เขตการปกครองของประเทศเบลเยียม

ภาษาดัตช์ | ภาษาฝรั่งเศส | |
ภาษาเยอรมัน | ทวิภาษา (ดัตช์/ฝรั่งเศส) | |
ชุมชน | เขต | |
---|---|---|
เฟลมิช | เฟลมิช (ฟลานเดอร์) | |
เมืองหลวง (บรัสเซลส์) | ||
ฝรั่งเศส | ||
วัลลูน (วาโลเนีย) | ||
เยอรมัน |
การแบ่งเขตการปกครองของประเทศเบลเยียม นั้นมีลักษณะการปกครองโดยรัฐบาลกลาง (แบบสหพันธรัฐ) อันประกอบด้วย 3 ชุมชน (Community), 3 เขต (Region) และ 4 เขตภาษา (Language area) ซึ่งทั้งสามแบบนี้ประกอบรวมกันเป็นประเทศเบลเยียม ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรเบลเยียมปีค.ศ. 1970[1] และต่อมาในช่วงเปลี่ยนผ่านในยุคคริสต์ทศวรรษที่ 1980 ได้มีการเปลี่ยนการปกครองแบบรัฐเดี่ยวเป็นสหพันธรัฐ โดยประกอบด้วย รัฐบาลกลาง, รัฐบาลเขต และรัฐบาลชุมชน โดยหลักการนี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นการลดความตึงเครียดด้านความแตกต่างทางภาษา วัฒนธรรม สังคม และเศรษฐกิจโดยรวม[2]
เนื้อหา
เขตการปกครอง[แก้]
เขตเฟลมิช (ฟลานเดอร์) และเขตวัลลูน (วาโลเนีย) นั้นถูกแบ่งย่อยลงเป็นเขตละ 5 มณฑล (province) ส่วนเขตที่สาม ได้แก่ เขตเมืองหลวงบรัสเซลส์ นั้นมิได้มีฐานะเป็นมณฑล และไม่มีเขตย่อยเป็นมณฑลเช่นกัน โดยรวมทั้งหมดในประเทศเบลเยียมแบ่งการปกครองย่อยเป็น 589 เขตเทศบาลหรือคอมมูน (municipality) ซึ่งในแต่ละเขตเทศบาลนั้นจะแบ่งย่อยลงได้อีกเป็นเขตเทศบาลย่อยๆ (sub-municipality) จำนวนหลายเขตรวมกัน
ชุมชน, เขต, เขตภาษา, เทศบาล, และมณฑล ทั้งห้าหน่วยล้วนเป็นองค์ประกอบทางการปกครองหลักในระดับชาติของเบลเยียมตามที่ระบุในรัฐธรรมนูญ ส่วนการแบ่งการปกครองที่สำคัญน้อยลงมาได้แก่ เขตเทศบาลร่วม (intra-municipal districts), เขตปกครอง (administrative arrondissements), เขตเลือกตั้งและเขตตุลาการ (electoral and judicial arrondissements), เขตตำรวจ (police districts), และล่าสุดทีมีการก่อตั้งคือ เขตตำรวจเทศบาลร่วม (inter-municipal police zones) ซึ่งอยู่ในระดับย่อยลงไปของเขตตำรวจ
ทั้งหมดทุกระดับการปกครองนั้นล้วนถูกแบ่งตามเขตทางภูมิศาสตร์ ได้แก่ เขตภาษา, ชุมชน, เขต, มณฑล และเทศบาล โดยเขตภาษานั้นจะไม่มีอำนาจทางการปกครองเพียงแต่เป็นตัวช่วยการแบ่งเขตการปกครองได้ง่ายขึ้น ส่วนชุมชนนั้นก็มีการแบ่งแยกตามภูมิศาสตร์ โดยแบ่งจากภาษาและลักษณะทางวัฒนธรรมและสังคมที่คล้ายคลึงกัน (มิใช่การแบ่งจำแนกบุคคลหรือประชากรเป็นพวกๆเท่านั้น) อย่างไรก็ตาม ไม่มีการแบ่งสัญชาติย่อยตามเขตหรือชุมชนในเบลเยียม
ในแต่ละชุมชนจะมีอาณาเขตตามที่ระบุไว้ตามกฎหมายเพื่อสามารถใช้ปกครองในบางระดับ โดย ชุมชนเฟลมิช จะมีอำนาจตามกฎหมายที่ให้อำนาจไว้เฉพาะภายในเขตภาษาดัตช์ (ซึ่งตรงกับเขตเฟลมิช (ฟลานเดอร์)), เขตทวิภาษาบริเวณเขตเมืองหลวงบรัสเซลส์, ชุมชนฝรั่งเศสในเบลเยียมจะมีสิทธิตามกฎหมายภายในเขตที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสเท่านั้น โดยมีอาณาเขตในเขตวัลลูนรวมทั้งเขตทวิภาษาในเขตเมืองหลวงบรัสเซลส์ และชุมชนผู้พูดภาษาเยอรมันแห่งเบลเยียมจะมีอำนาจในบริเวณที่ใช้ภาษาเยอรมันเป็นภาษาหลัก ได้แก่อาณาเขตเล็กๆที่มีพรมแดนติดกับประเทศเยอรมนี ภายในมณฑลลีแยฌ ในเขตวัลลูน
เขตทั้งสามในเบลเยียมได้แก่:
ชุมชนทั้งสามได้แก่:
- ชุมชนเฟลมิช (ดัตช์: Vlaamse Gemeenschap, อังกฤษ: Flemish Community) สำหรับเขตที่ใช้ภาษาดัตช์เป็นหลัก
