เอียวหู (หยาง ฟู่)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เอียวหู
楊阜
เซ่าฝู่ (少府)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. ? (?) – ค.ศ. ? (?)
กษัตริย์โจผี / โจยอย
เฉิงเหมินเซี่ยวเว่ย (城門校尉)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. ? (?) – ค.ศ. ? (?)
กษัตริย์โจผี / โจยอย
เจ้าเมืองปูเต๋า (武都太守)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. ? (?) – ค.ศ. ? (?)
กษัตริย์โจผี / โจยอย
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. ? (?) – ค.ศ. 220 (220)
กษัตริย์พระเจ้าเหี้ยนเต้
หัวหน้ารัฐบาลโจโฉ
ผู้ตรวจการมณฑลเลียงจิ๋ว (涼州刺史別駕)
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. ? (?) – ค.ศ. ? (?)
กษัตริย์พระเจ้าเหี้ยนเต้
หัวหน้ารัฐบาลโจโฉ
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิดไม่ทราบ
เทศมณฑลกานกู่ มณฑลกานซู่
เสียชีวิตไม่ทราบ
ญาติ
  • Yang Yue (ลูกพี่ลูกน้อง)
  • Yang Mo (ลูกพี่ลูกน้อง)
  • เกียงขิม (ญาติ)
  • Yang Bao (หลานชาย)
อาชีพนักการเมือง
ชื่อรองอี้ซาน (義山)
ตำแหน่งกวนเน่ย์โหฺว (關內侯)

เอียวหู (รุ่งเรืองในคริสต์ทศวรรษ 210 – คริสต์ทศวรรษ 230) หรือชื่อในภาษาจีนกลางคือ หยาง ฟู่ (楊阜) ชื่อรอง อี้ซาน (義山) ชาวเมืองเทียนซุย เป็นขุนนางของวุยก๊กในช่วงสามก๊กปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก และเป็นลูกพี่ลูกน้องของเกียงขิม เขามีชื่อเสียงในการต่อสู้กับม้าเฉียวและในช่วงเวลาต่อมาเขาได้โต้เถียงกับพระเจ้าโจยอยหลายครั้ง

ประวัติ[แก้]

เอียวหูเป็นชาวอำเภอเอ๊กก๋วน (冀縣 จี้เซี่ยน) หรือกิจิ๋ว (冀城 จี้เฉิง) เมืองเทียนซุย (天水郡 เทียนฉุ่ยจฺวิ้น) มณฑลเลียงจิ๋ว (凉州 เหลียงโจฺว) เขารับราชการและได้รับการเลื่อนตำแหน่งโดยเตียวเจ (張既 จาง จี้) ผู้ว่าการแคว้นเลียงจิ๋ว[1] ต่อมาเว่ย์ ตฺวั้น(韦端)ผู้ว่าการแคว้นเลียงจิ๋วคนถัดมาได้ส่งเอียวหู เป็นทูตไปยังฮูโต๋เพื่อเข้าเฝ้าพระเจ้าเหี้ยนเต้ จนได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอันติ้งฉางฉื่อ(安定長事)ในเวลานั้นโจโฉ ผู้เป็นอัครมหาเสนาบดีกำลังเผชิญหน้ากับอ้วนเสี้ยวในยุทธการที่กัวต๋อ หลังจากที่เอียวหูกลับมาที่เลียงจิ๋วผู้คนรอบตัวเขาถามความคิดเห็นของเขาเกี่ยวกับข้อพิพาทระหว่างอ้วนเสี้ยวและโจโฉ เอียวหูวิเคราะห์บุคคลทั้งสองจากมุมมองของตนและเชื่อว่าโจโฉต้องชนะ หลังจากนั้นเอียวหูลาออกจากตำแหน่งฉางฉื่อและผู้ว่าการแคว้นคือเว่ย์ ตฺวั้น ได้รับการเลื่อนตำแหน่งเป็นเว่ย์ไท่ผู (为太仆) อุยของ(韦康 เว่ย์ คัง)บุตรชายของเว่ย์ ตฺวั้นสืบทอดตำแหน่งผู้ว่าการแคว้นเลียงจิ๋ว และแต่งตั้งเอียวหูเป็นผู้ช่วยผู้ว่าการ ต่อมาเอียวหูได้รับการเลื่อนตำแหน่งเป็นเซี่ยวเหลียน(孝廉)

