เครือข่ายไผ่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เครือข่ายไผ่
Map of the bamboo network
อธิบายสัญลักษณ์
  เครือข่ายไผ่
  ภูมิภาคเกรตเตอร์ไชนา
ประเทศและดินแดนธงของประเทศกัมพูชา กัมพูชา
ธงของประเทศอินโดนีเซีย อินโดนีเซีย
ธงของประเทศลาว ลาว
ธงของประเทศมาเลเซีย มาเลเซีย
ประเทศพม่า พม่า
ธงของประเทศฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์
ธงของประเทศสิงคโปร์ สิงคโปร์
 ไทย
นครสำคัญไทย กรุงเทพมหานคร
อินโดนีเซีย จาการ์ตา
มาเลเซีย กัวลาลัมเปอร์
ประเทศพม่า มัณฑะเลย์
ฟิลิปปินส์ มะนิลา
กัมพูชา พนมเปญ
สิงคโปร์ สิงคโปร์
ลาว เวียงจันทน์

"เครือข่ายไผ่" (อังกฤษ: bamboo network; จีนตัวย่อ: 竹网; จีนตัวเต็ม: 竹網; พินอิน: zhú wǎng) เป็นคำที่ใช้วางมโนทัศน์เกี่ยวกับสายสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจที่มีชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ดำเนินการ[1][2] เครือข่ายธุรกิจชาวจีนโพ้นทะเลประกอบเป็นกลุ่มธุรกิจเอกชนที่ครอบงำมากที่สุดกลุ่มเดียวนอกเอเชียตะวันออก[3] เครือข่ายนี้เชื่อมโยงชุมชนธุรกิจชาวจีนโพ้นทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งได้แก่ พม่า มาเลเซีย อินโดนีเซีย ไทย เวียดนาม ฟิลิปปินส์และสิงคโปร์กับธุรกิจของเกรตเตอร์ไชนา (จีนแผ่นดินใหญ่ ฮ่องกง มาเก๊าและไต้หวัน)[4] ชาติพันธุ์จีนมีบทบาทนำในภาคธุรกิจของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครอบงำเศรษฐกิจหลายประเทศ และเกิดเป็นอภิชนทางเศรษฐกิจในประเทศเหล่านี้[5][6][7][8][9][10][11] โดยมีบทบาทสำคัญต่อการคงชีวิตและความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจโดยรวมในภูมิภาค[12][13][14][15] ชาวจีนนั้นเป็นกลุ่มทรงอิทธิพลทางเศรษฐกิจและชนกลุ่มน้อยที่มั่งคั่งเป็นเวลาหลายร้อยปีแล้ว[16][17][18][19] ตั้งแต่เข้าคริสต์ศตวรรษที่ 21 เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยุคหลังอาณานิคมกลายเป็นเสาหลักสำคัญของเศรษฐกิจชาวจีนโพ้นทะเลเมื่อเครือข่ายไผ่เป็นสัญลักษณ์สำคัญที่เป็นด่านหน้าทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศขยายของจีนแผ่นดินใหญ่[20][19]

โครงสร้าง[แก้]

เมื่อชุมชนชาวจีนเติบโตและพัฒนาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภายใต้การปกครองของเจ้าอาณานิคมยุโรป วาณิชและอาชีพค้าขายชาวจีนจึงเริ่มพัฒนาเครือข่ายทางธุรกิจที่ซับซ้อนเพื่อการเติบโตและการอยู่รอด เครือข่ายธุรกิจที่ซับซ้อนเหล่านี้มอบทรัพยากรสำหรับการสะสมทุน สารนิเทศการตลาดและการกระจายสินค้าและบริการระหว่างชุมชนธุรกิจจีนทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[21] ธุรกิจจีนโพ้นทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตามปกติมีครอบครัวหนึ่งเป็นเจ้าของและมีรูปแบบการ มักมีครอบครัวเป็นเจ้าของและบริหารจัดการผ่านระบบประจำแบบรวมศูนย์[4][22] [23] ครอบครัวกลายเป็นจุดสำคัญของกิจกรรมธุรกิจของบริษัท และจัดหาทุน แรงงานและการจัดการ จุดแข็งของบริษัทครอบครัวอยู่ที่ความยืดหยุ่นในการตัดสินใจและความทุ่มเทและความภักดีของกำลังแรงงาน โดยปกติธุรกิจเหล่านี้จะได้รับการจัดการในลักษณะ ธุรกิจครอบครัว เพื่อลดต้นทุนค่าธุรกรรมส่วนหน้าเมื่อมีการส่งมอบบริษัทจากรุ่นสู่รุ่น [24] [25] [26] โดยทั่วไปบริษัทหลายแห่งแสดงจิตวิญญาณผู้ประกอบการที่เข้มแข็ง ความเป็นเครือญาติ ความเป็นผู้นำเด็ดขาด สัญชาตญาณ ความตระหนี่และลีลาตัดสินใจรวดเร็ว ตลอดจนการจัดการแบบพ่อปกครองลูก (paternalistic) และสายคำสั่งเป็นลำดับชั้นต่อเนื่องกัน[27] [3][28] ตามแบบบริษัทเหล่านี้ส่วนใหญ่จะดำเนินธุรกิจในลักษณะวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ไม่ใช่บริษัทที่ประกอบธุรกิจหลายประเภทรวมกันขนาดใหญ่ที่พบมากในประเทศเอเชียตะวันออกอื่น เช่น ประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ [29] การค้าและการเงินนั้นถูกชี้นำต่อการขยายระบบกงสีตามประเพณี และมีการให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ส่วนบุคคลมากกว่าความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการ สิ่งนี้ส่งเสริมการสื่อสารพาณิชย์และการโอนทุนที่ลื่นไหลมากขึ้นในภูมิภาคที่ระเบียบทางการเงินและนิติธรรมยังมีการพัฒนาอยู่น้อยเป็นส่วนใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ [30] เครือข่ายไผ่ยังเป็นเครือข่ายข้ามชาติ หมายความว่า การเปิดช่องทางการเคลื่อนย้ายทุน สารนิเทศ และสินค้าและบริการสามารถส่งเสริมความยืดหยุ่นและประสิทธิภาพโดยสัมพัทธ์กันระหว่างข้อตกลงอย่างเป็นทางการและธุรกรรมที่ดำเนินการโดยบริษัทที่มีครอบครัวเป็นเจ้าของ[31] ความสัมพันธ์ทางธุรกิจตั้งอยู่บนกระบวนทัศน์ของขงจื้อ "กวนซี่" ซึ่งเป็นคำภาษาจีนแปลว่า การเพาะความสัมพันธ์ส่วนบุคคลเพื่อเป็นส่วนประกอบของความสำเร็จทางธุรกิจ[32] [33] [34] เครือข่ายไผ่ได้รับอิทธิพลอย่างมากจากลัทธิขงจื้อ ซึ่งเป็นปรัชญาจีนโบราณตั้งแต่ศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสต์ศักราชที่ส่งเสริมหลักกตัญญู (孝) และปฏิบัตินิยมในบริบทธุรกิจ[35] [36] [37] ลัทธิขงจื้อยังคงเป็นพลังทางปรัชญาที่มีความชอบธรรมในการคงอัตลักษณ์บรรษัทและสวัสดิการสังคมของบริษัท นอกจากนี้ ยังมีการระบุว่าการหล่อเลี้ยงกวนซี่เป็นสาเหตุให้เป็นกลไกสำคัญในการดำเนินกลยุทธ์ทางธุรกิจแบบร่วมมือในเครือข่ายไผ่[38] [39] สำหรับชาวจีน เครือข่ายที่เข้มแข็งถือเป็นเสาหลักที่สำคัญของวัฒนธรรมธุรกิจของจีนเสมอมา ตามความเชื่อของลัทธิขงจื๊อว่าคนคนเดียวไม่สามารถอยู่รอดได้โดยลำพัง[1]

