อีทึก
อีทึก | |
---|---|
![]() | |
ข้อมูลพื้นฐาน | |
ชื่อจริง | พัก จ็อง-ซู |
เกิด | 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2526 (37 ปี) |
ที่เกิด | เกาหลีใต้ |
แนวเพลง | เค-ป๊อป |
อาชีพ | นักร้อง, นักแสดง, พิธีกรรายการโทรทัศน์, ดีเจ |
เครื่องดนตรี | เปียโน, กีตาร์ |
ช่วงปี | พ.ศ. 2548–ปัจจุบัน |
ค่ายเพลง | เอสเอ็ม เอนเตอร์เทนเม้นท์ |
ส่วนเกี่ยวข้อง | ซูเปอร์จูเนียร์ เอสเอ็มทาวน์ ซูเปอร์จูเนียร์ ซูเปอร์จูเนียร์ ที ซูเปอร์จูเนียร์แฮปปี |
อีทึก (อักษรโรมัน: Leeteuk; ฮันกึล: 이특; ฮันจา: 利特; อาร์อาร์: Iteuk; เอ็มอาร์: I'tŭk) หรือชื่อจริงว่า พัก จ็อง-ซู (ฮันกึล: 박정수; ฮันจา: 朴正洙; อาร์อาร์: Bak Jeong-su; เอ็มอาร์: Pak Chŏng-su) เป็นหัวหน้าวงซูเปอร์จูเนียร์ เป็นนักร้องชาวเกาหลีใต้ และผู้มีอายุมากที่สุดเป็นอันดับหนึ่งของบอยแบนด์ ซูเปอร์จูเนียร์
ซูเปอร์จูเนียร์[แก้]
อีทึกที่กำลังเดินอยู่ในอับกูจองหาทางไปงานวันเกิดเพื่อนช่วงวันหยุดตอนต้นปี พ.ศ. 2543 ได้รับการแนะนำจากแมวมองให้เข้าร่วมการคัดเลือกศิลปินเข้าสังกัดของบริษัทเอสเอ็ม เอนเตอร์เทนเม้นท์ผ่านทางโครงการสตาร์ไลท์ แคสติ้ง ซิสเต็ม หลังจากผ่านการทดสอบอัดเสียงและการแสดงมากมาย ในที่สุดเขาก็เซ็นสัญญาเข้าเป็นศิลปินฝึกหัดของค่ายเอสเอ็ม เอนเตอร์เทนเม้นท์ ในปีเดียวกันนี้เอง เขาก็มีโอกาสได้ปรากฏตัวทางจอโทรทัศน์ในฐานะนักแสดงประกอบของละครเรื่องสงครามแห่งความรัก (All About Eve) ของสถานีโทรทัศน์ช่องเอ็มบีซี ทั้งยังได้ปรากฏตัวในโฆษณาเป๊ปซี่ในปี พ.ศ. 2545 อีกด้วย ปีต่อมา อีทึกถูกกำหนดวางตัวให้เข้ารวมเป็นศิลปินกลุ่มที่มี 5 คนในนาม โอเค (OK) หรือ พริคอร์ (PRICOR) ร่วมกับดงแฮเพื่อนร่วมกลุ่มในอนาคต แต่แผนการนี้ก็ถูกยุบลงภายในเวลาไม่นานนัก หลังจากนั้นทั้งคู่ก็ถูกดึงเข้ามารวมกับเพื่อนศิลปินฝึกหัดอีก 10 คนกลายเป็นซูเปอร์จูเนียร์ ด้วยวัยวุฒิที่มีมากกว่าคนอื่นๆ อีทึกจึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้นำกลุ่ม[1]
วันที่ 6 พฤศจิกายน 2548 อีทึกได้เปิดตัวอย่างเป็นทางการครั้งแรกในรายการ Popular Songs ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง SBS ด้วยฐานะหนึ่งในกลุ่มศิลปินชาย Super Junior 05 ซึ่งเป็นรุ่นแรกของซูเปอร์จูเนียร์ พวกเขาแสดงเพลง TWINS (Knock Out) ซึ่งเป็นเพลงเปิดตัวต่อหน้าผู้ชมราว 500 คน อีทึกเปิดเผยว่าเขาตั้งใจใช้ชื่อนี้ในวงการเพราะเขาต้องการมีชื่อเสียงเช่นเดียวกับคังตะ (และเพื่อป้องกันความสับสนกับชื่อนักแสดงสาวผู้มากประสบการณ์อย่าง ปาร์ค จองซู ด้วย) ชื่อที่ใช้ในการแสดงของเขาแสดงถึงความเป็น "พิเศษ" เพราะเขาต้องการจะเป็นสมาชิกที่มีความพิเศษในกลุ่ม