- ชุมชนฝรั่งเศสในเบลเยียม (ฝรั่งเศส: Communauté Française, อังกฤษ: French Community) สำหรับเขตที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นหลัก
- ชุมชนผู้พูดภาษาเยอรมันแห่งเบลเยียม (เยอรมัน: Deutschsprachige Gemeinschaft, อังกฤษ: German-speaking Community) สำหรับเขตที่ใช้ภาษาเยอรมันเป็นหลัก
เขตภาษาทั้งสี่ได้แก่:
- เขตภาษาดัตช์
- เขตทวิภาษาบรัสเซลส์
- เขตภาษาฝรั่งเศส
- เขตภาษาเยอรมัน (ซึ่งมีที่อำนวยความสะดวกทางภาษาสำหรับผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศส)
ชุมชน[แก้]
เขตชุมชน | ชุมชนเฟลมิช | ชุมชนฝรั่งเศส | ชุมชนผู้พูดภาษาเยอรมัน |
ชื่อในภาษาดัตช์ | ![]() |
![]() |
![]() |
ชื่อในภาษาฝรั่งเศส | (Communauté flamande) | Communauté française | (Communauté germanophone) |
ชื่อในภาษาเยอรมัน | (Flämische Gemeinschaft) | (Französische Gemeinschaft) | Deutschsprachige Gemeinschaft |
ที่ตั้ง | ![]() |
![]() |
![]() |
ธง | ![]() |
![]() |
![]() |
เมืองหลวง | บรัสเซลส์ (ร่วมกับเขตเฟลมิช) |
บรัสเซลส์ | เออเปิน |
ประธาน | คริส พีเตอร์ส (รายนาม) (ร่วมกับเขตเฟลมิช) |
รูดี เดอมอตต์ (รายนาม) | คาล-ไฮนซ์ ลัมแบรตซ์ (รายนาม) |
เว็บไซต์ | www.flanders.be | www.cfwb.be | www.dglive.be |
เขต[แก้]
เขต | เขตเฟลมิช | เขตวัลลูน | เขตเมืองหลวงบรัสเซลส์ |
ชื่อในภาษาดัตช์ | ![]() |
![]() |
![]() |
ชื่อในภาษาฝรั่งเศส | (Région flamande) | Région wallonne | Région de Bruxelles-Capitale |
ชื่อในภาษาเยอรมัน | (Flämische Region) | Wallonische Region | (Region Brüssel-Hauptstadt) |
ที่ตั้ง | ![]() |
![]() |
![]() |
ธง | ![]() |
![]() |
![]() |
เมืองหลวง | บรัสเซลส์ | นามูร์ | บรัสเซลส์ |
ISO 3166-2:BE | VLG | WAL | BRU |
พื้นที่ | 13,522 ตร.กม. (44.29% ของประเทศ) |
16,844 ตร.กม. (55.18% ของประเทศ) |
161 ตร.กม. (0.53% ของประเทศ) |
มณฑล | แอนต์เวิร์ป ลิมเบิร์ก เฟลมิชบราบันต์ ฟลานเดอร์ตะวันออก ฟลานเดอร์ตะวันตก |
แอโน วัลลูนบราบันต์ นามูร์ ลีแยฌ ลักเซมเบิร์ก |
ไม่มี |
เขตเทศบาล | 308 | 262 | 19 |
ประชากร | 6,078,600 [2006][3] (58% ของประเทศ) |
3,413,978 [2006][3] (32% ของประเทศ) |
1,018,804 [2006][3] (10% ของประเทศ) |
ความหนาแน่นประชากร | 442/ตร.กม. | 199/ตร.กม. | 6,238/ตร.กม. |
ประธาน | คริส พีเตอร์ส (รายนาม) | รูดี เดอมอตต์ (รายนาม) | ชาลส์ ปิกเก (รายนาม) |
เว็บไซต์ | flanders.be | wallonie.be/ | www.brussels.irisnet.be |
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "Als goede buren– Vlaanderen en de taalwetgeving– Taalgrens en taalgebieden" (in Dutch). Vlaanderen.be. สืบค้นเมื่อ 2007-07-10. External link in
|publisher=
(help) - ↑ "Politics — State structure". Flanders.be. Flemish Government. Archived from the original on 2007-09-27. สืบค้นเมื่อ 2007-05-24.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 "Structuur van de bevolking – België / Brussels Hoofdstedelijk Gewest / Vlaams Gewest / Waals Gewest (2000-2006)" (in ดัตช์). FOD/SPF Economie (Federal Government Service Economy)– Algemene Directie Statistiek en Economische Informatie. 2007. Archived from the original (asp) on 2007-04-29. สืบค้นเมื่อ 2007-05-08.
|