ข้ามไปเนื้อหา

เอ. ซี. ภักติเวทานตะ สวามี ปรภุปาทะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระกรุณาธิคุณเจ้า

เอ. ซี. ภักติเวทานตะ สวามี

ส่วนบุคคล
เกิด
อภยะ จรณะ เท

01 กันยายน ค.ศ. 1896(1896-09-01)
มรณภาพ14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1977(1977-11-14) (81 ปี)
ที่ฝังศพSrila Prabhupada's Samadhi Mandir, ISKCON Vrindavan
27°34′19″N 77°40′38″E / 27.57196°N 77.67729°E / 27.57196; 77.67729
ศาสนาฮินดู
คู่สมรสราธารานี เดวี
บุตร1 คน
บุพการี
  • ชรีมัน โกร มหัน เท (บิดา)
  • ชรีมาตรี ราชนี เท (มารดา)
นิกายลัทธิไวษณพ
นิกายGaudiya Vaishnavism
ผลงานโดดเด่นBhagavad-Gītā As It Is, Śrīmad Bhāgavatam (แปล), Caitanya Caritāmṛta (แปล)
สำนักศึกษาวิทยาลัยสกอตเชิร์ช มหาวิทยาลัยโกลกาตา[1]
ฉายาทางศาสนาอภยะ จรณารวินทะ ภักติเวทานตะ สวามี
วัดGaudiya Math, ISKCON
ปรัชญาภักติโยคะ
ตำแหน่งชั้นสูง
ช่วงที่ดำรงตำแหน่ง1966–1977
บรรพชาDiksha, 1933 (โดยBhaktisiddhanta Sarasvati)
Sannyasa, 1959 (โดยBhakti Prajnan Keshava)
ตำแหน่งผู้ก่อตั้ง-อาจารย์ประจำสมาคมนานาชาติเพื่อกฤษณะจิตสำนึก
เว็บไซต์prabhupada.krishna.com

อภยะ จรณารวินทะ ภักติเวทานตะ สวามี ปรภุปาทะ (เบงกอล: অভয চরণারবিন্দ ভক্তিবেদান্ত স্বামীপ্রভুপাদ; สันสกฤต: अभय चरणारविन्द भक्तिवेदान्त स्वामी प्रभुपादः, อภย จรณาวินท ภกฺติเวทานฺต สฺวามี ปฺรภุปาท; 1 กันยายน ค.ศ. 1896 - 14 พฤศจิกายน ค.ศ. 1977)[1] เป็นผู้ก่อตั้ง สมาคมนานาชาติเพื่อกฤษณะจิตสำนึก (หเร กฤษณะ)[1][2][3] หรือ ISKCON[4] และนำวัฒนธรรมทางจิตวิญญาณของชาวอินเดียเผยแพร่ไปในวัฒนธรรมตะวันตก และก่อตั้งสมาคม ISKCON ขึ้นที่นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา

ท่ารถือกำเนิดที่โกลกาตา ในตระกูล Suvarna Banik[5] จบการศึกษามาจากวิทยาลัยสกอตเชิร์ช[1] และได้แต่งงานกับเด็กหญิงคนหนึ่ง และเปิดร้านขายยาเล็ก ๆ[6] แต่ใน ค.ศ. 1959 ท่านได้สละชีวิตทางโลก แล้วบวชเป็นนักบวชในลัทธิไวษณพนิกาย และออกเผยแพร่คำสอนของพระกฤษณะและคัมภีร์พระเวทภควัทคีตา[7] โดยได้เดินทางไปที่นิวยอร์ก และเผยแพร่คำสอน และก่อตั้ง สมาคมนานาชาติคริชณะเพื่อจิตสำนึกขึ้นใน ค.ศ. 1966[8][9] ท่านได้เริ่มต้นวัฒนธรรมศาสนาผ่านทางวัยรุ่นชาวตะวันตกนับพันในยุคนั้น แม้มีกลุ่มต่อต้านท่าน แต่ท่านก็ยังได้รับการต้อนรับอย่างดีเมื่อมาที่สหรัฐอเมริกา[10]

