารด้วย 9 ลงตัว จำนวนอื่น ๆ ที่มีคุณสมบัติแบบนี้เหมือนกันคือสาม ในเลขฐาน N, ตัวหารของ N − 1 ก็จะมีคุณสมบัตินี้เช่นเดียวกัน