หลังจากนั้นม้าเฉียวขุนศึกแห่งเสเหลียง (西凉 ซีเหลียง) พ่ายแพ้ต่อกองทัพของโจโฉที่อุยหลำ (渭南 เว่ย์หนาน) และหนีไปทางตะวันตกโจโฉติดตามม้าเฉียวไปยังเมืองฮันเต๋ง (安定 อันติ้ง) แต่ชาวนาชื่อซูปั๋ว(苏波)ได้ก่อกบฏต่อโจโฉ ในเมืองโฮกั้น (河间 เหอเจี้ยน) และส่งกองกำลังกลับไปทางตะวันออก เอียวหูให้คำแนะนำว่า "ม้าเฉียวมีความกล้าหาญเช่นเดียวกับฮั่นสิน (韩信 หาน ซิ่น) และหยินโป้ (英布 อิง ปู้) และได้รับความไว้วางใจจากชาวเกี๋ยงและชาวหู เลียงจิ๋วและเมืองอื่น ๆ ทางตะวันตกก็เกรงกลัวเขา" แม้ว่าโจโฉ คิดว่าสิ่งที่เอียวหูพูดนั้นสมเหตุสมผล แต่ในที่สุดโจโฉก็ถอนทหารอย่างเร่งรีบโดยไม่ได้เตรียมการที่เหมาะสม

ในศักราชเจี้ยนอัน ปีที่ 18 (建安十八年, ค.ศ. 213)[2] ม้าเฉียวเรียกทหารเข้าโจมตีหลงฉางและเมืองอื่น ๆ จนยอมจำนนต่อม้าเฉียวมีเพียงอำเภอเอ๊กก๋วนเท่านั้นที่ยืนหยัดภายใต้คำสั่งของอุยของผู้ว่าการแคว้นเลียงจิ๋วและเจ้าเมืองเทียนซุย ม้าเฉียวได้รับความช่วยเหลือจากเอียวหงง(杨昂 หยาง อั๋ง)ขุนพลของเตียวฬ่อซึ่งนำกองทัพประมาณ 10,000 คนเข้าปิดล้อมเอ๊กก๋วน เอียวหูนำคนในตระกูลกว่าพันคนมาช่วยป้องกันเมือง และส่งน้องชายของเขาคือหยาง เยฺว่(杨岳)ไปตั้งมั่นบนกำแพงเมืองซึ่งกินเวลาตั้งแต่เดือน 1 ถึงเดือน 8 แต่โจโฉก็ยังมิได้ส่งทัพมาช่วยเหลือ อุยของส่งเหยียน เหวินดำน้ำออกจากเมืองเพื่อขอความช่วยเหลือ แต่ถูกกองทัพของม้าเฉียวจับและสังหาร อุยของและเจ้าเมืองเทียนซุยตกใจมาก และพวกเขาหารือกันว่าจะยอมจำนนต่อม้าเฉียว เอียวหูร้องเกลี้ยกล่อมอุยของให้ต่อสู้กับม้าเฉียวแทนที่จะยอมจำนน แต่อุยของปฏิเสธที่จะฟังและเปิดประตูเมืองเพื่อยอมจำนน หลังจากที่ม้าเฉียวเข้าสู่เอ๊กก๋วนเขาก็ฆ่าอุยของและเจ้าเมืองเทียนซุย และกักขังหยาง เยฺว่

เอียวหูจึงตัดสินใจก่อกบฏต่อม้าเฉียวโดยได้รับการช่วยเหลือจากเกียงขิม(将徐 เจียง สฺวี)ซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้องของเขาจนในที่สุดก็สามารถเอาชนะม้าเฉียวได้สำเร็จก่อนจะสวามิภักดิ์ต่อโจโฉ

ด้วยเหตุนี้เอียวหูจึงได้รับรางวัลจากโจโฉ และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นกวนเน่ย์โหฺวสำหรับการต่อสู้กับม้าเฉียวตั้งแต่นั้นมา เขาก็ได้เป็นเสนาบดีของวุยก๊กและได้ตำหนิจักรพรรดิเว่ย์หมิง (โจยอย) เนื่องจากจักรพรรดิเว่ย์หมิงมักปฏิเสธที่จะฟังคำแนะนำของเขา จึงลาออกจากราชการอยู่หลายครั้ง แต่ไม่ได้รับการอนุมัติ หลังจากนั้นไม่นานเอียวหูก็ถึงแก่กรรม และครอบครัวของเขาก็ไม่มีเงิน

อ้างอิง[แก้]

  1. 《三國志·張既傳》:既临二州十馀年,政惠著闻,其所礼辟扶风庞延、天水杨阜、安定胡遵、酒泉庞淯、敦煌張恭周生烈等,终皆有名位。
  2. 《资治通鉴》作建安十八年。《三国志》则为十七年,但武帝本纪及夏侯渊传记载曹操十六年败马超后,还邺已在十七年,马超同年正月即围困冀城几乎不可能。