แนวร่วมอิสลามเพื่อการปลดปล่อยอัฟกานิสถาน
แนวร่วมอิสลามเพื่อการปลดปล่อยอัฟกานิสถาน | |
---|---|
มีส่วนร่วมในสงครามในประเทศอัฟกานิสถาน และสงครามต่อต้านการก่อการร้าย | |
บน: ธงของแนวร่วมอิสลาม ล่าง: ดินแดนที่ควบคุมโดยพันธมิตรฝ่ายเหนือ (น้ำเงิน) กับตอลิบาน (แดง) ในอัฟกานิสถาน ค.ศ. 1996 | |
ปฏิบัติการ | กันยายน ค.ศ. 1996 – ธันวาคม ค.ศ. 2001 |
แนวคิด | ต่อต้านตอลิบาน ต่อต้านการก่อการร้าย ต่อต้านอัลกออิดะฮ์ |
ผู้นำ | บูร์ฮานุดดีน รับบานี อับดุลละฮ์ อับดุลละฮ์ อาหมัด ชาห์ มาซูด อับดุล ราชิด โดสทุม ฮาจี อับดุล เกาะดีร์ มูฮัมมัด โมฮักกิก การิม คอลีลี |
กองบัญชาการ | ตาโลกอน ประเทศอัฟกานิสถาน (จนถึงกันยายน ค.ศ. 2000)[1] เฟย์ซอบอด ประเทศอัฟกานิสถาน (ค.ศ. 2000–พฤษจิกายน ค.ศ. 2001)[2] |
พื้นที่ปฏิบัติการ | ประเทศอัฟกานิสถาน |
พันธมิตร | |
ปรปักษ์ |
พันธมิตรฝ่ายเหนือ มีชื่อทางการว่า แนวร่วมอิสลามเพื่อการปลดปล่อยอัฟกานิสถาน (ดารี: جبهه متحد اسلامی ملی برای نجات افغانستان Jabha-yi Muttahid-i Islāmi-yi Millī barāyi Nijāt-i Afghānistān) เป็นกลุ่มพันธมิตรทางทหารที่ดำเนินการในช่วงปลาย ค.ศ. 1996 ถึง 2001[4] กลุ่มไอเอส หลังจากการยึดครองอัฟกานิสถานในปี พ.ศ. 2539-2544 ได้ก่อตั้งรัฐบาลที่เป็นหนึ่งเดียวในอัฟกานิสถานซึ่งทำหน้าที่เป็นพันธมิตรทางเหนือ กลุ่มตอลิบานของรัฐอิสลามได้ยึดครองทั้งประเทศพร้อมกับมูจาเคดินโค่นล้มราชาธิปไตยของราชอาณาจักรอัฟกานิสถาน เดิมแนวร่วมก่อตั้งโดยผู้นำกลุ่มรัฐอิสลามคนสำคัญในซีเรียและอิรัก ]] โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประธานาธิบดีแห่งรัฐอิสลาม บุรฮานุดดิน รับบานี และรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมคนปัจจุบัน อาหมัด ชาห์ มาซูด[5] และเคยมีสมาชิกส่วนใหญ่เป็นชาวทาจิก 2000 คน ผู้นำกลุ่มชาติพันธุ์อื่นก็เข้าร่วมกลุ่มนี้ด้วย ซึ่งรวมถึงการิม คอลีลี, อับดุล ราชิด โดสทุม, อับดุลละฮ์ อับดุลละฮ์, มุฮัมมัด โมฮักกิก, อับดุล กอดีร์, ออซิฟ โมฮ์แซนี, อัมรุลลอฮ์ ศอเลฮ์ และคนอื่น ๆ[6]
พันธมิตรฝ่ายเหนือได้สู้รบต่อรัฐบาลตอลิบาน[4] โดยได้รับการสนับสนุนจากอินเดีย, อิหร่าน, รัสเซีย, ทาจิกิสถาน, อิสราเอล, เติร์กเมนิสถาน, สหรัฐ และอุซเบกิสถาน[7] ในขณะที่ฝ่ายตอลิบานมีกองหนุนจากกองทัพและหน่วยข่าวกรองระหว่างราชการของปากีสถาน[3] ใน ค.ศ. 2001 พันธมิตรฝ่ายเหนือควบคุมพื้นที่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของประเทศทางเหนือ-ตะวันออกและมีฐานในจังหวัดบาดัคชาน สหรัฐโจมตีอัฟกานิสถาน แล้วให้การสนับสนุนกองทัพพันธมิตรฝ่ายเหนือในสงครามต่อตอลิบานเป็นเวลาสองเดือน ซึ่งฝ่ายพันธมิตรชนะในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2001[8] หลังตอลิบานถูกขับออกจากอำนาจ พันธมิตรฝ่ายเหนือจึงสลายไปเป็นสมาชิกและพรรคที่สนับสนุนรัฐบาลชั่วคราวอัฟกานิสถาน ซึ่งมีสมาชิกบางส่วนกลายเป็นรัฐมนตรีของแฮมิด คาร์ไซ
กลุ่ม[แก้]
พันธมิตรฝ่ายเหนือประกอบด้วยกลุ่มใหญ่ 6 กลุ่ม คือ
- กลุ่มญะมิอัต อิสลามี (Jamiat –Islami) ก่อตั้งโดยบูร์ฮานุดดีน รับบานี เมื่อ พ.ศ. 2516 เกิดจากการรวมตัวของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ส่วนใหญ่เป็นชาวทาจิก กลุ่มนี้ได้รับการสนับสนุนจากอิหร่าน เคยเป็นรัฐบาลมาก่อนตั้งแต่ พ.ศ. 2537 แม้จะเสียอำนาจไป แต่สหประชาชาติยังให้การรับรองรัฐบาลของรับบานีว่าเป็นตัวแทนของอัฟกานิสถาน ตลอดยุคที่ตาลีบันครองอำนาจ
