ข้ามไปเนื้อหา

นาโปลี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เมืองนาโปลี)
นาโปลี
โกมูเนดีนาโปลี
ธงของนาโปลี
ธง
ตราราชการของนาโปลี
ตราอาร์ม
แผนที่แสดงที่ตั้งของนาโปลี
แผนที่
นาโปลีตั้งอยู่ในประเทศอิตาลี
นาโปลี
นาโปลี
ที่ตั้งของนาโปลีในอิตาลี
พิกัด: 40°50′N 14°15′E / 40.833°N 14.250°E / 40.833; 14.250
ประเทศอิตาลี
แคว้นคัมปาเนีย
จังหวัดนาโปลี (NA)
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีLuigi de Magistris (DA)
พื้นที่[1]
 • ทั้งหมด119.02 ตร.กม. (45.95 ตร.ไมล์)
ความสูง17 เมตร (56 ฟุต)
ประชากร
 (1 มกราคม 2562)[3]
 • ทั้งหมด3,084,890 คน
 • ความหนาแน่น26,000 คน/ตร.กม. (67,000 คน/ตร.ไมล์)
เดมะนิมNapoletani
เขตเวลาUTC+1 (CET)
 • ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)UTC+2 (CEST)
รหัสไปรษณีย์80100, 80121-80147
รหัสเขตโทรศัพท์081
นักบุญองค์อุปถัมภ์Januarius
วันสมโภชนักบุญ19 กันยายน
เว็บไซต์เว็บไซต์ทางการ

นาโปลี (อิตาลี: Napoli, ออกเสียง: [ˈnaːpoli] ), เนเปิลส์ (อังกฤษ: Naples, ออกเสียง: /ˈneɪpəlz/) หรือ นาปูเล (นาโปลี: Napule) เป็นเมืองหลักของแคว้นคัมปาเนีย และเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับสามของอิตาลีรองจากโรมและมิลาน โดยมีประชากรที่อยู่ในเขตการปกครองของนคร 967,069 คน (ณ ค.ศ. 2017) นาโปลีมีเทศบาลในระดับจังหวัดซึ่งเป็นมหานครที่มีประชากรที่มากที่สุดเป็นอันดับสามในอิตาลี โดยมีประชากร 3,115,320 คน และเขตมหานครขยายตัวพ้นแนวกำแพงเมืองออกไปประมาณ 52 ตารางกิโลเมตร (20 ตารางไมล์)

ชาวกรีกก่อตั้งนาโปลีขึ้นในสหัสวรรษที่ 1 ก่อน ค.ศ. นาโปลีเป็นหนึ่งในเขตเมืองที่ยังคงมีประชากรอาศัยอยู่ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก[4] ในช่วงศตวรรษที่ 9 ก่อน ค.ศ. อาณานิคมแห่งนี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อ ปาร์เทโนแพ (กรีกโบราณ: Παρθενόπη) ซึ่งก่อตั้งขึ้นบนเกาะเมการีเด[5] ในศตวรรษที่ 6 ก่อน ค.ศ. นาโปลีได้รับการก่อตั้งอีกครั้งในชื่อ เนอาโปลิส[6] เมืองนี้ถือว่าเป็นส่วนที่สำคัญของมังนาไกรกิอา โดยมีบทบาทสำคัญในการหล่อหลอมสังคมของกรีกและโรมัน และถือเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมที่สำคัญ หลังจากที่นครแห่งนี้ตกอยู่ภายใต้การปกครองของโรมัน[7]