เครือข่ายไผ่เป็นรูปแบบองค์การเศรษฐกิจที่โดดเด่น ซึ่งกลุ่มผู้ประกอบการชาติพันธุ์จีน ผู้ค้า นักลงทุน นักการเงินและธุรกิจครอบครัว ตลอดจนเครือข่ายธุรกิจที่ถักทออย่างใกล้ชิดค่อย ๆ ขยายตัวขึ้น และเข้ามามีอิทธิพลเหนือเศรษฐกิจของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[40] เครือข่ายไผ่ยังก่อให้เกิดโครงสร้างตั้งต้นของบริษัท ตระกูลและหมู่บ้านที่เชื่อมโยงกันด้วยความสัมพันธ์ทางสายเลือด ครอบครัวและถิ่นกำเนิดของชาติพันธุ์โดยเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายไผ่ทั่วโลก[41] การมีมรดกทางชาติพันธุ์ร่วมกันภาษาที่ใช้ร่วมกันความผูกพันในครอบครัวและรากเหง้าของบรรพบุรุษได้ผลักดันให้ผู้ประกอบการชาวจีนโพ้นทะเลต้องทำธุรกิจร่วมกันมากกว่าที่จะทำธุรกิจร่วมกันในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ [42] บริษัท ที่ชาวจีนโพ้นทะเลเป็นเจ้าของเป็นกำลังสำคัญทางเศรษฐกิจและครอบงำภาคธุรกิจเอกชนในทุกประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน [9][43][44]

Six men plow the earth in a sinkhole while another walks carrying empty baskets. Three others are standing and walking in the background.
คนเข้าเมืองชายชาวจีนจำนวนมากใช้แรงงานในสวนยางพาราและเหมืองดีบุกของอินโดนีเซีย มาเลเซีย และไทย ในขณะที่คนอื่นๆ ตั้งร้านเสบียงเล็ก ๆ เพื่อหาเลี้ยงชีพ[24]

คนเข้าเมืองชาวจีนที่เป็นผู้ประกอบการจำนวนมากถูกดึงดูดด้วยคำมั่นความมั่งมีและลาภทรัพย์มหาศาล ขณะที่คนเข้าเมืองอื่น ๆ ถูกผลักดันด้วยทุพภิกขภัยและสงคราม พ่อค้า ช่างมีมือและกรรมกรไร้ที่ดินชาวจีนข้ามทะเลมาเพื่อแสวงหาแผ่นดินใหม่เพื่อค้นหาโชคชะตาทางการเงินของพวกตน[24] พวกเขาตั้งไชน่าทาวน์เพื่อสนับสนุนตนเอง พัฒนาเศรษฐกิจ และส่งเสริมและปกป้องผลประโยชน์ทางธุรกิจของตน แม้ว่าจะประสบความยากลำบากเหลือคณา แต่ผู้ประกอบการและนักลงทุนชาวจีนจำนวนมากผุดขึ้นด้วยความมัธยัตถ์ ความฉลาดในเขิงธุรกิจ และไหวพริบการลงทุน ระเบียบวินัย การมีมโนธรรม และความมุมานะถีบตัวเองให้พ้นจากความยากจน ชาวจีนโพ้นทะเลที่มาตั้งรกรากทุกที่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีสำนึกการเป็นผู้ประกอบการและการทำงานหนักเริ่มจากธุรกิจขนาดเล็ก เช่น ร้านซักรีด ร้านอาหาร ร้านของชำ ปั้มน้ำมัน และค่อย ๆ สร้างตนเป็นผู้ประกอบการ นักการเงิน และนายหน้าเต็มตัว ซึ่งเข้ามาคุมบ่อนการพนัน คาสิโนและอสังหาริมทรัพย์[45]