ท่านเป็นผู้นำที่มีความสามารถในการเผยแพร่ มีผู้นับถือ และเป็นศิษย์มากมายทั้งในอเมริกา, ยุโรป, อินเดีย และที่อื่นๆ หลังจากการมรณภาพของท่าน ISKCON ได้เติบโตและเป็นที่ยอมรับในอินเดีย และทั่วโลกจนปัจจุบัน

ประวัติ

[แก้]

ช่วงแรกของชีวิต

[แก้]

พระกรุณาธิคุณเจ้า เอ.ซี.ภักติเวทานตะ สวามี ปรภุปาทะ หรือ อภยะ จรณะ เกิดในวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1896 ที่ โกลกาตา, บริติชราช หลังจากวันงานเทศกาลจันมาชทะมี และถือกำเนิดในวันงานนันทศวะ หรืองานฉลองแด่วาสุเทพ พระบิดาของพระกฤษณะ โดยได้เกิดที่หมู่บ้าน โทรีกุนเก ชานเมืองตอนใต้ของโกลกาตา เป็นบุตรของ ชรีมัน โกร มหัน เท และ ชรีมะธี ราชนี เท ซึ่งนับถือพระวิชณุ โดยตามประเพณีของชาวอินเดีย แม่ของท่านได้กลับมาคลอดท่านที่บ้านของแม่ท่าน และเมื่อคลอดเสร็จ ก็ได้พาท่านกลับมาที่บ้านหลังที่พ่อกับแม่ของท่านอยู่

ท่านได้รับการศึกษาจากวิทยาลัยสกอตเชิร์ช เพื่อนำทางไปสู่ยุโรป วิทยาลัยแห่งนี้มีชื่อเสียงในหมู่ชาวเบงกอล และผู้นับถือพระวิชณุหลายครอบครัวได้ส่งบุตรหลานเข้ามาเรียนที่นี้ อาจารย์ในวิทยาลัยส่วนใหญ่เป็นชาวยุโรป และมีศีลธรรม และทำให้ศิษย์ที่นี่มีการศึกษา วิทยาลัยแห่งนี้ตั้งอยู่ไม่ไกลจากบ้านของท่าน ระหว่างที่เรียนที่นี่ อภยะเป็นสมาชิกที่ดีของชมรมอังกฤษ และกลุ่มชมรมภาษาสันสกฤต และชี้ให้เห็นว่าการศึกษาของที่นี่ ส่งผลถึงอนาคตของท่าน ท่านจบที่นี่เมื่อ ค.ศ. 1920 โดยจบเอกภาษาอังกฤษ, ปรัชญา และเศรษฐศาสตร์ อย่างไรก็ตาม ท่านได้ปฏิเสธประกาศนียบัตรเพื่อเข้าร่วมต่อสู้การประกาศเอกราชกับคานธี ท่านปฏิเสธที่จะยอมรับประกาศนียบัตรเพื่อเป็นการประท้วงชาวอังกฤษ นอกจากนี้ ท่านยังสวมผ้าฝ้ายพื้นเมืองตามอย่างคานธี เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมพื้นบ้านของอินเดีย และการประท้วงชาวอังกฤษ

เมื่ออายุได้ 22 ปี ท่านได้แต่งงานกับ ราดารานี เดวี อายุ 11 ปี และเมื่อเธอมีอายุ 14 ปี ก็ได้กำเนิดบุตรชายคนแรกขึ้น

การเข้าร่วมทางศาสนา

[แก้]

อภยะได้พบกับ พระอาจารย์ชรีละ บัคธิสิดดานธะ สะรัสวะที โกสวามี มะฮาราจะ ในปี ค.ศ. 1920 โดยท่าน ชรีละ บัคธิสิดดานธะ สะรัสวะที โกสวามี ขอให้อภยะเผยแพร่คำสอนขององค์ไชธันญะ มหาปรภูเป็นภาษาอังกฤษ หลังจากนั้น ในปี ค.ศ. 1932 อภยะได้เข้ารับอุปสมบทเป็นศิษย์ของ พระอาจารย์บัคธิสิดดานธะ สะรัสวะที อย่างเป็นทางการ และในปี ค.ศ. 1944 ท่านได้เริ่มทำหนังสือ Back to Godhead หรือ กลับคืนสู่พระเจ้า เป็นภาษาอังกฤษ ด้วยตัวคนเดียว ท่านเป็นทั้งบรรณาธิการ พิมพ์ต้นฉบับ พิสูจน์อักษร และแจกจ่ายแต่ละฉบับด้วยตัวท่านเอง การเขียนครั้งแรก ท่านได้เขียนว่า

