ข้ามไปเนื้อหา

อินเดียของโปรตุเกส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
รัฐอินเดีย

Estado da Índia
ค.ศ. 1505–ค.ศ. 1961
ธงชาติอินเดียของโปรตุเกส
ธงชาติ
เพลงชาติ"อูอีนูปราเตียติโก" (ค.ศ. 1808–1826)
เพลงของผู้รักชาติ

"อูอีนูดาการ์ตา" (ค.ศ. 1826–1911)
เพลงสรรเสริญรัฐธรรมนูญ

"อาปูร์ตูเกซา" (ค.ศ. 1911–1961)
The Portuguese
สถานะรัฐของโปรตุเกส
เมืองหลวง
ภาษาทั่วไป
ภาษาราชการ
โปรตุเกส
ภาษาที่พูดเพิ่มเติม
โกนคานี
ทมิฬ
กันนาดา
ภาษาคุชราต
มาราฐี
มลยาฬัม
เบงกอล
และอื่นๆ
ศาสนา
คริสต์นิกายโรมันคาทอลิก
ประมุขแห่งรัฐ 
• พระมหากษัตริย์
   ค.ศ. 1511–1521
พระเจ้ามานูแวลที่ 1
• ประธานาธิบดี
   ค.ศ. 1958–1961
อเมริโก ทามาส
อุปราช 
• ค.ศ. 1505–1509
ฟรังสิโก เด อาลเมลดา (คนแรก)
• ค.ศ. 1896
อนันฟาโส ดยุกแห่งพอร์โต (คนสุดท้าย)
ข้าหลวง 
• ค.ศ. 1509–1515
อนันฟาโส เด เอลเบเคอร์ (คนแรก)
• ค.ศ. 1958–1961
มานูแวล แอนโตนิโอ วาสสโล เอ ซิลวา (คนสุดท้าย)
ยุคประวัติศาสตร์จักรวรรดินิยม
• การล่มสลายของรัฐสุลต่านบิจาปัวร์
15 สิงหาคม ค.ศ. 1505
19 ธันวาคม ค.ศ. 1961
สกุลเงิน
ก่อนหน้า
ถัดไป
รัฐสุลต่านบาห์มานี
รัฐสุลต่านกุจรัต
กัว, ดามันและดีอู
เสรีรัฐดาดราและนครหเวลี
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ

รัฐอินเดีย (โปรตุเกส: Estado da Índia; อังกฤษ: State of India) หรือมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า รัฐโปรตุเกสแห่งอินเดีย (Estado Português da Índia, EPI) หรือเรียกอย่างง่ายว่า อินเดียของโปรตุเกส (Índia Portuguesa) หรือเรียกอย่างง่ายว่า อินเดีย เป็นรัฐอาณานิคมของจักรวรรดิโปรตุเกส ที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 6 ปีหลังจากการค้นพบเส้นทางการเดินเรือไปสู่อนุทวีปอินเดียโดยโปรตุเกส เมืองหลวงของอินเดียของโปรตุเกสทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการเมืองการปกครองของฐานที่มั่นของโปรตุเกส และการตั้งถิ่นฐานที่ได้กระจัดกระจายไปตามมหาสมุทรอินเดีย

อุปราชคนแรกคือ ฟรังสิโก เด อาลเมลดา ตั้งกองบัญชาการในโคคิม ซึ่งเป็นโคชิน (โกชิ) ในสมัยนั้น ภายหลังผู้ว่าการคนต่อมา ไม่ได้อยู่ในตำแหน่งอุปราชโดยเสมอไป หลังจาก ค.ศ. 1510 เมืองหลวงของอุปราชถูกย้ายไปยัง แวลลาส คอนคิวทาส (พื้นที่ยึดครองเดิม) ซึ่งเป็นกัวและดามาออเนในปัจจุบัน[1] โดยมุมไบ (บอมเบย์) ในปัจจุบัน เคยเป็นส่วนหนึ่งของอินเดียของโปรตุเกสในฐานะBom Baim จนกระทั่งถูกยกให้เป็นดินแดนภายใต้ราชบัลลังก์ของอังกฤษใน ค.ศ. 1661 ซึ่งได้ให้เช่าบอมเบย์ให้กับ บริษัทอินเดียตะวันออก จนกระทั่งศตวรรษที่ 18 ผู้ว่าการในกัวได้มีอำนาจเหนือการครอบครองของโปรตุเกสทั้งหมดในมหาสมุทรอินเดีย ตั้งแต่แอฟริกาตอนใต้จนไปถึงภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ใน ค.ศ. 1752 โมซัมบิกได้มีรัฐบาลที่แยกต่างหาก และใน ค.ศ. 1844 รัฐบาลของอินเดียของโปรตุเกส ได้ยุติการปกครองดินแดนของ มาเก๊า, โซโลร์ และติมอร์ และอำนาจของมันได้ถูกจำกัดขอบเขต ให้อยู่ในภายใต้การถือครองอาณานิคมบนชายฝั่งของโกนกานและมะละบาร์ ของฝั่งอินเดียด้านตะวันตก

ในช่วงเวลาที่บริติชราชล่มสลายใน ค.ศ. 1947 อินเดียของโปรตุเกสถูกแบ่งออกเป็นสามเขต ซึ่งตั้งอยู่บนชายฝั่งด้านตะวันตกของ อินเดีย ในปัจจุบันบางครั้งเรียกรวมกันว่ากัว ได้แก่ กัว ดาเมา ซึ่งรวมถึงดินแดนเล็กๆของดาดราและนครหเวลี และ ดีอู โปรตุเกสสูญเสียการควบคุมอย่างมีประสิทธิภาพ ในบริเวณดินแดนเล็กๆของดาดราและนครหเวลีใน ค.ศ. 1954 และในที่สุดดินแดนโพ้นทะเลที่เหลืออยู่ ถูกอินเดียได้ทำการผนวกดินแดน นำโดยนายกรัฐมนตรีชวาฮาร์ ลาลเนห์รู ในช่วงเดือนธันวาคม ค.ศ. 1961 ทั้งๆ ที่โปรตุเกสได้ยอมรับในการควบคุมของอินเดียใน ค.ศ. 1974 หลังการปฏิวัติคาร์เนชันและการล่มสลายของระบอบการปกครองแบบเอสตาโดโนโว โดยสนธิสัญญาที่ได้ลงนามเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 1974[2]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Capital". myeduphilic. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 November 2017. สืบค้นเมื่อ 5 November 2017.
  2. "Treaty Between the Government of India and the Government of the Republic of Portugal on Recognition of India's Sovereignty over Goa, Daman, Diu, Dadra and Nagar Haveli and Related Matters". www.commonlii.org. 1974.