นักธุรกิจชาวจีนโพ้นทะเลที่ก่อรูปวงการธุรกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ที่มีนิยายความสำเร็จจากยากจนมาร่ำรวย เช่น Robert Kuok นักธุรกิจชาวจีนชาวมาเลเซีย, Liem Sioe Liong มหาเศรษฐีพันล้านชาวอินโดนีเซีย และนักธุรกิจใหญ่ฮ่องกง Li Ka-shing ประวัติธุรกิจที่ประสบความสำเร็จของ Robert Kuok นั้นคล้ายคลึงกับนักธุรกิจชาวจีนโพ้นทะเลที่มีชื่อเสียงหลายคนซึ่งปูทางให้ฉากธุรกิจเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงศตวรรษที่ 20 กลุ่มบริษัทของ Kuok นั้นประกอบด้วยเครือข่ายบริษัทเอกชนและบริษัทมหาชนที่ซับซ้อน ทรัพย์สินจำนวนมากของเขา เช่น Wilmar International บริษัทผู้ค้าน้ำมันปาล์ม, PPB Group Berhad โรงโม่น้ำตาลและแป้ง, เครือโรงแรมแชงกรี-ลาในฮ่องกง, บริษัทขนส่งทางเรือยักษ์ Pacific Carriers, บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ Kerry Properties และเดิมยังมีผู้พิมพ์หนังสือพิมพ์ที่มีชื่อเสียง เซาท์ไชน่ามอร์นิ่งโพสต์ (ภายหลังขายให้กับ อาลีบาบา[46]) คิดมูลค่ารวมประมาณ 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[5] ผู้ประกอบการเหล่านี้จำนวนมากมีจุดเริ่มต้นที่ต่ำต้อยและมีความมั่งคั่งเริ่มต้นเพียงเล็กน้อย สร้างธุรกิจจากศูนย์และมีส่วนร่วมในเศรษฐกิจท้องถิ่นไปพร้อมกัน ผู้ประกอบการแต่ละรายเริ่มได้รับความมั่งคั่งและสร้างความมั่งคั่งจากธุรกิจที่ไม่น่าสนใจ เช่น ร้านขายน้ำตาลที่หัวมุมถนนในมาเลเซีย ร้านก๋วยเตี๋ยวหมู่บ้านในอินโดนีเซีย และเปิดโรงงานผลิตดอกไม้พลาสติกในฮ่องกง ต่อมา หลายคนเข้ามาประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และนำกำไรมาลงทุนในธุรกิจที่ดูทำกำไร[3] ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเหล่านี้จำนวนมากพัฒนาไปสู่กลุ่มบริษัทขนาดมหึมา ซึ่งมีผลประโยชน์มากมายที่จัดอยู่ในบริษัทลูกที่มีความหลากหลายสูงนับสิบแห่ง[43] ในยุคโลกาภิวัตน์ในคริสต์ศตวรรษที่ 21 ผู้ประกอบการชาวจีนโพ้นทะเลจำนวนมากได้ปรับการดำเนินธุรกิจในประเทศของพวกตนให้เข้ากับโลภาภิวัฒน์อย่างแข็งขัน และวางตนเป็นผู้แข่งขันในอุตสาหกรรมธุรกิจที่หลากหลายในระดับโลก เช่น บริการการเงิน อสังหาริมทรัพย์ การผลิตเครื่องนุ่งห่ม และเครือโรงแรม[47] ทำให้มีอาณาจักรธุรกิจจีนหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐตั้งแต่ทวีปเอเชียไปจนถึงประเทศเม็กซิโก[48] ผู้ประกอบการและนักลงทุนชาวจีนโพ้นทะเลเป็นผู้เล่นหลักในเศรษฐกิจเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และมีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศที่ตั้งธุรกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ [49] [50] [9] [19] กิจกรรมทางธุรกิจส่วนใหญ่ของเครือข่ายไม้ไผ่มีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองใหญ่ ๆ ของภูมิภาค เช่น มัณฑะเลย์ จาการ์ตา สิงคโปร์ กรุงเทพมหานคร กัวลาลัมเปอร์ นครโฮจิมินห์ และมะนิลา[51]

ประวัติศาสตร์[แก้]

เครือข่ายไผ่ของจีนในต่างประเทศมีบทบาทสำคัญในการชุบชีวิตพาณิชย์ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หลังยุคอาณานิคมกลายเป็นเสาหลักที่สำคัญของเศรษฐกิจจีนโพ้นทะเลตั้งแต่ช่วงเปลี่ยนเข้าสู่คริสต์ศตวรรษที่ 20 และตั้งแต่อดีตเป็นต้นมา ชาวจีนครองชีวิตการค้าและการค้าของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นชนกลุ่มน้อยที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจและเจริญรุ่งเรืองกว่าชนกลุ่มใหญ่พื้นเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มานานหลายร้อยปีก่อนยุคอาณานิคมยุโรปเสียอีก[52] [53]