ใจกลางนาโปลีเป็นศูนย์กลางเมืองทางประวัติศาสตร์ที่ใหญ่ที่สุดในยุโรป[8] (1,700 เฮกตาร์ หรือ 17 ตารางกิโลเมตร)[9] และได้รับการขึ้นทะเบียนจากยูเนสโกให้เป็นแหล่งมรดกโลก ตลอดประวัติศาสตร์อันยาวนานของเมือง นาโปลีเคยมีฐานะเป็นเมืองหลวงของดัชชีและอาณาจักรต่าง ๆ มากมาย รวมทั้งเคยเป็นเมืองหลวงของดินแดนราชบัลลังก์อารากอน และยังเป็นศูนย์กลางทางวัฒนธรรมที่สำคัญ (โดยเฉพาะในสมัยของมนุษยนิยมสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา และตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 ถึง 19) อิทธิพลของเมืองได้แผ่ขยายครอบคลุมพื้นที่หลายส่วนในยุโรปไปจนถึงนอกทวีป[10] และรอบเมืองก็เป็นที่ตั้งของสถานที่สำคัญต่าง ๆ (เช่น พระราชวังกาแซร์ตา ปอมเปอี และเฮอร์คิวเลเนียม) ซึ่งล้วนแต่มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดต่อนาโปลีในด้านประวัติศาสตร์ ศิลปะ และสถาปัตยกรรม

นาโปลีเคยเป็นเมืองหลวงของราชอาณาจักรนาโปลีตั้งแต่ พ.ศ. 1825 ถึง พ.ศ. 2349 ต่อมาได้ถูกผนวกอาณาจักรเข้ากับราชอาณาจักรซิซิลี และกลายเป็นเมืองหลวงของราชอาณาจักรซิซิลีทั้งสอง จนกระทั่งอาณาจักรต่าง ๆ บนคาบสมุทรถูกผนวกรวมเป็นประเทศอิตาลีเมื่อ พ.ศ. 2404 ซึ่งหลังสงครามนาโปลี ฝ่ายนาโปลีก็ได้สนับสนุนการรวมประเทศนี้อย่างเต็มที่

ภายในอาณาเขตการปกครองของนาโปลีมีประชากรประมาณ 1 ล้านคน แต่จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ระบุว่าเขตปริมณฑลของนาโปลีมีประชากรมากเป็นอันดับสอง (รองจากมหานครมิลาน ซึ่ง Svimez Data ระบุว่ามีผู้อยู่อาศัย 4,434,136 คน[11] ขณะที่สถาบัน Censis ระบุว่ามี 4,996,084 คน)[12] หรือสาม (ตามข้อมูลขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา มีผู้อยู่อาศัย 3.1 ล้านคน[13]) ของอิตาลี นอกจากนี้ยังเป็นมหานครที่มีประชากรหนาแน่นมากที่สุดในอิตาลี

นาโปลีได้รับการจัดให้เป็นเมืองที่มีเศรษฐกิจที่เข้มแข็งมากเป็นอันดับสี่ในอิตาลี รองจากมิลาน โรม และตูริน และได้รับการจัดให้เป็นเมืองที่ร่ำรวยเป็นอันดับที่ 91 ของโลกโดยวัดจากกำลังซื้อของประชากร และมีผลิตภัณฑ์มวลรวมอยู่ที่ 43,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเหนือกว่าเศรษฐกิจของบูดาเปสต์และซือริช[14] ท่าเรือนาโปลีเป็นท่าเรือที่มีความสำคัญมากที่สุดแห่งหนึ่งในยุโรป (มีผู้โดยสารคับคั่งมากเป็นอันดับสองของโลกรองจากท่าเรือฮ่องกง)[15] เมื่อไม่นานมานี้เศรษฐกิจของนาโปลีได้ขยายตัวอย่างรวดเร็ว และอัตราการว่างงานของประชากรในเมืองและบริเวณโดยรอบก็ลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ พ.ศ. 2542[16] กระนั้นก็ยังคงเต็มไปด้วยการทุจริตทั้งทางการเมืองและเศรษฐกิจ[17] รวมทั้งเป็นแหล่งตลาดมืดที่เฟื่องฟู ในตัวเมืองเป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ของบริษัทขนาดใหญ่สัญชาติอิตาลีหลายแห่ง เช่น MSC-Cruises และเป็นที่ตั้งของ Center Rai of Naples (สื่อ) มาตั้งแต่ พ.ศ. 2501 ขณะที่ในเขตบัญโญลีเป็นที่ตั้งของสำนักงานขนาดใหญ่ขององค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ และยังมี SRM institution for economic research และบริษัทและศูนย์การศึกษา OPE ที่ตั้งอยู่ในตัวเมืองเช่นกัน[18][19][20] นาโปลีเป็นสมาชิกเต็มของเครือข่าย Eurocities[21] นอกจากนี้ ยังได้รับเลือกให้เป็นศูนย์กลางของ Acp/Ue[22] และได้รับการยกย่องจาก Creative Cities Network ในสังกัดขององค์การยูเนสโกให้เป็นเมืองแห่งวรรณกรรม[23] ในเขตโปซิลลีโปของเมืองเป็นที่ตั้งของ Vill Rosebery ซึ่งเป็นที่พำนักอย่างเป็นทางการหนึ่งในสามแห่งของประธานาธิบดีอิตาลี

