สภาแคว้นนครหลวงบรัสเซลส์

พิกัด: 50°50′41″N 4°21′5″E / 50.84472°N 4.35139°E / 50.84472; 4.35139
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

50°50′41″N 4°21′5″E / 50.84472°N 4.35139°E / 50.84472; 4.35139

สภาแคว้นนครหลวงบรัสเซลส์

Parlement de la Région de Bruxelles-Capitale  (ฝรั่งเศส)
Parlement van het Brussels Hoofdstedelijk Gewest  (ดัตช์)
สัญลักษณ์สภา
ประเภท
ประเภท
ผู้บริหาร
ประธาน
ราชีด มาดราน, พรรคสังคมนิยม (เบลเยียม)
ตั้งแต่ 18 กรกฎาคม ค.ศ. 2019
โครงสร้าง
สมาชิก89 คน
72 คน จากกลุ่มภาษาฝรั่งเศส
17 คน จากกลุ่มภาษาดัตช์
Belgium Brussels Brussels Capital Region Parliament 2019.svg
กลุ่มการเมือง
ฝ่ายรัฐบาล (47)
  •   พรรคสังคมนิยม (16)
  •   เอโกโล (15)
  •   เดฟี (10)
  •   ครุน (4)
  •   พรรคสังคมนิยมเฟลมิช

ฝ่ายค้าน (42)

  •   ขบวนการปฏิรูป (13)
  •   พรรคแรงงานเบลเยียม (11)
  •   ศูนย์ประชาธิปไตยมนุษยนิยม (6)
  •   พันธมิตรเฟลมิชใหม่ (3)
  •   ฟลามส์เบอลัง (1)
  •   ประชาธิปไตยคริสเตียนและเฟลมิช (1)
  •   อาโกรา (1)
  •   อิสระ (2)
ระยะวาระ
5 ปี
การเลือกตั้ง
การเลือกตั้งครั้งล่าสุด
26 พฤษภาคม ค.ศ. 2019
การเลือกตั้งครั้งหน้า
ค.ศ. 2024
ที่ประชุม
Brussels Parliament building (2).jpg
อาคารสภาบรัสเซลส์ บรัสเซลส์
เว็บไซต์
www.parlbruparl.irisnet.be

สภาแคว้นนครหลวงบรัสเซลส์[1][2] (ฝรั่งเศส: Parlement de la Région de Bruxelles-Capitale; ดัตช์: Parlement van het Brussels Hoofdstedelijk Gewest) เป็นฝ่ายนิติบัญญัติของแคว้นนครหลวงบรัสเซลส์ ซึ่งเป็นหนึ่งในสามแคว้นในประเทศเบลเยียม โดยนิยมเรียกอย่างสั้น ๆ ว่า สภาบรัสเซลส์ (ฝรั่งเศส: Parlement Bruxellois; ดัตช์: Brussels Hoofdstedelijk Parlement)

บทบาทหน้าที่[แก้]

บทบาทของสภาบรัสเซลส์นั้นโดยหลักอยู่ที่การกำกับดูแลแคว้นนครหลวงบรัสเซลส์ รวมถึงการผ่านงบประมาณ ยกร่างและผ่านร่างกฎหมายที่ใช้บังคับภายในแคว้น เช่น เทศบัญญัติหรือกฎต่าง ๆ ที่มีผลบังคับใช้ตามกฎหมาย โดยหน้าที่แรกหลังจากสมัยเลือกตั้งสมาชิกสภานั้นคือการแต่งตั้งรัฐมนตรี (ฝรั่งเศส: ministre; ดัตช์: minister) จำนวน 5 ตำแหน่ง และรัฐมนตรีช่วย (ฝรั่งเศส: secrétaire d'État; ดัตช์: staatssecretaris) จำนวน 3 ตำแหน่ง ซึ่งรวมกันเป็นคณะรัฐมนตรีแห่งแคว้นนครหลวงบรัสเซลส์

สภาบรัสเซลส์มีหน้าที่กำกับดูแลคณะรัฐมนตรีทั้งคณะได้โดยผ่านกลไกการตรวจสอบจากการอภิปรายลงมติไม่ไว้วางใจเป็นรายคณะ หรือรายบุคคล อย่างไรก็ตามตามกฎหมายแล้วไม่สามารถทำการยุบสภาได้ก่อนครบกำหนดวาระ 5 ปี ดังนั้นจึงทำให้การอภิปรายไม่ไว้วางใจนั้นมีไว้เพียงเพื่อให้ข้อเสนอแนะ โดยสภาจะต้องทำการคัดเลือกผู้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีทั้งคณะใหม่ หรือเป็นรายบุคคลแทน

สมาชิกสภาบรัสเซลส์นั้นประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 89 คน โดยแบ่งเป็นสองกลุ่มย่อย ได้แก่ กลุ่มที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสจำนวน 72 คน และกลุ่มที่ใช้ภาษาดัตช์จำนวน 17 คน สมาชิกในกลุ่มที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสนั้นยังประกอบกันเป็น "สภาผู้ใช้ภาษาฝรั่งเศสในบรัสเซลส์" (ฝรั่งเศส: Parlement francophone bruxellois) หรือชื่อเดิมคือ "คณะกรรมาธิการประชาคมฝรั่งเศส" (ฝรั่งเศส: Commission communautaire française) ในขณะที่สมาชิกในกลุ่มที่ใช้ภาษาดัตช์นั้นรวมตัวกันเป็น "คณะกรรมาธิการประชาคมเฟลมิช" (ดัตช์: Vlaamse Gemeenschapscommissie) เมื่อรวมคณะกรรมาธิการทั้งสองคณะเข้าด้วยกันจะเรียกว่า คณะกรรมาธิการประชาคมร่วม (ฝรั่งเศส: Commission communautaire commune; ดัตช์: Gemeenschappelijke Gemeenschapscommissie) มีหน้าที่โดยตรงเกี่ยวกับการกำกับดูแลกิจการด้านประชาคมภายในแคว้นนครหลวงบรัสเซลส์

ในจำนวนสมาชิกในกลุ่มที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสทั้ง 72 คน มี 19 คน ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาประชาคมฝรั่งเศสแห่งเบลเยียม และในกรณีเดียวกันกับกลุ่มที่ใช้ภาษาดัตช์ ซึ่งมีสมาชิกจำนวน 6 คน ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาเฟลมิช

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "The Belgian Constitution (English version)" (PDF). Belgian House of Representatives. January 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-06. สืบค้นเมื่อ 2009-06-05. Article 3: Belgium comprises three Regions: the Flemish Region, the Walloon Region and the Brussels Region. Article 4: Belgium comprises four linguistic regions: the Dutch-speaking region, the French-speaking region, the bilingual region of Brussels-Capital and the German-speaking region.
  2. "Brussels-Capital Region: Creation". Centre d'Informatique pour la Région Bruxelloise (Brussels Regional Informatics Center). 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 29, 2009. สืบค้นเมื่อ 2009-06-05. Since 18 June 1989, the date of the first regional elections, the Brussels-Capital Region has been an autonomous region comparable to the Flemish and Walloon Regions. (All text and all but one graphic show the English name as Brussels-Capital Region.)