อิทธิพลพาณิชย์ของพ่อค้าวาณิชชาวจีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 3 เป็นอย่างน้อย เมื่อมีการส่งคณะทูตอย่างเป็นทางการไปยังประเทศต่าง ๆ ในทะเลใต้ ชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลที่โดดเด่นและมั่นคงได้กลายเป็นลักษณะประจำของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงกลางศตวรรษที่ 17 ในเมืองท่าสำคัญของอินโดนีเซีย ไทย และเวียดนาม[54] กว่า 1500 ปีที่แล้ว พ่อค้าชาวจีนเริ่มแล่นเรือไปทางใต้สู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อค้นหาโอกาสทางการค้าและความมั่งคั่ง พื้นที่เหล่านี้เรียกว่า หนานหยางหรือทะเลใต้ ผู้ที่ออกจากจีนจำนวนมากเป็นชาวจีนฮั่นใต้ที่ประกอบด้วยชาวฮกเกี้ยน แต้จิ๋ว กวางตุ้ง แคะ และไหหลำ ซึ่งสืบเชื้อสายมาจากจังหวัดชายฝั่งทางตอนใต้ของจีน หลัก ๆ คือ กวางตุ้ง ฝูเจี้ยน และไหหลำ[55] ชาวจีนตั้งด่านค้าขายเล็ก ๆ ซึ่งในเวลาต่อมาเติบโตและเจริญรุ่งเรืองจนได้เข้าควบคุมเศรษฐกิจส่วนใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในรอบหลายศตวรรษที่ผ่านมา ช่วงเวลาการอพยพออกจากจีนอย่างหนักจะส่งคลื่นชาวจีนเข้าสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากปกติมักประจวบกับสภาพที่ย่ำแย่มากเป็นพิเศษ เช่น ความขัดแย้งของราชวงศ์ครั้งใหญ่ การก่อการกำเริบทางการเมือง ทุพภิกขภัย และการรุกรานบ้านเกิด[56] ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15 แม่ทัพเรือจีน เจิ้งเหอ ในรัชกาลจักรพรรดิหย่งเล่อ นำกองเรือจำนวน 300 ลำไปทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระหว่างการเดินทางสมบัติหมิง[53] ในระหว่างการสำรวจทางทะเลของเขาทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เจิ้งค้นพบดินแดนชาวจีนโพ้นทะเลที่เจริญรุ่งเรืองอยู่แล้วบนเกาะชวา อินโดนีเซีย นอกจากนี้ การค้าต่างประเทศในอาณาจักร Tabanan ในอินโดนีเซียปัจจุบัน ดำเนินการโดยชาวจีนที่ร่ำรวยเพียงคนเดียวในตำแหน่งที่เรียกว่า subandar ซึ่งผูกขาดให้เจ้าเพื่อแลกกับบรรณาการจำนวนพอควรโดยมีชาวจีนด้วยกันเองเป็นนายหน้า[57] [58]

ตั้งแต่ ค.ศ. 1500 เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นแม่เหล็กดึงดูดผู้อพยพออกนอกประเทศชาวจีนที่พวกเขาได้พัฒนาเครือข่ายไผ่ในเชิงยุทธศาสตร์ที่ก้าวข้ามพรมแดนของประเทศ[9] ชาวจีนเป็นชนกลุ่มน้อยที่ทำการค้าเพียงกลุ่มเดียวในหลาย ๆ กลุ่ม รวมทั้งคุชราตอินเดีย เชตเทียร์ โปรตุเกส และญี่ปุ่น จนถึงกลางศตวรรษที่ 17 ต่อจากนั้น ความเสียหายต่อเครือข่ายการค้าของคู่แข่งอย่างอังกฤษและดัตช์ในมหาสมุทรอินเดียทำให้ชาวจีนผู้คิดริเริ่มเข้าสวมบทบาทที่ญี่ปุ่นเคยครอบครองในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1630 ในไม่ช้า ชาวจีนโพ้นทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็กลายเป็นผู้ซื้อและผู้ขายที่ขาดไม่ได้แต่เพียงผู้เดียวให้กับบริษัทยุโรปขนาดใหญ่[59] เมื่อถึงคริสต์ทศวรรษ 1700 ชาวจีนโพ้นทะเลเป็นชนกลุ่มน้อยทางการค้าที่ไม่มีใครเทียบได้ในทุกที่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีส่วนสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและความเจริญรุ่งเรืองของภูมิภาค และเป็นตัวเร่งให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาค[60][54][61] การทำให้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นอาณานิคมของมหาอำนาจยุโรปตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 16 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 20 เปิดรับคนเข้าเมืองชาวจีนจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่มาจากจีนตะวันออกเฉียงใต้ ที่ใหญ่ที่สุดคือ ฮักกาจากฝูเจี้ยนและกวางตุ้ง[62] [7] การเพิ่มขึ้นอย่างมากของประชากรชาวจีนโพ้นทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เริ่มขึ้นในช่วงกลางคิรสต์ศตวรรษที่ 18[63] ผู้อพยพออกนอกประเทศชาวจีนจากทางตอนใต้ของจีนตั้งรกรากในกัมพูชา อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย บรูไน และเวียดนาม[35] ในจำนวนนี้บ้างก่อตั้งสาธารณรัฐที่มีเอกสารอย่างดีอย่างน้อยหนึ่งแห่งในฐานะรัฐสาขาในสมัยราชวงศ์ชิง คือ สาธารณรัฐหลานฟาง ซึ่งกินเวลาตั้งแต่ ค.ศ. 1777 ถึง 1884 ประชากรชาวจีนโพ้นทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วหลังจากคอมมิวนิสต์ชนะสงครามกลางเมืองจีน ใน ค.ศ. 1949 ซึ่งบังคับให้ผู้ลี้ภัยจำนวนมากต้องอพยพออกนอกประเทศจีนทำให้เกิดการขยายตัวอย่างรวดเร็วของเครือข่ายไผ่จีนโพ้นทะเล[51][43] [64]

ความถนัดทางเศรษฐกิจ[แก้]