ในศตวรรษที่ 20 นาโปลีตกอยู่ภายใต้การปกครองของลัทธิฟาสซิสต์ และในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สองก็เป็นเมืองที่ถูกทิ้งระเบิดมากที่สุดในอิตาลี[24] ภายหลังสงครามสงบได้มีการบูรณะเมืองซึ่งได้ขยายตัวเมืองออกไปยังพื้นที่รอบนอก ในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมานี้ ได้มีการสร้างย่านธุรกิจ (เชนโตรดีเรซีโอนาเล) ที่มีอาคารระฟ้าและโครงสร้างพื้นฐานแบบ TGV ในโรม รวมถึงการขยายเส้นทางรถไฟใต้ดินที่จะครอบคลุมพื้นที่ครึ่งหนึ่งของภูมิภาค และนาโปลีจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม International Astronautical Congress ใน พ.ศ. 2555[25] และ Universal Forum of Cultures ใน พ.ศ. 2556

นาโปลีเป็นเมืองที่เริ่มมีการทำพิซซาขึ้นเป็นครั้งแรก โดยในขณะนั้นจะใช้การทอดก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นการอบในภายหลัง นอกจากนี้วัฒนธรรม Neapolitan ยังมีอิทธิพลด้านดนตรีอย่างแพร่หลาย อย่างเช่นการประดิษฐ์ Romantic guitar และแมนโดลิน รวมทั้งอุปรากรและเพลงท้องถิ่น บุคคลที่เป็นสัญลักษณ์ของนาโปลีคือนักบุญ Januarius ผู้ปกป้องคุ้มครองเมือง ส่วนตัวละครจากเรื่องแต่งที่ถือว่าเป็นสัญลักษณ์คือ พูลชิเนลลา และไซเรน สิ่งมีชีวิตจากมหากาพย์โอดิสซีของกรีก

ประวัติศาสตร์

[แก้]

อาณานิคมกรีกและโรมัน

[แก้]

ประวัติศาสตร์ของนาโปลีสามารถย้อนหลังไปได้ถึง 800 ปีก่อนคริสตกาล ในช่วงเวลาพื้นที่ใกล้เคียงกับนาโปลีในปัจจุบันเป็นที่ตั้งของอาณานิคม Cumae ของกรีก ซึ่งก่อตั้งโดยชาวเกาะ Euboea ในกรีซ[26] ต่อมาชาวอาณานิคมได้ก่อตั้งเมืองที่ชื่อว่า Parthenope เหตุผลที่แท้จริงของการก่อตั้งเมืองยังคงเป็นปริศนา ในปัจจุบันทราบแต่เพียงว่าต่อมาชาว Cumae ได้สร้าง Neapolis (หมายถึงเมืองใหม่) ขึ้นติดกับเมือง Parthenope ในช่วงเวลาดังกล่าวชาว Cumae กำลังต้านทานการรุกรานจากชาวอีทรัสคัน[27]

