เจ้าแม่ยฺหวินเซียว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เจ้าแม่หยุนเซียว)
เจ้าแม่เมฆนภา
เทวรูปเจ้าแม่เมฆนภาเทพี ศิลปะแบบประเพณีจีนในปัจจุบัน ณ ศาลเจ้าตั๊วแป๊ะกง (大伯公庙, 实兆远) แขวงจาลันปาเซอร์ ปันจัง ซีเตียวัน รัฐเปรัก ประเทศมาเลเซีย
ภาษาจีน雲宵娘娘

ยฺหวินเซียวเนี้ยเนี้ย (จีน: 雲宵娘娘; แปลตรงตัว: "เจ้าแม่เมฆฆนภา - Lady of the Cloud Firmament") หรือนามเดิมของท่านคือ จ้าวยฺหวินเซียว เป็นเทวีในศาสนาชาวบ้านจีนและลัทธิเต๋าอันเป็นหนึ่งในเทวีผู้ประทานพรและคุ้มครองอุปถัมป์การคลอดแต่บรรดาสตรีและมารดรทั้งหลาย พระนางเป็นพระเทพีเชษฐภคินีใหญ่ของคณะเทพี ซานเซียวเชิ่งหมู่ (三霄聖母) หรือ ซานเซียวเนี่ยเนี้ย (三霄娘娘)[1][2]เจ้าแม่ซานเซียวเนี้ยวเนี้ยวทรงได้รับการสักการะบูชาในฐานะของเจ้าแม่ผู้พิทักษ์ครัวเรือน หรือ เทพีห้องสุขา ในธรรมเนียมศาสนาชาวบ้านจีนว่ากันว่า "เทพเจ้าเตาไฟนั้นทรงสถิตย์คอยพิทักษ์คุ้มครองจากในครัว และเทพีซานเซียวนั้นทรงสถิตย์คอยพิทักษ์คุ้มครองจากในครัวเรือน"[3]

เทพปกรณัม[แก้]

ตามเทพปกรณัม ห้องสิน เจ้าแม่นั้นทรงอยู่ฝ่ายของพระเจ้าชางโจ้ว เจ้าแม่เป็นหนึ่งในขนิษฐาสตรีทั้งสามโดยเป็นเชษฐภคินีใหญ่สุดและทรงเป็นขนิษฐาของเทพแห่งโชคลาภสมบัติเงินทองของมีค่า คือ จ้าวกงหมิง คณะนางพร้อมด้วยขนิษฐาทั้งสามถึงแก่ชีพตักษัยวายชนม์หลังการรณรงค์ยุทธสงครามกับองค์เจียง จื่อหยา โดยต่อมา ได้รับการสถาปนาเป็นหนึ่งในคณะเทพสามร้อยหกสิบห้าองค์ โดยได้รับการสักการะบูชาและมีหน้าที่อุปถัมป์ค้ำจุนเกื้อหนุนสำหรับการปัดเป่าทำลายโรคฝีดาษและโรคทั้งหลายเด็กและทารก[4]

โดยสืบต่อมา นางและขนิษฐาของนาง คือ จ้าว ฉฺยงเซียว และ จ้าว ปี้เซียว ได้รับการจัดหมวดหมู่เป็นคณะตรีเทพี โดยเป็นหนึ่งในเจ้าแม่ประทานบุตร[1]

ศาลเจ้าอุทิศถวายพระนางในประเทศไทย[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Chen, Fan-Pen Li (2007). Chinese Shadow Theatre: History, Popular Religion, and Women Warriors (ภาษาอังกฤษ). McGill-Queen's Press - MQUP. ISBN 978-0-7735-3197-0.
  2. Overmyer, Daniel (30 September 2009). Local Religion in North China in the Twentieth Century: The Structure and Organization of Community Rituals and Beliefs (ภาษาอังกฤษ). BRILL. ISBN 978-90-474-2936-4.
  3. "The Dark History of Conferred Gods: Yunxiao was killed innocently by unspoken rules Jiang Taigong leaked the Yellow River and changed Shanxi folklore". INF News. 18 March 2021.
  4. Stuart, Kevin; Li, Xuewei (1994). China's Dagur Minority: Society, Shamanism, & Folklore (ภาษาอังกฤษ). University of Pennsylvania, Department of Asian and Middle Eastern Studies.

ดูเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]