ป้ายร้านทองย่านเยาวราช ไชน่าทาวน์ใหญ่สุดในกรุงเทพมหานคร

ทั่วทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชาวจีนโพ้นทะเลเป็นชนกลุ่มน้อยครอบงำมีอำนาจทางเศรษฐกิจซึ่งมีอิทธิพลไม่ได้สัดส่วนทั่วทั้งภูมิภาคเมื่อเทียบกับประชากรที่มีขนาดเล็ก[65] [66] [67] [16][68] [69] [70] ผู้ประกอบการและนักลงทุนชาวจีนโพ้นทะเลมีบทบาทนำและครองการค้าและอุตสาหกรรมในทุกระดับของสังคม[71] มีประชากรไม่ถึงร้อยละ 10 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คาดว่าชาวจีนโพ้นทะเลจะควบคุมการค้าปลีกในภูมิภาคถึงสองในสาม และถือหุ้นร้อยละ 80 ของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ทั้งหมดตามมูลค่า[28] ร้อยละ 86 ของมหาเศรษฐีพันล้านในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีเชื้อสายจีน[72] [73] สถานภาพชนกลุ่มน้อยของพ่อค้าคนกลาง ไหวพริบทางธุรกิจและการลงทุนที่เฉียบแหลม และความสามารถทางเศรษฐกิจของชาวจีนโพ้นทะเล ทำให้พวกเขาได้รับการขนานนามว่าเป็น " ยิวเอเชียตะวันออกเฉียงใต้"[74] [75] [76] [77] ใน ค.ศ. 1991 ธนาคารโลกประมาณการว่าผลผลิตทางเศรษฐกิจทั้งหมดของชาวจีนโพ้นทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อยู่ที่ประมาณ 400 ล้านเหรียญสหรัฐ และเพิ่มขึ้นเป็น 600 ล้านเหรียญสหรัฐใน ค.ศ. 1996[78] ชาติพันธุ์จีนควบคุม 500 บริษัทใหญ่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยสินทรัพย์มูลค่า 500,000 ล้านเหรียญสหรัฐและสินทรัพย์สภาพคล่องอีก 2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ[79] ชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลควบคุมอุตสาหกรรมที่ก้าวหน้าและร่ำรวยที่สุดในเกือบทุกภูมิภาค รวมทั้งอัญมณียอดมงกุฎทางเศรษฐกิจของภูมิภาคนั้น ๆ ด้วย

ชาวจีนโพ้นทะเลได้รับอำนาจทางเศรษฐกิจมากขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ท่ามกลางนโยบายทุนนิยมปล่อยให้ทำไปที่นักอาณานิคมยุโรปนำมาใช้ซึ่งเอื้อต่อพ่อค้าคนกลางชาวจีน[80] อำนาจทางเศรษฐกิจที่ชาติพันธุ์จีนถือทั่วทั้งเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อรายได้ต่อหัวของภูมิภาค ความมีชีวิตชีวาของผลผลิตทางเศรษฐกิจ และความเจริญรุ่งเรืองโดยรวม อิทธิพลทางเศรษฐกิจอันทรงพลังและอิทธิพลที่ถือครองโดยชาวจีนทำให้คู่แข่งชนกลุ่มใหญ่พื้นเมืองเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต้องยอมสยบทางเศรษฐกิจ[81] ปริมาณอำนาจเศรษฐกิจอย่างไม่ได้สัดส่วนที่ชาวจีนโพ้นทะเลถือครองนำมาซึ่งความเดียดฉันท์และขมข่นต่อธุรกิจชาติพันธุ์จีนในสังคมทุนนิยมตลาดเสรี ช่องว่างความมั่งคั่งมหาศาลและความยากจนในชนพื้นเมืองกลุ่มใหญ่ทำให้เกิดความเป็นปรปักษ์ ความหวาดระแวง และคติต่อต้านจีนซึ่งเป็นการโทษความล้มเหลวในฐานะของตนต่อชาวจีน[82] ชนพื้นเมืองส่วนใหญ่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในหลายประเทศรับมือกับความเหลื่อมล้ำทางความมั่งคั่งนี้โดยการจัดตั้งเผด็จการสังคมนิยมและคอมมิวนิสต์หรือระบอบอำนาจนิยมเพื่อกระจายอำนาจทางเศรษฐกิจให้เท่าเทียมกันมากขึ้นโดยยึดฉวยมาจากชาวจีน รวมทั้งมีให้เอกสิทธิ์การยืนยันสิทธิประโยชน์ (affirmative action) แก่ชนกลุ่มใหญ่พื้นเมืองเป็นอันดับแรก และมีการกำหนดการเลือกปฏิบัติต่อชนกลุ่มน้อยจีนเพื่อให้มีสมดุลอำนาจเศรษฐกิจที่เป็นธรรมมากขึ้น[83] [84] [85]

วิกฤตการณ์การเงินในทวีปเอเชีย ค.ศ. 1997[แก้]

รัฐบาลที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์การเงินในทวีปเอเชีย ค.ศ. 1997 ริเริ่มกฎหมายควบคุมการซื้อขายโดยใช้ข้อมูลวงใน นำไปสู่การเสียตำแหน่งผูกขาดจำนวนมากที่ถือครองโดยอภิชนธุรกิจชาติพันธุ์จีนมาอย่างยาวนาน และทำให้อิทธิพลของเครือข่ายไผ่อ่อนแอลง[86] หลังวิกฤต ความสัมพันธ์ทางธุรกิจมักขึ้นอยู่กับสัญญามากขึ้นแทนความไว้วางใจและสายสัมพันธ์ทางครอบครัวของเครือข่ายไผ่แบบเดิม[87]

คริสต์ศตวรรษที่ 21[แก้]