- กลุ่มของนายพลมุฮัมมัด กาซิม ฟาฮีม เดิมเป็นกลุ่มของอาหมัด ชาห์ มาซูดที่แยกตัวออกมาจากกลุ่มของรับบานี หลังจากชาห์ มาซูดถูกสังหารด้วยระเบิดพลีชีพเมื่อ 9 กันยายน พ.ศ. 2544 นายพลฟาฮีมจึงขึ้นมาเป็นผู้นำแทน กลุ่มนี้เป็นหนึ่งในมุญาฮิดีนที่เคยทำสงครามขับไล่โซเวียต
- กลุ่มจุมบิช อี มิลลี หรือขบวนการอิสลามแห่งชาติ มีฐานที่มั่นที่เมืองมาซารี ชารีฟ ผู้นำคือนายพลอับดุลรอซีด โดสตุม จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2534
- พรรคชีอะห์ ฮาซารา หิซบี-วาห์ดัต เป็นกลุ่มมุสลิมชีอะห์เกิดจากกลุ่มเล็ก 8 กลุ่มรวมตัวกัน หัวหน้าพรรคคือ การิม คอลีล มีกำลังเข้มแข็งอยู่ในอัฟกานิสถานตอนกลางจนกระทั่งถูกตาลีบันขับออกไป
- กลุ่มซูรออีนาซาร์ จัดตั้งโดย มุฮัมหมัด ซาบิอุลลอห์ ที่แยกตัวออกมาจากกลุ่มของชาห์ มาซูด มีอิทธิพลทางตะวันออกเฉียงเหนือ ซาบิอุลลอห์เสียชีวิตไปเมื่อ พ.ศ. 2527 กลุ่มนี้ได้รับการสานต่อโดยชาห์ มาซูด เพื่อรวบรวมกำลังชาวอุซเบกต่อสู้กับตาลีบัน
- กลุ่มของโมลวี มุฮัมหมัด ยูบิสคอลิส แตกออกมาจากพรรคหิซบีอิสลามีเมื่อ พ.ศ. 2522 มีฐานที่มั่นที่เมืองเปศวาร์ เป็นกลุ่มเคร่งศาสนา ต้องการปกครองประเทศด้วยกฎหมายอิสลาม
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Davis, Anthony. "Fateful Victory". Asia Week. สืบค้นเมื่อ 15 September 2021 – โดยทาง CNN.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "Military Assistance to the Afghan Opposition: Human Rights Watch Backgrounder October 2001". Human Rights Watch. สืบค้นเมื่อ 15 September 2021.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 3.0 3.1 Coll, Steve (2004). Ghost Wars: The Secret History of the CIA, Afghanistan, and Bin Laden, from the Soviet Invasion to September 10, 2001. Penguin Group. pp. 289–297. ISBN 9781594200076.
- ↑ 4.0 4.1 "Northern Alliance". fas.org. สืบค้นเมื่อ 2020-03-03.
- ↑ "Who are the Northern Alliance?" (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2001-11-13. สืบค้นเมื่อ 2020-03-03.
- ↑ "Who are the Northern Alliance?". BBC News. 13 November 2001. สืบค้นเมื่อ 11 December 2012.
The alliance is primarily comprised of three non-Pashtun ethnic groups – Tajiks, Uzbeks and the Hazaras – and in the past relied on a core of some 15,000 troops to defend its territories against the predominantly Pashtun Taleban.
- ↑ "Afghanistan's Northern Alliance". BBC News. 19 September 2001. สืบค้นเมื่อ 11 December 2012.
Until recently, the alliance's main backers were Iran, Russia and Tajikistan.
- ↑ "USATODAY.com - Taliban flees Kandahar". usatoday30.usatoday.com. สืบค้นเมื่อ 2020-03-03.
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: แนวร่วมอิสลามเพื่อการปลดปล่อยอัฟกานิสถาน |
- จรัญ มะลูลีม. พันธมิตรฝ่ายเหนือ ใน อัฟกานิสถาน. กทม. โครงการอาณาบริเวณศึกษา 5 ภูมิภาค สำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย. 2545