นับตั้งแต่การสังเกตสถานการณ์จากปี 1936 จนถึงตอนนี้ ข้าพเจ้าได้แต่เพียงคาดเดาว่า ข้าพเจ้าจะทำงานนี้ได้ยาก และคงไม่มีวิธีการใด หรือความสามารถใด แต่คงไม่มีสิ่งใดที่ทำให้ข้าพเจ้าหมดกำลังใจไปได้ และข้าพเจ้าจะทำงานนี้ด้วยความกล้าหาญที่มี
 
— เอ.ซี.บัคธิเวดันธะ สวะมิ, นิตยสาร Back to Godhead (เล่มที่ 1,หน้า 1-4,1944)

ในปี 1947 สมาคมเกาติยะ ไวษณพ ยอมรับท่าน และให้ฉายานามว่า "ภักติเวทานตะ" หมายถึง "ผู้จงรักภักดีต่อพระเจ้าเป็นที่สุดของพระเวท" (ภักติ หมายถึง "ความจงรักภักดี" ส่วน เวทานตะ หมายถึง "ที่สุดของพระเวท" ) และนามต่อท้ายว่า "ปรภุปาทะ" หมายถึง "ผู้อาศัยในพระบาทรูปดอกบัวของพระผู้เป็นเจ้า" ปรภุหมายถึง "พระเจ้า" ปาทะ หมายถึง "อาศัยอยู่") และได้เป็นคำเรียกขานท่านในเวลาต่อมา ว่า ศรีลา ปรภุปาทะ ตั้งแต่ปี 1950 ท่านได้พำนักอยู่ที่วัด ชรี-ชรี ราดา ดาโมดระ ในเมืองวรินดาวัน และเริ่มต้นแปลคัมภีร์ ภควัต-คีตาในขณะนั้น วัดชรี-ชรี ราดา ดาโมดระ รวบรวมคัมภีร์ไว้มากที่สุดในอินเดียตอนนั้น ซึ่งเขียนโดย 6 โกสวามี แห่ง วรินดาวะนะ และสาวก มีมากกว่า 2 พันฉบับที่แยกจากกัน มีอายุประมาณ 300-400 ปี พระอาจารย์ทิพย์ของท่านสนับสนุน และบอกเสมอว่า "ถ้าเธอเคยได้รับเงิน จงพิมพ์หนังสือเสีย" ซึ่งหมายถึง การนำเสนองานวรรณกรรมพระเวทแบบไวษณพนิกาย

การสละทางโลก

[แก้]

เกาติยะ มาฐา เป็นสถานที่ท่านสวามิได้พำนัก ณ ที่แห่งนี้ ท่านได้ศึกษา และเขียนในห้องสมุดของสถานที่นี้ โดยท่านได้ปรับปรุงแก้ไขหนังสือ เกาติยะ ปาตรีกา และสถานที่แห่งนี้ ท่านได้บริจาครูปเคารพของ ชรีเชธันญะ ที่ยืนอยู่ด้านหลังของรูปเคารพ พระคริชณะ และราดาราณี ระหว่างที่ท่านเยือนสถานที่แห่งนี้ในเดือนกันยายน ปี 1959 ท่านได้เข้าประตูอาศรม ด้วยชุดสีขาว ซึ่งยังอยู่ในฐานะ อภยะ พระบุ แต่เมื่อท่านออกมาแล้ว ท่านได้ห่มเป็นผ้าเหลือง และท่านได้เป็นสวามิโดยสมบูรณ์ ซึ่งท่านได้สละชีวิตทางโลกแล้ว ที่มธุรา ท่านได้สาบานเป็นสันยาสีต่อหน้า บัคธิ ประจนานะ เคชะวา โกสวามี ผู้เป็นสันยาสีอาวุโส หลังจากนั้น ท่านได้ตีพิมพ์หนังสือสามเล่มแรก และเจ็ดบทของคัมภีร์ ภควัต-คีตา โดยทำสามเล่ม เล่มละสี่ร้อยหน้า พร้อมคำอธิบายที่ละเอียด การแนะนำในช่วงแรกจะเป็นชีวประวัติของ เชธันญะ มหาพระบุ จากนั้น ท่านได้ออกจากประเทศอินเดียด้วยตั๋วฟรีและขึ้นเรือขนสินค้าที่ชื่อว่า ชลาดูตา โดยมีจุดมุ่งหมายและความหวังของพระอาจารย์ทิพย์ของท่านเพื่อเผยแพร่คำสอนของ เชธันญะ มหาพระบุ โดยที่ตัวของท่านนั้นมีเพียงกระเป๋าเดินทาง, ร่ม, ธัญพืชแห้ง, เงินประมาณ 80 รูปี และกล่องหนังสืออีกหลายกล่อง