หลังจากการปฏิรูปเศรษฐกิจจีน ที่ริเริ่มโดย เติ้ง เสี่ยวผิง ในคริสต์ทศวรรษ 1980 ธุรกิจต่าง ๆ ที่มีชาวจีนพลัดถิ่นเป็นเจ้าของเริ่มพัฒนาความสัมพันธ์กับบริษัทต่าง ๆ ที่ตั้งอยู่ในจีนแผ่นดินใหญ่ องค์ประกอบหลักของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจีนกับชาวจีนโพ้นทะเลคือเศรษฐกิจ เนื่องจากชาวจีนโพ้นทะเลเป็นแหล่งลงทุนและเงินทุนที่สำคัญสำหรับเศรษฐกิจจีน[19] ชาวจีนโพ้นทะเลควบคุมเงินสดหรือสินทรัพย์สภาพคล่องสูงถึง 2 ล้านล้านดอลลาร์ในภูมิภาคและมีความมั่งคั่งจำนวนมากเพื่อกระตุ้นความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจของจีนที่กำลังเติบโต[73] ชาวจีนโพ้นทะเลยังเป็นนักลงทุนโดยตรงรายใหญ่ที่สุดในจีนแผ่นดินใหญ่[88] ธุรกิจเครือข่ายไผ่ได้จัดตั้งบริษัทร่วมทุนกว่า 100,000 แห่ง และลงทุนมากกว่า 50,000 ล้านดอลลาร์ในประเทศจีน โดยได้รับอิทธิพลจากชาติพันธุ์ วัฒนธรรม และภาษาร่วมกัน[89] [90] ชาวจีนโพ้นทะเลยังมีบทบาทสำคัญในความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจของจีนแผ่นดินใหญ่ ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างจีนแผ่นดินใหญ่กับชาวจีนพลัดถิ่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้นยอดเยี่ยมและส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดอันเนื่องมาจากบรรพบุรุษร่วมกัน ตลอดจนยึดมั่นในจริยธรรมและค่านิยมแบบจีนดั้งเดิม [91] ชาวจีนโพ้นทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมกันควบคุมมูลค่าเศรษฐกิจ 7 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ด้วยความมั่งคั่งรวม 3.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่จัดหาเงินทุนให้โครงการลงทุนต่างประเทศร้อยละ 80 ของจีนแผ่นดินใหญ่[45][44] นับตั้งแต่เข้าสู่คริสต์ศตวรรษที่ 21 เอเชียตะวันออกเฉียงใต้หลังอาณานิคมได้กลายเป็นเสาหลักที่สำคัญของเศรษฐกิจจีนโพ้นทะเลระหว่างประเทศ[20] นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงของจีนแผ่นดินใหญ่สู่มหาอำนาจเศรษฐกิจโลก ในคริสต์ศตวรรษที่ 21 ได้นำไปสู่การพลิกกลับในความสัมพันธ์นี้ เพื่อลดการพึ่งพาหลักทรัพย์กระทรวงการคลังสหรัฐ รัฐบาลจีนหันไปมุ่งเน้นการลงทุนต่างประเทศผ่านรัฐวิสาหกิจแทน ลัทธิคุ้มกันในสหรัฐทำให้บริษัทจีนหาซื้อสินทรัพย์อเมริกันได้ยากขึ้น และยิ่งเสริมความเข้มแข็งต่อบทบาทของเครือข่ายไผ่ในฐานะผู้รับการลงทุนจากจีนที่สำคัญ

