เจ๊ะอิสมาแอ เจ๊ะโมง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เจ๊ะอิสมาแอ เจ๊ะโมง
ไฟล์:เจ๊ะอิสมาแอ เจ๊ะโมง.jpg
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด14 ธันวาคม พ.ศ. 2491 (75 ปี)
อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
พรรคการเมืองพรรคประชาชาติ (พ.ศ. 2561)

พันตำรวจโทเจ๊ะอิสมาแอ เจ๊ะโมง (เกิด 14 ธันวาคม พ.ศ. 2491) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปัตตานี 2 สมัย

ประวัติ[แก้]

พันตำรวจโทเจ๊ะอิสมาแอ เจ๊ะโมง เกิดเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2491 เป็นบุตรของนายเจ๊ะหลง กับนางนาปีเสาะ เจ๊ะโมง[1] สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต จาก โรงเรียนนายร้อยตำรวจ รุ่นที่ 26

การทำงาน[แก้]

พันตำรวจโทเจ๊ะอิสมาแอ เริ่มรับราชการครั้งแรกในพื้นที่นครบาล ก่อนที่ลาออกจากราชการครั้งแรก ในขณะที่มียศร้อยตำรวจโท เพื่อลงสมัครรับเลือกตั้ง ในสังกัดพรรคกิจสังคม แต่ไม่ประสบความสำเร็จ จึงกลับเข้ารับราชการใหม่ครั้งที่สอง จนกระทั่งเติบโตในหน้าที่ราชการจนติดยศพันตำรวจโท ในตำแหน่งสารวัตร หัวหน้าสถานีตำรวจภูธร ตำบลตันหยง อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส จากนั้นจึงลาออกเพื่อสมัครรับเลือกตั้งครั้งที่สอง ในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์ แต่ไม่ประสบความสำเร็จ จึงกลับเข้ารับราชการใหม่ครั้งที่สาม ซึ่งครั้งนี้ได้สังกัดกองบังคับการตำรวจภูธร จังหวัดสุราษฏร์ธานี[2]

งานการเมือง[แก้]

พันตำรวจโท เจ๊ะอิสมาแอ ได้รับเลือกตั้งครั้งแรกใน พ.ศ. 2539 สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ และได้รับเลือกติดต่อกัน รวม 2 ครั้ง คือในปี พ.ศ. 2539 และ พ.ศ. 2544 ต่อมาในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 เขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งในสังกัดพรรคไทยรักไทย แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง โดยแพ้ให้กับนายอิสมาแอล เบญอิบรอฮีม จากพรรคประชาธิปัตย์[3]

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน แต่ได้รับคะแนนเป็นลำดับที่ 6 ได้เพียง 500 คะแนน[4] ต่อมาในปี 2562 ลงสมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ ลำดับที่ 36 พรรคประชาชาติ แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร[แก้]

พันตำรวจโทเจ๊ะอิสมาแอ เจ๊ะโมง ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 2 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 จังหวัดปัตตานี สังกัดพรรคประชาธิปัตย์
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดปัตตานี สังกัดพรรคประชาธิปัตย์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ประวัติผู้สมัคร ส.ส.[ลิงก์เสีย] กรมการปกครอง
  2. โครงการสำรวจเพื่อประมวลข้อมูลนักการเมืองถิ่น กรณีศึกษา : จังหวัดปัตตานี. บูฆอรี ยีหมะ สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า. 2549
  3. เลือกตั้งบัญชีรายชื่อปัตตานี ปชป.มาแรงทิ้งห่างคู่ปรับ ทรท. เก็บถาวร 2007-05-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนเว็บไซต์ผู้จัดการ สืบค้นวันที่ 11 พฤษภาคม 2561
  4. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2554
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-05-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๓๐, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย, เล่ม ๑๑๗ ตอนที่ ๒๕ ข หน้า ๖๘, ๑ ธันวาคม ๒๕๔๓
  7. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญพิทักษ์เสรีชน, เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๑๐๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๑๐, ๒๓ มิถุนายน ๒๕๒๖