รัฐบาลแคว้นนครหลวงบรัสเซลส์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รัฐบาลแคว้นนครหลวงบรัสเซลส์
Gouvernement de la région de Bruxelles-Capitale  (ฝรั่งเศส)
Brusselse Hoofdstedelijke Regering  (ดัตช์)
ภาพรวมหน่วยงาน
ก่อตั้ง12 มิถุนายน 1989; 34 ปีก่อน (1989-06-12)
เขตอำนาจแคว้นนครหลวงบรัสเซลส์
เขตเทศบาล
สำนักงานใหญ่เบลเยียม
บรัสเซลส์
งบประมาณประจำปี6.078 พันล้านยูโร (2020)[1]
ฝ่ายบริหารหน่วยงาน
ต้นสังกัดสภาแคว้นนครหลวงบรัสเซลส์
เว็บไซต์be.brussels

รัฐบาลแคว้นนครหลวงบรัสเซลส์ (ฝรั่งเศส: Gouvernement de la région de Bruxelles-Capitale; ดัตช์: Brusselse Hoofdstedelijke Regering) คือหน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแลงานฝ่ายบริหารภายในแคว้นนครหลวงบรัสเซลส์[2][3] ประกอบด้วยมุขมนตรี 1 ตำแหน่ง รัฐมนตรี 4 ตำแหน่ง และรัฐมนตรีช่วย 3 ตำแหน่ง โดยมีที่มาจากการเลือกตั้งทุก 5 ปี

นอกจากนี้ยังมีตำแหน่งผู้ว่าราชการเขตนครหลวงบรัสเซลส์ (ฝรั่งเศส: gouverneur de Bruxelles-Capitale; ดัตช์: gouverneur van Brussel-Hoofdstad) ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากคณะรัฐมนตรีของรัฐบาลกลาง มีหน้าที่บังคับใช้กฎหมายเพื่อความสงบเรียบร้อยภายในแคว้นนครหลวงบรัสเซลส์ อย่างไรก็ตาม ผู้ว่าราชการเขตนครหลวงบรัสเซลส์มีอำนาจค่อนข้างจำกัด

แคว้นนครหลวงบรัสเซลส์แบ่งการปกครองย่อยออกเป็นเขตเทศบาลจำนวน 19 เขต โดยในแต่ละเทศบาลล้วนมีฝ่ายบริหารเป็นของตนเองซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบด้านการปกครองในระดับท้องถิ่น เช่น การบังคับใช้กฎหมาย การบำรุงงบประมาณด้านการศึกษาและการคมนาคมภายในเขตเทศบาล[4] งานด้านการปกครองส่วนเทศบาลดำเนินการโดยนายกเทศมนตรี สภาเทศบาล และเทศมนตรี[4]

คณะผู้บริหาร[แก้]

คณะผู้บริหารหรือคณะรัฐมนตรีแคว้นนครหลวงบรัสเซลส์นำโดยมุขมนตรี (ฝรั่งเศส: ministre-président; ดัตช์: minister-president) และสมาชิกอีก 7 คน ได้แก่ รัฐมนตรี (ฝรั่งเศส: ministre; ดัตช์: minister) 4 ตำแหน่ง (แบ่งเป็นผู้พูดภาษาฝรั่งเศส 2 คน และผู้พูดภาษาดัตช์ 2 คน) และรัฐมนตรีช่วย (ฝรั่งเศส: secrétaire d'État; ดัตช์: staatssecretaris) 3 ตำแหน่ง (อย่างน้อย 1 คนจะต้องเป็นผู้พูดภาษาดัตช์) ในทางปฏิบัติแล้วมุขมนตรีจะเป็นผู้พูดภาษาฝรั่งเศส ดังนั้นคณะรัฐมนตรีจะประกอบด้วยผู้พูดภาษาฝรั่งเศสจำนวน 5 คน และภาษาดัตช์จำนวน 3 คน

อำนาจหน้าที่[แก้]

รัฐบาลแคว้นนครหลวงบรัสเซลส์มีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลกิจการด้านต่าง ๆ ภายในแคว้น ดังนี้

  • การพัฒนาชุมชนเมือง (ผังเมือง นโยบายด้านอสังหาริมทรัพย์ การอนุรักษ์สถานที่สำคัญ) และที่พักอาศัย
  • สิ่งแวดล้อม
  • เศรษฐกิจ (การขยายตัวทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศ) และนโยบายด้านการจ้างงาน
  • การคมนาคม
  • นโยบายด้านพลังงาน
  • องค์กรท้องถิ่นในระดับย่อยต่าง ๆ (คอมมูน องค์กรระหว่างคอมมูน และองค์กรศาสนา)
  • ความสัมพันธ์ภายนอก
  • งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์

นอกจากกิจการต่าง ๆ ที่ระบุไว้ข้างต้น คณะกรรมาธิการประชาคมร่วม (ฝรั่งเศส: Commission communautaire commune; ดัตช์: Gemeenschappelijke Gemeenschapscommissie) เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบงานด้านวัฒนธรรม การศึกษา การกีฬา และความช่วยเหลือประชาชนภายในแคว้น

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "PROJET D'ORDONNANCE contenant le Budget général des Dépenses de la Région de Bruxelles-Capitale pour l'année budgétaire 2020". Brussels Region Public Service. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-06-02. สืบค้นเมื่อ 1 June 2021.
  2. "The Belgian Constitution (English version)" (PDF). Belgian House of Representatives. January 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-07-06. สืบค้นเมื่อ 2009-06-05. Article 3: Belgium comprises three Regions: the Flemish Region, the Walloon Region and the Brussels Region. Article 4: Belgium comprises four linguistic regions: the Dutch-speaking region, the French speaking region, the bilingual region of Brussels-Capital and the German-speaking region.
  3. "Brussels-Capital Region: Creation". Centre d'Informatique pour la Région Bruxelloise (Brussels Regional Informatics Center). 2009. สืบค้นเมื่อ 2009-06-05. Since 18 June 1989, the date of the first regional elections, the Brussels-Capital Region has been an autonomous region comparable to the Flemish and Walloon Regions. (All text and all but one graphic show the English name as Brussels-Capital Region.)
  4. 4.0 4.1 "Managing across levels of government" (PDF). OECD. 1997. pp. 107, 110. สืบค้นเมื่อ 2009-04-05.