การเผยแพร่ในตะวันตก

[แก้]

เรือของท่านสวามิได้เดินทางถึงสหรัฐอเมริกาเมื่อปี ค.ศ. 1965 การเดินทางของท่านไม่ได้มีการสนับสนุนจากองค์กรทางศาสนาใดๆ ไม่ได้ถูกนัดพบโดยกลุ่มสาวกผู้ภักดี ในขณะที่ท่านเดินทางใกล้ถึงปลายทางบนเรือขนสินค้าชลาดูตา ความยิ่งใหญ่ของงานที่ท่านได้ทำ ได้ถูกวางบนตัวท่านแล้ว วันที่ 13 กันยายน ท่านได้บันทึกไว้ว่า "วันนี้ข้าพเจ้าได้เปิดเผยความในของข้าพเจ้าต่อเพื่อนที่ดีที่สุดของข้าพเจ้า องค์ชรีคริชณะ" ในโอกาสที่ท่านอยู่กับคนอื่นๆ ท่านได้สวดภาวนามหามนต์ ต่อพระคริชณะอยู่เสมอ การทดสอบนี้ เหล่านักวิชาการที่เกี่ยวข้องอธิบายว่าเป็น "การบันทึกเรื่องใกล้ชิด ในการเตรียมอธิษฐานสำหรับสิ่งที่อยู่เบื้องหน้า" และ "วิธีที่ท่านสวามิทำความเข้าใจกับตัวท่าน และภารกิจของท่าน"

ข้าพเจ้าไม่ทราบว่าทำไมพระองค์จึงนำข้าพเจ้ามาในที่ๆ น่ากลัวแห่งนี้? ข้าพเจ้าจะสามารถทำให้พวกเขาเข้าใจสารของคริชณะจิตสำนึกนี้ได้อย่างไร? ข้าพเจ้ารู้สึกโชคร้าย ไม่มีเงื่อนไข และรู้สึกเหมือนตัวเองจะล้มลงไม่ว่าอย่างไรก็ตาม โอ พระผู้เป็นเจ้า พระองค์ได้นำข้าพเจ้ามาที่นี่ เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับพระองค์ ฉะนั้นแล้วพระผู้เป็นเจ้า ทุกสิ่งทุกอย่างขึ้นอยู่กับพระองค์ ที่จะทำให้ข้าพเจ้าประสบความสำเร็จ หรือล้มเหลว ในแบบที่พระองค์ต้องการ

โดยการเดินทางไปอเมริกา ท่านได้พยายามตอบสนองความปรารถนาของพระอาจารย์ทิพย์ของท่าน ความเป็นไปได้มีเพียงความสง่างามของพระคริชณะเท่านั้น ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1966 คณะนักบวชนิกายไวษณพ ได้เดินทางไปแถบตะวันตก นำโดยตัวของท่านสวามิ "ผู้นำทางจิตวิญญาณ" และก่อตั้ง "สมาคมนานาชาติเพื่อคริชณะจิตสำนึก" ที่ นิวยอร์ก ท่านสวามิใช้เวลาส่วนใหญ่ในทศวรรษที่ผ่านมาในการก่อร่างสร้างตัวของสมาคมฯ ตั้งแต่การได้เป็นผู้นำของท่าน บุคลิกภาพ และการจัดการของท่านมีความรับผิดชอบมาก ของการเจริญเติบโตของสมาคมฯ และการเข้าถึงภารกิจของท่าน มีผู้รู้แนะนำให้ท่านใช้ชื่อว่า "พระเจ้าเพื่อจิตสำนึก" แต่ท่านสวามิบ่ายเบี่ยง โดยให้เหตุผลว่า คริชณะ คือ รูปแบบ และแนวคิดโดยรวมของพระเจ้า จึงให้ชื่อว่า "คริชณะจิตสำนึก"

