ข้ามไปเนื้อหา

เฮ่อ กั๋วเฉียง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เฮ่อ กั๋วเฉียง
贺国强
เลขาธิการ
คณะกรรมาธิการสอบวินัยส่วนกลาง คนที่ 10
ดำรงตำแหน่ง
22 ตุลาคม พ.ศ. 2550 – 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
(5 ปี 24 วัน)
รองเหอ หย่ง
ก่อนหน้าอู๋ กวนเจิ้ง
ถัดไปหวัง ฉีซาน
ผู้อำนวยการฝ่ายองค์การพรรคคอมมิวนิสต์จีน
ดำรงตำแหน่ง
24 ตุลาคม พ.ศ. 2545 – 26 ตุลาคม พ.ศ. 2550
(5 ปี 2 วัน)
เลขาธิการใหญ่หู จิ่นเทา
ก่อนหน้าเจิ้ง ชิ่งหง
ถัดไปหลี่ หยวนเฉา
เลขาธิการคณะกรรมาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน
ประจำนครฉงชิ่ง
ดำรงตำแหน่ง
11 มิถุนายน พ.ศ. 2542 – 24 ตุลาคม พ.ศ. 2545
(3 ปี 135 วัน)
รองเปา ซฺวี่ติ้ง (ผู้ว่าการนคร)
ก่อนหน้าจาง เต๋อหลิน
ถัดไปหฺวาง เจิ้นตง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด1 ตุลาคม พ.ศ. 2486 (81 ปี)
ไต้หวัน เซียงเซียง, มณฑลหูหนาน, สาธารณรัฐจีน
เชื้อชาติ จีน
พรรคการเมือง พรรคคอมมิวนิสต์จีน
บุตรเฮ่อ จิ่นเทา
ลายมือชื่อ

เฮ่อ กั๋วเฉียง (จีนตัวย่อ: 贺国强; จีนตัวเต็ม: 賀國強; พินอิน: Hè Guóqiáng; เกิด 1 ตุลาคม พ.ศ. 2486)[1] เป็นอดีตผู้นำระดับสูงของพรรคคอมมิวนิสต์จีน เป็นสมาชิกคณะกรรมาธิการถาวรประจำกรมการเมือง ซึ่งเป็นสภาปกครองสูงสุดของจีน และเลขาธิการคณะกรรมาธิการสอบวินัยส่วนกลาง ซึ่งเป็นหน่วยงานต่อต้านการทุจริตของพรรคระหว่างปี พ.ศ. 2550–2555 ก่อนหน้านี้เขาเคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายองค์การของพรรคฯ, ผู้ว่าการมณฑลฝูเจี้ยน, และเลขาธิการคณะกรรมาธิการพรรคฯ ประจำนครฉงชิ่ง

ประวัติ

[แก้]

เฮ่อ กั๋วเฉียง เกิดที่อำเภอเซียงเซียง มณฑลหูหนาน เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2486 เขาเข้าร่วมพรรคคอมมิวนิสต์จีนในเดือนมกราคม พ.ศ. 2509 และเข้าร่วมคณะทำงานในเดือนกันยายน พ.ศ. 2509 สำเร็จการศึกษาจากภาควิชาเคมีอนินทรีย์ที่สถาบันวิศวกรรมเคมีปักกิ่ง ด้วยการศึกษาระดับมหาวิทยาลัย ทำให้เขาได้ดำรงตำแหน่งวิศวกรอาวุโส และได้รับมอบหมายให้ทำงานเป็นช่างเทคนิคในแผนกสังเคราะห์ของโรงงานปุ๋ยเคมีลู่หนาน ในมณฑลชานตงเป็นครั้งแรก ในช่วง 11 ปีที่นั่นในที่สุดเขาก็ก้าวขึ้นมาเป็นเลขาธิการสาขาพรรค (หัวหน้าโรงงานโดยพฤตินัย)[2]

ในที่สุดเขาก็ได้เป็นเจ้าหน้าที่แผนกอุตสาหกรรมเคมีของรัฐบาลมณฑลชานตง หลังจากนั้น เขาเริ่มรับบทบาทผู้บริหารระดับสูงมากขึ้น โดยเลื่อนตำแหน่งขึ้นเป็นเลขาธิการคณะกรรมาธิการพรรคประจำนครจี่หนาน เมืองหลวงของมณฑลชานตง ในปี พ.ศ. 2530 และเป็นสมาชิกคณะกรรมาธิการประจำพรรคประจำมณฑลชานตง ในปี พ.ศ. 2534 เขาได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเคมี[2]

ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2539 เขาถูกย้ายไปยังมณฑลฝูเจี้ยนเพื่อเป็นรองผู้ว่าการมณฑล จากนั้นเป็นรักษาการผู้ว่าการมณฑล เขาเข้ารับตำแหน่งผู้ว่าการมณฑลฝูเจี้ยนระหว่างปี พ.ศ. 2540–2542 ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2542 เขาได้รับเลือกให้เป็นเลขาธิการคณะกรรมาธิการพรรคประจำนครฉงชิ่ง เป็นเพียงบุคคลที่สองที่ดำรงตำแหน่งนี้หลังจากที่เมืองได้รับสถานะเป็นนครปกครองโดยตรง เขายังคงอยู่ในฉงชิ่งจนถึงปี พ.ศ. 2545 จนกระทั่งเขาก้าวไปสู่ความมีชื่อเสียงระดับชาติในปีนั้น โดยกลายเป็นผู้อำนวยการฝ่ายองค์การพรรคคอมมิวนิสต์จีน โดยมีหน้าที่ดูแลบุคลากรของพรรค[3]

เขาได้รับการเสนอชื่อให้เป็นคณะกรรมาธิการถาวรประจำกรมการเมือง ในการประชุมสมัชชาพรรคครั้งที่ 17 ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2550 โดยดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการสอบวินัยส่วนกลาง ซึ่งรับผิดชอบในการปราบปรามการทุจริตในเจ้าหน้าที่พรรค แทนที่ อู๋ กวานเจิ้ง

เขาได้รับคำสั่งจากเลขาธิการใหญ่ หู จิ่นเทา ให้เข้าไปในพื้นที่แผ่นดินไหวภายหลังเหตุการณ์แผ่นดินไหวในมณฑลเสฉวนเมื่อปี พ.ศ. 2551

กล่าวกันว่า เฮ่อ กั๋วเฉียง เป็นกองกำลัง 'กลั่นกรอง' ในคณะกรมการเมือง โดยไม่มีปรากฏความจงรักภักดีต่อกลุ่มหรือผู้อุปถัมภ์ใด ๆ

ครอบครัว

[แก้]

เฮ่อ จิ่นเทา (贺锦涛; เกิด 7 มิถุนายน พ.ศ. 2514) บุตรชายคนโตของเฮ่อ กั๋วเฉียง เป็นอดีตทหารที่เข้าสู่วงการธุรกิจในที่สุด เฮ่อ จิ่นเทาก่อตั้งบริษัทหุ้นเอกชนเนพอช แคปิตอล (Nepoch Capital) เฮ่อ จิ่นเทาทำงานร่วมกับมอร์แกน สแตนลีย์ และไชนารีซอร์ส ในโครงการลงทุนต่าง ๆ แหล่งสื่อหลายแห่งเชื่อมโยงเขากับคดีทุจริตที่เกี่ยวข้องกับซ่ง หลิน อดีตผู้บริหารระดับสูงของไชนารีซอร์ส[4][5]

เฮ่อ จิ่นเหลย์ (贺锦雷) บุตรชายคนที่สองของเฮ่อ กั๋วเฉียง เคยดำรงตำแหน่งรองประธานฝ่ายการลงทุนของธนาคารเพื่อการพัฒนาประเทศจีน (CDB Capital) ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจซึ่งลงทุนมหาศาลในการเสนอขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไปครั้งแรกของอาลีบาบาในปี พ.ศ. 2557[6][7]

ภรรยาและบุตรของบุตรทั้งสองของเฮ่อ กั๋งเฉียง กล่าวกันว่าอาศัยอยู่ในบริเวณอ่าวซานฟรานซิสโกของสหรัฐอเมริกา[8]

ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2557 ตัวเว่ย์ เว็บไซต์ภาษาจีนในสหรัฐฯ รายงานว่า ผู้สืบทอดของเฮ่อในตำแหน่งเลขาธิการสอบวินัยส่วนกลาง หวัง ฉีซาน ได้กำหนดการประชุมกับเขาเพื่อหารือเกี่ยวกับการสอบสวนที่กำลังดำเนินอยู่เกี่ยวกับกิจกรรมทางธุรกิจของบุตรชายของเขา โดยเฉพาะเฮ่อ จิ่นเทา บทความนี้กล่าวถึงความเป็นไปได้ที่เฮ่อ กั๋วเฉียงจะเข้าไปพัวพันกับการทุจริต และหวังได้เรียกร้องให้บุตรชายของเฮ่อให้ความร่วมมือในการสอบสวน[8]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "贺国强简历". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-09-01. สืบค้นเมื่อ 2009-12-29.
  2. 2.0 2.1 "贺国强简历". Xinhua. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-09-01.
  3. http://www.chinatoday.com/who/h/heguoqiang.htm China Today: Who is who in Chinese Politics
  4. "既得利益集团缩水 中共破官商联袂藩篱". 多维新闻. 2014-05-06. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-10.
  5. 王歧山再挥剑,贺国强之子遭调查
  6. "国家开发银行金融公司贺锦雷副总裁一行来西咸新区考察座谈". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-12-08. สืบค้นเมื่อ 2015-09-15.
  7. ""阿里巴巴上市背后的"红二代"赢家". The New York Times (ภาษาจีน). July 21, 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 20, 2015. สืบค้นเมื่อ September 15, 2015.
  8. 8.0 8.1 "独家:王岐山约谈贺国强 令其子吐"黑钱"". Duowei News. May 4, 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-12-08. สืบค้นเมื่อ 2015-09-15.