ข้ามไปเนื้อหา

เขตอัครบิดรสากล

พิกัด: 41°01′45″N 28°57′06″E / 41.02917°N 28.95167°E / 41.02917; 28.95167
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เขตอัครบิดรสากล
ตราประจำตำแหน่งอัครบิดรสากล
กลุ่มอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์
ความโน้มเอียงกรีกออร์ทอดอกซ์
คัมภีร์เซปตัวจินต์, พันธสัญญาใหม่
เทววิทยาอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์
แผนการปกครองอิปิสโคปัล
ประมุขอัครบิดรแห่งคอนสแตนติโนเปิล
บิชอป125 (ในตำแหน่ง 73, เกียรตินาม 52)
แพริช525 (ในสหรัฐ)[1]
นักพรต~1,800 (เขาแอทอส)
อาราม20 (สหรัฐ)[1] 20 (เขาแอทอส), 8 (ออสเตรเลีย), 6 (เมเตโอรา)
ภาษาภาษากรีก, ภาษาอังกฤษ, ภาษายูเครน, ภาษาฝรั่งเศส, ภาษาเกาหลี, ภาษาตุรกี
ศูนย์กลางอาสนวิหารนักบุญจอร์จ (อิสตันบูล)
41°01′45″N 28°57′06″E / 41.02917°N 28.95167°E / 41.02917; 28.95167
อาณาเขตอิสตันบูล ส่วนใหญ่ของตุรกี เขาแอทอส ครีต ประเทศกรีซตอนเหนือ โดเดคะนีส ประเทศเกาหลี
ผู้ก่อตั้งนักบุญอันดรูว์
เอกราชค.ศ. 330 จากเขตมุขนายกมหานครเฮราเคลีย
แยกออกหลายครั้ง§ Present-day autocephalous churches previously under the Ecumenical Patriarchate
คริสตจักรอัครทูตอาร์มีเนีย[2]
สมาชิก~5,000 in Turkey,[3][4] ~3,800,000 in Greece, ~1,500,000 in diaspora, =5,305,000 in total .
เว็บไซต์ทางการec-patr.org

เขตอัครบิดรสากล (กรีก: Οικουμενικό Πατριαρχείο; อังกฤษ: Ecumenical Patriarchate) เป็นเขตปกครองของอัครบิดรแห่งคอนสแตนติโนเปิลและเป็นศูนย์กลางคริสตจักรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ทั่วโลก

เขตอัครบิดรสากลมีหน้าที่อภิบาลและเผยแผ่ความเชื่อดั้งเดิมของคริสตจักรโดยไม่จำกัดชาติและภูมิภาค เชื้อชาติและภาษา คริสตชนออร์ทอดอกซ์ที่ไม่ได้สังกัดคริสตจักรย่อมถือว่าอยู่ในสังกัดเขตอัครบิดรสากล[5]

ประวัติ

[แก้]

คริสตชนออร์ทอดอกซ์เชื่อว่านักบุญอันดรูว์เป็นผู้ก่อตั้งคริสตจักรขึ้นในเมืองนี้ ต่อมาจักรพรรดิคอนสแตนตินมหาราชสถาปนาบริเวณนี้ขึ้นเป็นนครคอนสแตนติโนเปิล ให้เป็นราชธานีแห่งใหม่ของจักรวรรดิโรมันแทนกรุงโรม ทำให้บิชอปแห่งคอนสแตนติโนเปิลเป็นตำแหน่งที่มีความสำคัญมากขึ้นและยกสถานะเป็นอาร์ชบิชอป ในปี ค.ศ. 381 สภาสังคายนาคอนสแตนติโนเปิลครั้งที่หนึ่งกำหนดให้บิชอปแห่งคอนสแตนติโนเปิลมีศักดิ์รองจากบิชอปแห่งโรม ต่อมาในปี ค.ศ. 451 สภาสังคายนาแคลซีดันจึงกำหนดให้บิชอปแห่งโรมและบิชอปแห่งคอนสแตนติโนเปิลมีศักดิ์เสมอกัน จนกระทั่งราวปี ค.ศ. 587-8 จักรพรรดิเมาริกิอุสจึงพระราชทานสมัญญา "อัครบิดรสากล" แก่อาร์ชบิชอปยอห์นที่ 4 แห่งคอนสแตนติโนเปิลเป็นองค์แรก[6]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Krindatch, Alexei (2011). Atlas of American Orthodox Christian Churches. Brookline, MA: Holy Cross Orthodox Press. p. 143. ISBN 978-1-935317-23-4.
  2. Panossian, Razmik (2006). The Armenians: From Kings and Priests to Merchants and Commissars. New York: Columbia University Press. pp. 43–44. ISBN 9780231139267. The Armenian Apostolic Church formally became autocephalous—i.e. independent of external authority—in 554 by severing its links with the patriarchate of Constantinople.
  3. https://web.archive.org/web/20201022131931/https://www.dw.com/en/christians-in-turkey-are-second-class-citizens/a-17619847
  4. https://web.archive.org/web/20190626131739/https://journals.openedition.org/assr/27027
  5. "Ecumenical Patriarchate". The Ecumenical Patriarchate of Constantinople. 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-14. สืบค้นเมื่อ 14 พฤษภาคม 2021.
  6. "St John the Faster the Patriarch of Constantinople", Orthodox Church in America