เจ้าแม่ประทานบุตร
หน้าตา
เทวรูป พระแม่ประทานบุตรองค์ต่าง ๆ ที่ได้รับความนิยม ศิลปะแบบประเพณีจีน-ญี่ปุ่น |
เจ้าแม่ประทานบุตร (จีน: 送子娘娘; พินอิน: Sòng zi niángniáng) หรือ เจ้าแม่ซื้อ คือ เทพธิดาหรือเซียนที่คุ้มครองดูแลเรื่องการตั้งครรภ์และการคลอดบุตรของศาสนาชาวบ้านจีน - ลัทธิเต๋าและลัทธิขงจื๊อซึ่งในภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศจีน รวมถึงพื้นที่ที่รับอิทธิพลวัฒนธรรมของศาสนาชาวบ้านจีน - ลัทธิเต๋าและลัทธิขงจื๊อซึ่งนับถือเทพธิดาหรือเซียนที่คุ้มครองดูแลเรื่องการตั้งครรภ์และการคลอดบุตร แตกต่างกันตามภูมิภาคต่าง ๆ ของพื้นที่และวัฒนธรรม[1] ดังนี้
- พระแม่กวนอิมประทานบุตร (送子观音) เป็นที่รู้จักและนิยมมากที่สุดจากอิทธิพลของพระพุทธศาสนามหายานแบบจีนที่ผสมกับศาสนาชาวบ้านจีน
- พระแม่หม่าโจ้ว นิยมมากในจีนโพ้นทะเลนิยมในบูชาเพื่อการคุ้มครองการแต่งงานและการคลอดบุตรเป็นหลัก
- พระแม่เขาไท่ เป็นที่นิยมบูชาในภาคเหนือของจีน
- พระแม่หนี่วา เป็นที่นิยมบูชาในมณฑลเหอหนานตะวันออก
- เจ้าแม่จู๊แซเนี้ย เป็นที่นิยมบูชาในฮกเกี้ยนใต้ ไต้หวัน และเขตเฉาซาน (潮汕)
- เจ้าแม่ซำไน้ฮูหยิน เป็นที่นิยมบูชาในหุบเขาแม่น้ำหมิ่นเจียง (闽江 - Minjiang) และทางตอนใต้ของฮกเกี้ยนและไต้หวัน
- เจ้าแม่กิมฮวยเนี่ยเนี้ย เป็นที่นิยมบูชาในมณฑลกวางตุ้ง มณฑลกวางสี มณฑลกวางตุ้ง มณฑลกานซู่ มณฑลเหอเป่ย์และมณฑลเจ้อเจียง
- พระแม่หารีตีจากอิทธิพลของพระพุทธศาสนามหายานแบบจีนในคณะยี่สิบสี่เทพธรรมบาลแบบจีน
- พระแม่สามเทวี (三霄娘娘) หรือที่เรียกว่า "ตรีเทพธิดา (三奶奶 - Three Grandma)" เป็นที่นิยมบูชาในลุ่มแม่น้ำห้วยเหอ (淮河 - Huaihe)
ดูเพิ่ม
[แก้]วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ เจ้าแม่ประทานบุตร
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Ge, Zhaoguang (2000). 第七讲 从观世音菩萨的故事说到佛教中国化 [Lecture 7: From the stories of Kuan Yin Bodhisattva to the Sinicisation of Buddhism]. 古代中国社会与文化十讲 [Ten Lectures on Ancient Chinese Society and Culture]. Tsinghua University Press. p. 128.