เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติกรุงเทพ ครั้งที่ 7

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติกรุงเทพฯ พ.ศ. 2552 (อังกฤษ: Bangkok International Film Festival 2009) เป็นเทศกาลภาพยนตร์ที่จัดในกรุงเทพมหานคร จัดโดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ร่วมกับ สมาคมสมาพันธ์ภาพยนตร์แห่งชาติ จัดระหว่างวันที่ 24-30 กันยายน พ.ศ. 2552 โดยจัดฉายภาพยนตร์ ณ โรงภาพยนตร์เอสเอฟ เวิลด์ ซีเนม่า ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ และ โรงภาพยนตร์พารากอนซีนีเพล็กซ์ ศูนย์การค้าสยามพารากอน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร

แนวคิดและจุดเด่นของเทศกาล[แก้]

แนวคิดการจัดงานในปีนี้คือ "สุนทรียจีรัง บนแผ่นฟิล์มระดับโลก" โดยเน้นบรรยากาศย้อนสู่ยุครุ่งเรืองของภาพยนตร์ ส่วนโปรแกรมภาพยนตร์จะสะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพของวงการภาพยนตร์ในแถบอาเซียน และการค้นหาหนทางของการสร้างภาพยนตร์ที่สอดคล้องกับสังคม และการพัฒนาเทคโนโลยี ซึ่งเป็นการสนับสนุนนโยบาย "เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์" ของรัฐบาล โดยสมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ไทยเป็นผู้คัดสรร และดำเนินการนำภาพยนตร์นานาชาติชั้นดีจากผู้กำกับรุ่นใหม่ ทั้งในแถบเอเชียและนานาชาติ จำนวนกว่า 80 เรื่อง มาเข้าฉายตลอดงานเทศกาล

กิจกรรมสำคัญ[แก้]

พิธีเปิด[แก้]

พิธีเปิดเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติกรุงเทพ จัด ณ เอสเอฟ เวิลด์ ซีเนม่า โดยมีนักแสดงที่มีชื่อเสียงร่วมงาน เช่น เจมส์ เบลลุชชี ราเชล นิโคลส์ เป็นต้น โดยนักแสดง ผู้บริหาร บุคคลสำคัญในวงการภาพยนตร์จะเดินผ่านพรมเขียวจากเซ็นทรัลเวิลด์สแควร์สู่ลิฟท์แก้วกลางห้างเพื่อขึ้นไปยังชั้น 7 ส่วนโรงภาพยนตร์ จากนั้นจึงเป็นพิธีเปิดที่ลานกิจกรรมชั้น 8 ในเวลา 19.00 น. ก่อนที่บุคคลสำคัญทั้งหมดจะเข้าสู่โรงภาพยนตร์เวิลด์ แมกซ์ สกรีน (โรงที่ 15) เพื่อชมภาพยนตร์เปิดเทศกาล ในเวลา 20.00 น.

ภาพยนตร์เปิดเทศกาลครั้งนี้คือภาพยนตร์เรื่อง "เกียรติยศคนโฉดถล่มเมือง"(อังกฤษ: Bad Lieutenant: Port of Call New Orleans) กำกับโดย เวอร์เนอร์ เฮอร์ซอก นำแสดงโดย นิโคลัส เคจ และเอวา เมนเดส ซึ่งเป็นการทำขึ้นมาใหม่ (รีเมก) จาก Bad Lieutenant ภาพยนตร์ต้นฉบับที่ฉายเมื่อปี พ.ศ. 2535

พิธีประกาศผลรางวัลภาพยนตร์และพิธีปิด[แก้]

พิธีปิดเทศกาลเริ่มด้วยการฉายภาพยนตร์ปิดเทศกาล ซึ่งได้แก่ ภาพยนตร์เรื่อง สวัสดีบางกอก มีเนื้อหาสะท้อนมุมมองของกรุงเทพมหานคร ผ่านภาพยนตร์สั้นของผู้กำกับที่มีชื่อเสียงของไทย 9 คน ในวันที่ 30 กันยายน เวลา 16.00 น. ณ เอสเอฟ เวิลด์ ซีเนม่า จากนั้นจึงเป็นงานเลี้ยงรับรอง พิธีประกาศผลรางวัลกินรีและพิธีปิดเทศกาล ในวันเดียวกัน เวลา 18.00 น. ณ ห้องชาเทรียมบอลรูม โรงแรมชาเทรียม สวีท กรุงเทพ เขตบางคอแหลม โดยทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ทรงเป็นองค์ประธาน ในงานประกาศผลมีการมอบรางวัลกินรีสำหรับภาพยนตร์ รางวัลอินทนิลสำหรับภาพยนตร์แอนิเมชัน และรางวัลเกียรติยศความสำเร็จในชีวิตแก่เพชรา เชาวราษฎร์ โดยชรินทร์ นันทนาคร เป็นผู้รับรางวัลแทน

รางวัลกินรี[แก้]

รางวัลกินรีในปีนี้จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ประเภทสายประกวดหลัก (Main Competition) และภาพยนตร์จากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEA Competition) นอกจากนี้ยังมีประเภทพิเศษคือ NETPAC (Network for the Promotion of Asian Cinema)

คณะกรรมการตัดสิน[แก้]

คณะกรรมการตัดสินรางวัลกินรี เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติกรุงเทพ ครั้งที่ 7 มีทั้งหมด 9 ท่าน ได้แก่

ภาพยนตร์และบุคคลที่ได้รับรางวัล[แก้]

กิจกรรมอื่นๆ[แก้]

เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติกรุงเทพยังมีกิจกรรมสำคัญอื่นๆ เช่น เทศกาลภาพยนตร์แอนิเมชันกรุงเทพ ซึ่งจะมีพิธีเปิดที่พารากอนซีนีเพล็กซ์ ในเวลาเดียวกับพิธีเปิดเทศกาลหลัก โดยร้อยตรีหญิงระนองรักษ์ สุวรรณฉวี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ปัจจุบันคือ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นประธาน การสัมมนาด้านภาพยนตร์ ณ โรงแรมชาเทรียม สวีท กรุงเทพ งานเลี้ยงรับรองนักแสดง ณ โรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล กรุงเทพ และนิทรรศการเพชรา เชาวราษฎร์ เป็นต้น