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Pablos, Patricia (2008). The China Information Technology Handbook. Springer. p. 204.
  2. Cheung, Gordon C. K.; Gomez, Edmund Terence (Spring 2012). "Hong Kong's Diaspora, Networks, and Family Business in the United Kingdom: A History of the Chinese "Food Chain" and the Case of W. Wing Yip Group". China Review. Chinese University Press. 12 (1): 48. ISSN 1680-2012. JSTOR 23462317. Chinese firms in Asian economies outside mainland China have been so prominent that Kao coined the concept of "Chinese Commonwealth" to describe the business networks of this diaspora.
  3. 3.0 3.1 3.2 Richter, Frank-Jürgen (1999). Business Networks in Asia: Promises, Doubts, and Perspectives. Praeger. p. 152. ISBN 978-1567203028.
  4. 4.0 4.1 Weidenbaum, Murray L.; Hughes, Samuel (1 January 1996). The Bamboo Network: How Expatriate Chinese Entrepreneurs are Creating a New Economic Superpower in Asia. Martin Kessler Books, Free Press. pp. 4–5. ISBN 978-0-684-82289-1.
  5. 5.0 5.1 Richter, Frank-Jurgen (2002). Redesigning Asian Business: In the Aftermath of Crisis. Quorum Books. p. 83. ISBN 978-1567205251.
  6. Landa, Janet Tai (2016). Economic Success of Chinese Merchants in Southeast Asia: Identity, Ethnic Cooperation and Conflict. Springer. pp. 3–9. ISBN 978-3642540189.
  7. 7.0 7.1 Ahlstrom, David; Bruton, Garry (2009). International Management: Strategy and Culture in the Emerging World. Southwestern College Publishing (ตีพิมพ์ March 3, 2009). p. 172. ISBN 978-0324406313.
  8. Suryadinata, Leo (2017). The Rise of China and the Chinese Overseas: A Study of Beijing's Changing Policy in Southeast Asia and Beyond. Iseas-Yusof Ishak Institute (ตีพิมพ์ January 25, 2017). p. 18. ISBN 978-9814762649.
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 Weidenbaum, Hughes (1996), p. 24.
  10. Safarian, A.E.; Dobson, Wendy (1997). The People Link: Human Resource Linkages Across The Pacific. University of Toronto Press. ISBN 978-0802042996.
  11. Folk, Brian C.; Jomo, K. S. (2003). Ethnic Business: Chinese Capitalism in Southeast Asia (1st ed.). Routledge (ตีพิมพ์ September 1, 2003). pp. 26–29. ISBN 978-0415310116.
  12. Chua (2003), p. 37.
  13. Chua (2003), p.6.
  14. Chua (2003), p. 179.
  15. Unger, Danny (1998). Building Social Capital in Thailand: Fibers, Finance and Infrastructure. Cambridge University Press. pp. 47–48. ISBN 978-0521639316.
  16. 16.0 16.1 Chua, Amy L. (January 1, 1998). "Markets, Democracy, and Ethnicity: Toward A New Paradigm For Law and Development". The Yale Law Journal. 108: 21–22.
  17. Hays, Jeffrey (June 15, 2015). "Chinese in Cambodia After the Khmer Rouge". Facts and Details.
  18. Chua, Amy (2003). World On Fire. Knopf Doubleday Publishing. pp. 35–42. ISBN 978-0385721868.
  19. 19.0 19.1 19.2 19.3 Hudson, Christopher (1997). The China Handbook. Routledge. ISBN 978-1884964886.
  20. 20.0 20.1 Slezkine, Yuri (2004). The Jewish Century. Princeton University Press. p. 33.
  21. Yen, Ching-Hwang (2008). The Chinese In Southeast Asia And Beyond, The: Socioeconomic And Political Dimensions: Socioeconomic and Political Dimensions. World Scientific Publishing. p. 326. ISBN 978-9812790477.
  22. Pablos (2008), p. 205.
  23. Yen (2008), p. 325.
  24. 24.0 24.1 24.2 Richter (2002), p. 84.
  25. Weidenbaum, Hughes (1996), p. 4.
  26. Richter (2002), p. 180.
  27. Richter (2002), p. 15.
  28. 28.0 28.1 Richter (2002), p. 85.
  29. Richter (2002), p. 12–13.
  30. Murray Weidenbaum (1 September 2005). One-Armed Economist: On the Intersection of Business And Government. Transaction Publishers. pp. 264–265. ISBN 978-1-4128-3020-1. สืบค้นเมื่อ 30 May 2013.
  31. Weidenbaum, Murray (2012). The Dynamic American Firm. Springer (ตีพิมพ์ February 10, 2012). p. 80. ISBN 978-1461313144.
  32. Paz Estrella Tolentino (2007). H. W-C Yeung (บ.ก.). Handbook of Research on Asian Business. Edward Elgar Publishing. p. 412. ISBN 978-1-84720-318-2.
  33. "Templates of "Chineseness" and Trajectories of Cambodian Chinese Entrepreneurship in Phnom Penh*". Vrije Universiteit Amsterdam. p. 68. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-16. สืบค้นเมื่อ 2021-06-12.
  34. Pablos (2008), p. 201
  35. 35.0 35.1 Weidenbaum, Hughes (1996), pp. 23–28
  36. "Templates of "Chineseness" and Trajectories of Cambodian Chinese Entrepreneurship in Phnom Penh*". Vrije Universiteit Amsterdam. pp. 78 & 90. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-16. สืบค้นเมื่อ 2021-06-12.
  37. "Templates of "Chineseness" and Trajectories of Cambodian Chinese Entrepreneurship in Phnom Penh*". Vrije Universiteit Amsterdam. p. 68. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-16. สืบค้นเมื่อ 2021-06-12.
  38. Santasombat, Yos (2017). Chinese Capitalism in Southeast Asia: Cultures and Practices. Palgrave Macmillan. p. 9. ISBN 978-9811046957.
  39. Yos (2017), pp. 14-17.
  40. Yos, (2017), p. 1.
  41. Yos (2017), p. 9.
  42. Joint Economic Committee Congress of the United States (1997). China's Economic Future: Challenges to U.S.Policy (Studies on Contemporary China). Routledge. p. 427. ISBN 978-0765601278.
  43. 43.0 43.1 43.2 Joint Economic Committee Congress of the United States (1997). China's Economic Future: Challenges to U.S. Policy (Studies on Contemporary China). Routledge. p. 428. ISBN 978-0765601278.
  44. 44.0 44.1 Yu, Bin; Chung, Tsungting (1996). Dynamics and Dilemma: Mainland, Taiwan and Hong Kong in a Changing World. Nova Science Publishing Inc (ตีพิมพ์ September 1, 1996). p. 80. ISBN 978-1560723035.
  45. 45.0 45.1 April, K.; Shockley, M. (2007). Diversity: New Realities in a Changing World. Palgrave Macmillan (ตีพิมพ์ February 6, 2007). p. 169. ISBN 978-0230001336.
  46. Lhatoo, Yonden. "Paywall down as Alibaba takes ownership of SCMP". scmp.com. South China Morning Post. สืบค้นเมื่อ 12 December 2019.