Neapolis เจริญรุ่งเรืองมากขึ้นด้วยอิทธิพลของนครรัฐซีรากูซาอันทรงอำนาจของกรีก ต่อมาเมื่อถึงจุดหนึ่งในประวัติศาสตร์ Parthenope และ Neapolis ก็ได้ควบรวมเข้าเป็นเมืองเดียวกัน.[26] ซึ่งได้กลายเป็นพันธมิตรของสาธารณรัฐโรมันเพื่อต่อต้านคาร์เธจ โดยกำแพงที่รายล้อม Neapolis ได้ช่วยหยุดยั้งฮันนิบาล ผู้นำทัพชาวคาร์เธจ ไม่ให้บุกเข้าเมืองได้[28] ต่อมาในช่วงสงครามแซมไนต์ Neapolis ได้ถูกชาวแซมไนต์เข้ายึดครอง แต่ต่อมาไม่นานโรมันก็สามารถยึดกลับคืนได้และสถาปนาให้เป็นอาณานิคมของโรมัน[28]

นาโปลีได้รับเกียรติจากโรมันเป็นอย่างมากในฐานะแหล่งอารยธรรมเฮเลนนิสติค ซึ่งประชาชนยังคงรักษาภาษาและขนบธรรมเนียมแบบกรีกเอาไว้ โรมันได้สร้างสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ขึ้นในเมือง ทั้งบ้านพักตากอากาศ ลำรางส่งน้ำ โรงอาบน้ำสาธารณะ Odeon โรงละคร และวิหาร Dioscures จักรพรรดิผู้ทรงอำนาจหลายพระองค์ได้ทรงเลือกนาโปลีเป็นสถานที่ทรงพระสำราญ เช่น จักรพรรดิคลอดิอุส และไทบีเรียส[28]

ในช่วงเวลาดังกล่าว ศาสนาคริสต์ได้เผยแพร่เข้ามาสู่นาโปลี กล่าวกันว่านักบุญปีเตอร์และนักบุญพอล สองอัครทูต ได้เดินทางมาเผยแพร่ศาสนาในนาโปลี รวมทั้งนักบุญจานูอารุส ผู้ซึ่งถูกตัดสินประหารชีวิตในนาโปลี[29]และต่อมาได้กลายเป็นนักบุญอุปถัมภ์ประจำเมือง นอกจากนี้ โรมิวลัส ออกัสตัส จักรพรรดิพระองค์สุดท้ายแห่งจักรวรรดิโรมันตะวันตก ก็ทรงถูกเนรเทศมายังนาโปลีตามพระบัญชาของพระเจ้าโอเดเซอร์

Duchy of Naples

[แก้]
สงครามกอทิกภูเขาไฟวิสุเวียส

หลังจากจักรวรรดิโรมันตะวันตกล่มสลายลง นาโปลีถูกยึดครองโดยชาวออสโตรกอทซึ่งเป็นสาขาหนึ่งของเผ่าชนเจอร์มานิกตะวันออก และควบรวมเข้ากับราชอาณาจักรออสโตรกอท[30] ต่อมาใน พ.ศ. 1079 นายพล Belisarius แห่งจักรวรรดิไบแซนไทน์ (หรือที่รู้จักในอีกชื่อหนึ่งว่าจักรวรรดิโรมันตะวันออก) สามารถยึดนาโปลีกลับคืนได้หลังจากเข้าเมืองผ่านทางลำรางส่งน้ำ[31]