หลังจากที่กลุ่มสาวก และตัวท่านได้ก่อตั้งสมาคม ISKCON แล้ว ท่านได้เดินทางไปก่อตั้งอีกที่ ณ ซานฟรานซิสโก ใน ค.ศ. 1967 และได้จารึกบุญบารมีทั่วอเมริกา โดยการร้องรำสวดภาวนามหามนต์ ฮะเร คริชณะ ตามท้องถนน, การแจกหนังสือ, และการเทศนาของท่าน

ผลงาน

[แก้]
ปรภุปาทะไปสมาธิที่วฤนทาวัน

งานเขียนภาษาเบงกอล

[แก้]
  • Gītār Gān (ภาษาเบงกอล). c. 1973.
  • Vairāgya-vidyā (ภาษาเบงกอล). 1977.
A collection of his early Bengali essays, which were originally printed in a monthly magazine that he edited called Gauḍīya Patrika. Starting in 1976, Bhakti Charu Swami reprinted these essays into Bengali booklets called Bhagavāner Kathā (Knowledge of the Supreme) [from 1948 & 1949 issues], Bhakti Kathā (The Science of Devotion), Jñāna Kathā (Topics of Spiritual Science), Muni-gānera Mati-bhrama (The Deluded Thinkers), and Buddhi-yoga (The Highest Use of Intelligence), which he later combined into Vairāgya-vidyā. In 1992, an English translation was published called Renunciation Through Wisdom.[11]
  • Buddhi-yoga (ภาษาเบงกอล).
  • Bhakti-ratna-boli (ภาษาเบงกอล).

หนีงสือแปลกับอรรถกถา

[แก้]

สรุปการศึกษา

[แก้]

ผลงานเพลง

[แก้]

ผลงานอื่น ๆ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Jones, Constance (2007). Encyclopedia of Hinduism. New York: Infobase Publishing. pp. 77–78. ISBN 978-0-8160-5458-9.
  2. Who's Who in Religion (2nd ed.). Chicago, Illinois: Marquis Who's Who. 1977. p. 531. ISBN 0-8379-1602-X. Prabhupada, A. C. Bhaktivedanta Swami, leader, Hare Krishna Movement. Founder, Internat. Soc. for Krishna Consciousness, 1965.
  3. Hare Krishna ที่สารานุกรมบริตานิกา
  4. Goswami et al. 1983, p. 986
  5. "Interview with Srila Prabhupada's Grand-Nephew - Sankarsan Prabhu". bvmlu.org. สืบค้นเมื่อ 2022-01-19.
  6. Rhodes 2001, p. 178
  7. Goswami 2002, Vol.1 Chapter 9
  8. Klostermaier 2007, p. 217
  9. Ekstrand & Bryant 2004, p. 23
  10. Vasan & Lewis 2005, p. 129
  11. His Divine Grace A. C. Bhaktivedanta Swami Prabhupada (1992). Renunciation Through Wisdom [Vairagya Vidyā]. แปลโดย Bhakti Charu Swami. Bhaktivedanta Book Trust. pp. vii–viii. ISBN 0-947259-04-X. LCCN 95120622. OCLC 30848069.
  12. Das. "The Happening Album: "Krishna Consciousness" | krsnaTunes". The Bhaktivedantas. สืบค้นเมื่อ 23 January 2021.
  13. Das. "Gopinatha single, Govinda LP | krsnaTunes". The Bhaktivedantas. สืบค้นเมื่อ 23 January 2021.
  14. Das. "KRSNA Meditation Album | krsnaTunes". The Bhaktivedanta. สืบค้นเมื่อ 23 January 2021.
  15. Fackler, P. Mark; Lippy, Charles H., บ.ก. (1995). Popular Religious Magazines of the United States. Greenwood Press. pp. 58–60. ISBN 0-313-28533-0.

อ่านเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]