อีทึกได้ร่วมจัดรายการวิทยุ Super Junior's Kiss the Radio (SUKIRA) หรือ SUKIRA 89.1 Cool FM ซึ่งเป็นสถานีวิทยุในเครือของเคบีเอส กับอึนฮย็อก ช่วงเวลา 20.00 - 22.00 (ตามเวลาในประเทศไทย) ตั้งแต่วันที่ 21 สิงหาคม 2549 ทั้งยังได้รับคำนิยมชมชอบเกี่ยวกับความสามารถในการจัดรายการของเขาอีกด้วย ทำให้เขากระตือรือร้นที่จะทำหน้าที่พิธีกรร่วมในรายการ สตาร์คิง ทางสถานีโทรทัศน์ช่องเอสบีเอสที่มี คัง โฮดง เป็นผู้ดำเนินรายการอยู่ รวมไปถึงรายการ สตรอง ฮาร์ท ที่ดำเนินรายการโดย คัง โฮดง และ ลี ซึงกิ โดยในรายการนี้ อีทึกและเพื่อนร่วมวงอย่างอึนฮย็อกและชินดงได้ร่วมกันสร้างช่วง "ทึกกิกาโย" สร้างความตลกขบขันให้กับผู้ชมและได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างมาก
อีทึกได้อยู่ในการรับใช้ชาติ ในวันที่ 31 ตุลาคม 2555
ปัจจุบัน ได้ออกจากการรับใช้ชาติ ในวันที่ 29 กรกฎาคม 2557
อีทึกได้ออกจากการรับใช้ชาติก่อนกำหนด เป็นเวลา 3 เดือน
ผลงานเพลง[แก้]
ซูเปอร์จูเนียร์[แก้]
- ปี ค.ศ. 2005 - อัลบั้ม Super Junior 05 (TWINS)
- ปี ค.ศ. 2007 - อัลบั้ม Don't Don
- ปี ค.ศ. 2009 - อัลบั้ม Sorry Sorry
- ปี ค.ศ. 2010 - อัลบั้ม Bonamana
- ปี ค.ศ. 2011 - อัลบั้ม Mr.Simple
- ปี ค.ศ. 2012 - อัลบั้ม Sexy, Free & Single
- ปี ค.ศ. 2014 - อัลบั้ม Mamacita
- ปี ค.ศ. 2017 - อัลบั้ม Play
ซูเปอร์จูเนียร์ ที[แก้]
- ปี ค.ศ. 2007 - อัลบั้ม Rokkugo!!!
ซูเปอร์จูเนียร์ แฮปปี้[แก้]
- ปี ค.ศ. 2008 - อัลบั้ม Cooking? Cooking!
รายการวิทยุ[แก้]
วันที่ | Name | หมายเหตุ |
21 สิงหาคม 2549 - 5 ธันวาคม 2554 | Super Junior's Kiss the Radio (슈퍼주니어 키스 더 라디오) | จัดร่วมกับอึนฮยอก |
รางวัลที่ได้รับ[แก้]
ปี | รางวัล | หมายเหตุ |
---|---|---|
2552 | Star King for Best Newcomer Award (Variety) | รับรางวัลร่วมกับอึนฮย็อก และ บูม จากรายการ สตรอง ฮาร์ท |
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Bizplace.co.kr Super Junior Leeteuk: "I'm the leader because I'm old" April 10. 2009. Retrieved April 10, 2009. (เกาหลี)
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- Super Junior – เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ
- อีทึก ที่ทวิตเตอร์