ในระหว่างสงครามกอทิก กษัตริย์Totila ของชาวออสโตรกอทได้เข้าครอบครองนาโปลีระยะเวลาสั้น ๆ ใน พ.ศ. 1086 แต่ต่อมาในยุทธการ Mons Lactarius บนลาดภูเขาไฟวิสุเวียส ไบแซนไทน์ได้รับชัยชนะเหนือออสโตรกอทและแผ่ขยายอิทธิพลเหนือคาบสมุทรอิตาลีได้[30] คาดว่าหลังจากนั้นนาโปลีได้ติดต่อกับ Exarchate of Ravenna ซึ่งเป็นศูนย์กลางอำนาจของไบแซนไทน์บนคาบสมุทร[32]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Superficie di Comuni Province e Regioni italiane al 9 ottobre 2011". สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2019.
  2. "Popolazione Residente al 1° Gennaio 2018". สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2019.
  3. ‘City’ population (i.e. that of the comune or municipality) from Popolazione residente al 1° Gennaio 2019 per età, sesso e stato civile เก็บถาวร 2020-03-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, ISTAT.
  4. David J. Blackman; Maria Costanza Lentini (2010). Ricoveri per navi militari nei porti del Mediterraneo antico e medievale: atti del Workshop, Ravello, 4–5 novembre 2005. Edipuglia srl. p. 99. ISBN 978-88-7228-565-7.
  5. "Greek Naples". naplesldm.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 March 2017. สืบค้นเมื่อ 9 May 2017.
  6. Daniela Giampaola, Francesca Longobardo (2000). Naples Greek and Roman. Electa.
  7. "Virgil in Naples". naplesldm.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 April 2017. สืบค้นเมื่อ 9 May 2017.
  8. The historic city center of Naples
  9. 1.700 hectares
  10. "Centro Storico di Napoli". Unesco.it. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-12-18. สืบค้นเมื่อ 2010-01-25.
  11. "Seminario-aprile2001.PDF" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2009-07-19.
  12. "La società italiana al 2008" (PDF). Fondazione Censis. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2009-06-24. สืบค้นเมื่อ 2019-12-16.
  13. OECD. "Competitive Cities in the Global Economy" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-06-14. สืบค้นเมื่อ 2009-04-30.
  14. "City Mayors reviews the richest cities in the world in 2005". Citymayors.com. 2007-03-11. สืบค้นเมื่อ 2010-01-25.
  15. "The port of Naples". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-31. สืบค้นเมื่อ 2011-01-27.
  16. "Site3-TGM table". Epp.eurostat.ec.europa.eu. สืบค้นเมื่อ 2010-01-25.
  17. "Cordova: 'Visto? La corruzione a Napoli non si è mai fermata' – Repubblica.it » Ricerca". Ricerca.repubblica.it. สืบค้นเมื่อ 2010-03-14.
  18. "SRM Studi e Ricerche per il Mezzogiorno – Ricerche". Srmezzogiorno.it. 2006-05-01. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-06. สืบค้นเมื่อ 2010-03-14.
  19. "OPE impresa (sede in Napoli - Centro direzionale)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-22. สืบค้นเมื่อ 2011-02-03.
  20. Centro studi OPE (sede in Napoli dal 1 febbraio 2009)
  21. Eurocities. "EUROCITIES – the network of major European cities". Eurocities.eu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-06-09. สืบค้นเมื่อ 2010-02-03.
  22. "Dipartimento politiche comunitarie: Napoli sede dell'ACP-UE. Ronchi: "Pieno sostegno dei nostri europarlamentari"". Politichecomunitarie.it. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-22. สืบค้นเมื่อ 2010-03-14.
  23. Naples city of Unesco's literature
  24. "Bombing of Naples". Faculty.ed.umuc.edu. 7 October 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-11. สืบค้นเมื่อ 2011-02-03.
  25. Manuela Proietti. "Expo 2012, Napoli capitale dello spazio| Iniziative | DIREGIOVANI". Diregiovani.it. สืบค้นเมื่อ 2010-01-25.[ลิงก์เสีย]
  26. 26.0 26.1 "Greek Naples". Faculty.ed.umuc.edu. 8 January 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-11. สืบค้นเมื่อ 2011-01-26.
  27. "Napoli (Neapolis)". Archeona.arti.beniculturali.it. 8 January 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-06-10. สืบค้นเมื่อ 2011-02-07.
  28. 28.0 28.1 28.2 "Antic Naples". Naples.Rome-in-Italy.com. 8 January 2008.
  29. "Naples" in the 1913 Catholic Encyclopedia.
  30. 30.0 30.1 Wolfram, Herwig. The Roman Empire and Its Germanic Peoples. University of California Press. ISBN 978-0520085114.
  31. "Belisarius – Famous Byzantine General". About.com. 8 January 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-19. สืบค้นเมื่อ 2011-02-11.
  32. Kleinhenz, Christopher. Medieval Italy: An Encyclopedia. Routledge. ISBN 978-0415221269.