เนหะมีย์ 2

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนหะมีย์ 2
เนหะมีย์ถวายถ้วยเสวยแก่กษัตริย์อารทาเซอร์ซีส จุลจิตรกรรมจากคัมภีร์ไบเบิลของ Monastery of Santa Maria de Alcobaça (ราวทศวรรษ 1220 (National Library of Portugal ALC.455, fl.147)
หนังสือหนังสือเนหะมีย์
หมวดหมู่เคทูวีม
ภาคในคัมภีร์ไบเบิลคริสต์พันธสัญญาเดิม
ลำดับในภาคของคัมภีร์ไบเบิลคริสต์16

เนหะมีย์ 2 (อังกฤษ: Nehemiah 2) เป็นบทที่ 2 ของหนังสือเนหะมีย์ของพันธสัญญาเดิมในคัมภีร์ไบเบิลของศาสนาคริสต์[1] หรือเป็นบทที่ 12 ของหนังสือเอสรา-เนหะมีย์ในคัมภีร์ฮีบรูซึ่งถือว่าหนังสือเอสราและหนังสือเนหะมีย์เป็นหนังสือเล่มเดียวกัน[2] ธรรมเนียมของศาสนายูดาห์ระบุว่าเอสราเป็นผู้เขียนของหนังสือเอสรา-เนหะมีย์รวมถึงหนังสือพงศาวดาร[3] แต่นักวิชาการสมัยโดยทั่วไปเชื่อว่าผู้เรียบเรียงจากศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล (ที่เรียกว่า "ผู้เขียนหนังสือพงศาวดาร") เป็นผู้เขียนสุดท้ายของหนังสือเหล่านี้[4] ในบทที่ 2 ของหนังสือเนหะมีย์ นับตั้งแต่เมื่อเนหะมีย์ได้รับรายงานเกี่ยวเยรูซาเล็มในเดือนคิสเลฟ (พฤศจิกายน/ธันวาคม) เนหะมีย์รอจนกระทั่งเดือนนิสาน (มีนาคม/เมษายน) เมื่อเนหะมีย์ทูลขอกษัตริย์อารทาเซอร์ซีสที่ 1 แห่งเปอร์เซีย ขออนุญาตกกลับไปช่วยก่อสร้างเยรูซาเล็มขึ้นใหม่[5] กษัตริย์อารทาเซอร์ซีสทรงอนุญาตตามคำทูลขอของเนหะมีย์ และถึงแม้ว่าเนหะมีย์จะมีอำนาจเหนือบรรดาผู้ว่าราชการมณฑลฟากตะวันตกของแม่น้ำยูเฟรติสน้อยกว่าเอสรา แต่เนหะมีย์ก็ได้รับตำแหน่งราชการและมีนายทหารและพลม้าคุ้มกัน[5]

ต้นฉบับ[แก้]

เนหะมีย์ถวายถ้วยเสวยทองคำแก่กษัตริย์อารทาเซอร์ซีส ภาพวาดของ Fol. 178v ของสำนาต้นฉบับมีภาพประกอบในภาษาละติน (ค.ศ. 1270)

บทนี้เดิมเขียนด้วยภาษาฮีบรู แบ่งออกเป็น 20 วรรค

พยานต้นฉบับ[แก้]

บางสำเนาต้นฉบับในยุคต้นที่มีข้อความของบทนี้เป็นภาษาฮีบรูมีลักษณะเป็นต้นฉบับเมโซเรติก (Masoretic Text) ได้แก่ ฉบับเลนินกราด (Leningrad Codex; ค.ศ. 1008)[6][a]

ยังมีคำแปลเป็นภาษากรีกคอยนีที่รู้จักในชื่อเซปทัวจินต์ (ทำขึ้นในช่วงไม่กี่ศตวรรษสุดท้ายก่อนคริสตกาล) ได้แก่ ฉบับวาติกัน (Codex Vaticanus; B; B; ศตวรรษที่ 4) ฉบับซีนาย (Codex Sinaiticus; S; BHK: S; ศตวรรษที่ 4) และฉบับอะเล็กซานเดรีย (Codex Alexandrinus; A; A; ศตวรรษที่ 5)[8]

เนหะมีย์ถูกส่งไปยูดาห์ (2:1–8)[แก้]

การตรวจสอบกำแพงเมืองและการถูกต่อต้าน (2:9–20)[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

  1. หนังสือเอสรา-เนหะมีย์ทั้งเล่มหายไปจากฉบับอะเลปโป (Aleppo Codex) ตั้งแต่การจลาจลต่อต้านชาวยิวในอะเลปโปในปี ค.ศ. 1947[7]

อ้างอิง[แก้]

  1. Halley 1965, p. 235.
  2. Grabbe 2003, p. 313.
  3. Babylonian Talmud Baba Bathra 15a, apud Fensham 1982, p. 2
  4. Fensham 1982, pp. 2–4.
  5. 5.0 5.1 Grabbe 2003, p. 321.
  6. Würthwein 1995, pp. 36–37.
  7. P. W. Skehan (2003), "BIBLE (TEXTS)", New Catholic Encyclopedia, vol. 2 (2nd ed.), Gale, pp. 355–362
  8. Würthwein 1995, pp. 73–74.

บรรณานุกรม[แก้]

อ่านเพิ่มเติม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]