เจ้าหญิงเฮเลเนอแห่งวัลเด็คและเพือร์ม็อนท์
เจ้าหญิงเฮเลน | |||||
---|---|---|---|---|---|
ดัชเชสแห่งออลบานี | |||||
ประสูติ | 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1861 บาสอาโรลเซิน วัลเด็คและเพือร์ม็อนท์ สมาพันธรัฐเยอรมัน | ||||
สิ้นพระชนม์ | 1 กันยายน ค.ศ. 1922 รัฐทีโรล สหพันธรัฐออสเตรีย | (61 ปี)||||
ฝังพระศพ | 8 กันยายน ค.ศ. 1922 ฮินเทอริส รัฐทีโรล ประเทศออสเตรีย | ||||
พระสวามี | เจ้าชายลีโอโพลด์ ดยุกแห่งออลบานี | ||||
| |||||
พระบุตร | |||||
ราชวงศ์ |
| ||||
พระบิดา | เจ้าชายเกออร์ค วิคทอร์ เจ้าชายแห่งวัลเด็คและเพือร์ม็อนท์ | ||||
พระมารดา | เจ้าหญิงเฮเลเนอแห่งนัสเซา |
เจ้าหญิงเฮเลเนอแห่งวัลเด็คและเพือร์ม็อนท์ (อังกฤษ: Princess Helen of Waldeck and Pyrmont) ประสูติเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1861 เป็นเจ้าหญิงเยอรมัน โดยทรงเป็นพระธิดาใน เจ้าชายเกออร์ค วิคทอร์ เจ้าชายแห่งวัลเด็คและเพือร์ม็อนท์ และ เจ้าหญิงเฮเลเนอแห่งนัสเซา เป็นพระกนิษฐภคินีใน เอ็มมาแห่งวัลเด็คและเพือร์ม็อนท์ ทำให้ทรงเป็นพระมาตุลานี (น้าหญิง) ใน สมเด็จพระราชินีนาถวิลเฮลมินาแห่งเนเธอร์แลนด์ เป็นพระอัยยิกา (ย่า) ใน เจ้าหญิงซิบิลลาแห่งซัคเซิน-โคบวร์คและโกทา และ พระราชปัยยิกา (ย่าทวด) ของ สมเด็จพระราชาธิบดีคาร์ลที่ 16 กุสตาฟแห่งสวีเดน
พระองค์และพระพี่น้องอีก 2 พระองค์ คือ เจ้าหญิงพอลลีนแห่งวัลเด็คและเพือร์ม็อนท์ และ เอ็มมาแห่งวัลเด็คและเพือร์ม็อนท์ ทรงได้รับการพิจรณาเป็นพระมเหสีใน พระเจ้าวิลเลิมที่ 3 แห่งเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นพระญาติห่างๆ แต่แล้ว พระพี่นางของพระองค์คือ เอ็มมาแห่งวัลเด็คและเพือร์ม็อนท์ หรือต่อมาคือ สมเด็จพระราขินีเอ็มมาแห่งเนเธอร์แลนด์ และ สมเด็จพระราชินีเอ็มมา พระราชชนนี ตามลำดับ ได้ครอบครองพระราชหฤทัยในพระเจ้าวิลเลิมที่ 3 และได้ให้กำเนิดพระราชธิดา ซึ่งต่อมาคือพระเจ้าแผ่นดินหญิงแห่งเนเธอร์แลนด์พระองค์แรก คือ สมเด็จพระราชินีนาถวิลเฮลมินาแห่งเนเธอร์แลนด์ ส่วนพระองค์เองได้ทรงพบกับ เจ้าชายลีโอโพลด์ ดยุกแห่งออลบานี พระราชโอรสพระองค์เล็กใน สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย ตามคำแนะนำของพระมารดา ต่อมาทั้งสองหมั้นกันในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1881
วันที่ 27 เมษายน ค.ศ. 1882 ทั้ง 2 ทรงเข้าพิธีเสกสมรส ณ โบสถ์น้อยเซนต์จอร์จ ปราสาทวินด์เซอร์ หลังจากเสกสมรส พระองค์ทรงพระอิสริยยศที่ สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงลีโอโพลด์ จอร์จ ดันแคน อัลเบิร์ต เจ้าหญิงแห่งสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ ดัชเชสแห่งออลบานี เคาน์เตสแห่งแคลเรนซ์ และบารอเนสอาร์กโลว์ พระชายา และประทับ ณ บ้านแคลร์มอนต์ ชีวิตคู่ทั้ง 2 เป็นไปด้วยระยะเวลาอันสั้น แต่มีความสุข ต่อมา พระสวามีสิ้นพระชนม์จาก โรคฮีโมฟิเลีย ซึ่งเป็นโรคตามกรรมพันธุ์จากสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย ซึ่งเป็นสมเด็จพระบรมราชชนนีนาถของพระสวามี เมื่อวันที่ 5 เมษายน ค.ศ. 1884 สิริพระชันษา 30 ปี ซึ่งขณะนั้น ดัชเชสแห่งออลบานี กำลังทรงพระครรภ์ที่ 2 ตามบันทึกความทรงจำของเจ้าหญิงอลิซ เคาน์เตสแห่งแอธโลน พระธิดาของพระองค์ ทรงเขียนถึงพระมารดาไว้ว่า ทรงฉลาด มีความรับผิดชอบสูง และรักงานสวัสดิการอย่างแท้จริง สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียในตอนแรกทรงวิตกกังวลว่าเจ้าหญิงเฮเลเนออาจกลายเป็นเจ้าหญิงเยอรมันผู้ห่างไกลจากโลกภายนอก ทรงตั้งข้อสังเกตในจดหมายถึง เจ้าหญิงวิกตอเรีย พระราชกุมารี พระราชธิดาพระองค์แรก และ มกุฎราชกุมารีแห่งเยอรมัน พระวรชายาใน มกุฎราชกุมารฟรีดริช สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียทรงดีพระราชหฤทัยมาก ที่เจ้าหญิงเฮเลเนอชอบความอังกฤษ ต่อมาพระองค์เสด็จพระราชดำเนินไปทรงพบพระสุณิษาด้วยความเสน่หา แม้ว่าในตอนแรกจะทรงกังวลเมื่อได้ยินจาก เจ้าหญิงวิกกี้ (เจ้าหญิงวิกตอเรีย พระราชกุมารี) โดยก่อนจะทรงเข้ามาในราชวงศ์อังกฤษ พระบิดาของพระองค์ทรงอุปถัมภ์โรงเรียนสำหรับทารก และในตำแหน่งนี้ เจ้าหญิงเฮเลเนอได้คิดค้นหลักสูตรการศึกษาของนักเรียน ทรงชอบแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และปรัชญาในการอ่านเป็นพิเศษ ระหว่างการแต่งงานช่วงสั้น ๆ พระสวามีทรงแนะนำพระองค์ให้ทรงรู้จักกับแวดวงนักวิชาการที่เป็นพระสหายที่มหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด โดยเจ้าหญิงเองทรงมีสัมพันธ์ที่ดีกับพวกเขาเหล่านั้น ในปี ค.ศ. 1894 ทรงเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งกองทุนเดปต์ฟอร์ด เดิมทีกองทุนนี้อุทิศตนเพื่อช่วยหางานทางเลือกสำหรับผู้หญิงและเด็กผู้หญิงที่ทำงานในธุรกิจฆ่าสัตว์ที่อันตราย ในไม่ช้ากองทุนก็ขยายออกไป โดยมีหลายโครงการที่กระตุ้นเพื่อช่วยเหลือชุมชนในท้องถิ่น ในปี ค.ศ. 1899 ทรงเปิดสถาบันในชื่อ ออลบานี ต่อมาได้ขยายเป็นชุมชนและศูนย์การแสดงที่ผสมผสานกับสถานที่แสดงละครที่รู้จักกันในชื่อออลบานีเอ็มไพร์ ศูนย์กลางของกิจกรรมต่อต้านลัทธิฟาสซิสต์ใน ค.ศ. 1970 ณ อาคารเอ็มไพร์และสถาบันถูกทำลายจากการลอบวางเพลิงใน ค.ศ. 1978 ต่อมา ไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์ ทรงฟื้นฟูใน ค.ศ. 1982
เจ้าหญิงเฮเลเนอแห่งวัลเด็คและเพือร์ม็อนท์ สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1922 ณ รัฐทีโรล สิริพระชันษา 61 ปี
พระอิสริยยศ
[แก้]- 17 กุมภาพันธ์ 1861 – 27 เมษายน 1882: เฮอร์เซอรีนไฮเนส เจ้าหญิงเฮเลนแห่งวัลเด็คและไพร์มอนด์ (Her Serene Highness Princess Helen of Waldeck and Pyrmont)
- 27 เมษายน 1882 – 11 ตุลาคม 1905: เฮอร์รอยัลไฮเนส สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงดัชเชสแห่งออลบานี (Her Royal Highness The Duchess of Albany)
- เฉพาะในแคว้นสกอตแลนด์: เฮอร์รอยัลไฮเนส สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงเคาน์เตสแห่งแคลเรนซ์ (Her Royal Highness The Countess of Clarence)
- 11 ตุลาคม 1905 – 1 กันยายน 1922: เฮอร์รอยัลไฮเนส สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงดัชเชสหม้ายแห่งออลบานี (Her Royal Highness The Dowager Duchess of Albany)
อ้างอิง
[แก้]- Harvester Wheatsheaf (1971). The Constitutional Year Book. Harvester Press. p. 28. ISBN 978-0-85527-070-4.
- "Princess Helen, Duchess of Albany (1861-1922), Wife of Prince Leopold, Duke of Albany; daughter of Prince George Victor of Waldeck-Pyrmont". National Portrait Gallery, London.
- Her bridesmaids were The Ladies Mary Campbell, Blanche Butler, Feodore Yorke, Florence Bootle-Wilbraham, Ermyntrude Russell, Alexandrina Vane-Tempest, Anne Lindsay and Florence Anson.
- http://www.artofregeneration.org/deptfordstories/history/history.html[permanent เก็บถาวร 2021-05-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน dead link]
- http://www.artofregeneration.org/deptfordstories/history/fund.html[permanent[ลิงก์เสีย] dead link]
- Princess Marie Louise (née Princess of Schleswig-Holstein-Sonderburg-Augustenberg), My Memories of Six Reigns (London: Evans Brothers, 1956)
- "The London Gazette, Issue 25102, Page 1989".
- "The London Gazette, Issue 26947, Page 1696".
- "The London Gazette, Supplement 28535, Page 7110".