  47. Yeung, Henry Wai-Chung (2005). Chinese Capitalism in a Global Era: Towards a Hybrid Capitalism. Routledge. p. 16. ISBN 978-0415309899.
  48. Chua, (2003), p. 37.
  49. Cheeseman, Nic; Whitfield, Lindsay; Death, Carl (2017). The African Affairs Reader: Key Texts in Politics, Development, and International Relations. Oxford University Press (ตีพิมพ์ June 24, 2017). p. 151. ISBN 978-0198794288.
  50. Richter (1999), pp. 179–180.
  51. 51.0 51.1 Weidenbaum, Hughes (1996), p. 8.
  52. Chua (1998), pp. 31-32.
  53. 53.0 53.1 Chua, (2003), p. 31.
  54. 54.0 54.1 Yeung, H.; Olds, K. (1999). The Globalisation of Chinese Business Firms. Palgrave Macmillan. p. 5. ISBN 978-0333716298.
  55. Mabbett, Hugh; Somers Heidhues, Mary F. (1992). The Chinese of South East Asia. Minority Rights Group (ตีพิมพ์ December 3, 1992). p. 1. ISBN 978-0946690992.
  56. Rae, I.; Witzel, M. (2016). The Overseas Chinese of South East Asia: History, Culture, Business. Palgrave Macmillan (ตีพิมพ์ January 29, 2016). p. 3. ISBN 978-1349543045.
  57. Chua, Amy L. (2000). "The Paradox of Free-Market Democracy: Indonesia and the Problems Facing Neoliberal Reform" (PDF): 7. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  58. Chua, 1998), p. 32.
  59. Reid, Anthony; Chirot, Daniel (1997). Essential Outsiders: Chinese and Jews in the Modern Transformation of Southeast Asia and Central Europe. University of Washington Press. p. 41. ISBN 978-0295976136.
  60. Reid, Anthony; Chirot, Daniel (1997). Essential Outsiders: Chinese and Jews in the Modern Transformation of Southeast Asia and Central Europe. University of Washington Press. p. 41. ISBN 978-0295976136.
  61. Yeung, Henry Wai-Chung (2005). Chinese Capitalism in a Global Era: Towards a Hybrid Capitalism. Routledge. p. 11. ISBN 978-0415309899.
  62. Gail, Timothy (2009). Hobby, Jeneen (บ.ก.). Worldmark Encyclopedia of Cultures and Daily Life. Vol. 3 (2nd ed.). Gale / Cengage Learning (ตีพิมพ์ May 1, 2009). p. 297. ISBN 978-1414448923.
  63. Chen, Min (2004). Asian Management Systems: Chinese, Japanese and Korean Styles of Business. International Thomson Business. pp. 58–59. ISBN 978-1861529411.
  64. Chen, Min (2004). Asian Management Systems: Chinese, Japanese and Korean Styles of Business. International Thomson Business. p. 59. ISBN 978-1861529411.
  65. Buzan, Barry; Foot, Rosemary (2004). Does China Matter?: A Reassessment: Essays in Memory of Gerald Segal. Routledge (ตีพิมพ์ May 10, 2004). p. 82. ISBN 978-0415304122.
  66. Ahlstrom, David; Bruton, Garry D. (2009). International Management: Strategy and Culture in the Emerging World. Southwestern College Publishing (ตีพิมพ์ March 3, 2009). p. 172. ISBN 978-0324406313.
  67. Rae, I.; Witzel, M. (2016). The Overseas Chinese of South East Asia: History, Culture, Business. Palgrave Macmillan (ตีพิมพ์ January 29, 2016). pp. 1–2. ISBN 978-1349543045.
  68. Chua, Amy (2003). World On Fire. Knopf Doubleday Publishing. pp. 6. ISBN 978-0385721868.
  69. Chua (2003), p. 47.
  70. Kettell, Collin (July 7, 2015). "Robert Kiyosaki: Biggest Stock Market Crash in History Coming in 2016". Kitco. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-26. สืบค้นเมื่อ 2021-06-12.
  71. Chua, (2003), p. 6.
  72. Bert, Wayne (2003). The United States, China and Southeast Asian Security: A Changing of the Guard?. Palgrave Macmillan. p. 123. ISBN 978-0333995655.
  73. 73.0 73.1 Drucker, Peter F. (2006). Innovation and Entrepreneurship. Harper Business. p. 249. ISBN 978-0060851132.
  74. Kim, Kwang Chung (1999). Koreans in the Hood: Conflict with African Americans. Johns Hopkins University Press. p. 131. ISBN 978-0801861048.
  75. Tenenbaum, Shelly (1993). A Credit to Their Community: Jewish Loan Societies in the United States. Wayne State University Press. p. 19. ISBN 978-0814322871.
  76. Geller, Jay (2011). The Other Jewish Question: Identifying the Jew and Making Sense of Modernity. Fordham University Press. pp. 62–64. ISBN 978-0823233625.
  77. Sowell, Thomas (2006). Black Rednecks & White Liberals: Hope, Mercy, Justice and Autonomy in the American Health Care System. Encounter Books. p. 84. ISBN 978-1594031434.
  78. Tong, Chee-Kiong (2014). Chinese Business: Rethinking Guanxi and Trust in Chinese Business Networks. Springer. p. 3. ISBN 978-9814451840.
  79. Tong, Chee-Kiong (2016). Chinese Business: Rethinking Guanxi and Trust in Chinese Business Networks. Springer. pp. 2–3. ISBN 978-9811011726.
  80. "Templates of "Chineseness" and Trajectories of Cambodian Chinese Entrepreneurship in Phnom Penh*". Vrije Universiteit Amsterdam. p. 70. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-16. สืบค้นเมื่อ 2021-06-12.
  81. Chua (2003), pp. 37-38.
  82. Chua (2003), pp. 37-47.
  83. Chua (2003), pp. 179-183.
  84. Gomez, Edmund (2012). Chinese business in Malaysia. Routledge. p. 105. ISBN 978-0415517379.
  85. Gambe, Annabelle (2000). Overseas Chinese Entrepreneurship and Capitalist Development in Southeast Asia. Palgrave Macmillan. pp. 26–27. ISBN 978-0312234966.
  86. Yeung, Henry. "Change and Continuity in SE Asian Ethnic Chinese Business" (PDF). Department of Geography, National University of Singapore. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-07-31. สืบค้นเมื่อ 2021-06-12.
  87. Min Chen (2004). Asian Management Systems: Chinese, Japanese and Korean Styles of Business. Cengage Learning EMEA. p. 205. ISBN 978-1-86152-941-1.
  88. Gambe, Annabelle (2000). Overseas Chinese Entrepreneurship and Capitalist Development in Southeast Asia. Palgrave Macmillan. p. 9. ISBN 978-0312234966.
  89. Quinlan, Joe (November 13, 2007). "Insight: China's capital targets Asia's bamboo network". Financial Times.
  90. Weidenbaum, Hughes (1996), p. 27.
  91. Rae, I.; Witzel, M. (2016). The Overseas Chinese of South East Asia: History, Culture, Business. Palgrave Macmillan (ตีพิมพ์ January 29, 2016). pp. 1–3. ISBN 978-1349543045.

บทอ่านเพิ่มเติม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]