ข้ามไปเนื้อหา

ขยัน วิพรหมชัย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ขยัน วิพรหมชัย
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำพูน
ดำรงตำแหน่ง
11 มกราคม พ.ศ. 2552 – 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
ก่อนหน้าอนุสรณ์ วงศ์วรรณ
ถัดไปสถาพร มณีรัตน์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด11 เมษายน พ.ศ. 2503 (64 ปี)
อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน ประเทศไทย
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2535–ปัจจุบัน)
คู่สมรสจารุวรรณ วิพรหมชัย
บุตรสุกฤษฏิ์ วิพรหมชัย

ขยัน วิพรหมชัย (เกิด 11 เมษายน พ.ศ. 2503) เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดลำพูน เขต 1 อดีตกรรมการบริหารพรรคประชาธิปัตย์ และอดีตสมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน

ประวัติ

[แก้]

ขยัน เกิดเมื่อวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2503 ที่ตำบลในเมือง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน ด้านครอบครัวสมรสกับนางจารุวรรณ วิพรหมชัย มีบุตร 1 คน คือ นายสุกฤษฏิ์ วิพรหมชัย

สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษา จากโรงเรียนจักรคำคณาทร ระดับปริญญาตรี สาขาสังคมวิทยา-มานุษยวิทยา จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และระดับปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น

การทำงาน

[แก้]

ขยัน เข้าสู่การเมืองโดยการสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดลำพูน หลายครั้ง ตั้งแต่ พ.ศ. 2535 พ.ศ. 2538 และ พ.ศ. 2539 แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง กระทั่งการเลือกตั้งซ่อมแทนตำแหน่งที่ว่าง เนื่องจากอนุสรณ์ วงศ์วรรณ กรรมการบริหารพรรคพลังประชาชน ซึ่งถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง ในปี พ.ศ. 2550 วิชัย จึงได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นครั้งแรก โดยได้ 102,785 คะแนน ชนะเพชรวรรต วัฒนพงศ์ศิริกุล ประธานที่ปรึกษาคนเสื้อแดงกลุ่มรักเชียงใหม่ 51 ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย ซึ่งได้คะแนน 93,522 คะแนน และอาภาภรณ์ พุทธปวน อดีต สส.[1] ส่งผลให้เป็นหนึ่งในสองคน ที่สามารถชนะการเลือกตั้งในเขตภาคเหนือตอนบน ซึ่งเป็นฐานคะแนนเสียงสำคัญของพรรคเพื่อไทย (กลุ่มผู้สนับสนุน ทักษิณ ชินวัตร) แต่ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2554[2] ขยัน พ่ายให้กับสถาพร มณีรัตน์ จากพรรคเพื่อไทย จากนั้นจึงได้กลับมาลงสมัครรับเลือกตั้งระดับท้องถิ่น และได้รับเลือกตั้งเป็นนายกเทศมนตรีตำบลอุโมงค์อีกสมัย ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ขยัน ได้ทำงานการเมืองท้องถิ่น และงานสังคมต่างๆ ในระหว่างที่ไม่ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร โดยเป็นนายกเทศมนตรีตำบลอุโมงค์ อำเภอเมืองลำพูน[3] และสมาชิกองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน ตลอดจนงานสังคมต่างๆ ได้แก่ นายกสโมสรไลออนส์ลำพูน เลขาธิการหอการค้าจังหวัดลำพูน และประธานสหกรณ์ไวน์อุโมงค์ลำพูน จำกัด

โดยขณะที่ดำรงตำแหน่ง สส. ขยัน ได้รับฉายาว่า "สส.ลำไย" เนื่องจากเป็นผู้แทนฯ ที่ให้ความสำคัญแก่ผลผลิตและราคาซื้อขายของลำไย อันเป็นผลไม้เศรษฐกิจที่มีสำคัญมากอย่างหนึ่งของพื้นที่ภาคเหนือ ถึงขนาดเคยนำพวงลำไยเข้าไปในสภาฯ เพื่ออภิปรายมาแล้ว[4]

ในปี พ.ศ. 2563 เขาได้ลงสมัครรับเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน[5] แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. ข่าวรอบเมืองเหนือ[ลิงก์เสีย]
  2. ระบบงานเลือกตั้ง[ลิงก์เสีย]
  3. ตำบลอุโมงค์[ลิงก์เสีย]
  4. ร้อยข่าวยามเย็น, รายการข่าวทางบลูสกายแชนแนล: พฤหัสบดีที่ 6 มิถุนายน 2556
  5. โฟกัสสนามภาคเหนือ 'อบจ.ลำพูน' 5 คนเดินหน้าหาเสียงชิงชัยโค้งสุดท้าย
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๓ เก็บถาวร 2011-01-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๗ ตอนที่ ๑๔ ข หน้า ๗๔, ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๒ เก็บถาวร 2010-02-15 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๖ ข หน้า ๔, ๔ ธันวาคม ๒๕๕๒

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]